วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62 <p><strong>วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ เลขมาตรฐานสากล ISSN : 2774-1141 (Online)</strong> เป็นวารสารวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาและผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยเปิดรับบทความในกรอบวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ประยุกต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในประเภทบทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review article) และบทความวิจารณ์หนังสือ (book review) ซึ่งบทความทุกบทความ จะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ในรูปแบบผู้ประเมินและผู้แต่งไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน <strong>(double-blind review)</strong> กำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p>กองบรรณาธิการเปิดรับบทความ โดยส่งผ่านระบบ ThaiJo และดำเนินการตามระบบตามมาตรฐาน TCI เพื่อให้ทุกบทความมีคุณภาพ เกิดประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ตามเป้าหมายหลักของวารสารวิชาการ</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์</p> [email protected] (ผศ.ดร.เชษฐา มุหะหมัด) [email protected] (นายอนุสรณ์ นิลโพธิ์) Thu, 19 Oct 2023 09:25:42 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/265857 <p>บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดค้าปลีกสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค จากการที่การค้าปลีกไทยมีมูลค่ามากกว่า 3 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกเพราะผู้บริโภคให้ความนิยมเป็นอย่างสูง และการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้กิจการร้านค้าปลีกมีกระบวนการทำงานที่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น กลยุทธ์การตลาดจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการมีสินค้าให้เลือกมากมายหลายประเภทและเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ต้องมาทำงานที่บ้านมากขึ้นผู้บริโภคจะมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือเครื่องทุ่นแรงที่ทำให้ไม่ต้องมีการเดินทางหรือลดการเดินทางไปเลือกซื้อสินค้า ซึ่งเทคโนโลยีจะสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ที่จะเชื่อมระหว่างร้านค้าปลีกและลูกค้าเข้าด้วยกัน และปรับตัวได้ทันในโลกของ New Normal และจะสร้างความจงรักภักดีให้กับร้านค้าปลีกในโลกหลัง Covid-19 ที่สามารถสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้า จนทำให้ต้องกลับมาซื้อสินค้าในร้านค้าอย่างต่อเนื่อง หรือก่อให้เกิดการซื้อซ้ำอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะสร้างความเจริญเติบโตและมั่นคงต่อไป</p> สมาภรณ์ นวลสุทธิ์, สุจินดา พรหมขำ, วิกานดา คชาทอง, พลอยชมพู สุขทร Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/265857 Thu, 19 Oct 2023 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/263527 <p>การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับสื่อกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการศึกษาครั้งนี้ใช้จำนวนประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7,747 คน สุ่มตัวอย่างมา จำนวน 366 ตัวอย่าง โดยการใช้สูตรเครซี่และมอร์แกนด์ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาประมวลผลข้อมูล การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์เพื่อใช้อธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (Descriptive Statistic) ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า T-Test independent One Way Anova (F-Test) ใช้ทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ Pearson’s product moment correlation coefficient ใช้หาค่าความสัมพันธ์พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1.<span style="font-size: 0.875rem;">ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีดังต่อไปนี้ </span>ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.17) และ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ มีอัธยาศัยดี เป็นกันเอง และไม่ถือตัว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.30) มีความเมตตา กรุณาต่อผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.29) เป็นผู้ที่มีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.24) มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการบริหารงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.23) เป็นคนที่ผู้คนรู้จัก และคุ้นเคย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 มีผลงานพัฒนาท้องถิ่นมาก่อน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.12) เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.04) เป็นผู้ที่มีความเข้าอกเข้าใจ เข้าถึงประชาชนได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.93) ปัจจัยด้านนโยบาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจาก มากไปน้อยได้ ดังนี้ ส่งเสริมความสะอาดบริเวณที่ต่าง ๆ ในแต่ละเขตพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.20) ซ่อมแซม และบำรุงรักษาถนน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.13) สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.12) สร้างอาชีพให้กับประชาชน เพื่อเพิ่มรายได้ เสริมให้กับประชาชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.12) จัดงบประมาณเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ ทางการแพทย์ หรือด้านสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.10) จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างเขตพื้นที่ที่แต่ละเขต มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.08) สนับสนุนให้ประชาชนออกกำลังกาย และเล่นกีฬา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.07) ปราบปรามเรื่องยาเสพติดในเขตพื้นที่ และ คุ้มครองประชาชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (4.02) สนับสนุนด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.98) ปัจจัยด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ย เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ติดตั้งป้ายไวลนิลขนาดใหญ่ในแต่ละเขตพื้นที่หมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.70) การใช้สื่อวิทยุ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.59) ติดแผ่นใบปลิวหาเสียงตามที่ต่าง ๆ ในแต่ละหมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.49) หาเสียงโดยใช้รถแห่กระจายเสียงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.39) เดินหาเสียงโดยเคาะประตูตามบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.34) ใช้โซเชียลมิเดีย เช่น เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ในการหาเสียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.33) ปัจจัยด้านสื่อบุคคลที่มีอิทธิพล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (3.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีค่าเฉลี่ย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ บุคคลในครอบครัว/ญาติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.53) อยู่ในระดับปานกลางได้แก่ เพื่อนสนิท/กลุ่มเพื่อนที่ทำงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.33) ผู้นำชุมชนที่เคารพนับถือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (3.24) ครู/อาจารย์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (2.87) เพื่อนบ้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (2.68) 2.<span style="font-size: 0.875rem;">ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ในภาพรวม เพศ อายุ อาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้ง</span><span style="font-size: 0.875rem;">ในส่วนของระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 </span>3. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สื่อรถแห่ และสื่ออินเทอร์เน็ต ไม่มีสหสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช</p> สุนา ผาด่านแก้ว Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/263527 Tue, 26 Dec 2023 00:00:00 +0700 คุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว บ้านบางนาว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/263992 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว บ้านบางนาว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว บ้านบางนาว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อคุณภาพการให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว บ้านบางนาว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่เคยรับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว บ้านบางนาว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 294 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test One-Way ANOVA</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว บ้านบางนาว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวม อยู่ในระดับ “มาก” มีคะแนนเฉลี่ย 4.41 2) ประชาชนที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน ในด้านเพศ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ มีความคิดเห็นที่ไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ หมู่บ้านที่อาศัยอยู่ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ บางครั้งอุปกรณ์และเครื่องมือในการรักษาไม่เพียงพอและยารักษาโรคต้องมารับใหม่อีกครั้ง ควรแจ้งแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อปรับปรุงแก้ไข บางครั้งการบริการมีความล่าช้าและเป็นเวลานาน ควรจัดสรรเวลาให้ดีกว่านี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย</p> ชินดนัย ทองจินดา, สหัสวรรษ พูลแก้ว, กัณฑ์จรี แสวงการ, ปราณี จุลภักดิ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/263992 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 