วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal <p>English : Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University</p> <p>ภาษาไทย : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม </p> <p>ISSN: 2672-9733 (Online)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong></p> <p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีนโยบายในการส่งเสริม เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ และ เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการโดยครอบคลุมวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การศึกษา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง ดุริยางคศิลป์ รัฐศาสตร์ ภาษา วรรณกรรม</p> <p>กำหนดการตีพิมพ์ปี ละ 6 ฉบับ ออกราย 2 เดือน คือ</p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์/ ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน/ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน/ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม /ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม และ ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม</p> <p>โดยรูปแบบผลงานที่วารสารจะรับพิจารณา มี 3 ประเภท คือ บทความวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ บทความวิชาการและบทความวิจัยที่จะนำมา ตีพิมพ์วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคามจะต้องได้รับการตรวจสอบทางวิชาการ (double-blind peer review) โดยใช้ผู้พิจารณา 3 คน (Three Reviewers) ทั้งภายในและภายนอก จากหลากหลายมหาวิทยาลัย เพื่อให้วารสารมีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล และนำไปอ้างอิงได้ ผลงานที่ส่งมาตีพิมพ์ จะต้องมีสาระ งานทบทวนความรู้เดิมและเสนอความรู้ ใหม่ที่ทันสมัยรวมทั้งข้อคิดเห็นที่เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน ผลงานไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงวารสารใดๆ</p> th-TH h.pathom@gmail.com (ศ.ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ) humanmsu@gmail.com (Jirarat Puseerit) Thu, 09 Jan 2025 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 วิจัยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/271334 <p>โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ฉบับนี้จัดทำขึ้น 1.) เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ 2.) เพื่อออกแบบ และเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบหัตถกรรมผักตบชวา ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 3.) เพื่อส่งเสริมการใช้วัสดุจากธรรมชาติ ตอบสนองตามกระแสสังคมที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนการวิจัยมี 7 ขั้นตอนคือ 1.) ศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ และเก็บข้อมูลภาคสนาม ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2.) สอบถามความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภคในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา 3.) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค 4.) สอบถามความพึงพอใจรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา 5.) สร้างผลิตภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มสานผักตบชวา (ชวาวาด) 6.) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล 7.) สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ถ่ายภาพเพื่อบันทึกภาพลายสานและผลงานต้นแบบ แบบสัมภาษณ์ความต้องการรูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา (ชวาวาด) แบบสอบถามการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา และแบบสอบถามความพึงพอใจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากรกลุ่มสานผักตบชวา (ชวาวาด) 9 คน กลุ่มประชากรผู้บริโภคที่มีความต้องการพัฒนาผลิตหัตถกรรมผักตบชวา 63 คนและ ประชากรผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ผักตบชวาเพื่อสอบถามความพึงพอใจผลงานต้นแบบ 63 คน ผลการวิจัย พบว่า มีความต้องการรูปแบบโคมไฟห้องแบบที่ 5 ปลาชะโด ในระดับมากที่สุด S.D.=.57 ต้องการลายสานเป็นลายดอกแก้ว S.D.=.69 กลุ่มตัวอย่างเคยใช้โคมไฟระย้าหรือโคมไฟห้อย จำนวน 38 คน และไม่เคยใช้โคมไฟจำนวน 25 คน สถานที่ที่คิดว่าจะนำโคมไฟระย้าหรือโคมไฟห้อยไปใช้มากที่สุดคือ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ มีความต้องการให้ผลิตโคมไฟห้อยจากผักตบชวาอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 58.7 ต้องการสีจากธรรมชาติร้อยละ 82.5 มีลักษณะแข็งแรง สวยงาม ส่องสว่าง ร้อยละ 82.5 และต้องการแสงสีเหลืองนวลร้อยละ 92.1 การสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา พบว่ามีความพึงพอใจโคมไฟผักตบชวา(โคมไฟห้อย) การใช้สอย ความสวยงาม การให้แสงสว่าง และการใช้งานอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นกับราคาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผักตบชวา(โคมไฟห้อย) ของผู้บริโภคและผู้ที่เอื้อต่อการส่งเสริมกลุ่มสานผักตบชวา อยู่ที่ราคา 2,500 บาท มากที่สุดจำนวน 50 คน และมีความพึงพอใจในการ ซื้อ-ขาย ในราคา 2,500 บาท มากที่สุดจำนวน 46 คน</p> ชนกพร อ้วนสุชาติ, บรรเจิด ศรีมูล Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/271334 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้ร่วมสมัยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/276149 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้ร่วมสมัยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 3 การทดลองใช้ และระยะที่ 4 การประเมินผล กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ สถานศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง ใน จ.