วารสารพุทธจิตวิทยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp
<p><strong> วารสารพุทธจิตวิทยา</strong> <strong>ISSN: 2774-1095 (Online)</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และ บทความปริทรรศน์ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษา ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างหลากหลาย วารสารมุ่งเน้นเปิดรับบทความทางด้านจิตวิทยา พระพุทธศาสนา พฤติกรรมศาสนา สังคมวิทยา การศึกษาเชิงประยุกต์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วารสารมีค่าเผยแพร่บทความในวารสาร 6,000 บาท</p>
ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
th-TH
วารสารพุทธจิตวิทยา
2774-1095
-
การประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงพุทธในการปลูกฝังทักษะชีวิต เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในเด็กปฐมวัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/275329
<p>โรคซึมเศร้าในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้และนับเป็นปัญหาที่ส่งผลร้ายแรงต่อพัฒนาการเจริญเติบโตทางความคิด เป็นตัวฉุดรั้งพัฒนาการในด้านต่างๆของปัจเจกบุคคล ไม่ว่าจะเป็นทางกายและทางจิตใจ และเนื่องจากเด็กเป็นอนาคตของชาติ จึงส่งผลกระทบต่อการเติบโตของประเทศชาติ ในด้านการสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์หลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่มีองค์ความรู้ในเชิงจิตวิทยาที่สามารถนำมาปลูกฝังทักษะให้แก่ชีวิตเด็กปฐมวัย โดยมุ่งเน้นการนำมาป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเด็ก เพื่อให้เกิดเป็นเกราะป้องกัน โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้เด็กมีความเข้าใจโลกและชีวิตด้วยวิธีการของพุทธจิตวิทยา อันนำไปสู่ประโยชน์สูงสุดคือความหลุดพ้นจากสภาวะแห่งความเป็นทุกข์ ซึ่งหลักพุทธจิตวิทยาสามารถนำมาแก้ไขปัญหาในด้านจิตใจและสร้างปัญญาในการคิดวิเคราะห์ให้เห็นโลกตามความเป็นจริงได้ ซึ่งโรคซึมเศร้าในเด็กเป็นอาการป่วยทางจิต ที่เป็นปัญหาทางด้านจิตใจของคน โดยมองปัญหาไปที่ปัญหาทั่วไปหรือปัญหาพื้นฐานของชีวิตที่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา เพราะมนุษย์ยังมีความบกพร่องและไม่สมบูรณ์ มนุษย์จึงมีความทุกข์ จึงเกิดเป็นคำถามว่าจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันมิให้จิตใจที่บอบบางของเด็กสามารถอยู่รอดได้ในโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์</p> <p>จากการศึกษาหลักธรรมที่สามารถนำมาช่วยในการสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยและยังสามารถช่วยป้องกันและเยียวยาโรคซึมเศร้าได้ เช่น หลักอานาปณสติ, หลักพรมวิหารและหลักภาวนา ตามแนวพระพุทธศาสนา โดยหลักอานาปาณสติคือการเจริญสมาธิ โดยการกำหนดลมหายใจ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเองและเกิดสติ หลักพรมวิหารนำมาใช้ในการปลูกฝังทักษะชีวิตเด็กในด้านการสร้างความเห็นอกเห็นใจและสร้างจิตใจให้มีความเมตตา หลักภาวนา เป็นหลักการที่ส่งเสริมการพัฒนาการให้แก่เด็กในด้านการยอมรับและการปรับตัว หลักธรรมทั้งสามนี้มีผลทั้งในด้านการเยียวยาสภาพจิตใจด้านลบและการพัฒนาสภาพจิตใจด้านบวก อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย จิตใจ และทางสังคม หลักพุทธจิตวิทยาในการสร้างทักษะแก่ชีวิตให้แก่เด็กจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการที่นำหลักธรรมเหล่านี้เข้าไปพัฒนาให้เกิดความสุขและความสมบูรณ์ในชีวิต</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>: </strong><strong>ทักษะชีวิต, เด็กปฐมวัย, จิตวิทยาเชิงพุทธ, ป้องกันโรคซึมเศร้า</strong></p>
อันธิกา ภูวภิรมย์ขวัญ
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
686
699
-
การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมด้วยหลักภาวนา 4
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/278471
<p>การพัฒนา คือ ภาวนา หมายถึง การทำให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม, การพัฒนา ซึ่งมีการพัฒนาอยู่ 4 ประเภทเรียกว่า ภาวนา 4 ประกอบด้วย กายภาวนา, ศีลภาวนา, จิตภาวนา, และปัญญาภาวนา สุขภาพและระบบสุขภาพมีความหมายที่สอดคล้องกับสุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ ซึ่งหมายถึง การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ อย่างมีความสัมพันธ์กันระหว่างกายกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ กายที่สัมพันธ์กับสังคม กายที่สัมพันธ์กับจิตใจ หรือความรู้สึกนึกคิด และปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ดำเนินไปเพื่อต้องการความสุข การจะไปสู่เป้าหมายของชีวิตได้นั้น จะต้องกำจัดทุกข์ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ด้วยการพัฒนาทั้ง 4 ด้านไปพร้อม ๆ กัน จนไปสู่ภาวิต 4 ผู้ที่ได้เจริญกาย ศีล จิต และปัญญาแล้ว คือ ผู้ที่พัฒนาแล้วอย่างแท้จริง</p>
ณญาน นลินขวัญ
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
700
710
-
พระพุทธศาสนากับการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัล: การปรับตัวและความท้าทาย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/280998
<p>บทความนี้มุ่งศึกษารูปแบบการเข้าถึง การสื่อสารแนวทางใหม่ๆ การปรับเปลี่ยนของพุทธศาสนาในยุคดิจิทัลที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่กําลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2.ประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจเกิดในอนาคต 3. นำเสนอวิธีการปรับตัว<br />และการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเข้าถึงการศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรมคําสอนของพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพ พบว่า ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน พระพุทธศาสนาต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาบทบาทและคุณค่าในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวของพระพุทธศาสนาในยุคนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในเรื่องการใช้เทคโนโลยีในการเผยแผ่คำสอน การสอนธรรมออนไลน์ และการใช้โซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม การปรับตัวดังกล่าวยังมีความท้าทายในเรื่องของการรักษาความบริสุทธิ์ของคำสอนและการดึงดูดความสนใจของผู้คน พระพุทธศาสนาจึงต้องพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ ในการเผยแผ่คำสอนเพื่อให้ยังคงมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ</p>
กนกวรรณ ปรีดิ์เปรม
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
711
722
-
บทบาทครูในการสร้างการเรียนรู้ตามแนวทางพุทธจิตวิทยาสู่การเปลี่ยนแปลง
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/275331
<p>บทความนี้สะท้อนให้เห็นว่า ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม จริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและเป็นผู้นำทางสังคม ครูจึงต้องมีความรู้ความสามารถรอบด้าน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย การสร้างการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อริยมรรค 8 และอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเน้นการพัฒนาสติปัญญาและคุณธรรมจริยธรรมควบคู่กันไป เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในตนเองและผู้อื่นมากขึ้น สามารถนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวม พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีจิตใจที่เข้มแข็ง เข้าใจธรรมชาติและความเป็นจริงของชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความสุขในการใช้ชีวิต บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของบทบาทครูในการสร้างการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและสังคม ที่เน้นการอบรมศีล สมาธิ และปัญญา อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมอย่างยั่งยืน</p>
อันธิกา ภูวภิรมย์ขวัญ
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
723
734
-
ผลการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์ และดารวิจารณ์งานศิลปะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/275914
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ (2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์และดารวิจารณ์งานศิลปะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะ จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.67 – 1.00 มีค่าความยากเท่ากับ 0.39 – 0.78 มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.21 – 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.793 และ 3)แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.55) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.36 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์หลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 14.64 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุกดังกล่าวสามารถส่งเสริมความสามารถในการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์และดารวิจารณ์งานศิลปะของนักศึกษาได้</p>
อัมพร ศิลปเมธากุล
วิรินธร อักษรนิตย์
อดิศร ศิริ
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
578
587
-
ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาที่มีต่อทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/272774
<p>การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญา จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีค่าความเชื่อมั่น .86 และ 3) แบบประเมินทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจ มีค่าความเชื่อมั่น .76 ใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบก่อนและหลังแบบกลุ่มเดียว (One Group Pre-test Post-test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ correlation coefficient ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญามีทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
มุสลิม หะยีสะมะแอ
อริยา คูหา
มัฮดี แวดราแม
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
588
603
-
รูปแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการ ท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/276346
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก 3) เพื่อนำเสนอการใช้รูปแบบโปรแกรมกิจกรรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี โดยใช้วิธีศึกษาวิจัยเอกสาร วิจัยเชิงสำรวจ การศึกษาภาคสนาม การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ในการวิจัยประชากรทั้ง 6 จังหวัดภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 รูป/คน และสนทนากลุ่มจำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วบรรยายเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีสำหรับประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนารูปแบบปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มี 4 ด้าน คือ 1.ด้านสภาพแวดล้อม 2.ด้านเทคโนโลยีให้บริการ 3.ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4.ด้านการบริหารจัดการ 2. เปรียบเทียบรูปแบบปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าปัจจัยด้านเพศของนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวในเขตพื้นที่ 6 จังหวัดภาคกลางมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธ 3.การใช้รูปแบบโปรแกรมกิจกรรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก ด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามโมเดล “ETCM”4 ด้าน คือ 1) สภาพแวดล้อม (Environment) 2. เทคโนโลยี (Technology) 3. ความสะดวก (Convenience) 4.การบริหารจัดการ (Management)</p>
พระใบฎีกากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ
พระครูพิพิธปริยัติกิจ
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
เมธาวีอุดม ธรรมานุภาพ
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
ประสิทธิ์ แก้วศรี
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
604
618
-
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/273682
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาหลักสูตรและการสอน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 7 คน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1 หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พัฒนาขึ้นอย่างมีระบบมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการที่มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติ วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจ (S: Survey) ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์หลักสูตร (A:Analysis) ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาหลักสูตร (D: Development) ขั้นตอนที่ 3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (L: Learning Activity Management) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตรเพื่อการสะท้อนผล ER: Evaluation for Reflection) 2 ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีดังนี้ 2.1) ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับดีมาก นักศึกษาสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ มีองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน เป็นไปตามแนวทางการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติเกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ได้ตามจุดประสงค์ 2.2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับดีมาก นักศึกษาสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ถูกต้องชัดเจนเหมาะสมกับระดับของผู้เรียนวัยผู้ใหญ่ บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้การปฏิบัติและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติ 2.3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับมากที่สุด</p>
นภาภรณ์ ธัญญา
เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี
สุภาพร แพรวพนิต
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
619
633
-
ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/278215
<p>งานวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น 3) เพื่อประเมินผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โปรแกรมกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง และแบบวัดความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น ประกอบด้วย 1. การฝึกสมาธิ 2. การได้ทำในสิ่งที่ชอบ 3. การฝึกสติ โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองวัยรุ่น เป็นโปรแกรม 1 วัน ที่ผสมผสานระหว่างการทำกิจกรรม และการฝึกสติ สมาธิแบบง่ายๆ ประกอบด้วย 9 กิจกรรม โปรแกรม การสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองช่วยให้ของวัยรุ่นมีความเข้มแข็งทางใจและเห็นคุณค่าแท้ของตนเองได้มากขึ้น การมีความเข้มแข็งทางใจทำให้วัยรุ่นมีความเพียรพยายาม และการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองทำให้วัยรุ่นใช้ชีวิตอย่างถูกต้องดีงาม</p>
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
พรทิพย์ เกศตระกูล
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
634
645
-
การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในชุมชนบ้านตลาดแขก จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/273920
<p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตลาดแขก 2) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในชุมชนบ้านตลาดแขก 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในชุมชนบ้านตลาดแขก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจการรับรู้ชุมชนสันติสุข แบบประเมินความพึงพอใจ การสัมภาษณ์เชิงลึก กิจกรรมเสวนา การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจัดกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์สันติสุข โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญและกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 66 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านตลาดแขก เป็นต้นแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามหลักคำสอนของแต่ละศาสนามายาวนาน มีความเป็นพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เข้าใจในความแตกต่าง เคารพในความเชื่อของแต่ละศาสนา และแบ่งปันไม่แบ่งแยก 2) ส่งเสริมด้วยกระบวนการในการปฏิบัติการผ่านกิจกรรม ได้แก่ (1) การถอดบทเรียนชุมชน (2) การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครอบครัวในโครงการวิจัย (3) การจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้นำชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านพหุวัฒนธรรม (4) การสำรวจพื้นที่บริบทชุมชน (5) การสร้างเครือข่ายและการสนับสนุนจากภาครัฐ และ (6) กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์สันติสุข ในหัวข้อ “นครบันทึก มรดกวัฒนธรรม ชุมชนบ้านตลาดแขกสันติสุข” เพื่อบันทึกเรื่องราวผ่านการเล่าเรื่องราวจากผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน วิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกันมายาวนานอย่างสันติสุข 3) รูปแบบกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาประกอบด้วย (1) การประสานเครือข่าย (2) สร้างความร่วมมือ (3) เสริมพลังเยาวชน สะท้อนความคิดผ่านมุมมองของเยาวชนโดยใช้แนวทาง UFAS คือ Understand สร้างความเข้าใจ Faith สร้างศรัทธา Appreciate การเห็นคุณค่า Sustainable พัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อปลูกสำนึกสู่เยาวชน</p>
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
อำนาจ บัวศิริ
ทิพย์ธิดา ณ นคร
อุดม จันทิมา
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
646
658
-
การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมทางสังคม ผ่านคนสามวัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/275593
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมทางสังคมผ่านคนสามวัย โดยมีความประสงค์เพื่อที่จะ (1) ศึกษารูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยทุนวัฒนธรรมทางสังคม (2) ศึกษาพัฒนากระบวนการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมทางสังคมผ่านคนสามวัยและ (3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมทางสังคมผ่านคนสามวัย จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและชุมชน การเก็บข้อมูลภาคสนามในขอบเขตบริเวณพื้นที่ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนชุมชนวัดสุเมธ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณพื้นที่ชุมชนตำบลบ้านใหม่ อบต.สำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยการสัมภาษณ์ สังเกตและสนทนากลุ่ม โดยเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการทางศาสนาในการอยู่ร่วมกันของชุมชนพื้นที่สร้างสรรค์ </p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะความเป็นชุมชนของพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีปัจจัยเหมาะสมที่สามารถสร้างสรรค์เป็นพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้การใช้พื้นที่ทางสังคมผ่านรูปแบบกิจกรรมอาทิเช่น กิจกรรมการฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติท้องถิ่น สินค้าจากผ้าพิมพ์ลายใบไม้ธรรมชาติ ภายใต้การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์จากคนทุกช่วงวัยของชุมชนนำไปสู่การจุดประกายให้ประชาชนเจ้าของพื้นที่ตระหนักถึงอัตลักษณ์อันดีงามของชุมชน รูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยทุนวัฒนธรรมทางสังคม โดยในด้านกายเน้นความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนพื้นฐานการดำเนินชีวิตแบบพหุวัฒนธรรม ในด้านจิต เน้นการอยู่ร่วมกันโดยปฎิบัติตามหลักศาสนา ภายใต้สังคหวัตถุ 4 หลักธรรมอิทธิบาท 4 และ หลักสัปปุริสธรรม7 ด้านสังคมเป็น แนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักฎิบัติที่ดีต่อกัน ด้านปัญญานั้นเน้นการรักษาวิถีชุมชนภายใต้การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและยังสามารถวิถีของชุมชนไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปได้</p>
พระมหานันทวิทย์ แก้วบุตรดี
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
พระภาวนาวชิรวิเทศ วิ.
มนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา
หนึ่งธิดา สาริศรี
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
659
676
-
การศึกษาทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/272391
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัย ได้ดำเนินการกระบวนการวิจัยกับประชากร และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยมีจำนวนประชากร 7,631 คน และจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 366 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) และใช้ตารางการคำนวณค่า ขนาดกลุ่มตัวอย่างของ (Krejcie & Morgan) กำหนดระดับความเชื่อมันที่ 95 % </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้านและมีผล ดังนี้ 1) องค์ความรู้สำหรับทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก 2) การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก 3) สื่อและแหล่งเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับ มากที่สุด 4) การประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมากที่สุดและมีระดับความเชื่อมั่นขององค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ในระดับ ความเชื่อมั่นที่ 95 %</p> <p> </p>
พัณบงกช ปาณมาลา
กิตติชัย รุจิมงคล
ประสิทธิ์ ศรเดช
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-31
2024-12-31
9 4
677
685