วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu <p>วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Journal of Humanities Naresuan University; JHNU) เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ปรัชญาและศาสนา ดนตรีและนาฏศิลป์ โดยมีการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์ (refereed journal) โดยผู้ประเมินจำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้ ผู้ประเมินไม่เห็นชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบผู้ประเมิน (double blind review) มีกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ราย 4 เดือน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม</p> คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร th-TH วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 3027-6101 <p>- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย&nbsp;</p> <p>-&nbsp;บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน</p> แนวทางการตีความและบรรเลงบทเพลง เอ-เซ มารส์? ของสเวลิงค์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/250457 <p>บทความนี้เป็นบทความวิชาการเกี่ยวกับการตีความและการบรรเลงบทเพลง เอ-เซ มารส์? ของยาน สเวลิงค์ (ค.ศ.1562-1621) บทเพลงในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการตอนปลายสำหรับบรรเลงบนฮาร์ปซิคอร์ดซึ่งมีเทคนิคการบรรเลงที่แตกต่างกับการบรรเลงบนเปียโน เนื้อหาในบทความเป็นการเสนอแนวทางในการบรรเลงบทเพลงดังกล่าวด้วยลีลาที่ถูกปรับให้เหมาะสมกับการบรรเลงบนเปียโนในปัจจุบัน ผู้อ่านสามารถนำแนวคิดในการบรรเลงดังกล่าวไปทดลองและปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม</p> ปานใจ จุฬาพันธุ์ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 20 3 1 11 งานประพันธ์เพลง: พระเจ้าตากสินมหาราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/248699 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีสมัยนิยมประกอบอรรถาธิบายโดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคุณูปการของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แบ่งขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ การประพันธ์ทำนอง คำร้อง และการเรียบเรียงเสียงประสาน<br /><br />ผลการศึกษาพบว่า 1) การประพันธ์ทำนองและร้องได้กำหนดรูปแบบของบทเพลง การแบ่งประโยค และวรรคเพลง บันไดเสียง ช่วงเสียง รวมถึงการพัฒนาทำนองอย่างเหมาะสม การประพันธ์คำร้องเป็นแบบร้อยกรองสอดคล้องกับเนื้อหาและอารมณ์เพลงในแต่ละท่อน ทำให้เพลงมีความสมบูรณ์และถูกต้องตามหลักทฤษฎีดนตรีสากล 2) ด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ได้กำหนดรูปแบบแนวคิดการเคลื่อนของทำนองแบบขนาน แบบเฉียง และแบบสวนทาง ตลอดจนการวางแนวเสียงแบบเปิดดรอปทู และคอร์ดทบเจ็ด เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาและอารมณ์ในแต่ละท่อนเพลง</p> จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน พนัง ปานช่วย Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 20 3 12 26 ชาตินิยมและสังคมพหุวัฒนธรรม: ความย้อนแย้งในอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมจากเรื่องสั้นอาเซียน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/248597 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมในประเด็นความเป็นชาตินิยมและสังคมพหุวัฒนธรรมจากเรื่องสั้นของนักเขียนกลุ่มอาเซียน โดยศึกษาจากเรื่องสั้นอาเซียนจำนวน 100 เรื่อง ด้วยกรอบแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ (Identity) และอัตลักษณ์ร่วม (Collective Identities) ผลการศึกษาพบว่า เรื่องสั้นอาเซียนจำนวน 13 เรื่องของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้แสดงถึงอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมในประเด็นความเป็นชาตินิยมและสังคมพหุวัฒนธรรมว่า คนอาเซียนเป็นคนที่มีสำนึกในชาตินิยมด้วยการมีอคติทางเชื้อชาติต่อคนเชื้อชาติอื่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนหรือในประเทศของตน ซึ่งปรากฏอคติทางเชื้อชาติ 3 ด้าน ได้แก่ สุขอนามัย วัฒนธรรม และรูปลักษณ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการอยู่ร่วมกันของคนต่างเชื้อชาติในประเทศเดียวกันจะทำให้เกิดอคติทางเชื้อชาติขึ้น แต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงสังคมพหุวัฒนธรรมที่คนต่างเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ซึ่งทำให้เกิดความย้อนแย้งในอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมของคนอาเซียนอย่างเห็นได้ชัดว่า คนอาเซียนเรียนรู้ รู้จักปรับตัว และสามารถยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติของคนเชื้อชาติอื่น ๆ ได้ แม้ว่าคนเชื้อชาติหลักจะยังคงมีอคติทางเชื้อชาติปรากฏอยู่ก็ตาม</p> เมศิณี ภัทรมุทธา ธัญญา สังขพันธานนท์ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 20 3 27 41 การตระหนักรู้เรื่องข้อบังคับการเลือกใช้ชนิดของคำในการสร้างคำผสานภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/249310 <p>งานวิจัยนี้ศึกษาระดับการตระหนักรู้เรื่องข้อบังคับการเลือกใช้ชนิดของคำในการสร้างคำผสานภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย 59 คน และความสัมพันธ์ระหว่างระดับการตระหนักรู้กับระดับความรู้ความสามารถโดยทั่วไปด้านภาษาอังกฤษ เครื่องมือคือแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ มีอุปสรรคและปัจจัยชนิดไม่กำกวม 10 ตัว และชนิดที่ให้ความหมายหลายนัย 10 คู่ เกรดเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษและคะแนนสอบมาตรฐาน CEPT ใช้เป็นค่าระดับความรู้ทั่วไปด้านภาษาอังกฤษ พบว่ากลุ่มตัวอย่างตระหนักรู้เรื่องดังกล่าวในระดับพอใช้ และประสบผลสำเร็จมากกว่าในการสร้างคำด้วยตัวอุปสรรคและปัจจัยชนิดไม่กำกวม และพบความสัมพันธ์ที่สอดคล้องตามกันกับระดับความรู้ด้านภาษาอังกฤษ โดยระดับค่า CEFR ของคำศัพท์มีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการเรียนรู้ข้อบังคับการเลือกใช้ชนิดของคำในการสร้างคำผสาน</p> ราเชน โพธิ์อิ่ม เสาวภาคย์ กัลยาณมิตร Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 20 3 42 61 การรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ: ความหมาย คุณค่า และตัวตนของคนไทยภาคเหนือและอีสาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/267757 <p>บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาความหมาย คุณค่าของการรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ และภาพสะท้อนตัวตนของคนไทยภาคเหนือและอีสานจากการประกอบพิธีกรรมดังกล่าว โดยใช้วิธีการสังเคราะห์ข้อมูลทางคติชนวิทยา จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญที่มีผู้ศึกษาไว้ก่อนแล้วในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2530-2560 ผลการศึกษาพบว่า การรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ เป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญต่อกลุ่มชนในสังคมวัฒนธรรมสุขภาพแบบพื้นบ้าน ในความหมายของ “พิธีกรรมการสู่ขวัญ” เป็นการเรียกขวัญให้กลับมาสู่ร่างกายของผู้ป่วย ส่งผลทำให้หายจากอาการเจ็บป่วย ซึ่งการรักษาโรคด้วยพิธีกรรมมีคุณค่าทางตรงเกี่ยวข้องกับการดูแล การป้องกัน และการรักษาโรคทางกายและจิตใจของผู้ป่วย และคุณค่าทางอ้อมเกี่ยวข้องกับการรักษาแบบแผนพฤติกรรมอันดีของคนในสังคมวัฒนธรรม อีกทั้งยังสะท้อนภาพตัวตนของคนไทยภาคเหนือและอีสานที่มี “ลักษณะร่วมกัน” ได้แก่ การเคารพสิ่งเหนือธรรมชาติ การเป็นสังคมเกษตรกรรม และ “ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน” ได้แก่ การใช้ภาษาถิ่นในพิธีกรรม นอกจากนี้ การรักษาโรคด้วยพิธีกรรมการสู่ขวัญ ยังเป็นกลไกทางสังคมวัฒนธรรมสำคัญในฐานะพลังขับเคลื่อนทางชีวิตและจิตวิญญาณ เพื่อช่วยให้มนุษย์ผ่านวิกฤตการณ์ในชีวิตไปได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยให้บุคคลสามารถเชื่อมโยงตนกับสังคม และเชื่อมโยงตนกับโลกธรรมชาติและระบบจักรวาล</p> สุรเชษฐ์ คูหาเลิศ อรอุษา สุวรรณประเทศ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 20 3 62 81 พระนามของพระศรีมหาอุมาเทวีในคัมภีร์ศรีลลิตาสหัสรนาม ในมุมมองของคติชนวิทยาสามมิติ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/267790 <p>บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพระนามของพระศรีมหาอุมาเทวีที่ปรากฏในคัมภีร์ศรีลลิตา สหัสรนาม ในมุมมองของคติชนวิทยาสามมิติ เป็นการวิจัยจากเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า พระศรีมหาอุมาเทวีเป็นเทวสตรีผู้มีความหลากหลายทางด้านพระนาม รูปลักษณ์ บุคลิกภาพ ทรงสำแดงองค์ได้หลายบทบาท มีปรากฏแพร่หลายในเทพปกรณัมทางศาสนาฮินดู สะท้อนถึงประวัติ ความเชื่อมโยงกับเทพเจ้าอื่น ๆ ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม วีรกรรมต่าง ๆ ทำให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ผ่านเทพปกรณัม ด้วยสารสาระที่มีรายละเอียดและมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ทำให้พระศรีมหาอุมาเทวีมีพระนามที่ผู้คนเรียกขานเป็นจำนวนมาก ปรากฏในคัมภีร์ศรีลลิตาสหัสรนาม (Sri Lalita Sahasaranama) ถึง 1,000 พระนาม พระนามจากคัมภีร์นี้ได้มีผู้นำมาเป็นบทสวดมนตรา เพื่อใช้เจริญสติและสมาธิ สร้างพลังมันตระ สามารถนำไปสู่ความหลุดพ้นตามหลักศาสนาฮินดูได้ นอกจากนี้ความหมายของพระนามต่าง ๆ ยังสะท้อนคุณลักษณะส่วนพระองค์ของพระศรีมหาอุมาเทวีได้อย่างชัดเจน ได้แก่ คุณลักษณะพิเศษแห่งความเป็นมหาเทวีทั้งด้านรูปธรรมและนามธรรม บทบาทในฐานะชายาและศักติของพระศิวะ บทบาทในฐานะมารดาแห่งโลก ความเชื่อมโยงกับเทพเจ้าพระองค์อื่น และสะท้อนถึงสิ่งที่พระศรีมหาอุมาเทวีโปรดปราน <br /><br />จากความหมายของพระนาม สามารถเชื่อมโยงได้ตามแนวคิดคติชนวิทยาสามมิติ ได้แก่ มิติแห่งปัจเจกบุคคล มิติแห่งสังคมและวัฒนธรรม และมิติแห่งเทพปกรณัม ทำให้เข้าใจปรากฏการณ์การนับถือพระศรีมหาอุมาเทวีมากขึ้น ทุกพระนามและทุกเทพปกรณัมล้วนเป็นบทเรียนของชีวิต มีบทบาทในการเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และจรรโลงจิตวิญญาณเพื่อให้มีพลัง มีกำลังใจและตั้งมั่นอยู่ในความดี ทั้งยังมีส่วนในการสร้างสังคมที่ดีต่อไป</p> อาทิมา พงศ์ไพบูลย์ อรอุษา สุวรรณประเทศ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 20 3 82 98 การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในนิทานเมียนมา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/267589 <p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการจำแนกประเภทและความถี่ของการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมในนิทานเมียนมา โดยใช้ข้อมูลนิทานเมียนมาจากหนังสือรวมเล่มนิทานนุหยี่ง (နုယဉ်ပုံပြင်ပေါင်းချုပ်) จำนวน 30 เรื่อง ผลการศึกษาพบประเภทของการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อม โดยเรียงลำดับความถี่ที่ปรากฏจากมากไปน้อย ได้แก่ การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแบบแสดงลำดับเวลา (ร้อยละ 65) ปรากฏความถี่มากที่สุด เนื่องด้วยตัวบทนิทานเมียนมาของนุหยี่ง เป็นลักษณะที่เล่าเรียงตามลำดับเวลา เพื่อให้ผู้ฟังและผู้อ่านเข้าใจต่อเนื้อหาโดยง่าย รองลงมาคือ การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแบบแสดงเหตุแสดงผล (ร้อยละ 12.27) การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแสดงจุดหมาย (ร้อยละ 8.31) การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแสดงเงื่อนไข (ร้อยละ 6.11) การเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแบบคล้อยตาม (ร้อยละ 4.93) และการเชื่อมโยงความด้วยคำเชื่อมแบบขัดแย้ง (ร้อยละ 3.38) ตามลำดับ</p> ธนชาติ เกิดเกรียงไกร อรทัย ชินอครพงศ์ Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 20 3 99 112 ปริทัศน์หนังสือ (Book review) เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัย วรรณคดีตะวันตก วรรณคดีอังกฤษและอเมริกัน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/256611 ภัทร ชุมสาย ณ อยุธยา Copyright (c) 2023 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-29 2023-12-29 20 3 113 116