นนทบุรี จำนวน 28 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ตามการลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้การออกแบบหลักสูตรเป็นแบบวัดแบบอัตนัยและเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค และ 2) แบบประเมินความสามารถการออกแบบหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้ร่วมสมัยสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) แนวทางการจัดกิจกรรม และ 5) การวัดและประเมินผล คุณภาพของรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การนำรูปแบบไปใช้นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครูมีความรู้ความสามารถออกแบบหลักสูตรที่เพิ่มขึ้น และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก</p> ชมภูนุช พุฒิเนตร เอกเกื้อบุญ Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/276149 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาทของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของบุคคลที่ทำงานในธุรกิจที่มีขนาดต่างกันในช่วงสถานการณ์วิกฤตที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในการทำงาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/267073 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของบุคคลกับขนาดของธุรกิจที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในการทำงานช่วงสถานการณ์วิฤต ตัวอย่างวิจัยเป็นบุคลากรที่ทำงานในธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างอย่างง่าย จำนวน 320 คน วิเคราะห์ผลด้วยสมการถดถอยพหุแบบขั้นตอนระดับลดหลั่น ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรทำนายทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในการทำงานได้ร้อยละ 60 (<em>R<sup>2</sup></em> = .60) <em>F</em>(3, 316) = 157.16, <em>p</em> &lt; .05 โดยอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกกับขนาดของธุรกิจมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในการทำงาน (β = .09, <em>p </em>= .02) ซึ่งความสัมพันธ์ในทิศทางบวกที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกกับพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในการทำงานช่วงสถานการณ์วิกฤตจะเข้มแข็ง โดยเฉพาะบุคลากรที่ทำงานในธุรกิจวิสาหกิจขนาดย่อม</p> ชัยยุทธ กลีบบัว, อมราพร สุรการ, กนกนิจ พนาวาส Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/267073 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลวิธีการใช้ภาษาและการสื่อความหมายทางสังคมในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/276080 <p>บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาและการสื่อความหมายทางสังคมในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน โดยวิธีดำเนินการวิจัยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจงจากศึกษาเอกสารใบลาน อักษรธรรมอีสาน จำนวน 15 สำนวน และเอกสารตัวบทสื่อสิ่งพิมพ์ จำนวน 4 ฉบับ มาเป็นข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์แบบพรรณนาวิเคราะห์<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีการใช้ภาษาในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน มีกลวิธีทางภาษา 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) กลวิธีการใช้ภาษาด้านรูปแบบคำประพันธ์ 2) กลวิธีการใช้ภาษาด้านการนำเสนอเนื้อหา 3) กลวิธีการใช้ภาษาด้านการใช้คำประพันธ์ 4) กลวิธีการใช้ภาษาด้านสำนวนโวหาร 2. การสื่อความหมายทางสังคมในบทสู่ขวัญสำนวนท้องถิ่นอีสาน มีการสื่อความหมายทางสังคม 2 ลักษณะ คือ 1) การสื่อความหมายว่าด้วยแนวคิดด้านคติความเชื่อ ประกอบด้วย การสื่อความหมายว่าด้วยคติความเชื่อแบบดั้งเดิม และการสื่อความหมายว่าด้วยคติความเชื่อแบบพุทธศาสนา 2) การสื่อความหมายว่าด้วยแนวคิดด้านจิตสำนึกเชิงนิเวศ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ</p> ชาญยุทธ สอนจันทร์ Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/276080 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลของผู้บริโภคต่อการยอมรับอาหารใหม่ประเภทเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/278635 <div><span lang="TH">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลของผู้บริโภค ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการยอมรับอาหารใหม่ประเภทเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของ </span>Ajzen เป็นกรอบในการทำวิจัย กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 18</div> <div><span lang="TH"> ปีขึ้นไป ที่อาศัยในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน </span>400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในงานวิจัยโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมานโดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจับพบว่า พฤติกรรมตามแผน ด้านทัศนคติต่อการบริโภคมีระดับความคิดเห็นสูงสุด(<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.23) รองลงมา ได้แก่ ด้านการรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรม (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.09)และด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=3.81) ในส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านการสื่อสารมีระดับความคิดเห็นสูงสุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.39) รองลงมาได้แก่ ด้านความต้องการของผู้บริโภค (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.36) ด้านความสะดวกในการซื้อ (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.27) และด้านต้นทุนของผู้บริโภค (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}">=4.24) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) พฤติกรรมตามแผน ด้านทัศนคติต่อการบริโภค ด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และด้านการรับรู้ในการควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจบริโภคอาหารใหม่ประเภทเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านความต้องการของผู้บริโภค และด้านต้นทุนของผู้บริโภคมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจบริโภคอาหารใหม่ประเภทเนื้อสัตว์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</div> ณัฐชยา ดาวภคนันท์ , ธนภณ วิมูลอาจ Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/278635 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาการยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของกลุ่มผู้ปลูกพริกพราน ในชุมชนบ้านยางน้ำกลัดเหนือ ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/278389 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ (SWOT Analysis) ส่วนประสมทางการตลาดของพริกพราน ผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านยางน้ำกลัดเหนือ ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี และ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์จากพริกพรานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านยางน้ำกลัดเหนือ ตำบลยางน้ำกลัดเหนือ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์จากบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informant) จำนวน 20 คน ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกพริกพราน ผู้นำชุมชน ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) จากการวิเคราะห์ (SWOT Analysis) ส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านยางน้ำกลัดเหนือมีจุดแข็ง คือ มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์คือพริกพราน ซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีต้นทุนในการผลิตต่ำ สำหรับจุดอ่อนพบว่าผลิตภัณฑ์ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ยังไม่มีการกำหนดราคาสินค้าและเครื่องหมายการค้าที่เป็นมาตรฐาน ผู้บริโภคไม่ทราบแหล่งซื้อและไม่สามารถจัดหามาได้ ความต้องการของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมานั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ช่องทางการจัดจำหน่ายไม่เพียงพอ และไม่มีงบประมาณในการโฆษณา ในส่วนของโอกาสนั้นจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างองค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน สำหรับอุปสรรคที่พบคือ ยังไม่สามารถสื่อสารไปยังตลาดเป้าหมายเพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาด 2) แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์คือการแปรรูปพริกพรานเป็นผลิตภัณฑ์ทางสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ได้จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำมันนวด และลูกประคบ มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การกำหนดราคา และสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พริกพราน</p> ดรุณี ทิพย์ปลูก, ดารัณ พราหมณ์แก้ว, เสาวลักษณ์ วิบูรณ์กาล, วรรณีศา สีฟ้า, สมบัติ ไวยรัช, กมลทิพย์ รักเกียรติยศ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/278389 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมแบบวัดความจำขณะทำงานทางภาษาสำหรับเด็กปกติ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/270923 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมแบบวัดความจำขณะทำงานทางภาษาสำหรับเด็กปกติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (2) เพื่อทดลองใช้นวัตกรรมแบบวัดความจำขณะทำงานทางภาษาสำหรับเด็กปกติ ดำเนินการเก็บข้อมูลจากแบบวัดความจำและแบบประเมินความพึงพอใจในการทดลองใช้นวัตกรรม แบบวัดความจำประกอบด้วยแบบทดสอบจำนวน 4 แบบทดสอบ ได้แก่ แบบวัดฟังเสียงประโยค แบบวัดการอ่านประโยค แบบวัดการฟังคำสุดท้ายของประโยค แบบวัดการจำตัวอักษรเดี่ยวหลังการบวกลบเลข แต่ละแบบทดสอบมีสิ่งเร้าเป็นเสียงของประโยค ข้อความ ตัวอักษร และภาพแสดงปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งวัดได้ทั้งมิติความถูกต้องและมิติเวลา กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอายุระหว่าง 13-15 ปี จำนวน 127 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า (1) นวัตกรรมแบบวัดความจำขณะทำงานทางภาษามีความตรงเชิงเนื้อหา (2) คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบคือ 27.30, 26.70, 28.21 และ 29.03 ส่วนเวลาเฉลี่ยในแต่ละแบบทดสอบคือ 251.23, 194.28, 349.29 และ 403.54 วินาที กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการทดลองใช้นวัตกรรมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด</p> ธนิส พูนวงศ์ประเสริฐ, ชินวัฒน์ ภาคสุโพธิ์, ศานิตย์ ศรีคุณ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/270923 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมบนฐานทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/273996 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมบนฐานทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมบนฐานทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป้าหมายและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 120 คน ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลโคกตะเคียน และตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง และตำบลบักได และตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย จากนั้นนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ทำให้เห็นภาพรวมของข้อมูล และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชามีความหลากหลายทางประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และความหลากหลายทางภาษา 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม ทุนทางวัฒนธรรม และทรัพยากรบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ได้แก่ 3 ส ประกอบด้วย (1) การสื่อสารระหว่างกัน คือ การพูดคุย กำหนดกฎ กติกา ข้อตกลง เพื่อลดความขัดแย้ง (2) การสร้างสรรค์ โดยสร้างสัมพันธภาพ สร้างพื้นที่เรียนรู้ และนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลง และ (3) การสนับสนุน ในที่นี้คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดหรือให้มีกิจกรรม/วัฒนธรรม/งานประเพณี โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกภาคส่วน และ 3) การจัดการความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรมที่เหมาะสม คือ การกำหนดวิธีการ แนวทาง หรือกระบวนการในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนที่มีความแตกต่างในด้านชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และอัตลักษณ์</p> นิศานาถ แก้ววินัด, อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์, ธาริณี มีเจริญ, ศุภวิช นิยมพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/273996 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 อุดมการณ์ที่ปรากฏในวาทกรรมการท่องเที่ยวของนิตยสาร เพื่อการท่องเที่ยวของไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/271932 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ และกลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่ออุดมการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในวาทกรรมการท่องเที่ยวของนิตยสาร (นิตยสารอนุสาร อ.ส.ท. และนิตยสารเพื่อนเดินทาง) ที่เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2530–2559 จำนวน 720 ฉบับ ผู้วิจัยเลือกศึกษาเฉพาะบทความแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว บทบรรณาธิการ และคอลัมน์ถาม-ตอบจดหมายของผู้อ่าน โดยใช้แนวทางทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis) ของแฟร์เคลาฟ์ (Fairclough, 1995, p. 59) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ นิตยสารเพื่อการท่องเที่ยวของไทยถ่ายทอดอุดมการณ์สำคัญ 5 อุดมการณ์ ได้แก่ อุดมการณ์ทุนนิยม อุดมการณ์ความเป็นเมืองความเป็นชนบท อุดมการณ์การพัฒนา อุดมการณ์ความเป็นไทย และอุดมการณ์ชนชั้นทางสังคม โดยผู้ผลิตได้ประกอบสร้างและถ่ายทอดอุดมการณ์ทั้งหมดผ่านกลวิธีทางภาษา 10 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำเรียกขาน คำแสดงอาการ การใช้อุปลักษณ์ แสดงทัศนภาวะ การอ้างถึง การขยายความ การใช้สหบท การใช้มูลบท การตั้งคำถามเชิงวาทศิลป์ และการใช้จุดจับใจเชิงข่าว ซึ่งตลอดระยะเวลา 30 ปี นิตยสารถ่ายทอดและผลิตซ้ำอุดมการณ์ตามการปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อเหตุการณ์ในสังคม นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว และภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลาต่าง ๆ</p> พัชราภรณ์ คชินทร์, เชิดชัย อุดมพันธ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/271932 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชน ในองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/274457 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และงานวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาภาคสนามในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็ก โดยการสัมภาษณ์ และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชน เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหมด 42 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชนประกอบไปด้วย 1. การใช้กิจกรรมทางพุทธศาสนา 2. การใช้เครือข่ายและองค์กรชุมชน 3.