https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/issue/feed วารสารพุทธจิตวิทยา 2024-12-31T21:28:46+07:00 พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ,ผศ.ดร. jbp.mcu@gmail.com Open Journal Systems <p><strong> วารสารพุทธจิตวิทยา</strong> <strong>ISSN: 2774-1095 (Online)</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ และ บทความปริทรรศน์ของนักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษา ด้วยหวังให้เป็นตลาดแห่งองค์ความรู้ที่สามารถค้นคว้า ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างหลากหลาย วารสารมุ่งเน้นเปิดรับบทความทางด้านจิตวิทยา พระพุทธศาสนา พฤติกรรมศาสนา สังคมวิทยา การศึกษาเชิงประยุกต์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วารสารมีค่าเผยแพร่บทความในวารสาร 4,500 บาท</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/275914 ผลการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์ และดารวิจารณ์งานศิลปะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2024-12-11T16:00:53+07:00 อัมพร ศิลปเมธากุล amporn.si@psu.ac.th วิรินธร อักษรนิตย์ amporn.si@psu.ac.th อดิศร ศิริ adi867444@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ (2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์และดารวิจารณ์งานศิลปะสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาศิลปะ จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.67 – 1.00 มีค่าความยากเท่ากับ 0.39 – 0.78 มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.21 – 0.79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.793 และ 3)แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.55) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.36 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์หลังจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 14.64 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุกดังกล่าวสามารถส่งเสริมความสามารถในการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาสุนทรียศาสตร์และดารวิจารณ์งานศิลปะของนักศึกษาได้</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/272774 ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาที่มีต่อทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2024-06-20T18:56:05+07:00 มุสลิม หะยีสะมะแอ muslim.161225@gmail.com อริยา คูหา Muslim.161225@gmail.com มัฮดี แวดราแม Muslim.161225@gmail.com <p>การวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ<br />พหุปัญญา จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และแบบประเมินทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจ ที่มีค่าความเชื่อมั่น .76 และ .86 ตามลำดับ ที่ใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบก่อนและหลังแบบกลุ่มเดียว (One Group Pre-test Post-test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และ Correlation Coefficient</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญามีทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ ด้านจดจ่อใส่ใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/276346 รูปแบบกิจกรรมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการ ท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก 2024-11-15T16:03:06+07:00 พระใบฎีกากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ phrakittipong789@gmail.com พระครูพิพิธปริยัติกิจ phrakittipong789@gmail.com สิริวัฒน์ ศรีเครือดง phrakittipong789@gmail.com เมธาวีอุดม ธรรมานุภาพ phrakittipong789@gmail.com วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา phrakittipong789@gmail.com ประสิทธิ์ แก้วศรี phrakittipong789@gmail.com <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก 2) เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก 3) เพื่อนำเสนอการใช้รูปแบบโปรแกรมกิจกรรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นที่ในการวิจัยประชากร 6 จังหวัดภาคกลาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 20 รูป/คน และสนทนากลุ่มจำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วบรรยายเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสำหรับประชากรสองกลุ่มที่เป็นอิสระกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนารูปแบบปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านสภาพแวดล้อม 2) ด้านเทคโนโลยีให้บริการ 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4) ด้านการบริหารจัดการ 2. เปรียบเทียบรูปแบบปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าปัจจัยด้านเพศของนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวในเขตพื้นที่ 6 จังหวัดภาคกลางมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธ<br />3.