https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/issue/feed วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2024-08-31T11:52:52+07:00 ผศ.ดร.แคทรียา อังทองกำเนิด (Asst. Prof. Catthaleeya Aungthonggumnerd, Ph.D.) humanjournal@hotmail.com Open Journal Systems <p>วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (Journal of Humanities Naresuan University; JHNU) เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานวิชาการด้านภาษา วรรณคดี คติชน ปรัชญาและศาสนา ดนตรีและนาฏศิลป์ โดยมีการประเมินบทความก่อนตีพิมพ์ (refereed journal) โดยผู้ประเมินจำนวน 3 ท่าน ทั้งนี้ ผู้ประเมินไม่เห็นชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบผู้ประเมิน (double blind review) มีกำหนดการตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ราย 4 เดือน คือ ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/261927 แนวคิดธัมมิกเศรษฐกิจในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ 2022-10-18T09:28:47+07:00 วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน wisitte@hotmail.com ปรียานุตร สุรินทร์แก้ว preeyanoot@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดธัมมิกเศรษฐกิจในทัศนะของพุทธทาสภิกขุในประเด็นของหลักการ เป้าหมาย และแนวทางปฏิบัติ โดยใช้หลักการตีความและอธิบายความด้วย ภาษาคน-ภาษาธรรม เป็นเครื่องมือในการอธิบายความคิดของพุทธทาสภิกขุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาเชิงวิเคราะห์<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการธัมมิกเศรษฐกิจต้องเป็นเศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรมที่แสดงออกถึงคุณค่า 3 ประการ คือ (1) เป็นเหตุแห่งความปกติ (2) ได้รับผลเป็นความปกติ และ (3) ไม่ทำลายธรรมชาติแห่งความปกติ 2) เป้าหมายธัมมิกเศรษฐกิจมีอยู่ 2 ระดับ คือ (1) เพื่อให้เกิดความถูกต้องของชีวิต เกี่ยวกับการเป็นอยู่ด้วยปัจจัย 4 ในการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อปัจเจกและสังคม (2) เพื่อการทำนิพพานให้แจ้งนั่นคือ ความสุข ความเต็มเปี่ยมของความเป็นมนุษย์ หน้าที่เพื่อประโยชน์แก่หน้าที่ และความรักสากล 3) แนวทางปฏิบัติธัมมิกเศรษฐกิจ มี 2 ระดับ คือ (1) การดำเนินชีวิตโลกุตรธรรมในชีวิตประจำวันสำหรับปัจเจกชน (2) ระบบเศรษฐกิจธัมมิกสังคมนิยม หลักปฏิบัติสำหรับการจัดองค์กรทางเศรษฐกิจสังคม โดยให้เห็นแก่เพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตนเอง เป็นไปเพื่อการพัฒนาชีวิตมนุษย์และสังคมไปสู่เป้าหมายสูงสุดตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาคือนิพพาน</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/265566 เสน่ห์เสียงจะเข้ครูระตี วิเศษสุรการ 2023-02-06T13:24:26+07:00 ประชากร ศรีสาคร prachakons@nu.ac.th <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการบรรเลงจะเข้ตามแนวทางของครูระตี วิเศษสุรการ ในบริบทของการจัดระเบียบร่างกายในการบรรเลง รวมถึงหลักการในการบรรเลงจะเข้อันพึงปฏิบัติโดยรอบ เพื่อให้ได้ลีลาและคุณภาพเสียงอย่างครูระตี วิเศษสุรการ ไว้เป็นแบบอย่าง ผ่านมุมมองจากประสบการณ์ตรงของครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล โดยการสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากผู้ทรงคุณวุฒิทางจะเข้ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย สิ่งพิมพ์ และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง <br />ครูระตี วิเศษสุรการ ท่านเป็นเอตทัคคะด้านจะเข้ที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่ง ได้รับการสืบทอดวิชาจะเข้จากครูทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ ครูชุ่ม กมลวาทิน ครูจ่าง แสงดาวเด่น และครูแสวง อภัยวงศ์ ครูระตี วิเศษสุรการ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพลังฝีมือและมีรสมืออันเป็นเอกลักษณ์ชนิดที่เรียกว่า “คมคาย ไหว ร่อน เรียบ ชัดเจน กระจ่างแจ้ง” จนกระทั่งใช้เป็นแบบอย่างในการสืบทอดให้กับศิษย์ในสำนัก ครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล ถือเป็นศิษย์คนสำคัญที่ได้รับการสืบทอดโดยตรงจากครูระตี วิเศษสุรการ จนเป็นผู้มีความถึงพร้อมทั้งมือและใจ และเป็นที่เคารพยอมรับของนักจะเข้ในสำนัก และนักจะเข้ท่านอื่นในวงการดนตรีไทย </p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/266379 การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2023-03-07T10:38:42+07:00 อุบลวรรณ โตอวยพร nu19929@hotmail.com นราพงษ์ จรัสศรี thaiartmovement@hotmail.com <p>บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และเกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ <br />ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พื้นที่ในการแสดง คือ วัดช้างล้อม ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) บทการแสดง แบ่งออกเป็น 5 องก์ 3) ลีลาการเคลื่อนไหวแสดงออกผ่านลีลาการเคลื่อนไหวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) และการด้นสด (Improvisation) 4) นักแสดงเป็นผู้ที่มีทักษะนาฏศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 5) เครื่องแต่งกายมีรูปแบบที่เรียบง่าย กลมกลืนกับพื้นที่ และไม่เจาะจงเพศ 6) เสียงประกอบการแสดง ได้แก่ เสียงธรรมชาติ และดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ และ 7) แสง ใช้แสงธรรมชาติ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังหาแนวคิดที่ได้หลังการแสดงที่ต้องคำนึงถึงทั้งสิ้น 5 ประการ ได้แก่ 1) สถานที่และโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 3) การออกแบบพื้นที่ 4) ความเรียบง่ายตามแนวคิดหลังสมัยใหม่ และ 5) แนวคิดทฤษฎีทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ผลของการวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจศึกษาการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เฉพาะที่ในอนาคตต่อไป</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/261441 กลวิธีทางภาษาผ่านบทเพลงช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) 2022-08-11T11:16:36+07:00 ณัฐกฤตา นามมนตรี n.nutkritta@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาผ่านบทเพลงช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ใช้แนวคิดเรื่อง กลวิธีทางภาษา ข้อมูลจากบทเพลงช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมจำนวนทั้งสิ้น 72 เพลง โดยเป็นบทเพลงที่เผยแพร่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีทางภาษาผ่านบทเพลงช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) คือ 1. การใช้คำ ได้แก่ คำเฉพาะวงการ คำทับศัพท์ คำภาษาถิ่น คำสแลง คำซ้ำ คำซ้อน คำสมญานาม คำตัดสั้น คำต่ำ คำหยาบ คำอักษรย่อ คำอุทาน 2. การใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ อติพจน์ และ 3. การใช้สำนวน</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/260198 อีสานทารันเทลล่า พา เดอ เดอซ์: การผสานกายวัฒนธรรมอีสานในบัลเลต์ 2022-09-14T15:12:40+07:00 ภัชภรชา แก้วพลอย padparadscha@go.buu.