<strong> การมีผู้นำทางการที่มีภาวะผู้นำที่ดี และ</strong><strong> </strong>4. เจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทับตีเหล็กทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการวิเคราะห์กระบวนการสร้างความสามัคคีของชุมชน ประกอบไปด้วย 1.กระบวนการสร้างความสามัคคีโดยกิจกรรมต่างๆของชุมชน และ 2. การสร้างความสามัคคีผ่านบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน</p> ภคมน เจริญสลุง, เชิดชาย ดวงภมร, รจนาภรณ์ ศรีช่วงโชติ, พชร วรรณภิวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/274457 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อแรงจูงใจเดินทางท่องเที่ยวและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/274179 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s และ 4C’s ที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงราม และ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินในของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวยังชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบตามสะดวก งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง<br />ผลการศึกษา พบว่า ผลการศึกษาพบว่า 1) เปรียบเทียบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s และ 4C’s ที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดยอมรับว่ากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว มากกว่ากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ถึงแม้ว่าในด้านต้นทุนของผู้บริโภคจะมีค่าน้อยกว่าปัจจัยด้านอื่น ๆ แต่ถือว่าผู้บริโภคยังยอมรับได้ ซึ่งผลทุกปัจจัยส่งผลต่อแรงจูงใจในด้านบวก 2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา ชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม พบว่า แรงจูงใจที่ประกอบด้วยความต้องการด้านร่างกาย ความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านวัฒนธรรม และความต้องการความภาคภูมิใจ ที่ได้เดินทางท่องเที่ยวซึ่งส่งผลในเชิงบวกส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยว<strong> </strong></p> พัทธนันท์ ตั้งวรรณวิทย์, พรรษพล คำไล้, สุริมาศ นาครอด Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/274179 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 บูรณาการเพลงพื้นบ้านอีสานกับท่าฤๅษีดัดตนสำหรับชมรมผู้สูงอายุ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/1136-1149 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบท่าเต้นแอโรบิกจากท่าฤๅษีดัดตนโดยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสังเกต การจดบันทึก และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า มีการพัฒนาท่าเต้นรำพื้นบ้านจำนวน 44 ท่า โดยมีความพึงพอใจรวมเฉลี่ย 4.22 ± 0.76 คะแนน อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ด้วยการใช้ทำนองเพลงลำเพลิน มีการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาบริบท 2) การสาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน 3) การระดมสมองแต่งเพลง 4) การระดมสมองออกแบบท่า 5) การพัฒนาท่าเต้นรำพื้นบ้านต้นแบบจากท่าฤๅษีดัดตน และ 6) การประเมินผลความพึงพอใจ</p> ภักศจีภรณ์ ขันทอง, พันธ์ทิพย์ ศรีธรรม, ปิ่นมณี สาระมัย, สาวิตรี เถาว์โท, ไชยวัฒน์ นามบุญลือ, อรัญญา บัวงาม Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/1136-1149 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษา งานเทศกาลโส้รำลึก อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/276673 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดงานเทศกาลโส้รำลึก อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดงานเทศกาลโส้รำลึก อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร และ 3) เพื่อให้แนวทางและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมในการจัดงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมครั้งต่อไป โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีเทคนิควิจัยที่สำคัญ ได้แก่ การสังเกต และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดงานเทศกาลโส้รำลึก โดยภาครัฐและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา โดยจะเห็นได้จากที่ภาครัฐและภาคประชาชนได้มีการจัดประชุม เพื่อรับฟังปัญหาจากทุกภาคส่วน 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรม โดยจะเห็นได้จากการจัดประชุมวางแผนเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดงานเทศกาลโส้รำลึกของแต่ละฝ่าย 3) ด้านการลงทุนและปฏิบัติงาน โดยจะเห็นได้จากแต่ละหน่วยงานมีการจัดตั้งงบประมาณ เพื่อใช้ในการจัดงานเทศกาลโส้รำลึก ภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองชาวไทโส้ การรำบวงสรวงพระอรัญอาสา