วิถีพฤติกรรมความเชื่อของชุมชนนาบอน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/265207 <p> การวิจัยเรื่องวิถีพฤติกรรมความเชื่อของชุมชนนาบอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทและวิถีชุมชนนาบอน ศึกษาพฤติกรรมความเชื่อของชุมชนนาบอน และเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดความเชื่อของชุมชนนาบอน ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้วิจัยได้ข้อมูลจาก แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 20-60 ปีขึ้นไป เป็นผู้รู้ ผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีกรรม ความเชื่อในพื้นที่ชุมชนนาบอน ซึ่งผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติข้างต้นเป็นจำนวน 21 คน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนชาวจีนนาบอนยังคงดำเนินชีวิตให้ความสำคัญกับความเชื่อ ประเพณี ความเป็นเอกลักษณ์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยแสดงออกผ่านพฤติกรรมด้วยปฏิสัมพันธ์ (Socialization) ที่แสดงให้เห็นถึงความเคารพและยึดมั่นในหลักคําสอนและความเชื่อต่างๆ ที่ได้ยึดถือแบบแผนปฏิบัติสืบทอดกันมา ทำให้ลูกหลานได้รับการซึมซับจากบรรพบุรุษของตน ที่ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การบูชาเจ้าที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้าน และการบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ </p> <p> ส่วนการอนุรักษ์และสืบทอดความเชื่อของชุมชนชาวจีนนาบอน พบว่า การจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านข้อมูล รูปภาพที่เกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ ให้กับคนในชุมชนหรือบุคคลที่สนใจ อันจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และการสืบสานวัฒนธรรม สืบทอดเกิดความต่อเนื่องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ</p> กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์, ราตรี เขียวรอด, ตรีวนันท์ เนื่องอุทัย, ภัชญาภา ทองใส Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/265207 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 การจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/273545 <p>สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระภิกษุในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 150 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 S.D = 0.54 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาวัด มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.13 S.D = 0.58 รองลงมาคือ ด้านการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 S.D = 0.69 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 S.D = 0.64 ตามลำดับ 2) ข้อเสนอแนะการจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในเขตอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ด้านการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด ส่วนใหญ่ต้องการให้ตั้งคณะกรรมการ มาควบคุมดูแลการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด มีประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนและติดป้ายประกาศเชิญชวนชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด ด้านการพัฒนาวัด ส่วนใหญ่ต้องการให้จัดพื้นที่ภายในวัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดีงาม สะอาด ร่มรื่น ด้านการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ต้องการให้การจัดทำวาระการรักษาความสะอาดเสนาสนะภายในวัดยังไม่เหมาะสม และด้านการมีส่วนร่วม ต้องการให้พระภิกษุ สามเณรของวัดจะต้องเป็นผู้นำของชุมชนทุกด้าน เป็นที่พึ่งของประชาชน อยู่ดีกินดี มีความสงบสุขได้</p> พระศราวุฒิ พันธ์คำ (พุทธฺสิริ) Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/273545 Wed, 27 Dec 2023 00:00:00 +0700 ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/263627 <p>การวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา ภายใต้การกำหนดรูปแบบ ตลอดจนการนำไปสู่การสร้างยุทธศาสตร์และแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ประชาที่ทำการศึกษาคือ ผู้รู้ ปราชญ์ในชุมชน ศิลปิน พระ เกจิอาจารย์ พิธีกรสงฆ์ที่มีศักยภาพในการให้ข้อมูลโดยการสุ่มแบบ Snow Ball อย่างน้อยจำนวน 3 คนต่อแหล่งท่องเที่ยว ทั้งสิ้น 19 แหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา รวมทั้งสิ้น จำนวน 57 คนและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางวัฒนธรรม ศาสนาและการท่องเที่ยวจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม ใช้ในการศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา แบบสัมภาษณ์ใช้ในการกำหนดรูปแบบ ตลอดจนการสร้างยุทธศาสตร์และแนวทางในการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย สำหรับผลการศึกษา พบว่า บริบทและสภาพแวดล้อมของวัดมีความสวยงาม สถาปัตยกรรมที่โดดเด่น มีความงดงาม ทางศิลปวัฒนธรรม มีเส้นทางการท่องเที่ยว การคมนาคมสะดวก เข้าถึงง่ายและมีแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมที่น่าสนใจจำนวนมาก มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการท่องเที่ยวและการรักษาความสะอาด รูปแบบการท่องเที่ยวสามารถแบ่งเป็น 1.