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกลวิธีการสร้างสรรค์บัลเล่ต์ชุด อีสาน ทารันเทลล่า พา เดอ เดอซ์ ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์บัลเลต์เชิงทดลอง ประกอบด้วย 1) เทคนิคการสร้างสรรค์บัลเลต์แบบพา เดอ เดอซ์ และ 2) การทดลองการผสานกายวัฒนธรรมอีสานในบัลเลต์ โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ 1) การรวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เอกสาร ข้อมูลออนไลน์ และประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์ มาวิเคราะห์เป็นกรอบแนวคิด 2) การทดลองสร้างสรรค์ 3) การประเมินและการปรับแต่ง และ 4) การนำเสนอผลงานสู่สาธารณชน<br />การสร้างสรรค์บัลเล่ต์ชุด อีสาน ทารันเทลล่า พา เดอ เดอซ์ นั้นนำสนอกระบวนการสร้างสรรค์บัลเลต์รูปแบบใหม่ ลักษณะใหม่ และสุนทรียศาสตร์ใหม่ด้วยแนวคิดระหว่างวัฒนธรรม ดังนี้ 1) สุนทรียะในวัฒนธรรมอีสาน 2) บริบทสังคมวัฒนธรรมอีสาน และ 3) ท่ารำพื้นบ้านอีสาน ซึ่งจากผลการนำเสนอการแสดงชี้ให้เห็นว่าการแสดง อีสาน ทารันเทลล่า พา เดอ เดอซ์นั้นมีลักษณะแตกต่างในระบบคลาสสิก และมีการผสานกายวัฒนธรรมอีสานลงไปเพื่อให้เกิดรูปแบบการแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในลักษณะการเต้นรำระหว่างวัฒนธรรม โดยการเคลื่อนไหวร่างกายได้รับแรงบันดาลใจมาจากการแสดงพื้นบ้านอีสาน เทคนิคบัลเลต์ และสอดคล้องกับดนตรีที่น่าตื่นเต้น </p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/266918 พลวัตของวรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในมิติแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ 2023-04-25T10:23:43+07:00 คณิตา หอมทรัพย์ kanitah63@nu.ac.th ธัญญา สังขพันธานนท์ thanyas@nu.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของวรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จำนวน 40 เรื่องในมิติของแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในสังคมวัฒนธรรมไทยเป็นแนวทางการศึกษาและการเทียบเคียง โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติของไทยในสมัยอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ทั้งหมด 4 แนวคิด ได้แก่ 1) เทวราชา 2) ธรรมราชา 3) พุทธราชา และ 4) พระจักรพรรดิราช วรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยปรากฏในวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติของไทยในสมัยอดีตที่สำคัญทั้งหมด 9 แนวคิด ได้แก่ 1) เทวดาที่เดินดิน 2) ธรรมราชาที่เมตตาต่อผู้ยากไร้และอุปถัมภ์ทุกศาสนา 3) พระจักรพรรดิราชผู้ทรงบารมีแบบใหม่และครอบครองอิตถีรัตนะ 4) พระมหาชนกแห่งแผ่นดิน 5) ครูแห่งแผ่นดิน 6) พ่อแห่งแผ่นดิน 7) กษัตริย์ผู้เป็นนักพัฒนา 8) กษัตริย์แห่งการเกษตร และ 9) กษัตริย์แห่งความพอเพียง แนวคิดดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า จากเดิมที่พระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะสูงส่งได้ปรับเปลี่ยนให้ทรงมีความเป็นสามัญมนุษย์และใกล้ชิดกับประชาชน มุ่งเน้นการทรงงานและพัฒนาบ้านเมืองด้วยกำลังพระสติปัญญา