วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj <p><strong>วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยและสังคมศาสตร์</strong></p> <p><strong>ISSN : </strong>2651-1924 <strong>E-ISSN : </strong>2651-1916</p> <p><strong>กำหนดออก:</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> Research and Development Institute, Muban Chombueng Rajabhat University th-TH วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2651-1924 <p>วารสาร TCI อยู่ภายใต้การอนุญาต <a href="https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/deed.en">Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)</a> เว้นแต่จะรุบุไว้เป็นอย่างอื่นโปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเช้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต</p> ผลการเรียนรู้ Active Learning ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และ Health education method เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/260301 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้รับการเรียนรู้ Active Learning ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และ Health education method และ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ Active Learning ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และ Health education method <br />กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้คือแผนจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับ Health education method แบบทดสอบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ ดำเนินการวิจัยแบบกึ่งทดลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า T-Test (Dependent Sample)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้ Active Learning ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และ Health education method มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน<br />สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจรูปแบบ<br />การเรียนรู้ Active Learning ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์และ Health education method อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.56)</p> อมลรดา รงค์ทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 1 13 ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะความเป็นพลเมืองดีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/260850 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบริการสังคม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะความเป็นพลเมืองดี 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบบริการสังคม เพื่อส่งเสริมสมรรถนะความเป็นพลเมืองดี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.89, S.D. = 0.14) 2) แบบประเมินสมรรนะความเป็นพลเมืองดี โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 3) แบบประเมินคุณภาพรายงานกิจกรรมบริการสังคม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One - way Repeated Measures ANOVA)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนแบบบริการสังคมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะความเป็นพลเมืองดีประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) เนื้อหา (4) กระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอนคือ ขั้นที่1 ขั้นเตรียมการ ขั้นที่2 ขั้นปฏิบัติการ ขั้นที่3 ขั้นสร้างความรู้อย่างไตร่ตรอง ขั้นที่4 ขั้นประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง ขั้นที่5 ขั้นประเมินผลงาน และ5) การวัดและประเมินผล ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.89, S.D. = 0.17) 2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบบริการสังคมพบว่า ผู้เรียนมีสมรรถนะความเป็นพลเมืองดีทั้ง 4 ด้านได้แก่ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา และความรับผิดชอบต่อสังคม เพิ่มขึ้นในแต่ละระยะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ปรเมศวร์ พืชผักหวาน สุวรรณา จุ้ยทอง พิทักษ์ นิลนพคุณ กันต์ฤทัย คลังพหล Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 14 29 การเรียนรู้เชิงรุก Active learning โดยการจัดการเรียนรู้แบบสาธิตบนความแตกต่างทางลีลาการเรียนรู้ระหว่างบุคคล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/261745 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคลเกี่ยวกับลีลาการเรียนรู้ และผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก Active learning โดยการจัดการเรียนรู้แบบสาธิตและการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการสอนไวยากรณ์จีน บนความแตกต่างทางลีลาการเรียนรู้ระหว่างบุคคล ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R &amp; D) กระบวนการสอน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปี 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 หมู่เรียน รวมทั้งสิ้น 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความแตกต่างระหว่างบุคคลเกี่ยวกับลีลาการเรียนรู้ 2) แบบสอบถามการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้แบบสาธิต 3) แบบสัมภาษณ์และประเมินความพึงพอใจกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบการสาธิตและสถานการณ์จำลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน (Variance) t-test independent</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีความชื่นชอบทั้งสามด้าน ชื่นชอบการเขียนตัวอักษรจีน ออกเสียงจีน การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ ในระดับมาก ยกเว้นชื่นชอบการรายงานเนื้อหาหน้าชั้นเรียน ประกอบกับผลการวิเคราะห์ความแตกต่างการเรียนรู้ระหว่างบุคคล พบว่า ในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความมั่นใจ กล้าที่จะแสดงออก บรรยายหน้าชั้นเรียน อยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.02) และมีความเข้าใจต่อการเรียนรู้เนื้อหา (ส่วนบุคคล) ภายในชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.26) 