https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/issue/feed มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2023-12-29T22:19:31+07:00 รองศาสตราจารย์.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม [email protected] Open Journal Systems <p><strong>มนุษยสังคมสาร (มสส.) ปีที่ 22 ฉบับที่ 1<br /></strong><strong>(มกราคม-เมษายน) 2567</strong></p> <p><em><strong> ISSN 2673-0243 (Print)<br />ISSN 2774-1451 (Online) </strong></em></p> <p> --------------------------------------------------------------------------------</p> <p> “มนุษยสังคมสาร” คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีนโยบายในการรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหลัก (Main subject Category) คือ Social Sciences และจะต้องอยู่ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา (Subject areas) คือ 1) Arts and Humanities, 2) Economics, Econometrics and Finance, 3) Social Sciences ซึ่งจะต้องอยู่ใน 5 กลุ่มย่อย (Sub-subject areas) คือ 1) General Arts and Humanities, 2) Language and Linguistics, 3) General Economics, Econometrics and Finance, 4) General Social Sciences, 5) Sociology and Political Sciences</p> <p> “มนุษยสังคมสาร” มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม-เมษายน / พฤษภาคม-สิงหาคม / กันยายน-ธันวาคม) แต่อาจจะออกเป็นฉบับพิเศษ (Special issue) ในการร่วมประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติกับทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ไม่เกินปีละ 2 ฉบับ</p> <p> ทุกบทความใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องผ่านการพิชญพิจารณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) ในสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความนั้น (Double-blind peer review) ทั้งนี้ เพื่อให้บทความมีคุณภาพและได้มาตรฐานทางวิชาการ บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้นิพนธ์บทความจะต้องปฏิบัติตามระบบการอ้างอิงเอกสารและหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยย่างเคร่งครัด</p> <p> ผู้นิพนธ์ที่จะส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องส่งผลการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ผ่านเว็บไซต์ <a href="http://plag.grad.chula.ac.th/">http://plag.grad.chula.ac.th/</a> โดยร้อยละของดัชนีความซ้ำซ้อนของบทความไม่เกินร้อยละ 7 ทั้งนี้ ให้ผู้นิพนธ์แนบผลการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานส่งมาที่วารสารพร้อมกับบทความด้วย</p> <p> ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ใน “มนุษยสังคมสาร” ทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของ “มนุษยสังคมสาร” การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตารางที่ปรากฏในบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร วารสารอนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางวิชาการได้ แต่ต้องแสดงที่มาจากวารสาร โดยห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหาใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้ ทัศนะและความคิดเห็น ตลอดถึงข้อผิดพลาดใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในบทความใน “มนุษยสังคมสาร” ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ</p> <p> </p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/269515 กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าซิ่นทิวมุกจกดาว แบบเจ้าเมืองอุบลราชธานี 2023-12-04T15:55:00+07:00 ประกายทิพย์ พิชัย [email protected] <p> การพัฒนากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าซิ่นทิวมุกจกดาวแบบเจ้าเมืองอุบลราชธานี โดยกลุ่มสตรีผู้สูงอายุสืบสานภูมิปัญญามีปรากฏในบ้านหนองบ่อ จังหวัดอุบลราชธานี หากไม่ถ่ายทอดไว้อาจเลือนหาย ผู้มีส่วนร่วมเป็นสตรีผู้สูง อายุ 5 คน รวบรวมข้อมูลโดย บันทึกการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการบันทึกการจัดเวทีการระดมความคิด ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การศึกษาพบว่า พื้นที่เป้าหมายมีประเด็นปัญหาการขาดผู้สืบทอดการทอผ้าซิ่น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจร่วมกัน จึงกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานที่สามารถถ่ายโอนทักษะทำให้ได้กระบวนการและทดลองใช้กับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ 16 คน พบว่า นักศึกษามีความรู้ ทัศนคติและทักษะ ก่อนและหลังการใช้กระบวนการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกระบวน มี 2 รูปแบบ คือ 1) การถ่ายทอดโดยผู้สูงอายุสาธิตก่อน และผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามจริง และ 2) การบันทึกความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร ได้สรุปและรายงานผลโดยจัดเวทีคืนข้อมูลแก่ชุมชนและเผยแพร่ผ่านเครือข่ายชุมชน</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/271247 The Study of Aesthetic Features Interpretation and Cultural Identity of Baiku Yao Dress Patterns 2023-12-15T13:31:57+07:00 Ge Bai [email protected] Puvasa Ruangchewin [email protected] <p> The objective of this research is to design the Baiku Yao Dress Culture Learning Center in Huaili Village and to select 6 interviewees using a heterogeneous sampling method. The majority of them have been dressed in Baikuyao national costumes for more than three months and can provide the interviewer with the necessary information. Semi-structured interviews, literature analysis, and participant observation were all used in this study. Thematic analysis was used to examine the data. The national memory of Baiku Yao created the aesthetic characteristics of this ethnic group during the formation of Baiku Yao dress art; the national memory of Baiku Yao is embodied in the aesthetic characteristics of costumes aesthetic feeling, which explains the cultural identity of Baiku Yao dress. The findings reveal the following four scenarios: First, a look at the historical development of Baiku Yao dress patterns. The aesthetic composition and cultural significance of Baiku Yao dress patterns are discussed in the second part. Third, the identification of Baiku Yao dress patterns and cultural changes. Fourth, the "Huaili Village Cultural Learning Center" capitalizes on the ability of Huaili Village residents to inherit active communication community culture through education, training, and exhibitions, and gives learners full play.