วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu <p>วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Journal of Humanities Naresuan University; JHNU) เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ปรัชญาและศาสนา ดนตรีและนาฏศิลป์ โดยมีการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์ (refereed journal) โดยผู้ประเมินจำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้ ผู้ประเมินไม่เห็นชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบผู้ประเมิน (double blind review) มีกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ราย 4 เดือน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม</p> th-TH <p>- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย&nbsp;</p> <p>-&nbsp;บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน</p> humanjournal@hotmail.com (ผศ.ดร.แคทรียา อังทองกำเนิด (Asst. Prof. Catthaleeya Aungthonggumnerd, Ph.D.)) humanjournal@hotmail.com (นางสาวณัชชา แก้วเจริญเนตร (Ms. Nutcha Kaewcharernnet)) Tue, 30 Apr 2024 14:23:15 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาชุดฝึกทักษะครูช่างอุตสาหกรรมเพื่อสอนเป็นภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/258390 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะครูช่างอุตสาหกรรมเพื่อสอนเป็นภาษาอังกฤษ ตามแนวคิด CLIL 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของชุดฝึก และ 3) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อชุดฝึก กลุ่มตัวอย่างคือครูช่างอุตสาหกรรม จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจปัญหาและความต้องการ 2) ชุดฝึกอบรมจำนวน 10 ชุด 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ 4) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพ (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) และวิเคราะห์หาค่า t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีปัญหาด้านภาษาอังกฤษ 2) ผลการพัฒนาชุดฝึกได้ชุดฝึกจำนวน 3 โมดูล รวม 10 ชุดฝึก และ 3) ผลการนำชุดฝึกไปใช้ พบว่า3.1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกสูงกว่าเกณฑ์ E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub> เท่ากับ 80/80 3.2) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 3.3) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการจัดทำแผนจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 3.4) กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ในการนำวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ CLIL ไปใช้ และ 3.5) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อชุดฝึกอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41</p> คำนึง เจนการ, วิภารัตน์ แสงจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/258390 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การปรับวงเครื่องสายไทย กรณีศึกษารองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/259411 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับวงเครื่องสายไทย กรณีศึกษารองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ จากเพลงถอนสมอ เถา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพของศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช ผลการวิจัย พบว่า 1) ลีลาของสำนวนกลอนยังคงไว้ซึ่งตามต้นแบบอย่างครูเฉลิม ม่วงแพรศรี (ศิลปินแห่งชาติ) และมีการปรับปรุงสำนวนกลอนไปตามบริบท 2) กลวิธีการปรับวงเป็นไปตามแนวทางอย่างครูประสิทธิ์ ถาวร (ศิลปินแห่งชาติ) โดยบรรเลงด้วยแนวบรรเลงเรียวเป็นหางหนู การรับร้องใช้เม็ดพรายลดแนวเสียง และส่งร้องใช้กลวิธีการทอดลงและบูรณาการกับเม็ดพรายบัวไว้ใย และการเตรียมความพร้อมเพรียงในการบรรเลง กล่าวคือ การจัดระเบียบร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมในการวางตำแหน่งมือให้เกิดความพร้อมเพรียงและเป็นระเบียบสวยงาม</p> ประชากร ศรีสาคร Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/259411 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 พหุความเป็นชายและความเป็นชายอำนาจนำในนวนิยายเรื่องชายแพศยา ของ ว.วินิจฉัยกุล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/257928 <p>นวนิยายเรื่อง “ชายแพศยา” ของ ว.วินิจฉัยกุล นำเสนอให้เห็นถึงพหุความเป็นชายระหว่างความเป็นชายแพศยาและความเป็นชายแบบสุภาพบุรุษ บทความนี้มุ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในพหุความเป็นชายผ่านกรอบคิดความเป็นชายอำนาจนำด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายได้ประกอบสร้างให้สุภาพบุรุษเป็นรูปแบบความเป็นชายอำนาจนำซึ่งยึดโยงอยู่กับการซื่อสัตย์ ให้เกียรติผู้หญิง และมีความสามารถในทางเศรษฐกิจ ส่วนชายแพศยาถูกประกอบสร้างในลักษณะตรงกันข้ามที่ด้อยกว่าและพยายามที่จะกระทำตนให้เข้าใกล้กับความเป็นชายแบบสุภาพบุรุษที่สุด โดยที่ความเป็นชายทั้งสองแบบปฏิบัติการอำนาจความเป็นชายผ่านตัวละครหญิง นวนิยายเรื่องนี้จึงนำเสนอความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศสถานะใน 2 มิติ ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจภายในความเป็นชาย และความสัมพันธ์ที่ความเป็นชายมีเหนือกว่าความป็นหญิง</p> ธุวานันท์ คำลือ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/257928 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 เมืองหาง: สถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามคำให้การของคนไทยใหญ่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/256901 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามคำให้การของคนไทยใหญ่ ผู้วิจัยมุ่งตอบคำถามว่าพระเจดีย์สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เมืองหางจะมีจริงหรือไม่และความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับเจ้าคำก่ายน้อย เจ้าฟ้าแสนหวีจะมีข้อเท็จจริงเพียงใด พื้นที่แหล่งข้อมูลประกอบด้วยคนไทยใหญ่ที่อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง และคนไทยใหญ่เมืองแสนหวีที่มาทำงาน ณ กรุงเทพฯ โดยวิธีสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีแนวคิดตามทฤษฎีคนไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน สรุปผลการวิจัย คือ เมืองแหน คือ เมืองหาง ไม่ใช่เวียงแหง ความจริงก็คือ สถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามคำให้การของคนไทยใหญ่อยู่ที่เมืองหางซึ่งตรงกับประวัติศาสตร์ไทย พม่าและไทยใหญ่ เจ้าคำก่ายน้อย เจ้าฟ้าแสนหวีทรงเป็นพระสหายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ความสัมพันธ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับคนไทยใหญ่ได้สืบทอดกันมายาวนานจนถึงปัจจุบันนี้</p> จุฑารัตน์ เกตุปาน Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/256901 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 สัตว์เดรัจฉานในปัญญาสชาดก: บทบาทและความสำคัญต่อการสื่อสารแนวคิดทางพระพุทธศาสนา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/258753 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของสัตว์เดรัจฉานที่ปรากฏในปัญญาสชาดก และ 2) ศึกษาความสำคัญของตัวละครสัตว์เดรัจฉานต่อการสื่อสารแนวคิดทางพระพุทธศาสนาจากปัญญาสชาดก ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องตัวละครขององค์ประกอบเรื่องเล่า และกรอบแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของตัวละครสัตว์เดรัจฉานจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ บทบาทด้านบวกและบทบาทด้านลบ บทบาทด้านบวก ได้แก่ ตัวละครสัตว์เดรัจฉานมีลักษณะเป็นผู้มีคุณธรรม ส่วนบทบาทด้านลบ ได้แก่ ตัวละครสัตว์เดรัจฉานมีสถานะที่ต่ำต้อยกว่ามนุษย์ เป็นผู้ไม่มีเหตุผล ไม่มีปัญญาแยกผิดชอบชั่วดีได้ ขาดคุณธรรม เห็นแก่ตัว และการกล่าวโทษผู้อื่น บทบาทของสัตว์เดรัจฉานในปัญญาสชาดกดังกล่าวได้สื่อสารแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อุดมการณ์พระโพธิสัตว์ แนวคิดเรื่องกรรม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และความเป็นจริงของมนุษย์และโลก ปัญญาสชาดกจึงเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดกลวิธีการแต่งที่มุ่งนำเสนอตัวละครสัตว์เดรัจฉานในการดำเนินเรื่องอย่างโดดเด่นและตัวละครเดรัจฉานเป็นองค์ประกอบที่ยังคงเน้นย้ำแนวคิดสำคัญของพระพุทธศาสนาดังเช่นนิบาตชาดกในพระไตรปิฎก</p> สายหยุด บัวทุม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/258753 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 บทเพลงหลายเวอร์ชัน: กรณีศึกษา “รักแท้อยู่เหนือกาลเวลา” เพลงประกอบละครชุดสุภาพบุรุษจุฑาเทพ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/257938 <p>การดัดแปลงหรือทำให้เกิดความหลากหลายทางดนตรีจากแนวคิดเดิม อาจไม่จำเป็นต้องถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ของการคัดลอกผลงานหรือทำซ้ำเสมอไป ในทางตรงข้ามอาจใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการสร้างชิ้นงานนวัตกรรมทางดนตรีในแง่สุนทรียศาสตร์ และส่งเสริมความได้เปรียบเชิงธุรกิจ บทความฉบับนี้ผู้วิจัยได้หยิบยกบทเพลงหลายเวอร์ชันประกอบละครชุดสุภาพบุรุษจุฑาเทพ “รักแท้อยู่เหนือกาลเวลา” เพื่อศึกษาถึงปรากฏการณ์ทางดนตรีที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมเพลงป็อป ผู้วิจัยวิเคราะห์และนำเสนอกระบวนความคิดที่สะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ของการเรียบเรียงดนตรีหลายมิติ ผ่านองค์ประกอบดนตรี ลักษณะที่โดดเด่น และการศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของเพลง 5 เวอร์ชัน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงของกระบวนการแปรรูปผลงานทางดนตรี สามารถอธิบายมุมมองใหม่ของกระบวนการหยิบยืมทางดนตรีที่อยู่นอกขอบข่ายวรรณกรรมดนตรีคลาสสิก และถึงแม้ว่าบทเพลงรักแท้อยู่เหนือกาลเวลาแต่ละเวอร์ชันมีความหลากหลายเชิงพื้นที่ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานรวมทั้งอรรถรสของเสียง แต่กระนั้นยังคงมีเป้าหมายหนึ่งเดียวกันในการดึงความสนใจกลุ่มผู้ฟังได้อย่างลงตัว</p> ธรรศ อัมโร Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/257938 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การอ้างถึงและอุดมการณ์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต: ความเป็นปรปักษ์และความเป็นพวกพ้อง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/257010 <p>งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ความเป็นปรปักษ์และความเป็นพวกพ้องด้วยการใช้กลวิธีการอ้างถึง (reference) ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต โดยวิเคราะห์วาทกรรมพูด (spoken discourse) จำนวน 207 วาทกรรมซึ่งคัดเลือกจากบทสนทนาของกลุ่มผู้วิเศษ 4 กลุ่มจากวรรณกรรมเรื่องนี้ตามกรอบมิติทั้งสามของวาทกรรมของแฟร์คลัฟ โดยวิเคราะห์จากตัวบท ปฏิบัติการทางวาทกรรมและปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรมที่การอ้างถึงปรากฏ ผลการศึกษาพบการใช้การอ้างถึง 10 กลวิธี คือ การใช้ชื่อเต็มของบุคคล การใช้นามสกุล การใช้ชื่อต้นของบุคคล การใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 การใช้ชื่อกลุ่มคน การใช้วลี การใช้นามบัญญัติ การใช้คำบอกอาชีพ การใช้ชื่อองค์กร และการใช้คำย่อ ผลการวิจัยยังพบชุดอุดมการณ์ย่อย 7 ชุดภายในอุดมการณ์ความเป็นปรปักษ์และความเป็นพวกพ้อง นอกจากนี้ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงการมีอำนาจเหนือกว่าในสังคมผ่านการใช้การอ้างถึง</p> ศุภรวินท์ ปรุงเสริม, อรทัย ชินอัครพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/257010 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 เพลงเชิดนอก กับการพัฒนาทักษะการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260076 <p>บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อต้องการนำเสนอการพัฒนาทักษะการบรรเลงระนาดเอก จากการฝึกฝนกลวิธีการบรรเลงเพลงเดี่ยวเชิดนอก ซึ่งเป็นการต่อยอดทางความคิดในเรื่องของการพัฒนาทักษะการบรรเลงจากการไล่มือขั้นพื้นฐาน สู่การต่อยอดพัฒนาในเรื่องของกลวิธีพิเศษต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเพลงเดี่ยว รายละเอียดในเพลงเดี่ยวเชิดนอกมีทำนองที่มีความหลากหลายทางกลวิธีพิเศษ อีกทั้งยังมีอิสระในการบรรเลง ผู้บรรเลงสามารถฝึกใช้แรงในการบรรเลงได้ตามเหมาะสม รวมถึงยังฝึกสติ สมาธิ ในการบรรเลง มีช่วงกำหนดลมหายใจเตรียมความพร้อมของสภาพร่างกายกล้ามเนื้อในส่วนที่ใช้บรรเลงในขณะนั้น จึงได้เกิดมุมมองทางความคิดผสมกับประสบการณ์การบรรเลงระนาดเอก ที่ต้องเสนอมุมมองของกระบวนการพัฒนาในการใช้กลวิธีพิเศษต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดคุณภาพในการบรรเลงระนาดเอกอย่างมีประสิทธิภาพ</p> รณฤทธิ์ ไหมทอง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260076 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของศาสนาพุทธและคริสต์ในภาษาไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/261911 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบมโนทัศน์และถ้อยคำอุปลักษณ์ที่สะท้อนมโนทัศน์ของศาสนาพุทธและคริสต์ในภาษาไทย โดยศึกษาจากถ้อยคำอุปลักษณ์ที่ปรากฏในงานเขียนทางวิชาการ งานเขียนกึ่งวิชาการ เรื่องแต่ง หนังสือพิมพ์ และเบ็ดเตล็ดในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติของภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า อุปลักษณ์ศาสนาพุทธและคริสต์สามารถจำแนกเป็น 2 มโนทัศน์หลัก ได้แก่ [ศาสนา คือ สิ่งมีชีวิต] และ [ศาสนา คือ สิ่งที่ไม่มีชีวิต] ทั้งนี้ ศาสนาพุทธและคริสต์มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ย่อยที่เหมือนกัน 5 มโนทัศน์ ได้แก่ [ศาสนา คือ แบบเรียน] [ศาสนา คือ สิ่งปลูกสร้าง] [ศาสนา คือ สถานที่ปิดล้อม] [ศาสนา คือ ครู] และ [ศาสนา คือ ผู้มีอำนาจ] ส่วนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ย่อยที่แตกต่างกันของทั้งสองศาสนาคือ [ศาสนาพุทธ คือ ผู้ช่วยเหลือ] และ [ศาสนาพุทธ คือ พืช] ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมองศาสนาพุทธแตกต่างจากศาสนาคริสต์ กล่าวคือ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่พึ่งพาได้ แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นศาสนาที่ต้องได้รับการทำนุบำรุงให้ดำรงอยู่ต่อไปเช่นกัน</p> ธนัฏฐากุล พรทิพยพานิช Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/261911 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์ระบบใจความหลักของข้อความเกี่ยวกับภาษีบนทวิตเตอร์ (X) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260577 <p>บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาหน้าที่ด้านตัวบทของภาษาที่ปรากฏในข้อความเกี่ยวกับภาษีของคนไทยบนทวิตเตอร์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบใจความหลัก กลุ่มตัวอย่างข้อมูลคือ ข้อความเกี่ยวกับภาษีในระหว่างปี 2562-2563 จำนวน 1,447 ทวีต โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ระบบใจความหลักของ Halliday and Matthiessen (2004, 2014) และ Patpong (2006, 2009) ผลการศึกษาพบใจความหลักแสดงเรื่องมากที่สุด จำนวน 984 ทวีต (ร้อยละ 68) โดยพบชนิดกระบวนการที่เกี่ยวกับการกระทำในใจความหลักแสดงเรื่องมากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นการใช้คำกริยาในใจความหลักโดยละประธานหรือผู้กระทำที่ผู้เขียนและผู้อ่านรับรู้ร่วมกัน อันดับที่สองพบใจความหลักแสดงปฏิสัมพันธ์ จำนวน 309 ทวีต (ร้อยละ 21) โดยพบคำอ้างถึงที่เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 1 มากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพวกพ้องระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน อันดับสุดท้ายคือใจความหลักแสดงตัวบท จำนวน 154 ทวีต (ร้อยละ 11) โดยพบคำเชื่อมความแสดงการคาดคะเนมากที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังของผู้เขียนข้อความ นอกจากนี้ผลการวิจัยได้สะท้อนความคิดเกี่ยวกับภาษี 3 ประการ ได้แก่ 1) การเสียภาษี 2) ภาษีกับรัฐบาล และ 3) ภาษีกับข้าราชการ</p> วิชชกานต์ เมธาวิริยะกุล, เพ็ญนภา คล้ายสิงห์โต Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260577 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ภาพแทน “ร้านหนังสือ” ในนวนิยายเรื่องร้านหนังสือ 24 ชั่วโมงสุดท้าย ของกิตติศักดิ์ คงคา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260025 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพแทนของ “ร้านหนังสือ” จากนวนิยายเรื่องร้านหนังสือ 24 ชั่วโมงสุดท้าย ของกิตติศักดิ์ คงคา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร เน้นตีความจากตัวบท อาศัยทฤษฎีด้านวรรณกรรม และแนวคิดเกี่ยวกับภาพแทนมาช่วยอธิบายข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผู้เขียนสร้างภาพแทนของร้านหนังสือไว้ 2 ลักษณะ คือ 1) ภาพแทนของพื้นที่แห่งความคาดหวัง และ 2) ภาพแทนของพื้นที่การหลบหลีก ส่วนกลวิธีการนำเสนอภาพแทนพบว่ามี 4 กลวิธี ได้แก่ 1) การนำเสนอผ่านการร้อยโครงเรื่องร้านหนังสือ 2) การนำเสนอผ่านอารมณ์ของตัวละครชนชั้นกลาง 3) การนำเสนอผ่านฉากที่ผสมผสานระหว่างความสมจริงและความมหัศจรรย์ และ 4) การนำเสนอผ่านการใช้ภาษาเชิงสัญญะ ภาพแทนต่าง ๆ สื่อให้เห็นอารมณ์ ความรู้สึกและการใช้พื้นที่ของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันผ่านตัวบทนวนิยายได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นการนำเสนอภาพแทนร้านหนังสือยังแสดงให้เห็นถึงอดีตที่ถูกเยียวยาของคนชนชั้นกลาง จากการใคร่ครวญถึงอดีตที่ไม่สามารถตัดขาดจากการดำรงอยู่ในปัจจุบัน</p> กุลณัฐ บางสุข, พัชลินจ์ จีนนุ่น, วราเมษ วัฒนไชย Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260025 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความเชื่อมั่นต่อคำบอกเล่าของประจักษ์พยานจากสื่อสังคมออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260002 <p>จากปัญหาความเชื่อมั่นต่อคำบอกเล่าของประจักษ์พยานซึ่งเป็นปัญหาโดยตรงของญาณวิทยาทางสังคม ในกรณีของความเชื่อมั่นต่อคำบอกเล่าของประจักษ์พยานจากสื่อสังคมออนไลน์ พบว่ามีคำบอกเล่าของประจักษ์พยานอยู่สองประเภท ประเภทแรก คำบอกเล่าของประจักษ์พยานที่ไม่ถือว่าเป็นประจักษ์พยานหรือหลักฐานทางสังคมได้ และประเภทที่สอง คำบอกเล่าของประจักษ์พยานที่สามารถเป็นประจักษ์พยานได้ ซึ่งคำบอกเล่าของประจักษ์พยานประเภทนี้สามารถเชื่อถือได้ เนื่องจากมีเหตุผลรองรับ และการประเมินความเชื่อมั่นต่อคำบอกเล่าของประจักษ์พยานต้องอาศัยหลักฐานทางสังคมอื่น ๆ เช่น ความเชื่อ บรรทัดฐานทางสังคม และชุมชน เพื่อประกอบการเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความเชื่อมั่นต่อคำบอกเล่าของประจักษ์พยาน</p> ปรีชา บุตรรัตน์, วิเชียร แสนมี, ประภาส แก้วเกตุพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260002 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700