มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc
<p><strong>มนุษยสังคมสาร (มสส.) ปีที่ 22 ฉบับที่ 1<br /></strong><strong>(มกราคม-เมษายน) 2567</strong></p> <p><em><strong> ISSN 2673-0243 (Print)<br />ISSN 2774-1451 (Online) </strong></em></p> <p> --------------------------------------------------------------------------------</p> <p> “มนุษยสังคมสาร” คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีนโยบายในการรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหลัก (Main subject Category) คือ Social Sciences และจะต้องอยู่ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา (Subject areas) คือ 1) Arts and Humanities, 2) Economics, Econometrics and Finance, 3) Social Sciences ซึ่งจะต้องอยู่ใน 5 กลุ่มย่อย (Sub-subject areas) คือ 1) General Arts and Humanities, 2) Language and Linguistics, 3) General Economics, Econometrics and Finance, 4) General Social Sciences, 5) Sociology and Political Sciences</p> <p> “มนุษยสังคมสาร” มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม-เมษายน / พฤษภาคม-สิงหาคม / กันยายน-ธันวาคม) แต่อาจจะออกเป็นฉบับพิเศษ (Special issue) ในการร่วมประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติกับทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ไม่เกินปีละ 2 ฉบับ</p> <p> ทุกบทความใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องผ่านการพิชญพิจารณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) ในสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความนั้น (Double-blind peer review) ทั้งนี้ เพื่อให้บทความมีคุณภาพและได้มาตรฐานทางวิชาการ บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้นิพนธ์บทความจะต้องปฏิบัติตามระบบการอ้างอิงเอกสารและหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยย่างเคร่งครัด</p> <p> ผู้นิพนธ์ที่จะส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องส่งผลการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ผ่านเว็บไซต์ <a href="http://plag.grad.chula.ac.th/">http://plag.grad.chula.ac.th/</a> โดยร้อยละของดัชนีความซ้ำซ้อนของบทความไม่เกินร้อยละ 7 ทั้งนี้ ให้ผู้นิพนธ์แนบผลการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานส่งมาที่วารสารพร้อมกับบทความด้วย</p> <p> ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ใน “มนุษยสังคมสาร” ทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของ “มนุษยสังคมสาร” การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตารางที่ปรากฏในบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร วารสารอนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางวิชาการได้ แต่ต้องแสดงที่มาจากวารสาร โดยห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหาใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้ ทัศนะและความคิดเห็น ตลอดถึงข้อผิดพลาดใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในบทความใน “มนุษยสังคมสาร” ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ</p>
มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
th-TH
มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
2673-0243
<p><em>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ </em><em>ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ</em></p> <p><em> บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น</em></p> <p><em> </em></p>
-
อัตลักษณ์ร่วมของผ้าทอลุ่มน้ำโขงไทย-ลาว
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/272877
<p> บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ร่วมของผ้าทอลุ่มน้ำโขงไทย-ลาว และ 2) เพื่อพัฒนาลวดลายผ้าทอจากอัตลักษณ์ร่วม โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และอภิปรายกลุ่ม เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 คน นำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุมชนผ้าทอลุ่มน้ำโขงมีอัตลักษณ์ร่วมที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1) อัตลักษณ์ด้านกระบวนการทอผ้าแบบเดิม ทั้งการสืบหูกและการค้นหูก การมัดหมี่ หมี่กาบและหมี่ลาย 3 ธรรมลำโขงเป็นลวดลายอัตลักษณ์ 2) อัตลักษณ์ด้านการใช้สีย้อมจากครามธรรมชาติ และ 3) อัตลักษณ์ด้านเรื่องเล่าของผ้าทอ เน้นเล่าเรื่องจากลวดลายจากความเชื่อดั้งเดิมและธรรมชาติ ได้แก่ ลายนาคขอ ลายนาคเครือ ลายกาบ ลายตุ้ม ลายหมากจับ 2) การพัฒนาลวดลายผ้าทอจากอัตลักษณ์ร่วม ได้แก่ (1) การพัฒนาองค์ความรู้ผู้ทอผ้าด้านการเตรียมเส้นใยและการย้อมสีเส้นใย (2) การพัฒนาเทคนิคการทอผ้าด้วยการใช้ฟืมขยายขนาด และ (3) การพัฒนาลวดลายผ้าทอด้วยการมัดหมี่</p>
ปกกสิณ ชาทิพฮด
ญาณิกา แสนสุริวงค์
กิโต่ พมมะไกสอน
ไอลดา ทิพย์เสนา
ยุทธพิชัย วรรณสังข์
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
1
20
10.14456/jhusoc.2024.13
-
การออกแบบเครื่องเรือน โดยการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ ลวดลายผ้าพื้นเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/278255
<p> การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลวดลายหัตถกรรมผ้าพื้นเมืองจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อออกแบบเครื่องเรือน จากการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ลวดลายผ้าพื้นเมืองจังหวัดศรีสะเกษ 3) ประเมินความพึงพอใจจากการประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ลวดลายที่เหมาะสมในการออกแบบเครื่องเรือน ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ลวดลายผ้าพื้นเมืองจังหวัดศรีสะเกษ มีลวดลายลักษณะเฉพาะถิ่น ใช้รูปแบบสีที่มีความงามเฉพาะที่คงไว้ซึ่งภูมิปัญญาที่สั่งสมมาจากอดีต 2) ลวดลายจากหัตถกรรมผ้าทอศรีสะเกษที่เหมาะสมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องเรือน ได้แก่ ลายขอ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.20) ลายเชิงเทียนประยุกต์ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.18) และลายเชิงเทียนคู่ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.16) ในการออกแบบเครื่องเรือนมีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ผ้าพื้นเมือง จังหวัดศรีสะเกษ จากการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน โดยเก้าอี้ เป็นเครื่องเรือนที่คงความมีอัตลักษณ์มากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.37) และ 3) การประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน พบว่า มีความพึงพอใจด้านรูปทรงและโครงสร้าง ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.39) ด้านลวดลายและความงาม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.36)</p>
ประทักษ์ คูณทอง
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
21
40
10.14456/jhusoc.2024.14
-
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 พื้นที่อำเภอวานรนิวาสและอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/273605
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาการสร้างมูลค่าสินค้าตามห่วงโซ่การผลิตผ้าย้อมคราม ในสถานการณ์โรคโควิด-19 คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง คือ ผู้ผลิตผ้าย้อมครามใน อ.วานรนิวาสและ อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร จำนวน 59 คน โดยการวิจัยแบบผสมผสาน การศึกษาบริบทชุมชนพบว่า การผลิตเน้นภูมิปัญญาดั้งเดิม สีไม่สม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงต่อความต้องการของตลาด และจำหน่ายได้น้อย การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าพบว่า ความเสถียรของน้ำย้อมคราม มีอัตราส่วนคราม น้ำด่าง น้ำมะขาม เป็น 1:2:2 การพัฒนาครามผงพร้อมย้อม โดยการลดอนุภาคในระดับนาโนด้วย pin mill ผสมสารรีดิวซ์ในรูปแบบผง สามารถเก็บรักษาได้นาน วิธีการใช้ไม่ซับซ้อน การพัฒนาฟืมทอผ้าขยายขนาด 2.50 เมตร ได้ผ้าขนาดใหญ่ขึ้นแปรรูปได้หลากหลาย การพัฒนาทักษะการตัดเย็บด้วยการเพิ่มมิติ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความ แปลกใหม่ สามารถจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ได้ การศึกษารายได้เฉลี่ยก่อนเข้าร่วมโครงการเท่ากับ 6,533.33 บาท/คน/เดือน และหลังสิ้นสุดโครงการมีรายได้เฉลี่ยเท่ากับ 14,408.77 บาท/คน/เดือน ซึ่งเพิ่มขึ้น 7,875.44 บาท/คน/เดือน หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 50.92</p>
แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ
ธนกร ราชพิลา
นะกะวี ด่านลาพล
ปกกสิณ ชาทิพฮด
ศศิกานต์ สังข์ทอง
วาสนา แผลติตะ
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
41
60
10.14456/jhusoc.2024.15
-
การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนวัฒนธรรม ชุมชนเมืองโบราณเวียงลอ ตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/273256
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทุนวัฒนธรรมชุมชนเมืองโบราณเวียงลอ และ 2) จัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานทุนวัฒนธรรมชุมชนเมืองโบราณเวียงลอ กลุ่มเป้าหมายหลักคือคนสามวัย ได้แก่ เด็กเยาวชน กลุ่มวัยแรงงาน และผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า เวียงลอเป็นเมืองที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดีมากกว่า 1,000 ปี จึงอุดมไปด้วยมรดกทางศิลปวัฒนธรรม มีบุญประเพณีประจำปีที่สำคัญ คือ พิธีปูจาพญาลอ ประเพณียี่เป็งและล่องสะเปา พิธีเลี้ยงดงหมู พิธีสืบชะตาแม่น้ำอิง และประเพณีสิบสองเป็ง (เปตพลี) ฯลฯ และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลายซึ่งบ่งชี้อัตลักษณ์ของคนลุ่มน้ำอิง ผู้วิจัยได้นำทุนวัฒนธรรมมาใช้ในกระบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดย (1) พัฒนาคู่มือมัคคุเทศก์สามวัย (2) พัฒนานักเล่าเรื่อง และ Ebook “ตามรอยเรื่องเล่าเมืองเก่าเวียงลอ” (3) พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวและโปรแกรมท่องเที่ยวชุมชนเมืองโบราณเวียงลอ และ (4) พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ผ่านกลุ่ม “เวียงลอคราฟท์”</p>
วรัญญา พรหมสาขา ณ สกลนคร
ดุจฤดี คงสุวรรณ์
ปทุมพร แก้วคำ