</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/270226 การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 2023-11-29T16:21:29+07:00 เรณุกา กลับสุข [email protected] นฤมล แก้วจำปา [email protected] <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามแนวทางของ UNESCO ในพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสารเพื่อรวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยว การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรวบรวมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การใช้เทคนิค SWOT เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ศักยภาพและโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแนวทางการแก้ไขการจัดการการท่องเที่ยวของพื้นที่ศึกษา ใช้เทคนิค TOWS Matrix กำหนดแนวทางการพัฒนา และกลยุทธ์การท่องเที่ยว โดยสามารถกำหนดกลยุทธ์ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวของพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้ 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวคุณค่าสูง การสร้างความตระหนักถึงคุณค่า และการกระจายประโยชน์สู่ท้องถิ่น 2) กลยุทธ์การสร้างสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว และการรักษาคุณค่าความสำคัญของทรัพยากร ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่กำหนดเป็นมรดกโลก และ 3) กลยุทธ์การปรับปรุงการบริหารจัดการและให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/271151 การพัฒนาคู่มือสื่อประชาสัมพันธ์ภาษาอังกฤษสำหรับชุมชนท่องเที่ยวตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2023-11-17T11:13:44+07:00 จักรพงษ์ ทองผาย [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของชุนชนท่องเที่ยวตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีด้านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 2) พัฒนาคู่มือสื่อประชาสัมพันธ์บนพื้นฐานการแปลไทย-อังกฤษและ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 40 คน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในชุมชน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานและความต้องการ แบบบันทึกการแปล แบบสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญการแปลและเจ้าของภาษา และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สื่อประชาสัมพันธ์ภาษาอังกฤษของชุมชนยังไม่เอื้อต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องจากมีข้อความภาษาอังกฤษค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์และตามเส้นทางหรือบริเวณจุดท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไม่ถึงข้อมูลหรือไม่ได้รับความสะดวก คู่มือสื่อประชาสัมพันธ์ภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นและได้รับการตรวจสอบจากเจ้าของภาษา ประกอบด้วย 8 หมวดหมู่ โดยนำเสนอสำนวนแปลภาษาอังกฤษคู่กับต้นฉบับภาษาไทย พร้อมอธิบายกลวิธีการแปล ประเด็นทางภาษาที่น่าสนใจ การตีความที่อาจทำให้เข้าใจผิด และข้อเสนอแนะในการนำไปปรับใช้ ผลการประเมินความพึงพอใจต่อคู่มือ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับมากที่สุด</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/264549 การศึกษาบันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรละโว้ในเอกสารจีนสมัยราชวงศ์หมิง 2023-02-15T10:58:50+07:00 ภูเทพ ประภากร [email protected] <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปล เรียบเรียงและศึกษาบันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรละโว้ในเอกสารจีนสมัยราชวงศ์หมิง (ช่วงปี ค.ศ. 1368-1644) ประกอบด้วยพงศาวดารและเอกสารจีนโบราณ จำนวน 13 รายการ ซึ่งได้มีการรวบรวมไว้ในหนังสือ เอกสารและพงศาวดารจีนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ผู้วิจัยใช้แนวคิดการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์เป็นแนวคิดหลักในการวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัย พบว่า เอกสารจีนสมัยราชวงศ์หมิงบันทึกเกี่ยวกับอาณาจักรหลัวหูหรือละโว้มีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ 1) บันทึกภูมิประเทศ ความอุดมสมบูรณ์และความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเซียน และ 2) บันทึกความสัมพันธ์ระหว่างละโว้และราชสำนักจีนผ่านระบบบรรณาการหรือจิ้มก้อง โดยเป็นความสัมพันธ์ที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งทำให้อาณาจักรละโว้ได้รับผลดี ทั้งด้านการค้า การทูต และความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรต่างแดนอื่น</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/267800 พรรณพฤกษาและนานาสัตว์: บทบาทหน้าที่ในวรรณคดีอีสาน เรื่อง ลำนกเต็นด่อน 2023-07-03T14:25:41+07:00 วัฒนชัย หมั่นยิ่ง [email protected] วรารก์ เพ็ชรดี [email protected] <p style="font-weight: 400;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความนี้มุ่งศึกษาวรรณคดีอีสานประเภทลำ เรื่อง นกเต็นด่อน ปริวรรตและเรียบเรียงโดยภูวดล อยู่ปาน กลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเรียกชื่อชนิดและบทบาทหน้าที่ของพืชและสัตว์ จากการศึกษาพบว่าลำนกเต็นด่อนมีกลวิธีการเรียกชื่อพืชและสัตว์ ๒ ลักษณะ คือ เรียกแบบเจาะจงชนิดและเรียกแบบไม่เจาะจงชนิด