การใช้รูปแบบโปรแกรมกิจกรรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานที่ตอบสนองการให้บริการด้านการท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงพุทธย้อนรอยประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก ด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามโมเดล “ETCM”4 ด้าน คือ 1) สภาพแวดล้อม (Environment) 2) เทคโนโลยี (Technology) 3) ความสะดวก (Convenience) 4) การบริหารจัดการ (Management)</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/273682 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2024-09-16T15:50:32+07:00 นภาภรณ์ ธัญญา tanyanapaporn9577@gmail.com เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี tanyanapaporn9577@gmail.com สุภาพร แพรวพนิต tanyanapaporn9577@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาหลักสูตรและการสอน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 7 คน มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรม แบบประเมินความสามารถในการออกแบบ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ พัฒนาขึ้นอย่างมีระบบมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการที่มุ่งเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติ วัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การออกแบบกิจกรรมและการปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจ ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์หลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินหลักสูตรเพื่อการสะท้อนผล 2) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม มีดังนี้ 2.1) ความสามารถในการออกแบบ อยู่ในระดับดีมาก มีองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน เป็นไปตามแนวทางการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติเกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ตามจุดประสงค์ 2.2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับดีมาก นักศึกษาสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้ถูกต้องชัดเจนเหมาะสม บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้การปฏิบัติและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นแบบบูรณาการเนื้อหาและการปฏิบัติ 2.3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅= 4.54, S.D. = 0.57)</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/278215 ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น 2024-12-11T15:40:05+07:00 สิริวัฒน์ ศรีเครือดง porntipg@gmail.com พรทิพย์ เกศตระกูล porntipg@gmail.com <p>งานวิจัยเรื่อง ผลของโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น<br />มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น <br />2) พัฒนาโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น และ 3) ประเมินผลโปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ใช้หลักธรรมพละ 5 และแนวคิดความเข้มแข็งทางใจของ Grotberg เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมที่เข้าร่วมโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม ของจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 42 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างคำนวณจากการวิเคราะห์อำนาจการทดสอบ (Power Analysis) โดยใช้รูปแบบ G*Power (Faul, F., 2007) ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญ (Significant Level) ที่ .05 อำนาจการทดสอบ (Power) ที่ .90 การศึกษาครั้งนี้กำหนดอิทธิพลของขนาดตัวอย่าง (Effect Size) ที่ .80 <br />ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 38 คน การทดลองครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 คน เพื่อเป็นการป้องกันการสูญหายของข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โปรแกรมกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง และแบบวัดการรับรู้ด้านความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการนำไปทดลองใช้ (Tryout) กับกลุ่มที่ใกล้เคียงกลุ่มตัวอย่าง ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของวัยรุ่น ประกอบด้วย 1. การฝึกสมาธิ 2. การได้ทำในสิ่งที่ชอบ และ 3. การฝึกสติ 2) โปรแกรมการสร้างความเข้มแข็งทางใจและการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองวัยรุ่น เป็นโปรแกรม 1 วัน ที่ผสมผสานระหว่างการทำกิจกรรม และการฝึกสติ สมาธิแบบง่าย ๆ ประกอบด้วย 9 กิจกรรม 3) ผลการประเมินโปรแกรมพบว่าคะแนนเฉลี่ยด้านความเข้มแข็งทางใจในกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลอง (M= 4.29) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M=3.