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
61
80
10.14456/jhusoc.2024.16
-
กลยุทธ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในระดับเมืองรอง เพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/276050
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำกลยุทธ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในระดับเมืองรอง ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ไปใช้ในการบริหารจัดการในพื้นที่ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ วิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์ ในจังหวัดเมืองรองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 279 คน ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน ได้แก่ค่าความถี่, ค่าสถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การจัดการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.46) เมื่อมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่าทุกการเพิ่มขึ้นของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะทำให้นโยบายการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล (Digital Tourism) เพิ่มขึ้น 0.08 หน่วย ทุกการเพิ่มขึ้นของกลยุทธ์การจัดการ (Management strategy) เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะทำให้นโยบายการท่องเที่ยวยุคดิจิทัล (Digital Tourism) เพิ่มขึ้น 0.05 หน่วย ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในระดับเมืองรองต้องส่งเสริมการพัฒนาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและกลยุทธ์การจัดการ</p>
ลดา ภารประดิษฐ
พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม
อาริยา ป้องศิริ
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
81
94
10.14456/jhusoc.2024.17
-
Communication for Participation of Worship Dancers for Thao Suranaree, Nakhon Ratchasima Province
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/273613
<p> The Thao Suranari worship dance is an important activity of Nakhon Ratchasima Province to honor Thao Suranari's heroic deeds. This article is part of the research on “Studying the communication network of worship dancers for Thao Suranaree, Nakhon Ratchasima Province”. This is qualitative research, that aims to study communication for the participation of worship dancers. The results showed that the model of communication is as follows: The messenger (Sender) is the dancing lady of Thao Suranaree. Content (Message) is lyrics, dance moves, melodies, and music. Media (Channel/Media) is a dance to worship Thao Suranaree. And receivers are members who attend the ceremony. The communication process consists of three steps as follows: 1) The planning stage with all relevant parties to prepare for worship dances held annually on Victory Day celebrations from March 23 to April 3. 2) The dance practice stage may be practiced in one's own community or practiced in a centralized location and time by planning a trip with a group of friends or separately to rehearse as convenient. And 3) in the inspection and evaluation stage, each year's dance rehearsal has been adjusted to dance moves, lyrics, locations, and dance schedules as appropriate for the situation.</p>
Wachirarat Nirantechaphat
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
95
114
10.14456/jhusoc.2024.18
-
Comparative Analysis of Narratives and Characterization in Jane Eyre and Madame Bovary
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/276365
<p> This study examined the narrative structures and characterization in Charlotte Brontë's Jane Eyre and Gustave Flaubert's Madame Bovary. The objectives were to analyze the narrative technique, to analyze the characterization, and to compare the narrative techniques and characterization in the literature of Jane Eyre by Charlotte Brontë and Madame Bovary by Gustave Flaubert. Gérard Genette’s theories on narrative time and perspective formed the framework, which was then expanded upon. An examination was carried out on how the narrative perspectives in Jane Eyre and Madame Bovary impacted reader engagement with characters. Additionally, it explored how the settings influenced characters, referencing Tahir Woods' concepts along with Mark Currie’s insights on narrative's effects on readers' perception of time. The research concluded with a discussion on how these novels depict character growth and human behavior complexities, underscoring the role of narrative techniques in reader immersion.</p>
Chalermkwan Jogthong
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
115
133
10.14456/jhusoc.2024.19
-
