วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj <p><strong>วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยและสังคมศาสตร์</strong></p> <p><strong>ISSN : </strong>2651-1924 <strong>E-ISSN : </strong>2651-1916</p> <p><strong>กำหนดออก:</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> th-TH <p>วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/deed.en">Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</a> เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต</p> hssj.mcru@gmail.com (Asst. Prof. Chairit Siladech, Ph.D.) hssj.mcru@gmail.com (Samatchayar Poolsak) Thu, 19 Dec 2024 12:35:02 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาคุณภาพแผนจัดการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงที่เรียนออนไลน์ผ่านกูเกิลคลาสรูม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/265748 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้รายวิชาคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครูก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านกูเกิลคลาสรูม และ 2) ประเมินและเปรียบเทียบคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้รายวิชาดังกล่าวตามความเห็นของนักศึกษาก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและสาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 38 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคประชุมโฟกัสกรุ๊ป ส่วนขั้นประเมินและเปรียบเทียบคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ใช้แบบประเมินที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลขั้นวิเคราะห์และปรับปรุงคุณภาพในเชิงคุณภาพ ขั้นประเมินคุณภาพวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบด้วยสถิติทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) แผนจัดการเรียนรู้มีค่า IOC ระหว่าง 0.53-1.00 ซึ่งส่วนใหญ่สูงกว่าเกณฑ์ 0.50-1.00 ที่กำหนด แต่มีการปรับปรุงแก้ไขในหมวดที่ 2 หมวดที่ 4 หมวดที่ 5 และหมวดที่ 6 ตามข้อเสนอแนะก่อนนำไปใช้จัดการเรียนรู้ (2) คุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้ตามความคิดเห็นของนักศึกษา ในภาพรวมทุกองค์ประกอบ นักศึกษาทั้งสองเพศและทั้งสองสาขาวิชาเห็นว่าแผนจัดการเรียนรู้มีคุณภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพของแผนตามความคิดเห็นของนักศึกษาที่เพศและสังกัดสาขาวิชาต่างกัน พบว่า นักศึกษาที่เพศและสังกัดสาขาวิชาต่างกันเห็นว่าแผนจัดการเรียนรู้ที่จะใช้ออนไลน์ผ่านกูเกิลคลาสรูมมีคุณภาพไม่แตกต่างกัน</p> <p>องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ ช่วยให้ พบว่า มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดให้มีการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย</p> จรินทร์ งามแม้น, จริยะ วิโรจน์, บุญอินทร์ วิลัยเกษม Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/265748 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนววิถีใหม่เพื่อยกระดับนวัตกรรมทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267541 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนววิถีใหม่ และ 2) ศึกษาแนวทางยกระดับนวัตกรรมทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 321 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัยและแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามลำดับ</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) ผลของการศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนววิถีใหม่ โดยพิจารณา ออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 คือ ด้านการบริหารการศึกษาตามแนววิถีใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ 2 โดยมี 2 องค์ประกอบย่อย ดังนี้ องค์ประกอบแรก ด้านสมรรถนะในการบริหารจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบที่สองด้านส่งเสริมสมรรถนะเพื่อยกระดับนวัตกรรมของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ 2) แนวทางยกระดับนวัตกรรมทางการศึกษาของครู พบว่า มีแนวทางยกระดับนวัตกรรมทางการศึกษาของครูที่ได้ 5 ด้าน คือ 1) การกำหนดเป้าหมายเพื่อการยกระดับนวัตกรรม 2) ความคิดริเริ่มเพื่อการยกระดับนวัตกรรม 3) การสร้างแรงบันดาลใจและการเสริมแรงเพื่อการยกระดับนวัตกรรม 4) การพัฒนากลยุทธ์เพื่อการยกระดับนวัตกรรม และ 5) การวัดและประเมินผลเพื่อการยกระดับนวัตกรรม ตามลำดับ</p> กิตติวัฒน์ ดิษฐประเสริฐ, พัชรพล พำขุนทด, พรศิริ เรืองสันติ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267541 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองแฟรนไชส์ซีในฐานะผู้บริโภคของสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/275655 <p>ปัจจุบันประเทศไทยยังมิได้มีการตรากฎหมายเฉพาะสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ ทำให้เมื่อเกิดกรณีข้อพิพาทจึงต้องมีการนำบทกฎหมายอื่นมาใช้บังคับโดยอนุโลม ทำให้ในบางครั้งบทกฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถครอบคลุมถึงปัญหาได้ทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ พบว่าในอินโดนีเซีย มีการตรากฎหมายเฉพาะสำหรับควบคุมธุรกิจแฟรนไชส์ โดยแฟรนไชส์จะต้องเป็นไปตามข้อตกลงแฟรนไชส์ ส่วนในสิงคโปร์ถึงแม้ว่าจะมิได้มีกฎหมายสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ไว้โดยเฉพาะ และนำบทกฎหมายอื่นมาบังคับใช้โดยอนุโลมเช่นเดียวกับไทย แต่ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (CPFTA) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในข้อสัญญา มีการให้คำนิยามของคำว่า “ผู้บริโภค” รวมถึงบุคคลที่มีสิทธิในการขายสินค้าให้กับบุคคลอื่น และแฟรนไชส์ในออสเตรเลียได้รับการควบคุมโดยหลักจรรยาบรรณ อีกทั้งในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของออสเตรเลีย (ACL) ยังครอบคลุมในการคุ้มครองแฟรนไชส์ซีในฐานะผู้บริโภคอีกด้วย จึงเห็นควรให้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ไว้เป็นการเฉพาะ ให้แฟรนไชส์ซีได้รับการคุ้มครองสิทธิในฐานะผู้บริโภค เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้ที่มีอำนาจมากกว่า และอาศัยช่องว่างทางกฎหมายในการเอาเปรียบผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าในการทำสัญญาธุรกิจแฟรนไชส์</p> วุฒิพร สุวรรณพร, อรอมล อาระพล Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/275655 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ เรื่อง ดวงดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้โปรแกรม Stellarium ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267309 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดวงดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้โปรแกรม stellarium ประกอบการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องดวงดาวของนักเรียน ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม stellarium และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ดวงดาว โดยใช้โปรแกรม stellarium กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนวัดยอดสุวรรณคีรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้โปรแกรม stellarium แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม stellarium มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/81.36 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน (mean = 17.67, S.D. = 3.53) สูงกว่าก่อนเรียน (mean = 7.95, S.D. = 10.74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (mean = 4.15, S.D. = 0.63)</p> ณิชากร ปทุมรังสรรค์, สุดารัตน์ พุทธวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267309 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาข้อผิดพลาดการใช้บทขยายนามภาษาจีน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/268158 <p>งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาข้อผิดพลาดการใช้บทขยายนามภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (Errors Analysis) และวิธีการอธิบายข้อผิดพลาด เหล่านี้เชิงเปรียบเทียบ (Contrastive Analysis) เพื่อชี้ให้เห็นลักษะของข้อผิดพลาดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดการใช้บทขยายนามภาษาจีนในงานเขียนเรียงความจำนวน 63 ชิ้นนั้น สามารถจำแนกลักษณะข้อผิดพลาดออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการเรียงตำแหน่ง ของบทขยายนามที่มีส่วนขยายหลายข้อความไม่ถูกต้อง ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้บทขยายนามไม่ครบถ้วน และข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้บทขยายนามฟุ่มเฟือยหรือเกินความจำเป็น สาเหตุของการเกิดข้อผิดพลาด เหล่านี้เนื่องจากอิทธิพลของภาษาแม่ ความซับซ้อนของระบบภาษา ของทั้งสองภาษาและความเข้าใจ ที่ลึกซึ้งไม่มากพอเกี่ยวกับ ไวยากรณ์ภาษาจีนของนักศึกษา</p> <p>จากลักษณะข้อผิดพลาดทั้ง 3 ประเภทนี้ พบว่าจำนวนครั้งของข้อผิดพลาดในการใช้ บทขยายนาม ของนักศึกษาที่ปรากฏ มีจำนวน 92 ครั้ง โดยข้อผิดพลาดที่พบมากที่สุด คือ ข้อผิดพลาดที่เกิด จากการเรียง ตำแหน่งบทขยายนามไม่ถูกต้อง มีจำนวน 35 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 38.04 รองลงมาคือ ข้อผิดพลาดที่ เกิดจากการใช้บทขยายนามไม่ครบถ้วน มีจำนวน 32 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 34.78 และข้อผิดพลาดที่พบน้อยที่สุด คือ ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการใช้บทขยายนาม ฟุ่มเฟือยหรือเกินความจำเป็น มีจำนวน 25 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 27.18</p> กฤษดา กฤตเมธกุล Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/268158 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสื่อเจตนาของตัวละครเอกและตัวละครประกอบในหนังสือนิทานอีสป https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/268446 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสื่อเจตนาของตัวละครเอกในหนังสือนิทานอีสป และ 2) การสื่อเจตนาของตัวละครประกอบในหนังสือนิทานอีสป ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาษาที่แสดงการสื่อเจตนาจากบทสนทนาของตัวละครในหนังสือ “101 อมตะนิทานอีสป” กรอบแนวคิดที่ใช้เป็นพื้นฐานของการวิจัยประยุกต์จากแนวคิดเรื่อง “ชนิดของประโยคที่แบ่งตามเจตนา” และแนวคิดเรื่อง “การใช้ประโยคแสดงเจตนา” สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออัตราส่วนร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยปรากฏว่า การสื่อเจตนาของตัวละครเอกในหนังสือนิทานอีสปจำแนกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การแจ้งให้ทราบ (ร้อยละ 68.15) การบอกให้ทำ (ร้อยละ 19.11) และการถามให้ตอบ (ร้อยละ 12.74) ส่วนการสื่อเจตนาของตัวละครประกอบในหนังสือนิทานอีสปจำแนกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การแจ้งให้ทราบ (ร้อยละ 50.00) การถามให้ตอบ (ร้อยละ 30.51) และการบอกให้ทำ (ร้อยละ 19.49) นอกจากนี้ งานวิจัยครั้งนี้มีข้อค้นพบว่า ตัวละครเอกและตัวละครประกอบในหนังสือนิทานอีสปมักสื่อเจตนาประเภทการแจ้งให้ทราบที่เป็นการบอกเล่า การแย้ง การคาดคะเน การเน้น การสรุป และการอธิบายเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้ฟังรับทราบ </p> ซัลมาณ ดาราฉาย, เยี่ยนถิง หลิว Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/268446 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ศักยภาพการท่องเที่ยวและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267575 <p>การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวของตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และ (2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางการท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า (1) ศักยภาพการท่องเที่ยวของตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ประกอบด้วย มีการบริหารจัดการด้านการจัดเตรียมเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย มีการบริหารจัดการด้านการแสดงข้อมูลข่าวสารในการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก และมีการบริหารจัดการด้านข้อบังคับด้านการแต่งกายและบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการอย่างชัดเจน (2) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน แนวทางการสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวอันน่าประทับใจที่มีคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม แนวทางส่งเสริมการตลาดเชิงรุกมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ และแนวทางการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ</p> พีรวิชญ์ สิงฆาฬะ, ชลิต เฉียบพิมาย, กัลยาณี ยุทธการ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267575 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/263339 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี 2. พัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและการมีส่วนร่วมของชุมชน 3. ศึกษาความพึงพอใจต่อโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้โปรแกรม คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้การเลือกอย่างเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ 2. แบบประเมินคุณภาพโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ 3. แบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ไม่มีรูปแบบของการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายที่ชัดเจน และผู้สูงอายุมีความต้องการการออกกำลังกายแบบใหม่ ๆ 2. โปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุที่ได้พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุและการมีส่วนร่วมของชุมชนมีคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.65, S.D. =.53) 3. ผู้สูงอายุพึงพอใจต่อโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.77, S.D. = 0.57)</p> วาสิฏฐี สายสุดใจ, สมภัสสร บัวรอด, นิตยา เรืองมาก, ณิชารีย์ เทียมเท่าเกิด Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/263339 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/274713 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ในรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม 2) เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 10 แผนการเรียนรู้ แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ในรายวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> อมลรดา รงค์ทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/274713 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/263709 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้เทคนิค SQ6R 2) ศึกษาความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้ทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้เรียนโดยการใช้เทคนิค SQ6R สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการใช้เทคนิค SQ6R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> จันทรพิมพ์ รังษี, วชิระ จันทราช, มัณฑนา พันธุ์ดี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/263709 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/277194 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลด่านมะขามเตี้ย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 46 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน จำนวน 4 แผน และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความก้าวหน้าทางการเรียน (N gain)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.76/81.97 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เรื่อง ภาวะโลกร้อน มีทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความก้าวหน้าทางการเรียน (N Gain) เท่ากับ 0.30 อยู่ในระดับปานกลาง</p> ชมพูนุท แก้วใจรักษ์, กฤษฎากร ผาสุข, กุลธิดา นุกูลธรรม Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/277194 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267781 <p>การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพ และบริบทการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมการทองเที่ยวของกลุ่ม ผูสูงอายุในจังหวัดราชบุรี 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมการซื้อซ้ำของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดราชบุรี และ 4) เสนอแนวทางการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่เดินทางมาในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 20 คน ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบสมมติฐานผ่านการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดราชบุรี มีสิ่งดึงดูด ได้แก่ ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม มีความสามารถในการเข้าถึง มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการที่เพียงพอเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ แต่กิจกรรมที่โดดเด่นและสร้างสรรค์ยังมีจำนวนน้อย นอกจากนี้ ยังมีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิก สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและพฤติกรรมการซื้อซ้ำของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดราชบุรี ได้แก่ องค์ประกอบด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดการและการให้บริการ สิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวก นอกจากนี้ แนวทางการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมในการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุของแหล่งท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดราชบุรี ได้แก่ ชุมชนควรดึงเสน่ห์ของความเรียบง่าย ความดั้งเดิมมาเป็นจุดขาย ควรกำหนดโครงสร้างคณะทำงานโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของชุมชน ควรดำเนินการร่วมกับเครือข่ายภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมการตลาด และการประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง</p> ประภัสสร มีน้อย Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/267781 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/273700 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในสังคมการเมืองไทย และวิเคราะห์การสื่อสารทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกต</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คนรุ่นใหม่สื่อสารทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์หลายรูปแบบ ได้แก่ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การส่งต่อข้อมูล การติดตามสถานการณ์ การแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ การติดตามกระแสสังคมและการพูดคุยทางการเมือง 2) คนรุ่นใหม่สื่อสารทางการเมืองผ่านกิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะ ได้แก่ การชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองเชิงสัญลักษณ์ การร่วมรณรงค์ การเป็นผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้ง และการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 3) ความสนใจทางการเมืองของคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นจากหลายเหตุปัจจัย อาทิ สภาพความเป็นอยู่และปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อตนเองในระยะยาว เหตุการณ์ทางการเมืองที่วุ่นวายและไม่เป็นประชาธิปไตย และปัจจัยด้านครอบครัว สังคม สภาพแวดล้อมที่ผลักดันให้ต้องสนใจทางการเมืองมากขึ้น 4) ในช่วงการเลือกตั้ง คนรุ่นใหม่มีการสื่อสารทางการเมืองมากกว่าปกติ มีการติดตามสถานการณ์ทางการเมือง การหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมืองและพรรคการเมือง และวิเคราะห์ผลการเลือกตั้ง 5) มุมมองของคนรุ่นใหม่ต่อการสื่อสารทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองและประชาชน มุ่งเน้นที่การเข้าถึงข้อมูลของพรรคการเมืองได้ง่าย โปร่งใส และทันสมัย พรรคการเมืองต้องเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม และให้ความสำคัญกับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น</p> นันทิยา สัตยวาที, รตา อนุตตรังกูร Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/273700 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/277327 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาระดับของความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร (2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชรและ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 306 คน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ปีการศึกษา 2566 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratied random sampling) <br />ตามสัดส่วนของครูในสถานศึกษาแต่ละขนาด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>1) ครูมีความสุขในการทำงาน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านความรักในงาน ด้านความสำเร็จในงาน ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ด้านการเป็นที่ยอมรับ และด้านความพึงพอใจใจงาน</p> <p>2) สถานศึกษามีประสิทธิผล ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา ด้านความสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์<br />ทางการเรียนสูง และด้านความสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม</p> <p>3) ความสุขในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ธีระพัฒน์ ช้อยนิยม, ทัศนะ ศรีปัตตา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/277327 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาองค์ประกอบของอัตลักษณ์และกิจกรรมเสริมศักยภาพความเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่นสู่ความเป็นครูมืออาชีพ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/264665 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาองค์ประกอบของอัตลักษณ์ความเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2. เพื่อพัฒนาขอบข่ายของกิจกรรมเสริมศักยภาพความเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) คณาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 10 คน 2) ผู้บริหารและครูในโรงเรียนปลายทาง จำนวน 10 คน 3) อาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการผลิตนักศึกษาครู จำนวน 5 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา จำนวน 10 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ การจับกลุ่มข้อความก่อนสร้างเป็นข้อสรุป</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>องค์ประกอบของอัตลักษณ์ที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ คือ “มีจิตวิญญาณความเป็นครู ใฝ่รู้ ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เชี่ยวชาญการพัฒนาท้องถิ่น” มีรายละเอียดดังนี้ 1) ด้านการมีจิตวิญญาณความเป็นครู 1.1) มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ 1.2) มีจิตวิญาณความเป็นครู 1.3) เป็นแบบอย่างที่ดี 2) ด้านใฝ่รู้ 2.1) แสวงหาความรู้ 2.2) มุ่งมั่นในการทำงาน 2.3) สร้างสรรค์นวัตกรรม 3) ด้านปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลง 3.1) ปรับตัวทางด้านการเงิน 3.2) การทำงานร่วมกับโรงเรียนและชุมชนด้วยความอุทิศตนต่อส่วนรวม 4) ด้านสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ 4.1) สื่อสารกับผู้เรียนและผู้ปกครองอย่างสร้างสรรค์ 4.2) การสื่อสารกับชุมชน 5) ด้านความเชี่ยวชาญการพัฒนาชุมชน 3.1) พัฒนาท้องถิ่นตามบริบทของชุมชน</li> <li>ขอบข่ายของกิจกรรมเสริมศักยภาพความเป็นครูรัก(ษ์)ถิ่น ควรเพิ่มเติมในด้านใฝ่รู้ ด้านการปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และด้านการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ แต่อย่างไรก็ตามควรคงไว้เกี่ยวกับลักษณะสำคัญของกิจกรรมเสริมศักยภาพที่มีความเข้มข้นในการปฏิบัติจริงในแต่ละชั้นปี</li> </ol> นิตยา เรืองมาก, ปุญญาพัฒน์ จันทร์เพชร, วิจิตรา เงินบาท, ธนกฤต สาขะจันทร์, จินตนา โนนทิง Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/264665 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700