การเดินขบวนวิถีชีวิตชนเผ่าไทโส้ และ 4) ด้านการติดตามและประเมินผลงาน โดยจะเห็นได้จาก หน่วยงานภาครัฐที่มีการจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดงานเทศกาลโส้รำลึกจากประชาชนที่มาร่วมงาน</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดงานเทศกาลโส้รำลึก เช่น งบประมาณไม่เพียงพอ การติดต่อประสานงานไม่มีประสิทธิภาพ การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง กิจกรรมภายในงานมีแต่กิจกรรมเดิม ๆ การไม่ให้ความสำคัญกับผู้มาแสดงพิธีกรรมภายในงาน และข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมครั้งต่อไป ได้แก่ 1) ทางคณะกรรมการควรวางแผนการเบิกจ่ายงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดงาน 2) การแก้ไขปัญหาในการติดต่อประสานงานที่ไม่เป็นระบบ โดยกำหนดหน้าที่และระเบียบ มีการจัดประชุมเป็นประจำ 3) นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการส่งเสริมกิจกรรม โดยการไลฟ์สด 4) ควรเพิ่มกิจกรรมใหม่ ๆ ภายในงาน เช่น การประกวดแข่งขันขบวนสวยงาม โดยมีถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล เพื่อดึงดูดให้มีผู้คนเข้ามาร่วมงานมากขึ้น 5) เพื่อให้การประชาสัมพันธ์ในการจัดงานเทศกาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรพัฒนาเนื้อหาที่น่าสนใจบนเพจ เช่น วิดีโอสร้างสรรค์ รูปภาพที่น่าสนใจ และข้อมูลที่ชัดเจนในการจัดงานเทศกาลโส้รำลึก</p> วรเมธ ยอดบุ่น, ธีระวัตร ใจทัศน์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/276673 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/272644 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดและศึกษาประสิทธิผลของต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนคร ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) ผู้สูงวัยจำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนเพื่อศึกษาจุดแข็งจุดอ่อนของดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย 2) ผู้สูงวัยจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คนเพื่อประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบของดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย 3) ผู้สูงวัยจำนวน 3 คน ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คนเพื่อสนทนากลุ่มระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับอรรถประโยชน์ของต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย 4) กลุ่มผู้เตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัยจำนวน 10 คนและผู้สูงวัยจำนวน 10 คนเพื่อทดลองใช้ต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย และ 5) ผู้สนใจจำนวน 40 คนเพื่อเข้าร่วมสัมมนาต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนคร แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเป็นทางการแบบมีโครงสร้างระดับกลาง 2 ฉบับ แบบบันทึกการประชุม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนครเป็นการนำเอาเสียงดนตรีซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบและคุณสมบัติของดนตรีซึ่งเป็นส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นกระบวนการ ด้วยเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมกับเครื่องดนตรีสากล ทั้งเครื่องดนตรีที่ดำเนินทำนองและประกอบจังหวะ โดยบรรเลงในลายซึ่งเป็นศิลปะการเรียบเรียงเสียงไว้ในกลุ่มต่าง ๆ ให้มีความไพเราะ สอดประสานกันทั้งท่วงทำนองและจังหวะไปพร้อม ๆ กัน ที่ได้ประพันธ์ เรียงร้อย หรือเรียบเรียงขึ้นเพื่อการบรรเลงดนตรีเพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดความไพเราะ และสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ฟังเพื่อการบำบัด ได้แก่ ลายใหญ่ประยุกต์ ลายโป้ซ้ายประยุกต์ ลายเต้ยโขงประยุกต์ ลายเต้ยพม่าประยุกต์ และลายภูไท (ภูไทสกลนคร) ประยุกต์ และ 2) ต่อยอดดนตรีบำบัดสำหรับผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในจังหวัดสกลนครส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ โดยเสียงดนตรีให้ความรู้สึกสมหวัง ลดความเหนื่อยล้าและความเครียดลงได้ จังหวะให้ความรู้สึกผ่อนคลาย หายใจสะดวก ร่างกายมีความสมดุล และมีสมาธิ ทำนองช่วยปลดปล่อยอารมณ์ ลดความวิตกกังวล เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ การประสานเสียงสามารถกล่อมเกลาอารมณ์ ให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง และมีความเป็นอิสระ สีสันเสียงสามารถรื้อฟื้นความทรงจำให้กลับดีขึ้น คำนึงถึงความเป็นจริงของชีวิต และคีตลักษณ์ช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองได้ ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะทำให้ดนตรีที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อผู้ฟังแตกต่างกัน ทำให้ผู้สูงวัยทุเลาลงจากการอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นอยู่ และฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกายให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสงบสุข</p> สายันต์ บุญใบ Copyright (c) 2025 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humsujournal/article/view/272644 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700