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่มีผลต่อสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/275872
<p> การศึกษาในครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนไทย และศึกษาผลกระทบของปัจจัยกำหนดสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนที่มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนต่ำกว่าและสูงกว่าระดับเฉลี่ยตามลำดับ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สมการถดถอยแบบค่าเฉลี่ยและควอนไทส์รีเกรสชั่น ณ ระดับ 0.25 และ 0.75 ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษาสูงสุดของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพการทำงานของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน และเงินออมเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน เป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนในทุกระดับ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงินเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับครัวเรือน รวมถึงการนำสัดส่วนการผ่อนชำระต่อรายได้มาใช้เป็นเกณฑ์ในการก่อหนี้ใหม่ จะช่วยลดการก่อหนี้เกินตัว และช่วยให้ลูกหนี้มีรายได้หลังชำระหนี้เพียงพอต่อการดำรงชีพ</p>
อธิพันธ์ วรรณสุริยะ
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
134
154
10.14456/jhusoc.2024.20
-
การนำนโยบายรัฐบาลดิจิทัลไปปฏิบัติ: การพัฒนากระบวนการสอบบัญชี เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สอบบัญชีดิจิทัล
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/276040
<p> ปัจจุบันหน่วยรับตรวจใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการองค์กร ผู้สอบบัญชีใช้วิธีการตรวจสอบโดยเน้นที่การตรวจสอบจากเอกสารหลักฐานเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้เน้นที่การตรวจสอบฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศที่หน่วยรับตรวจใช้ ส่งผลให้หลักฐานที่ผู้สอบบัญชีได้รับอาจไม่เพียงพออย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อการ แสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการสอบบัญชีรองรับการเป็นผู้สอบบัญชีดิจิทัล ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานสอบบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในประเทศไทย จำนวน 380 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 190 คน สุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ประกอบด้วย ค่าความถี่, ค่าสถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิเคราะห์พบว่ากระบวนการตรวจสอบบัญชี ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.73 , S.D. = 0.55) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่าทุกการเพิ่มขึ้นขององค์ประกอบของรัฐบาลดิจิทัล 1 หน่วย จะทำให้การพัฒนากระบวนการสอบบัญชี เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สอบบัญชีดิจิทัล (Cyber Auditor) เพิ่มขึ้น 0.35 หน่วย ทุกการเพิ่มขึ้นของตัวแบบด้านการจัดการ 1 หน่วย จะทำให้การพัฒนากระบวนการสอบบัญชี เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สอบบัญชีดิจิทัล (Cyber Auditor) เพิ่มขึ้น 0.24 หน่วย</p>
นัยนา โคตรสมบัติ
พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม
จริยา อินทนิล
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
155
172
10.14456/jhusoc.2024.21
-
การสื่อสารผลการดำเนินงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/277519
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสารผลการดำเนินงาน และ 2) กลยุทธ์การสื่อสารผลการดำเนินงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง รวมจำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสาร คือ ตัวนายก ผู้ช่วยนักประชาสัมพันธ์ ผู้อำนวยการกอง ประชาสัมพันธ์ประจำกอง และประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน (2) สาร คือ ผลการดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้ ประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ได้รับการแก้ไข และประเด็นภารกิจที่แต่ละกองดำเนินการ (3) ช่องทางการสื่อสาร คือ หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ที่ประชุมภายในตำบล เฟซบุ๊กนายกและขององค์กร เวทีเสวนาต่างๆ เว็บไซต์ขององค์กร และแอปพลิเคชันไลน์กลุ่ม (4) ผู้รับสาร คือ กลุ่มบุคคลากรภายใน กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มประชาชนในท้องถิ่น และกลุ่มผู้สนใจทั่วไป และ (5) ผลการสื่อสารที่คาดหวัง คือ ด้านความรู้ ทัศนคติ และการกระทำ 2) กลยุทธ์การสื่อสาร ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง (2) กลยุทธ์การสื่อสารด้วยสื่อบุคคล (3) กลยุทธ์การสื่อสารด้วยสื่อสังคมออนไลน์ (4) กลยุทธ์การสื่อสารผ่านนิทรรศการ (5) กลยุทธ์การสื่อสารผ่านเครือข่าย และ (6) กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผลิตภัณฑ์ชุมชน</p> <p> </p>
กานต์ บุญศิริ
Copyright (c) 2024 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc/4.0
2024-08-27
2024-08-27
22 2
173
193
10.14456/jhusoc.2024.22