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจ และการเห็นคุณค่าในตนเองของบุตรหลาน เช่น การสอดแทรกการฝึกสติเข้าไปกับกิจกรรมประจำวัน</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/273920 การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนของศาสนาในชุมชนบ้านตลาดแขก จังหวัดนครศรีธรรมราช 2024-11-11T20:57:54+07:00 กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ kamalas2013@gmail.com อำนาจ บัวศิริ kamalas2013@gmail.com ทิพย์ธิดา ณ นคร na.tiptida@gmail.com อุดม จันทิมา kamalas2013@gmail.com <p>การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันแบบพหุวัฒนธรรมในชุมชนบ้านตลาดแขก 2) ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบสันติสุขตามหลักคำสอนศาสนา และ 3) นำเสนอรูปแบบกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านสันติสุขตามหลักคำสอนศาสนา เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจการรับรู้ชุมชน แบบประเมินความพึงพอใจ การสัมภาษณ์เชิงลึก กิจกรรมเสวนา การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการจัดสื่อสร้างสรรค์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 66 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และเชิงปริมาณด้วยสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านตลาดแขกเป็นต้นแบบการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ด้วยความเข้าใจในความแตกต่าง เคารพความเชื่อ และแบ่งปันโดยไม่แบ่งแยก 2) การส่งเสริมผ่านกิจกรรมประกอบด้วย (1) การถอดบทเรียน (2) การสำรวจข้อมูลครอบครัว (3) ประชุมกลุ่มย่อยผู้นำชุมชน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านพหุวัฒนธรรม (4) สำรวจบริบทชุมชน (5) สร้างเครือข่ายและรับการสนับสนุนจากภาครัฐ และ (6) กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ “นครบันทึก มรดกวัฒนธรรม ชุมชนบ้านตลาดแขกสันติสุข” ผ่านการเล่าเรื่องราวจากผู้นำศาสนาและชุมชน รูปแบบกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านสันติสุขประกอบด้วย (1) การประสานเครือข่าย (2) สร้างความร่วมมือ<br />(3) เสริมพลังเยาวชน ผ่านแนวทาง UFAS ได้แก่ สร้างความเข้าใจ (Understand), สร้างศรัทธา (Faith), เห็นคุณค่า (Appreciate) และ พัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable) เพื่อปลูกฝังเยาวชน</p> <p>ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแนวทางดังกล่าวได้รับความพึงพอใจในระดับสูงจากผู้นำชุมชน 3 ศาสนาและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมีการรับรู้ เห็นด้วย และสนับสนุนกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/275593 การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมทางสังคม ผ่านคนสามวัย 2024-09-24T20:17:15+07:00 พระมหานันทวิทย์ แก้วบุตรดี nantawit.kae@mcu.ac.th กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ kamalas2013@gmail.com พระภาวนาวชิรวิเทศ วิ. mongkolkuakool@yahoo.com มนัสนันท์ ประภัสสรพิทยา pmanasanan456@gmail.com หนึ่งธิดา สาริศรี taleiw1717@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมทางสังคมผ่านคนสามวัย โดยมีความประสงค์เพื่อที่จะ (1) ศึกษารูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยทุนวัฒนธรรมทางสังคม (2) พัฒนากระบวนการส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมทางสังคมผ่านคนสามวัยและ (3) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมทางสังคมผ่านคนสามวัย จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและชุมชน การเก็บข้อมูลภาคสนามในขอบเขตบริเวณพื้นที่ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนชุมชนวัดสุเมธ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และบริเวณพื้นที่ชุมชนตำบลบ้านใหม่ อบต.สำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยการสัมภาษณ์ สังเกตและสนทนากลุ่ม โดยเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการทางศาสนาในการอยู่ร่วมกันของชุมชนพื้นที่สร้างสรรค์ </p> <p>ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะความเป็นชุมชนของพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีปัจจัยเหมาะสมที่สามารถสร้างสรรค์เป็นพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้การใช้พื้นที่ทางสังคมผ่านรูปแบบกิจกรรมอาทิเช่น กิจกรรมการฝึกอบรมการทำผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติท้องถิ่น สินค้าจากผ้าพิมพ์ลายใบไม้ธรรมชาติ ภายใต้การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์จากคนทุกช่วงวัยของชุมชนนำไปสู่การจุดประกายให้ประชาชนเจ้าของพื้นที่ตระหนักถึงอัตลักษณ์อันดีงามของชุมชน รูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยทุนวัฒนธรรมทางสังคม โดยในด้านกายเน้นความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนพื้นฐานการดำเนินชีวิตแบบพหุวัฒนธรรม ในด้านจิต เน้นการอยู่ร่วมกันโดยปฎิบัติตามหลักศาสนา ภายใต้สังคหวัตถุ 4 หลักธรรมอิทธิบาท 4 และ หลักสัปปุริสธรรม7 ด้านสังคมเป็นแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของหลักฎิบัติที่ดีต่อกัน ด้านปัญญานั้นเน้นการรักษาวิถีชุมชนภายใต้การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและยังสามารถวิถีของชุมชนไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดสู่คนรุ่นต่อไปได้</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/272391 การศึกษาทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอำเภอปากเกร็ด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 2024-06-20T15:38:45+07:00 พัณบงกช ปาณมาลา panbongkoj@gmail.com กิตติชัย รุจิมงคล panbongkoj@gmail.com ประสิทธิ์ ศรเดช panbongkoj@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 366 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) และใช้ตารางการคำนวณค่าขนาดกลุ่มตัวอย่างของ (Krejcie &amp; Morgan) กำหนดระดับความเชื่อมันที่ 95% ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้านและมีผล ดังนี้ 1) องค์ความรู้สำหรับทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก 2) การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก 3) สื่อและแหล่งเรียนรู้ทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมากที่สุด 4) การประยุกต์ใช้ทักษะการเรียนรู้ชีวิตในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมากที่สุดและมีระดับความเชื่อมั่นขององค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ในระดับความเชื่อมั่นที่ 95% </p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/275329 การประยุกต์ใช้จิตวิทยาเชิงพุทธในการปลูกฝังทักษะชีวิต เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้าในเด็กปฐมวัย 2024-09-19T14:51:01+07:00 อันธิกา ภูวภิรมย์ขวัญ unthika@hotmail.co.th <p>โรคซึมเศร้าในเด็กปฐมวัยสามารถเกิดขึ้นได้และนับเป็นปัญหาที่ส่งผลร้ายแรงต่อพัฒนาการทางความคิดสติปัญญา ฉุดรั้งการเติบโตทางร่างกาย จิตใจและการเรียนรู้ด้านสังคม ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศชาติในด้านผลผลิตและคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการบูรณาการหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและองค์ความรู้ในเชิงจิตวิทยามาประยุกต์ใช้เพื่อปลูกฝังทักษะชีวิตให้แก่เด็กปฐมวัย โดยมุ่งเน้นการสร้างเกราะป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าซึ่งเป็นอาการป่วยทางจิตที่สามารถเกิดขึ้นในเด็ก ให้เกิดความรู้ความเข้าใจตนเองและโลกรอบตัว เพื่อนำไปสู่การดูแลตนเองได้ แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม รู้วิธีการสร้างสัมพันธ์ ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงง่ายและแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ จนเกิดประโยชน์สูงสุดคือความสามารถเผชิญกับความท้าทายแห่งทุกข์ตามหลักจิตวิทยาเชิงพุทธ มีความมั่นคงทางจิตใจและใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์อย่างมีสติสมาธิเพื่อเรียนรู้โลกตามความเป็นจริงได้ จากการศึกษาหลักธรรมที่สามารถนำมาช่วยในการสร้างทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยเพื่อป้องกันและเยียวยาโรคซึมเศร้า ได้แก่ 1) หลักอานาปานสติ คือ การเจริญสมาธิโดยการกำหนดลมหายใจ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ในตนเองและเกิดสติ 2) หลักพรหมวิหาร คือการปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราและสร้างจิตใจให้มีความเมตตากรุณาของเด็ก 3) หลักภาวนา คือการส่งเสริมพัฒนาการด้านการยอมรับและการปรับตัวของเด็ก หลักธรรมทั้งสามนี้มีผลทั้งในด้านการเยียวยาสภาพจิตใจด้านลบและพัฒนาสภาพจิตใจด้านบวก ทั้งยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย สังคมและสติปัญญา หลักจิตวิทยาเชิงพุทธสร้างเสริมทักษะชีวิตให้แก่เด็กปฐมวัยจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการนำไปพัฒนาให้เกิดความสุขและความสมบูรณ์ในชีวิต</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/278471 การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมด้วยหลักภาวนา 4 