แหล่งท่องเที่ยวศิลปกรรมเชิงพุทธศิลป์ร่วมสมัย 2.แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ : เส้นทางการท่องเที่ยวที่1 1-2-3-4-5 3.แหล่งท่องเที่ยวตามเทศกาล ประเพณี และพิธีทางศาสนา และ4. แหล่งท่องเที่ยวนมัสการพระเกจิอาจารย์ (ความเชื่อและศรัทธา) สำหรับผลการศึกษาเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ พบว่า ประกอบด้วย 1.การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ทางศาสนาและวัฒนธรรม 2.การพัฒนาบุคลากรในแหล่งท่องเที่ยว ให้มีองค์ความรู้ และการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 3.ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ผ่านสื่อทุกช่องทาง 4.การบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ในการร่วมบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 5.ส่งเสริมภาคชุมชนมีส่วนร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้สู่ชุมชน ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย คือ ควรมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อาทิ การทำป้าย, ทำเว็บ และการพัฒนาที่จอดรถให้เพียงและปลอดภัย, หน่วยงานด้านวัฒนธรรม ควรพัฒนาและส่งเสริมการเตรียมความพร้อมวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาและหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวควรมีการส่งเสริมให้วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย</p> ทัศนีย์ ดอนเนตร, วิกรม บุญนุ่น, เลหล้า ตรีเอกานุกูล, โกมินทร์ วังอ่อน Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/263627 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่น ตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/264420 <p>การศึกษาเรื่อง “ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิกโดยประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านด้าย จำนวน 20 คน และสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านด้าย จำนวน 245 คน รวมทั้งสิ้น 265 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า จากกลุ่มประชากรทั้งหมด 265 คน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 60 ปีขึ้นไป จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สถานภาพโสด ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท โดยส่วนใหญ่เป็นสมาชิก 1-5 ปี เป็นต้น ในส่วนด้านความพึงพอใจของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านด้าย มีความพึงพอใจด้านกระบวนการคิดและการวางแผนโดยการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการวางแผนของกองทุนสวัสดิการชุมชนฯ ส่วนด้านกระบวนการดำเนินงานมีการปฏิบัติงานตามแผนและขั้นตอนของการดำเนินงานกองทุนตามระเบียบที่กำหนดไว้ และด้านการรับผลประโยชน์สมาชิกได้รับบริการตรงกับความต้องการ</p> สุนิสา รัตนประยูร, บุษปรัชต์ บุญธรรม, เปมิกา เทพวงค์, วิกรม บุญนุ่น Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/264420 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผู้นำกับกระบวนการถ่ายทอดความรู้ สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ กรณีบ้านคุ้งวังวัว ตำบลควนกลาง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/267739 <p><strong> </strong>ผู้นำองค์กร กระบวนการถ่ายทอดความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทชุมชน บทบาทผู้นำชุมชนและทีมงาน กระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของบ้านคุ้งวังวัว ตำบลควนกลาง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการ ศึกษาเอกสาร หลักฐานร่องรอยในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทผู้นำและการจัดกิจกรรมชุมชนแนวชุมชนแห่งการเรียนรู้ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ลึกและสนทนากลุ่ม นำมาวิเคราะห์เชิงปรากฎการณ์และเชิงทฤษฎี</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า บริบทบ้านคุ้งวังวัว เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดคุ้งน้ำของแม่น้ำตาปี มีแนวภูเขาขนาบ เป็นจุดน้ำลึก (วังน้ำ) เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมสูงอย่างรวดเร็ว การคมนาคมในยุคดก่อนไม่สะดวก ทำให้ผู้นำชุมชน มีการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าร่วมกับคนในชุมชนเสมอมา ยุคสมัยเปลี่ยนปัญหาเปลี่ยน แต่ผู้นำและทีมงานในชุมชนยังคงร่วมมือมุ่งมั่นทำงานชุมชนอย่างเข้มแข็ง ผู้นำและทีมงานรุ่นใหม่พยายามเรียนรู้และแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบมีส่วนร่วมด้วยกันอยู่เสมอจากกิจกรรมชุมชนที่มีผู้อาวุโสร่วมทีม จึงมีผู้นำที่มีการถ่ายทอดความรู้และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง</p> จรุ ถิ่นพระบาท, เหม ทองชัย, ลัญจกร นิลกาญจน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/267739 Thu, 28 Dec 2023 00:00:00 +0700