ในส่วนของบทบาทหน้าที่ของพืชและสัตว์พบ ๔ ลักษณะ คือ เพื่อแสดงวิถีชีวิต เพื่อแสดงอารมณ์ เพื่อเป็นอนุภาคของสิ่งวิเศษ และเพื่อดำเนินเนื้อเรื่อง ทั้งนี้จากการศึกษาสันนิษฐานว่าผู้แต่งเลือกใช้พืชและสัตว์นานาชนิดเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินเนื้อเรื่องให้น่าสนใจ มีวรรณศิลป์ สะเทือนอารมณ์ และแสดงภูมิรู้ของผู้แต่ง ซึ่งสะท้อนภาพวิถีชีวิตของผู้คนทั้งยังช่วยบันทึกศัพท์เกี่ยวกับพืชและสัตว์ไว้เป็นอย่างดี</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/271372 ลักษณะบุคลิกภาพ การศึกษาการเป็นผู้ประกอบการ และความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ 2023-11-20T11:42:33+07:00 ธารทิพย์ พจน์สุภาพ [email protected] <p> ความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการคือแรงจูงใจของบุคคลในการประกอบอาชีพในฐานะผู้ประกอบการและดำเนินแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ ผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศด้วยการสร้างความมั่งคั่งและกระตุ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของลักษณะบุคลิก ภาพ และการศึกษาการเป็นผู้ประกอบการที่มีต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา โดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง และรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ จำนวน 424 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ สรุปข้อค้นพบได้ดังนี้ 1) การเปิดรับประสบการณ์และการมีจิตสำนึก มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความตั้งใจของผู้ประกอบการ ในทางกลับกัน ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่าง ลักษณะความไม่มั่นคงทางอารมณ์ การเปิดเผยแสดงตัว และการประนีประนอม กับความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการ 2) การศึกษาที่มุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมทั้งการบ่มเพาะความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการและประสบการณ์เชิงปฏิบัติ มีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมากและชัดเจนต่อความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/271635 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารพาณิชย์ดิจิทัลของผู้ใช้แรงงานในเขตชนบท 2023-11-17T11:37:24+07:00 ปฏิภาณ ผลมาตย์ [email protected] <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการสื่อสารพาณิชย์ดิจิทัล และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารพาณิชย์ดิจิทัลของผู้ใช้แรงงานในเขตชนบท โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้แรงงานในเขตชนบทที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีประสบการณ์ซื้อสินค้าออนไลน์ จำนวน 1,339 คน จากชุดข้อมูลระดับย่อยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารพาณิชย์ดิจิทัลของผู้ใช้แรงงานในเขตชนบท ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่มีการสื่อสารพาณิชย์ดิจิทัลด้านการซื้อสินค้าออนไลน์ และการใช้สื่อสังคมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 100 และ 97.70 ทั้งนี้พบว่า การสื่อสารพาณิชย์ดิจิทัลของผู้ใช้แรงงานในเขตชนบทได้รับอิทธิพลสูงสุดจากระดับประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปรได้ร้อยละ 17.30 (R<sup>2</sup> = 0.173)</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/266063 Cluster Analysis to Compare Learner Characteristics in English Courses of General Education 2023-04-18T14:31:06+07:00 Intira Charuchinda [email protected] <p> Understanding learner characteristics can guide educators in providing appropriate support to meet individual needs which can lead to learning achievement. This research aimed: 1) to cluster students by grades earned from English courses of General Education (GE) at a government university using cluster analysis, and 2) to compare the learner characteristics across different achievement levels by focusing on four learner characteristics, i.e. (1) motivation and attitudes, (2) student engagement, (3) test preparation and test taking behaviours, and (4) Classroom participation. A sample of 400 individuals was derived through cluster sampling. The research instrument was a questionnaire. The data were statistically analyzed by using frequency, mean, standard deviation, K-means cluster analysis, MANOVA, ANOVA, and Bonferroni. The findings were as follows. 1) Using K-means cluster analysis to cluster student achievement levels as indicated by grade point averages of the two GE English courses, it found three clusters: high achievers, moderate achievers, and low achievers. 2) Concerning comparisons of learner characteristics, it found that motivation and attitudes, learning engagement, and test preparation and test taking behaviours of the high achievers were significantly higher than those of the moderate and low ones. However, it found no statistically significant difference between the learner characteristics of the moderate achievers and those of the low ones. Remarkably, statistically significant differences in classroom participation of all the three clusters were not found.</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/270465 Perception of Chinese Junior High School Students on Factors and Activities Causing Anxiety in English Language Learning 2023-08-15T10:38:22+07:00 Yi Luo [email protected] <p> The objectives of this study were 1) to investigate the factors causing the Chinese English language learner anxiety, and 2) to explore the activities that may cause anxiety in learning English. A mixed-methods approach was used in this study. 124 high school students from Yunnan Province, China, were selected with stratified population sampling techniques calculated by Yamane’s formula as the questionnaire respondents from a study population of 180. The quantitative data results showed high scores for all factors and activities, with an overall mean of 3.80 (S.D.=1.67). The 'English Language' factor received the highest score, while 'Environment' and 'Myself' factors scored the lowest. The activities that triggered anxiety most were especially the English grammar tasks (x̅ =4.06/S.D.=1.05). In addition, tension from the use of the English language (x̅ =3.63/S.D.=1.13) was found to induce anxiety. The findings from the interviewed data of nine volunteers revealed the challenges of the English language they faced, brought by low motivation, lack of achievement, fear of failure, low confidence, the sense of inadequacy due to poor language skills as the key causes of anxiety. Recommendation for the teachers to best support their students are to give significance to the affective factors while teaching.</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/269876 An Investigation of Subtitle Translation: A Case Study of Charlotte's Web (2006) 2023-07-19T15:40:52+07:00 Benjawan Tipprachaban [email protected] <p> This study examined movie subtitle translation methods. Thai entertainment has increasingly used English-to-Thai subtitles. Thus, subtitle translation methods must be examined. The study used 1,467 <em>Charlotte's Web</em> (2006) words, phrases, and sentences. This study followed Vinay and Darbelnet's (2000) translation methods. A comparative analysis of English and Thai subtitles quantified their translation approaches to determine how words, phrases, and sentences were translated. Data analysis showed that <em>Charlotte's Web</em> (2006) subtitles were mostly obliquely translated. Translation methods occurred 1,001 times, or 51.81%. Rewriting, an adaptation within oblique translation, produced most of the film's subtitles. Rewriting was used 716 times, or 37.06% of the time.</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/272859 การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์วัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าปักแซวอำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 2023-11-20T12:01:40+07:00 เอมอร แสนภูวา [email protected] <p> งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาความเป็นมาและวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน สร้างรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาคน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าเสื้อปักแซว และผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวของชุมชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าชุมชนยังขาดการพัฒนาด้านท่องเที่ยวในหลายด้าน จึงใช้แนวคิดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน โดยสร้างรูปแบบท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรม 8 กิจกรรม และ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่มีศักยภาพในด้านบริหารจัดการท่องเที่ยว เกิดแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนที่เป็นรูปธรรม พัฒนาโฮมสเตย์ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก นักสื่อความหมาย เครือข่ายทำงานท่องเที่ยวชุมชน ส่งเสริมพัฒนาอาหารพื้นบ้านชุมชน โปรแกรมการท่องเที่ยว และกลยุทธ์การตลาดรวมถึงช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ผลจากการพัฒนาดังกล่าวนี้จึงทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวและเกิดรายได้จากการท่องเที่ยวชุมชนเพิ่มขึ้น กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะสามารถพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนต่อไปได้</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/273586 An Investigation of Metacognition in Second Language Reading: A Case Study of a Thai Graduate Student at an American College 2023-12-15T09:04:55+07:00 Pragasit Sitthitikul [email protected] <p> This case study examines the reading performance of a Thai college student who was studying English as a foreign language (EFL) in a U.S. institution. Through the use of think-aloud protocols and semi-structured interviews, an EFL Thai student’s use of metacognitive strategies was documented while she was in the process of reading and comprehending two experimental English texts. The student’s think-alouds were analyzed using the metacognitive reading strategies framework proposed by Jimenez, Garcia and Pearson (1996). The interview transcriptions were analyzed by the content analysis. The findings revealed that three broad themes emerge from the analysis: (a) the participant’s reflections on the reading instruction in Thailand; (b) the reading strategies the participant employed at the beginning of the student’s life in the U.S., and (c) the reading strategies the participant demonstrated from the think-aloud protocols. This study provided the insightful information of the metacognitive reading strategies and instructional implications, which has accounted for the reading behavior of an EFL reader that might allow EFL students an opportunity to take this case study as a lesson to improve their literacy performance, and has called for teachers’ fostering in the critical reading instruction to students.</p> 2023-12-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์