2) ผลการจัดการเรียนรู้แบบสาธิตและการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองของความแตกต่างทางลีลาการเรียนรู้ระหว่างบุคคลของผู้เรียนทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน จากการจัดการเรียนรู้แบบสาธิตและสถานการณ์จำลองที่เหมือนกัน ทางด้านการเตรียมพร้อมก่อนการเรียนทุกครั้ง การได้รับความรู้จากเนื้อหาการเรียนการสอนกิจกรรมภายในห้องเรียน การมีรูปแบบการสื่อสารความรู้ภายในเนื้อหาให้มีความเข้าใจ</p> ณภัทร ญาโนภาส Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 30 46 ทัศนคติของประชากรรุ่นแซดต่อการให้บริการระบบการขนส่งมวลชนเพื่อ การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/261800 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทัศนคติของเจนแซดต่อการให้บริการระบบการขนส่งมวลชนเพื่อการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบทัศนคติต่อการให้บริการระบบการขนส่งมวลชนเพื่อการท่องเที่ยวกับปัจจัยทางประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ รายได้ของครอบครัว ภูมิลำเนาของครอบครัว และระยะเวลาที่อาศัยในกรุงเทพมหานครของเจนแซด การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเจนแซดที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 729 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอ้างอิงใช้ค่าทดสอบทีที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) เจนแซดมีทัศนคติต่อการให้บริการระบบบริการขนส่งมวลชนเพื่อการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครในระดับปานกลาง 2) เจนแซดที่มีปัจจัยด้านภูมิลำเนาของครอบครัวแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการให้บริการระบบการขนส่งมวลชนเพื่อการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน (<em>p</em>&gt;0.05)</p> พรรษกฤช ศุทธิเวทิน พงศ์เสวก เอนกจำนงค์พร Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 47 60 แนวทางการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: ชุมชนหมู่ 3 ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/263222 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเสี่ยงการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน และ 2) ศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน การวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุหมู่ 3 ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 127 คน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือแบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุไทยที่อาศัยในชุมชน (THAI-FRAT) และแบบประเมินสภาพแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้ม กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนผู้สูงอายุ ญาติ ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าสาธารณสุข จำนวน 30 คน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง ใช้กระบวนการรวมพลังสร้างอนาคต AIC สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิเคราะห์เนื้อหาและตีความตามประเด็นการประชุม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) มีผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการหกล้ม ร้อยละ 26.77 ปัจจัยเสี่ยงคือ เพศหญิง การใช้ยา การมองเห็นบกพร่อง ร้อยละ 69.29, 61.42, 46.46 ตามลำดับ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูงและปานกลาง ร้อยละ 0.79 และ 10.24 2) แนวทางการป้องกันการหกล้มมี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุและญาติ กลุ่มอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และกลุ่มผู้นำชุมชน ซึ่งแต่ละกลุ่มมีแนวทางการป้องกันการหกล้ม 4 ด้านคือ ด้านการส่งเสริมความรู้ ด้านการรักษาสุขภาพ ด้านการออกกำลังกาย และด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อม สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่น ๆ เพื่อวางแผนป้องกันและลดอัตราการเกิดการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนตามบริบทของชุมชนนั้น ๆ</p> รุ่งอรุณ สุทธิพงษ์ รัชดาพร ฐานมั่น สันทัด สุทธิพงษ์ นิคม พุทธา Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 61 75 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/263528 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความเชื่อมั่นก่อนเรียนเท่ากับ 0.75 และค่าความเชื่อมั่นหลังเรียนเท่ากับ 0.75 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการใช้ทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังจากการเรียนโดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดยการใช้วิธีการสอนอ่านแบบ MIA ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p> อธิตา ประพันธ์พจน์ วชิระ จันทราช มัณฑนา พันธุ์ดี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 76 90 การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/264490 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะ ด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ และ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู สำนักงานศึกษาธิการจังหวัfสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครู จำนวน 82 คน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม รูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 - 1.00 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI<sub>Modified</sub>)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้ในการวิจัยในชั้นเรียนในสภาพปัจจุบันของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยสภาพที่คาดหวังของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านทักษะในการวิจัยในชั้นเรียนในสภาพปัจจุบันของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยสภาพที่คาดหวังของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ด้านเจตคติต่อการวิจัยในชั้นเรียน ในสภาพปัจจุบันของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยสภาพที่คาดหวังของครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูสูงสุด คือ ด้านทักษะในการวิจัยในชั้นเรียน ด้านความรู้ในการวิจัยในชั้นเรียน และด้านเจตคติต่อการวิจัยในชั้นเรียน</p> สาวิตรี จุ้ยทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 91 104 คุณลักษณะของนวัตกรรมในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทลในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/264583 <p style="font-weight: 400;">การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะของนวัตกรรมในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล 2) ระดับคุณลักษณะของนวัตกรรมในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล จำนวน 8 คน จากนั้นจึงเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามกับผู้รับบริการในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮมเทล จำนวน 160 คน โดยคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรม G* POWER</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะของนวัตกรรมในธุรกิจโรงแรมประเภทโฮสเทล แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของสินค้า ด้านระบบนิเวศทางธุรกิจ ด้านการสร้างภาพลักษณ์ ด้านการเข้าถึงผู้รับบริการและความปลอดภัย ด้านบริการเสริม ด้านรูปแบบรายได้และกำไร ด้านการจัดการภายในองค์กร และด้านพันธมิตรและเครือข่ายธุรกิจ 2) ระดับคุณลักษณะของของนวัตกรรมทั้ง 8 ด้าน พบว่า ด้านคุณสมบัติของสินค้าละบริการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านระบบนิเวศทางธุรกิจ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการสร้างภาพลักษณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการเข้าถึงผู้รับบริการและความปลอดภัย อยู่ในระดับมาก ด้านบริการเสริม อยู่ในระดับมาก ด้านรูปแบบของรายได้และกำไร อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ</p> ระชานนท​์ ทวีผล ศรายุทธ มณีรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 105 123 ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/265269 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดสรรเพชญ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน ที่ได้มาจากการเลือกแบบกลุ่ม (Intact-group comparison) โดยเลือกจากนักเรียนที่สามารถมาเรียน On site ที่โรงเรียนได้ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์ 6 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง 2) บัตรคำศัพท์สำหรับครู และนักเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ 4) แบบวัดความพึงพอใจ</p> <p>ผลวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์โดยเทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์โดยเทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์หลังเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกันกับการทดสอบหลังเรียน 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์มีความพึงพอใจในระดับมาก</p> <p> </p> <p><strong> </strong><strong>คำสำคัญ:</strong> เทคนิคการใช้บัตรคำศัพท์, ความคงทนในการจำคำศัพท์, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5</p> สาธิต โภคี สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 124 139 การพัฒนาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติร่วมกับแผนผังกราฟิกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/265491 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการฟังและพูดภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติร่วมกับแผนผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติร่วมกับแผนผังกราฟิกหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ70 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติร่วมกับแผนผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ แบบประเมินความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติร่วมกับแผนผังกราฟิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ หลังการเรียนโดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติร่วมกับแผนผังกราฟิก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้ที่เน้นงานปฏิบัติร่วมกับแผนผังกราฟิก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> เยาวลักษณ์ เจริญวัฒน์ ศศิวรรณ สุวรรณกิตติ จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 140 153 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฏี คอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการระดมสมองผ่านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/268055 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการระดมสมองผ่านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ 2. หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการระดมสมองผ่านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์และ3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้นักศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่1 ที่ลงเรียนรายวิชา Calculus 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 34 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการระดมสมองผ่านการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เท่ากับ 0.6796 และผู้เรียนสามารถทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการระดมสมองผ่านสังคมออนไลน์สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ได้</p> เบญจพร สว่างศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 154 166 ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/262288 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการปฏิบัติงานของครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา กับการปฏิบัติงานของ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรีเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 1 จำนวน 76 แห่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กำหนดผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วยครูวิชาการ 1 คน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 2 คน จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบ มาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ และด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ 2. การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนี้ ด้านปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ด้านร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ และด้านร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 3. การบริหารระบบสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา กับการปฏิบัติงานของครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับสูง (r= 0.804) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> สุชาดา ปิ่นทัศน์ ชวน ภารังกูล Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 167 185 การตีความวากยสัมพันธ์ การตีความเชิงอรรถศาสตร์และด้านวัจนปฎิบัติศาสตร์ ของคุณานุประโยคที่ถูกลดรูปในนวนิยาย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/264164 <p>งานวิจัยครั้งนี้ศึกษาการตีความวากยสัมพันธ์ การตีความเชิงอรรถศาสตร์และวัจนปฎิบัติศาสตร์ของโครงสร้างคุณานุประโยคที่ถูกลดรูปในนวนิยายที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ในขณะที่งานวิจัยที่ศึกษาโครงสร้างคุณานุประโยคที่ถูกลดรูปก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญกับตัวบทงานเขียนของนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ คลังข้อมูลภาษานานาชาติและตัวบทวิชาการ งานนี้จึงเลือกตัวบทที่แตกต่างคือนิยายภาษาอังกฤษ ชุดข้อมูลเก็บรวบรวมโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงจากนวนิยายขายดีเป็นจำนวนทั้งสิ้นสามเล่มเพื่อการเก็บข้อมูลโครงสร้างคุณานุประโยคที่ถูกลดรูป งานวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวม</p> <p>จากนวนวนิยายที่มีผู้เขียนเป็นชาวอเมริกันจำนวนทั้งสิ้นสามเล่มได้แก่ <em>The Lottery</em> (Jackson, 2015), <em>The Turn of the Screw </em>(James, 2021) และ <em>On the road</em> (Kerouac, 2022) ชุดข้อมูลประมาณ 300,000 คำประกอบด้วย 20 ตัวอย่างประโยค ทฤษฏีวากยสัมพันธ์อธิบายตามหลักการของ Radford (2009) การตีความเชิงอรรถศาสตร์ทำตามแบบของ Kearns (2011) เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นไปอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ นักภาษาศาสตร์จำนวนทั้งสิ้นสามท่านดำเนินการการตรวจสอบการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าจำนวนความถี่ที่ต่ำของโครงสร้างคุณานุประโยคที่ถูกลดรูปในนวนิยายที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษอธิบายได้โดยหลักการความซับซ้อน การตีความเชิงอรรถศาสตร์ของคุณานุประโยคที่ถูกลดรูปในนวนิยายที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษสามารถอธิบายได้โดยกิจกรรมทั่วไป ในด้านวัจนปฎิบัติศาสตร์ โครงสร้างคุณานุประโยคที่ถูกลดรูปส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ท้ายประโยคเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม นักวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ และผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองแง่มุมการใช้โครงสร้างคุณานุประโยคที่ถูกลดรูปในการเขียรเรื่องสั้นและนวนิยายภาษาอังกฤษ</p> อภินันท์ วงศ์กิตติพร Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 186 200 ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/268930 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาและ 3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนของสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 จำนวน 297 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามที่ตั้งของอำเภอ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ทั้งภาพรวมและรายด้าน ด้านที่มีระดับสูงสุด ได้แก่ การบริหารจัดการกับปัญหาที่หลากหลาย ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ การเป็นแบบอย่างที่มุ่งมั่น 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ด้านที่มีระดับสูงสุด ได้แก่ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนต่อสภาวะแวดล้อม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน และ 3) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย การเป็นต้นแบบการบริหารงาน การเป็นแบบอย่างที่มุ่งมั่น การยืนหยัดอยู่บนความจริง และการบริหารจัดการกับปัญหาที่หลากหลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 58.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> รุ่งนภา ล้ำเลิศ ธีรวุธ ธาดาตันติโชค พิชญาภา ยืนยาว Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 201 214 รูปแบบการพัฒนาทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hssj/article/view/264721 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาการศึกษาปฐมวัย 2) อาจารย์ประจำหลักสูตรกลุ่มวิชาชีพครู 3) ผู้บริหารโรงเรียน 4) ครูพี่เลี้ยง 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย 6) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชุมชน ได้มา จากการเลือกอย่างเจาะจงจากผู้ที่ประสบการณ์ในงานด้านครูรัก(ษ์)ถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความต้องการพัฒนาทักษะการวิจัยนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวบ่งชี้ทักษะการวิจัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย ทักษะทางวิชาชีพ 24 ตัวบ่งชี้ และทักษะทางอารมณ์ 16 ตัวบ่งชี้ 2) รูปแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาโรงเรียนปลายทาง และชุมชนตาม อัตลักษณ์ของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่นสามารถใช้การทักษะการวิจัยในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทชุมชน รูปแบบมีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการทำงานร่วมกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ในการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้จากงานตามสภาพจริง ส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์</p> สมภัสสร บัวรอด เสาวรส ชูศรี อุทัยวรรณ ดอกพรม สุรางค์ มันยานนท์ อนุนาถ ชื่นจิตร์ Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-07 2024-08-07 12 1 215 230