2024-06-22T15:45:19+07:00 ณญาน นลินขวัญ mindfulness599@gmail.com เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ Mindfulness599@gmail.com สิริวัฒน์ ศรีเครือดง Mindfulness599@gmail.com <p>บทความนี้นำเสนอแนวคิดสุขภาวะองค์รวมและหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์อย่างครอบคลุมในทุกมิติ สุขภาวะองค์รวม หมายถึง สภาวะที่บุคคลมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา โดยไม่จำกัดเพียงแค่การปราศจากโรคหรือความพิการ แต่รวมถึงการมีชีวิตที่มีคุณภาพในทุกด้านหลักภาวนา 4 ประกอบด้วย: 1) กายภาวนา: การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและการดูแลสุขภาพร่างกาย 2) ศีลภาวนา: การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมและการมีวินัยในการดำเนินชีวิต 3) จิตภาวนา: การพัฒนาคุณภาพจิตใจ สมรรถภาพจิต และสุขภาพจิต 4) ปัญญาภาวนา: การพัฒนาความรู้ ความคิด และความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง การพัฒนาทั้ง 4 ด้านนี้มีความเชื่อมโยงและส่งเสริมซึ่งกันและกัน นำไปสู่การมีชีวิตที่สมดุลและมีความสุขอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ผลการวิจัยระยะยาวยังชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการมีชีวิตที่ดีและมีความสุขซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของศีลภาวนาในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม</p> <p>การนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจะช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างรอบด้าน และสามารถเผชิญกับความท้าทายในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความท้าทายหลากหลาย</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/280998 พระพุทธศาสนากับการดำเนินชีวิตในยุคดิจิทัล: การปรับตัวและความท้าทาย 2024-12-18T20:46:20+07:00 กนกวรรณ ปรีดิ์เปรม noono33@hotmail.com <p>บทความนี้มุ่งศึกษารูปแบบการเข้าถึง การสื่อสารแนวทางใหม่ๆ การปรับเปลี่ยนของพุทธศาสนาในยุคดิจิทัลที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่กําลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2.ประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจเกิดในอนาคต 3. นำเสนอวิธีการปรับตัว และการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการเข้าถึงการศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรมคําสอนของพุทธศาสนาให้มีประสิทธิภาพ พบว่า ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน พระพุทธศาสนาต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาบทบาทและคุณค่าในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวของพระพุทธศาสนาในยุคนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในเรื่องการใช้เทคโนโลยีในการเผยแผ่คำสอน การสอนธรรมออนไลน์ และการใช้โซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม การปรับตัวดังกล่าวยังมีความท้าทายในเรื่องของการรักษาความบริสุทธิ์ของคำสอนและการดึงดูดความสนใจของผู้คน พระพุทธศาสนาจึงต้องพัฒนาวิธีการใหม่ ๆ ในการเผยแผ่คำสอนเพื่อให้ยังคงมีความสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jbp/article/view/275331 บทบาทครูในการสร้างการเรียนรู้ตามแนวทางพุทธจิตวิทยาสู่การเปลี่ยนแปลง 2024-09-16T15:51:14+07:00 อันธิกา ภูวภิรมย์ขวัญ unthika@hotmail.co.th <p>บทความนี้สะท้อนให้เห็นว่า ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม จริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและเป็นผู้นำทางสังคม ครูจึงต้องมีความรู้ความสามารถรอบด้าน มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย การสร้างการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อริยมรรค 8 และอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเน้นการพัฒนาสติปัญญาและคุณธรรมจริยธรรมควบคู่กันไป เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในตนเองและผู้อื่นมากขึ้น สามารถนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวม พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีจิตใจที่เข้มแข็ง เข้าใจธรรมชาติและความเป็นจริงของชีวิต เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีความสุขในการใช้ชีวิต บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของบทบาทครูในการสร้างการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและสังคม ที่เน้นการอบรมศีล สมาธิ และปัญญา อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเปลี่ยนแปลงทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมอย่างยั่งยืน</p> 2024-12-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารพุทธจิตวิทยา