วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online)
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62
<p><strong>วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ เลขมาตรฐานสากล ISSN : 2774-1141 (Online)</strong> เป็นวารสารวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาและผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยเปิดรับบทความในกรอบวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ประยุกต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในประเภทบทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review article) และบทความวิจารณ์หนังสือ (book review) ซึ่งบทความทุกบทความ จะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ในรูปแบบผู้ประเมินและผู้แต่งไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน <strong>(double-blind review)</strong> กำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p>กองบรรณาธิการเปิดรับบทความ โดยส่งผ่านระบบ ThaiJo และดำเนินการตามระบบตามมาตรฐาน TCI เพื่อให้ทุกบทความมีคุณภาพ เกิดประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ตามเป้าหมายหลักของวารสารวิชาการ</p>
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
th-TH
วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online)
2774-1141
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการสังคมมนุษย์</p>
-
กลวิธีการใช้ภาษาบริภาษที่ปรากฏบนแฮชแท็กพระมหาเทวีเจ้า ในแอปพลิเคชัน TikTok
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/282040
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาบริภาษที่ปรากฏในแฮชแท็กพระมหาเทวีเจ้าในแอปพลิเคชัน TikTok เก็บข้อมูลจากแฮชแท็กพระมหาเทวีเจ้า ในแอปพลิเคชัน TikTok ที่มียอดจำนวนผู้เข้าชมไม่ต่ำกว่า 5 แสนครั้ง จำนวน 50 คลิป ในระหว่าง พ.ศ. 2564-2565 ผลการศึกษาพบว่าถ้อยคำบริภาษสามารถแบ่งกลวิธีการบริภาษออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) การบริภาษแบบตรง พบ 2 วิธีการ ได้แก่ การใช้คำที่แสดงความหมายทางลบของผู้ถูกบริภาษ และการบริภาษด้วยสำนวนที่แสดงข้อบกพร่องของผู้ถูกบริภาษ และ 2) การบริภาษแบบอ้อมพบ 8 วิธีการ ได้แก่ การถาม การใช้ถ้อยคำนัยผกผันในรูปวัจนกรรมต่าง ๆ การใช้ความเปรียบหรืออุปลักษณ์ การกล่าวเกินจริง การเล่นคำ การใช้สำนวน การแสดงความรู้สึกแทนผู้ถูกบริภาษ และการดูถูกตนเอง ซึ่งพบว่าผู้บริภาษใช้กลวิธีในการบริภาษแบบอ้อมมากกว่ากลวิธีการบริภาษแบบตรง ทั้งนี้กลวิธีการใช้ภาษาบริภาษยังสะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ทางภาษาที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปในสังคมปัจจุบัน</p>
กรวรรณ พฤษกลำมาศ
ณัฏฐธิดา กลับทอง
อรรถพล ชูแก้ว
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online)
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-06
2024-11-06
14 2
1
21