@article{ถนอมวราภรณ์_สุรชาตรี_2021, title={กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการ ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา}, volume={9}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/257469}, DOI={10.14456/husoaru.2021.5}, abstractNote={<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการร้านยาคุณภาพในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติการทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36-45 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่พิจารณาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร และด้านราคาโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ กลยุทธ์ด้านราคา ด้านเฉพาะเจาะจงเป้าหมาย และด้านความแตกต่าง 2) ผลการเปรียบเทียบกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลบางปัจจัย เช่น อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีผลต่อกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยาแตกต่างกัน และ 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยาในภาพรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าความสัมพันธ์สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านราคา และด้านกระบวนการ</p>}, number={2}, journal={วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา }, author={ถนอมวราภรณ์ สุพจน์ and สุรชาตรี ภัทรนันท}, year={2021}, month={พ.ย.}, pages={103–122} }