https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/issue/feed วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) 2025-04-08T10:01:10+07:00 ผศ.ดร.เชษฐา มุหะหมัด human.nstru62@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ เลขมาตรฐานสากล ISSN : 2774-1141 (Online)</strong> เป็นวารสารวิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษาและผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ประยุกต์ โดยเปิดรับบทความในกรอบวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ประยุกต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในประเภทบทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) บทความปริทัศน์ (review article) และบทความวิจารณ์หนังสือ (book review) ซึ่งบทความทุกบทความ จะผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ในรูปแบบผู้ประเมินและผู้แต่งไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน <strong>(double-blind review)</strong> กำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม</p> <p>กองบรรณาธิการเปิดรับบทความ โดยส่งผ่านระบบ ThaiJo และดำเนินการตามระบบตามมาตรฐาน TCI เพื่อให้ทุกบทความมีคุณภาพ เกิดประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ตามเป้าหมายหลักของวารสารวิชาการ</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/278679 ความต้องการของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่พึงประสงค์ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2025-02-20T10:08:10+07:00 วีรยุทธ ไชยบุญ 6411224066@nstru.ac.th เจษฎากร พลอินทร์ 6411224080@nstru.ac.th อุมาพร กาญจนคลอด umaporn_kan@nstru.ac.th ธารินี จริยาปยุกต์เลิศ tharinee_jar@nstru.ac.th สาวิมล รอดเจริญ sawimol_rod@nstru.ac.th ใหม่ บัวบาล mai_bua@nstru.ac.th <p> การศึกษาวิจัยเรื่อง ความต้องการของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลที่พึงประสงค์ในเขตพื้นที่ตําบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีวัตถุประสงค์ศึกษาความต้องการของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลที่พึงประสงค์ และศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะของนายกองค์การบริหารส่วนตําบลที่พึงประสงค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 366 คน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการด้านมนุษยสัมพันธ์ มากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลิกภาพ ส่วนด้านความรู้ความสามารถและด้านคุณธรรม มีสัดส่วนน้อยที่สุด และ 2. ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และประชาชนที่มีการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองแตกต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> 2025-04-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/humannstru62/article/view/276523 การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผังเมืองรวมชุมชนท่าเรือน้ำลึกสงขลา จังหวัดสงขลา ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 2025-03-06T15:07:23+07:00 ศดานนท์ วัตตธรรม sadanon.wa@skru.ac.th รัชชพงษ์ ชัชวาลย์ rutchapong.cha@skru.ac.th มุจลินทร์ ผลกล้า mudchalin.ph@skru.ac.th ชญานิษฐ์ ตุเทพ chayanit.tu@skru.ac.th <p> บทความวิจัย เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผังเมืองรวมชุมชนท่าเรือน้ำลึกสงขลา จังหวัดสงขลา ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาขั้นตอนการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผังเมืองรวมชุมชนท่าเรือน้ำลึกสงขลา จังหวัดสงขลา ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนจากการจัดประชุมการประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผังเมืองรวมชุมชนท่าเรือน้ำลึกสงขลา จังหวัดสงขลา ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการสำรวจพื้นที่ ติดประกาศ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมด้วยความสมัครใจ จำนวน 173 คน และใช้แบบสอบถามในการสอบถามความเหมาะสมของผังเมือง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ผลทางสถิติเพื่อหาค่าจำนวน และร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า การจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เป็นการดำเนินการตามขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ได้แก่ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ป้ายประชาสัมพันธ์ (ป้ายไวนิล) และการใช้รถแห่ (2) การจัดทำข้อมูลเอกสารและปิดประกาศแสดงรายการเกี่ยวกับการวางและจัดทำผังเมืองรวม (3) การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นและการปรึกษาหารือกับประชาชน และ (4) การจัดทำรายงานสรุปการประชุมรับฟังความคิดเห็นและการปรึกษาหารือกับประชาชน สำหรับระดับความคิดเห็นของประชาชนจากการจัดประชุมที่มีต่อแผนผังทั้ง 8 ประเภท พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าแผนผังมีความเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทุกข้อ</p> 2025-04-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ISSN : 2774-1141 (Online)