TY - JOUR AU - ฐานประเสริฐ, สิทธิ์ศิริ PY - 2020/11/13 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัญหาที่ส่งผลกระทบทางด้านการเงินต่อการขยายธุรกิจรับเหมาก่อสร้างประเภทอาคาร ของผู้รับเหมาก่อสร้างในจังหวัดนครปฐม JF - วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย JA - วนกว VL - 2 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/248457 SP - 47-58 AB - <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อปัญหาที่ส่งผลกระทบทางด้านการเงินต่อการขยายธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ประเภทอาคารของผู้รับเหมาก่อสร้าง ในจังหวัดนครปฐม ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 46 ท่าน ถูกเลือกให้เป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test&nbsp;&nbsp; การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ปัญหาต่างๆ จะถูกวิเคราะห์และเรียงลำดับตามระดับความรุนแรง ข้อมูลถูกวิเคราะห์โดยการแบ่งกลุ่มข้อมูลตามสถานภาพส่วนบุคคลและประเภทของอาคาร เพื่อคัดเลือกปัญหาที่สำคัญสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง จะพิจารณาว่าเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากที่สุด ปานกลาง และความรุนแรงน้อยที่สุด ตามลำดับ</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า เงินทุนที่มีจำกัด ความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง ความผันผวนทางเศรษฐกิจ และดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากที่สุดของผู้รับเหมาก่อสร้างทุกท่าน &nbsp;ดังนั้นปัญหาเหล่านี้ควรได้รับการควบคุมอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้ประสบกับสภาวะล้มเหลวทางการเงินในการบริหารจัดการงานก่อสร้างมีข้อจำกัดในเรื่องของความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาจากองค์กรผู้รับเหมาก่อสร้างบางราย อีกทั้งกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาเป็นกลุ่มของผู้รับเหมาก่อสร้างประเภทอาคาร จึงทำให้จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มเครื่องมือในการศึกษามากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มแนวทางการเก็บข้อมูลให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เรื่องของปัญหาที่ส่งผลกระทบทางด้านการเงินต่อการขยายธุรกิจรับเหมาก่อสร้างประเภทอาคาร ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่จำกัดและเป็นองค์การรับเหมาก่อสร้างภายในจังหวัดนครปฐม และส่วนมากเป็นองค์กรขนาดเล็ก ทำให้มุมมองในการตอบแบบสอบถามเป็นไปในแนวทางใกล้เคียงกัน เป็นความคิดเห็นขององค์กรขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีการศึกษาเพิ่มเติมในระดับภูมิภาค และระดับประเทศต่อไป เพื่อที่จะได้มุมมองกว้างขึ้นจากองค์กรที่มีขนาดใหญ่ได้อีกด้วย</p> ER -