@article{เศรษฐธัญการ_2022, title={คำเรียกชื่อกระบองเพชรในภาษาไทย: การศึกษาเชิงภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์}, volume={20}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/article/view/262153}, abstractNote={<p>          งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาคำเรียกชื่อกระบองเพชรในภาษาไทยตามแนวทฤษฎีภาษาศาสตร์พฤกษศาสตร์ การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างคำเรียกชื่อกระบองเพชร 2) โครงสร้างคำเรียกชื่อกระบองเพชร และ 3) ความหมายเชิงมโนทัศน์ของคำเรียกชื่อกระบองเพชร จากการเก็บรวบรวมข้อมูลคำเรียกชื่อกระบองเพชรในภาษาไทยจากหนังสือและอินเตอร์เน็ตภายในปี พ.ศ. 2564 พบผลการวิจัย ดังนี้ 1) การสร้างคำเรียกชื่อกระบองเพชรในภาษาไทยมีทั้งหมด 6 วิธี ได้แก่ การยืมคำ (36%) การย่อคำ (27%) การประสมคำ (26.6%) การแปล (10%) การใช้ชื่อเฉพาะ (0.3%) และการเลียนเสียง (0.1%) 2) โครงสร้างคำเรียกชื่อกระบองเพชรในภาษาไทยประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ คำบ่งชื่อพืช แก่นชื่อพืชและส่วนขยาย ตามลำดับ และ 3) การวิเคราะห์ความหมายเชิงมโนทัศน์ พบความหมาย 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ความหมายเฉพาะ (88%) ความหมายอุปลักษณ์ (66%) และความหมาย นามนัย (56%) ประเภทความหมายอุปลักษณ์ที่พบมากที่สุด คือ สัตว์และอวัยวะสัตว์ (22.5%) สิ่งของ (21%) พืชชนิดอื่น (11%) และธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ (8%) นอกจากนี้ ประเภทความหมายนามนัยที่พบมากที่สุด คือ หนาม (26%) ทรงต้น (22%) ลวดลาย (20%) และสีต้น (14%)</p>}, number={2}, journal={มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์}, author={เศรษฐธัญการ โชติกา}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={65–87} }