วรรณกรรมร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะพระองค์โดยสัมพันธ์กับพระราชกรณียกิจและบริบททางสังคมวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/266056 วัจนกรรมแสดงความรู้สึกในจดหมายลาตายจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทย (พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2563) 2023-03-27T09:59:14+07:00 ธีรภัทร คำทิ้ง theerapatkhumting03@gmail.com อรทัย ชินอัครพงศ์ ochin1965@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วัจนกรรมแสดงความรู้สึกที่ปรากฏในจดหมายของคนฆ่าตัวตายในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2563 เก็บข้อมูลจากจดหมายของคนฆ่าตัวตายซึ่งไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนที่มีการเผยแพร่และนำเสนอในเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ ได้แก่ https://www.thairath.co.th และ https://www.khaosod.co.th ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2563 รวมจำนวนทั้งสิ้น 45 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า ในจดหมายของคนฆ่าตัวตายมีการใช้วัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึก 65 ถ้อยคำ จำแนกเป็น 8 วัจนกรรมย่อย ได้แก่ วัจนกรรมการขอโทษปรากฏ 16 ถ้อยคำ ซึ่งปรากฏมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 24.62 รองลงมาคือ วัจนกรรมการแสดงความสิ้นหวังและท้อแท้ ปรากฏ 14 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 21.54 วัจนกรรมการตำหนิ ปรากฏ 9 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 13.85 วัจนกรรมการอำลา ปรากฏ 8 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 12.31 วัจนกรรมการขอบคุณปรากฏเท่ากับวัจนกรรมการแสดงความรัก ปรากฏ 7 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 10.76 วัจนกรรมการอวยพรปรากฏ 3 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 4.62 ตามลำดับ และวัจนกรรมการให้กำลังใจน้อยที่สุดปรากฏ 1 ถ้อยคำ คิดเป็นร้อยละ 1.54 ทั้งนี้ผลการศึกษาเป็นวัจนกรรมกลุ่มแสดงความรู้สึกที่แสดงออกผ่านถ้อยคำในจดหมายทั้งความรู้สึกที่ดีและไม่ดีอันอัดอั้นอยู่ภายในใจของผู้ตายต่อบุคคลรอบข้างหรือสิ่งต่าง ๆ แต่ไม่สามารถแสดงหรือบอกกล่าวให้ผู้อื่นทราบตอนยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึงสาเหตุหรือเหตุจูงใจของการฆ่าตัวตายได้</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/266615 ประโยคประธานไร้ตัวตน: หน้าที่และการเข้าใจข้ามภาษาผ่านภาษาศาสตร์และการแปลจากอังกฤษเป็นไทย 2023-06-08T16:07:48+07:00 อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา somchai8132@hotmail.com <p>บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาหน้าที่และการเข้าใจข้ามภาษาเกี่ยวกับประโยคประธานไร้ตัวตนผ่านภาษาศาสตร์และการแปลจากภาษาอังกฤษสู่ภาษาไทย โดยมีข้อมูลวิจัยเป็นตัวบทประเภทเรื่องเล่า มีแนวทางการวิเคราะห์ด้านภาษาศาสตร์บนพื้นฐานไวยากรณ์หน้าที่นิยมเชิงแบบลักษณ์และด้านการแปลในแนวสากลของ Newmark ผลการวิจัยปรากฏว่าประโยคประเภทนี้ มีการแปลเป็นภาษาไทยใน 3 กลุ่มวิธีได้แก่การแปลแบบตามอักษร ปรากฏร้อยละ 57 จากจำนวนประโยคทั้งหมด การแปลแบบไม่ตามอักษร ร้อยละ 42 ซึ่งรวมวิธีการแปลแบบตรงภาษา แบบตรงความหมาย และแบบสื่อความ และการไม่แปล ร้อยละ 1 ในส่วนของหน้าที่ปรากฏในเชิงสื่อสารและเชิงไวยากรณ์ หน้าที่เชิงสื่อสารปรากฏในระดับประโยคและระดับสัมพันธสาร ในระดับประโยคแสดงสภาพอากาศ อุณหภูมิ สภาพแวดล้อม สถานการณ์ เวลา ระยะทาง การระบุบุคคล ความเกี่ยวข้อง และสาเหตุ ส่วนในระดับสัมพันธสารแสดงการเจาะเน้นต่าง สำหรับหน้าที่เชิงไวยากรณ์แสดงประโยคประธานเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งใช้แทนประโยคที่มีกริยารับประธานเชิงประโยคในภาษาพูด ส่วนใหญ่ผู้แปลมีความเข้าใจถึงหน้าที่และโครงสร้างภาษา มีเพียงการแปลหน้าที่การเจาะเน้นต่างเท่านั้นที่ผู้แปลไม่ได้คงไว้ซึ่งสารเดิมในบางโอกาส</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/269949 สตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา 2023-07-20T15:00:35+07:00 ณัฐธยาน์ ตั้งถาวรสกุล natthaya_th88@hotmail.com เจือง ถิ หั่ง truongthihang.vn@gmail.com <p>บทความวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทสตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากตัวบทวรรณคดีสันสกฤตในหนังสือภารตนิยายของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา บทความนี้ใช้แนวคิดบทบาทและแนวคิดวรรณกรรมกับสังคมเป็นกรอบในการศึกษา ใช้คำว่า "บทบาท" ในความหมายที่เป็นความคาดหวังที่สังคมฮินดูมีต่อสตรี มีรูปแบบการแสดงออก คือ การกระทำของตัวละครที่ไม่สัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคม พร้อมทั้งบทลงโทษที่ตัวละครต้องน้อมรับ อันเกิดจากพฤติกรรมที่อยู่นอกปทัฏฐานดังกล่าว นำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ <br />ผลการศึกษาพบว่า สตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา มีจำนวน 8 เรื่อง ได้แก่ “เทวสมิตา” “อิศวรวรรมัน” “เทวทัตต์” “มณีกัณฐ์” “เทวยานีและกจะ” “อหลยา” “ศวรี” และ “ศิวเศขร” ประกอบด้วยตัวละครประเภทมนุษย์ 4 ตัว และประเภทอมนุษย์ 5 ตัว บทบาทของสตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายมี 2 บทบาท ได้แก่ 1) บทบาทในฐานะผู้ร้าย และ 2) บทบาทในฐานะชู้ ถือเป็นบทบาทเชิงลบของตัวละครสตรีในวรรณคดีสันสกฤต ซึ่งตัวละครสตรีที่เป็นมนุษย์มีบทบาทค่อนไปทางผู้ร้าย ใฝ่ในทรัพย์ ตามวิถีเยี่ยงโลกียวิสัยแห่งมนุษย์โลก ขณะที่ตัวละครสตรีที่เป็นอมนุษย์ไม่สนใจในทรัพย์สิน เพราะมีความบริบูรณ์พร้อมทั้งรูปสมบัติและทรัพย์สมบัติตามสถานภาพอันเป็นทิพยสุข ทว่ากลับขาดแคลนความรักและความมั่นคงทางจิตใจ จึงมีบทบาทค่อนไปทางชู้ สตรีนอกขนบนิยมในภารตนิยายยังเป็นภาพสะท้อนมุมกลับของสตรีในสังคมอินเดียสมัยโบราณ ซึ่งไม่พึงยกย่องสตรีที่มากด้วยราคะ โลภะ โทสะ และโมหะ โดยเฉพาะสตรีที่เป็นชู้ นักบวชทุศีล และผู้ค้าประเวณี</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/268697 การศึกษาภาพจิตรกรรมบทพุทธชัยมังคลอัฏฐคาถาในถ้ำโพวินต่อง เมืองโมนยวา ประเทศพม่า 2023-07-20T14:11:16+07:00 ศรัณย์ มะกรูดอินทร์ panyabalo@gmail.com <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะทางประติมานวิทยาของภาพจิตรกรรมบทพุทธชัยมังคลอัฏฐคาถาที่พบภายในถ้ำโพวินต่อง เมืองโมนยัว ประเทศพม่า ผลการศึกษาพบว่า บทพุทธชัยมังคลอัฏฐคาถาเป็นบทสวดมนต์สำคัญที่กล่าวถึงชัยชนะอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้าในการปราบมนุษย์หรืออมนุษย์ด้วยธรรมวิธีต่าง ๆ 8 เหตุการณ์ โดยมีแนวคิดว่าบทสวดมนต์นี้แต่งขึ้นในประเทศศรีลังกาหรือในประเทศไทย ทั้งยังเป็นบทสวดมนต์ที่มีการแต่งคัมภีร์อธิบายขยายความคือคัมภีร์ฎีกาพาหุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในดินแดนประเทศไทย หากแต่รูปแบบและคติความเชื่อจากบทสวดมนต์ดังกล่าวได้ไปสะท้อนภาพบนจิตรกรรมภายในถ้ำโพวินต่อง เมืองโมนยัว ประเทศพม่า อย่างมีนัยสำคัญ</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/269999 การซ้อนคำและการเพิ่มพยางค์ของคำใหม่ที่พบในเว็บไซต์พันทิปดอตคอม 2023-07-20T15:21:26+07:00 วรรณภา สรรพสิทธิ์ wannabha.sap@sru.ac.th <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนหน่วยที่เกิดการซ้อนคำและลักษณะความหมายที่เกิดจากการซ้อนคำ และศึกษาจำนวนหน่วยที่เกิดการเพิ่มพยางค์และลักษณะของหน่วยขยายที่นำมาเพิ่มพยางค์ของคำใหม่ที่ปรากฏในกระดานสนทนาเว็บไซต์พันทิปดอตคอม ผลการวิจัยพบการซ้อนคำจำนวน 204 หน่วย การเพิ่มพยางค์จำนวน 140 หน่วย และการซ้อนคำร่วมกับการเพิ่มพยางค์อีก 8 หน่วย รวมทั้งสิ้น 352 หน่วย ด้านการซ้อนคำพบว่าจำนวนหน่วยที่เกิดการซ้อนคำมี 2-5 หน่วย มีความยาว 2-10 พยางค์ ลักษณะความหมายที่เกิดจากการซ้อนคำมี 4 ลักษณะ คือ 1) ความหมายแบบผลรวมของทุกหน่วย 2) ความหมายเชิงอุปลักษณ์ 3) ความหมายเน้นว่ามาก และ 4) ความหมายเท่ากับหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ด้านการเพิ่มพยางค์พบว่าจำนวนหน่วยที่เกิดการเพิ่มพยางค์มี 2-3 หน่วย มีความยาว 2-7 พยางค์ ลักษณะของหน่วยขยายที่นำมาเพิ่มพยางค์มี 3 ลักษณะ คือ 1) หน่วยขยายที่สื่อด้วยเสียง 2) หน่วยขยายที่เป็นคำไทยซึ่งความหมายไม่เกี่ยวข้อง และ 3) หน่วยขยายที่เป็นคำภาษาต่างประเทศ</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhnu/article/view/267890 การแสดงในพิธีกรรมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สะท้อนบริบททางสังคม กรณีศึกษาพิธีกรรมแห่นางแมวบ้านนางั่ว ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2023-08-07T09:15:28+07:00 ปาริชาติ ลาจันนนท์ parichat.laj@pcru.ac.th อังคณา จันทร์แสงศรี hongjaroensri@hotmail.com จันทร์พิมพ์ มีเปี่ยม chanpim_me@pcru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมและรูปแบบการฟ้อนในพิธีกรรมแห่นางแมว และเพื่อศึกษาการคงอยู่ของการแสดงในพิธีกรรมกับภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การแห่นางแมวที่สะท้อนบริบททางสังคม <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเพณีแห่นางแมวเป็นพิธีขอฝนตามที่ทำสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น โดยสมาชิกในตำบลนางั่ว มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และ ฆ้องกระแต รูปแบบสภาพการฟ้อน เป็นท่าฟ้อนแบบชาวบ้าน มี 12 กระบวนท่ารำ ได้แก่ (1) ท่าไหว้ (2) ท่าปัดป้อง (3) ท่าขอฝน (4) ท่าลมพัด (5) ท่าดอกบัวบาน (6) ท่าสนุกสนาน (7) ท่าฝนเทลงมา (8) ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง (9) ท่าปลาเล็ก (10) ท่าปลาใหญ่ (11) ท่าเต่า และ (12) ท่านก 2) สถานภาพการคงอยู่ของการแสดงในพิธีกรรมแห่นางแมวที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตด้านขนบธรรมเนียมประเพณีด้านการละเล่นโดยเฉพาะการฟ้อนรำการแห่นางแมว มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดเอกลักษณ์ของชุมชนเป็นอย่างดี ชาวบ้านแต่ละหมู่มาร่วมพิธีกรรมกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งความสำคัญของการแสดงฟ้อนในการแห่นางแมวยังทำให้เกิดความรักและความสามัคคีของคนในชุมชน</p> 2024-08-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร