วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc <p>วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา เป็นแหล่งรวบรวมวารสารทางวิชาการ ของวิทยาลัยนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการและงานวิจัยแก่บุคคลทั่วไป และส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ</p> th-TH <p><strong>จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน &nbsp;ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> [email protected] (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ บุญเจริญ) [email protected] (ดร.ศิรินธร เอี๊ยบศิริเมธี) Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 รูปแบบของการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าสินค้าออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270696 <p> วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน 2) ศึกษาระดับความสำคัญปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน 3) เปรียบเทียบระดับความสำคัญปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชันจำแนกตามลักษณะพื้นฐานของลูกค้าผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ 4) เสนอรูปแบบของการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน แบบของการวิจัยเป็นแบบผสมวิธี โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหารจำนวน 5 ท่าน ที่เป็นผู้บริหารธุรกิจจำหน่ายสินค้าออนไลน์เพื่อนำไปทำแบบสอบถามและการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาปรับแก้ร่างรูปแบบของการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน โดย เก็บข้อมูลผู้ลูกค้าที่ซื้อหรือเคยซื้อสินค้าออนไลน์จำนวน 385 คน โดยการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดลำดับด้วยค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชันมีพฤติกรรมมาก ประกอบด้วย ด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อ ในรอบ 6 เดือน ด้านการเลือกตรายี่ห้อ ด้านจำนวนครั้งที่ซื้อในรอบ 6 เดือนและด้านปริมาณที่ซื้อตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน ลูกค้าให้ความสำคัญมาก ประกอบด้วยด้านการส่งมอบคุณค่า ด้านการเล่าประสบการณ์ ด้านความภักดี ด้านความง่ายในการเข้าถึง ด้านความพึงพอใจ ด้านความเชื่อมั่น และความกล้าเสี่ยง และด้านการออกแบบ ตามลำดับ 3) ผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชันไม่แตกต่างกัน 4) ลักษณะพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน มีความสัมพันธ์สูงกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชันด้านความภักดี ด้านการส่งมอบคุณค่า ด้านความพึงพอใจ และด้านการเล่าประสบการณ์ ส่วนด้านอื่นมีความสัมพันธ์ ปานกลาง 5) รูปแบบของการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน ประกอบด้วย ด้านการเล่าประสบการณ์ ด้านการส่งมอบคุณค่า ด้านความเชื่อมั่น และความกล้าเสี่ยง ด้านความภักดี ด้านความพึงพอใจ ด้านความง่ายในการเข้าถึง และด้านการออกแบบตามลำดับ ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันพยากรณ์ รูปแบบของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของลูกค้าสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชัน ได้ร้อยละ 62.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ชัยรัชต์ ก้องเปสลาพันธ์, สวงค์ เศวตวัฒนา, ศิตชัย จีระธัญญาสกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270696 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การสร้างและพัฒนาฝายมีชีวิตด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268903 <p> ปัญหาการขาดแคลนน้ำของชุมชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้ชุมชนเกิดความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของชุมชน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความตระหนัก พฤติกรรมการมีส่วนร่วม และความพึงพอใจ ของภาคประชาสังคมต่อฝายมีชีวิต 2) ศึกษาความสมบูรณ์ของระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์จากฝายมีชีวิตในพื้นที่ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคคลากรหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ /ภาคเอกชน วัด/สำนักสงฆ์ และประชาชนในชุมชน จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามวัดความรู้ ความตระหนัก การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจ รวมทั้งแบบสังเกตความยั่งยืนของระบบนิเวศ นำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาจัดเป็นหมวดหมู่และบรรยายข้อมูลเชิงพรรณา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับมาก ความตระหนักอยู่ในระดับมากที่สุด การมีส่วนร่วมต่อการสร้างและพัฒนาฝายมีชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจต่อการสร้างและพัฒนาฝายมีชีวิต อยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ จำแนกได้เป็น 4 มิติ ดังนี้ 1) มิติด้านสิ่งแวดล้อม มีลักษณะทางกายภาพของลำคลอง เหนือจุดที่สร้างฝายมีชีวิต มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น 2) มิติด้านระบบนิเวศน์ มีความหลากหลายทางชีวภาพทั้งชนิดของพืชพรรณไม้ สัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 3) มิติด้านเศรษฐกิจชุมชน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการมีน้ำในการอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร 4) มิติด้านสังคมและชุมชน กระบวนการฝายมีชีวิตทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและเครือข่ายงานด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ในประเด็นการใช้ประโยชน์จากฝายมีชีวิตในเชิงประจักษ์ พบว่า ชุมชนมีการนำน้ำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจและนันทนาการสำหรับชุมชน</span></p> เทวิน สมยาเย็น, วินัย วีระวัฒนานนท์, บุญเลิศ วงค์โพธิ์, ธัศษณพัฒน์ ปานพรม Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268903 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 คุณลักษณะของผู้สอบบัญชีที่ส่งผลต่อรายงานของผู้สอบบัญชี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268690 <p> การศึกษาวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์และทดสอบคุณลักษณะของผู้สอบบัญชีที่ส่งผลต่อการรายงานของผู้สอบบัญชี บริษัท มหาชน จำกัด ในดัชนี SET 100 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ของบริษัทมหาชนจำกัดในดัชนี SET 100ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 284 บริษัท ระหว่างปี 2562 - 2564 ผลการศึกษาพบว่า 1)คุณลักษณะของผู้สอบบัญชีของบริษัทมหาชนจำกัดในดัชนี SET 100 ส่วนใหญ่มีการเก็บค่าธรรมเนียมไม่เกิน 5 ล้านบาท และใช้บริการผู้ตรวจสอบของบริษัทในกลุ่ม Big4 มากถึงร้อยละ 96.50 ซึ่งผู้ตรวจสอบมีประสบการณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 11 ปีขึ้นไป ส่วนข้อมูลในการรายงานของผู้สอบบัญชีนั้นพบว่า มีการรายงานไม่ต่ำกว่า 7 ย่อหน้าขึ้นไปแต่ไม่เกิน 15 ย่อหน้า 2)ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณลักษณะของผู้สอบบัญชี ด้านค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีส่งผลต่อการรายงานของผู้สอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> นุชนาฏ บรรจงปรุ, สมศักดิ์ จินตวัฒนกุล Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268690 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270467 <p> วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ที่มีการประเมิน 4 ด้านได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 104 คน ประกอบด้วย 1) อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 14 คน 2) นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 30 คน 3) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน และ 4) ครูพี่เลี้ยงนักศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใซ้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินหลักสูตร สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา และ 2) แบบประเมินหลักสูตร สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยง วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ด้านบริบท ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.45,SD =0.10), ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.39, SD=0.16) ตามลำดับ</li> <li>ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.39, SD=0.10), ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=4.32, SD =0.52) ตามลำดับ</li> <li>ด้านกระบวนการ ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> =4.33, SD=0.10) และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดและมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />=54, SD=0.11)</li> </ol> ชาลินี มานะยิ่ง, ธิดารัตน์ สมานพันธ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270467 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาระบบการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีในหน่วยงานกรมทางหลวง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268822 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระบบการควบคุมภายใน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และ 3) เพื่อศึกษาระบบการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีในหน่วยงานกรมทางหลวง กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีและการเงินในหน่วยงานกรมทางหลวง จำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบพหุถดถอย</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ระบบการควบคุมภายใน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับแรก โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านกิจกรรมควบคุม และด้านการประเมินความเสี่ยง โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การควบคุมคุณภาพรายงานทางบัญชี มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับแรก โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการบัญชี และด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการบัญชี โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ระบบการควบคุมภายในส่งผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีในหน่วยงานกรมทางหลวง โดยระบบการควบคุมภายในด้านการติดตามและประเมินผล ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ควบคุมดูแลให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บัญชีเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการบัญชี และทำให้ระบบการควบคุมภายในถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด จึงเห็นได้ว่าการมีระบบการควบคุมภายในที่ดีจะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดีขึ้นตามไปด้วย</span></p> นฤมล สูญญาจารย์, พร้อมพร ภูวดิน, พลานุช คงคา Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268822 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 สมรรถนะในการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และความพึงพอใจ โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267941 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะในการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา<strong> </strong>เป็นการวิจัยเชิงทดลองพื้นฐานแบบแผนกลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง ประกอบการใช้โปรแกรม Google Meet และกลุ่มไลน์ กลุ่มทดลอง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนบริหารการสอนเรื่องแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เอกสารความรู้เรื่องแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เพาเวอร์พอยท์ประกอบการบรรยาย แบบฝึกการเขียนแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ประกอบเกณฑ์การให้คะแนน ใบมอบหมายภาระงาน แบบประเมินการนำเสนอแผนการวิจัยวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกการตอบข้อซักถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Shapiro-Wilk และสถิติทดสอบ t (แบบกลุ่มเดียว) </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) สมรรถนะในการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สูงกว่าเกณฑ์เกณฑ์ที่กำหนด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 </p> <p> 2) ความพึงพอใจต่อการเขียนแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดที่ระดับมาก</p> ผดุง เพชรสุข Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267941 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน รายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270447 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนในรายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนสอนเรื่องสุนทรียศาสตร์เบื้องต้นโดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา จำนวน 4 แผน ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ ซิปปา จำนวน 3 ชุด ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ที่มีค่าดัชนีความคิดสร้างสรรค์ IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ ซิปปา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา ที่มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 0001214 สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสถิตินอนพาราเมตริก (Non-parametric Statistics) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1. <span style="font-size: 0.875rem;">ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา ในการเรียนรายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้นโดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p> 2. ความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา ที่มีในการเรียนรายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด</p> สุจิตรา ศุภหัตถี, ธิดารัตน์ สมานพันธ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270447 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาความสอดคล้องคุณค่าจากแอไจล์และอุตสาหกรรม 4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269632 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสอดคล้องระหว่างคุณค่าจากการทำงานแอไจล์และคุณค่าจากการทำงานในบริบทอุตสาหกรรม 4.0 งานวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group Interview) บุคคลผู้ปฏิบัติงานแอไจล์และอุตสาหกรรม 4.0 จำนวนทั้งหมด 4 กลุ่ม โดยใช้การเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง มีการดำเนินการตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายการวิเคราะห์เนื้อหา การเลือกเนื้อหาที่จะวิเคราะห์ การกำหนดหมวดหมู่ของเนื้อหาที่จะวิเคราะห์ การสรุปหน่วยของการวิเคราะห์ เตรียมการลงรหัส ทดสอบ และตรวจสอบความน่าเชื่อถือผู้ลงรหัส (Inter-coder reliabilities) สุดท้ายจึงนำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม MAXQDA</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าการทำงานแอไจล์และอุตสาหกรรม 4.0 สอดคล้องกันทั้งหมด 11 คุณค่า การเรียนรู้ (Learning), ความเรียบง่าย (Simplicity), กระบวนการเปิดเผยและโปร่งใส (Openness &amp; Transparency), ความเร็วในการส่งมอบ (Speed), การมีความกล้าและแรงบันดาลใจ (Courage &amp; Motivation), มีความยืดหยุ่น (Flexibility), การประยุกต์ใช้ (Adaptability), การมีความคิดสร้างสรรค์และความสามารถเชิงลึก (Creative &amp; Technical excellence), กระบวนการมีประสิทธิผล (Effectiveness) และมีความสนุกในการทำงาน (Fun)</p> กฤษณ์ ปัทมะโรจน์ , นภดล ร่มโพธิ์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269632 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269509 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี และ(3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี เป็นวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. คุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย ด้านสุขภาพ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านชีวิตในชุมชน ด้านชีวิตด้านการใช้สติปัญญา ด้านชีวิตการทำงาน และด้านชีวิตครอบครัว ตามลำดับ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ หลักตอบสนอง หลักประสิทธิผล ความสามารถ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล หลักประสิทธิภาพ หลักความเสมอภาค หลักมุ่งเน้นฉันทามติ ความสามารถทางสติปัญญา และหลักนิติธรรม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การให้ความรู้และสร้างการรับรู้ที่แท้จริงของประชาชน และนำการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมาใช้อย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ควรสร้างผู้นำที่มีความรู้ความเข้าใจ เช่น ที่ปรึกษาชุมชน ซึ่งนอกเหนือจากกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลายนำมาประยุกต์ให้เกิดการมีส่วนร่วมและพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป</p> สาริณี มะลิลา, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269509 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269471 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชน บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่น และหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี และ(3) เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1. ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ประกอบด้วยด้านการท่องเที่ยว ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและความมั่นคง ด้านเกษตรกรรม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ</p> <p> 2. บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่น และหลักธรรมาภิบาล ด้านกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน หลักประสิทธิภาพ หลักการมีส่วนร่วม หลักภาระรับผิดชอบ การร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงาน หลักการกระจายอำนาจ การร่วมลงมือปฏิบัติในโครงการที่ได้คัดเลือกร่วมกัน พัฒนาพลัง และปฏิบัติการร่วมกัน ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p> 3. ผู้บริหารท้องถิ่นควรกำหนดกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของของประชาชน เน้นย้ำการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลให้กับบุคลากรและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอยู่เสมอ จะนําไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อไป</p> นิตฐพร โพธิ์รักษา, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269471 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269628 <p> การศึกษาเรื่องการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนนทบุรี เป็นวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรคือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คนเครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการส่งเสริมการรวมตัวกันของคนในชุมชนทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของชุมชน รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการองค์ความรู้และระบบการเรียนรู้ของชุมชนอย่างครบวงจร และด้านการสร้างภูมิคุ้มกันชุมชน มีการให้ความสำคัญและแนวทางการดำเนินการ ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. การพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชน และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการมีคุณธรรม การมีเหตุผล พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีภูมิคุ้มกันที่ดี การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ พัฒนา ส่งเสริม และอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่นอันดีงาม การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน พัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคมให้ก้าวหน้า ปลอดภัยและยั่งยืน และการมีความรู้ความเข้าใจ ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</span></p> <p> 3. การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนนทบุรีคือ ส่งเสริมให้มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต อย่างถูกต้อง สามารถพึ่งพาตนเองดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน ให้ปฏิบัติตามและสามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิต เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน</p> อมรรัตน์ เลิศพงดี, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269628 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269470 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ(3) เพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวิจัยผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1. ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการบริหารกิจการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้านการส่งทุนและพาณิชยกรรม ด้านการท่องเที่ยว ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสิ่งแวดล้อม และ ด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและรักษาความสงบเรียบร้อย ตามลำดับ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2. หลักนิติธรรม หลักการกระจายอำนาจ ร่วมประเมินค่ากิจกรรมต่างๆ ร่วมวางแผนและดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำที่ใช้ปัญญา ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3. ผู้นำควรส่งเสริมการนำหลักนิติธรรม มาใช้ในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาศักยภาพความมีภาวะผู้นำอยู่เสมอ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์ปัจจุบัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น</p> สุรพจน์ โอริส, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269470 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269627 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อวิเคราะห์ทุนทางสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี เป็นวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านสร้างสรรค์ชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ ด้านส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว ด้านเสริมสร้างทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล และด้านเสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ทุนทางสังคมในด้านทุนมนุษย์และทุนภูมิปัญยาและวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และการบริหารจัดการด้านประสิทธิผลส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี ควรมีการส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีสมรรถนะสูง เพื่อนำไปพัฒนาองค์กรและท้องถิ่นโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ และขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป</span></p> ธนภัท คุณสมบัติ, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269627 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269582 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และภาวะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่น ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี เป็นวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1. คุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย ด้านสุขภาพ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านชีวิตในชุมชน ด้านชีวิตด้านการใช้สติปัญญา ด้านชีวิตการทำงาน และด้านชีวิตครอบครัว ตามลำดับ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2. หลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และภาวะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่น ด้านการเสริมระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน การสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการประชาชน ความซื่อสัตย์อย่างจริงใจ การสร้างความพร้อมของระบบราชการไทย การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของภาครัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลักตอบสนอง การพัฒนาตนเอง การวางระบบการบริหารงานราชการแบบบูรณาการ และการกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3. รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนในเรื่อง การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยกำหนดเป็นนโยบายหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ส่งเสริมและให้ความรู้กับผู้นำท้องถิ่น และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวและการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน</p> ศุภสวัสดิ์ วัฒนะคุณโชติ, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269582 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 An Analysis of the Influence of Music Aesthetics on the Emotional Management of University Students in Beijing, China https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271898 <p> The research on an Analysis of the Influence of Music Aesthetics on the Emotional Management of University Students in Beijing, China to aimed to (1) study the types of emotional illnesses of university students in Beijing, China, (2) examine the significant factors causing emotional illness in university students in Beijing, China, (3) explore and conduct an emotional management model for university students in Beijing, China, and (4) assess the model implementation for helping in the emotional management of university students in Beijing, China. The study was quantitative and qualitative research and used questionnaires and interview forms for collecting data.The questionnaires were launched to 415 students of the Minzu University of China in Beijing, China. The qualitative data was collected with an in-depth interview of 10 teachers and 15 students there. The data analysis using descriptive statistics whit mean and percentage analysis and the multiple regression.</p> <p> The results show that ;</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. The revealed that most respondents were females, at the age of 21-25 years old, were born in other parts of the mainland, with a master’s degree in history and religious studies in the second year, having average monthly expenses between 2,501-3,000 yuan, having lived family with parents, having financial support for the study from their fathers without study congenital diseases, having hobbies and activities, and having listened a few times a week for 15-30 minutes.</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. The multiple linear regression model of emotional management was Emotional Management = 2.588 + 0.136MQ + 0.111SP + 0.0072SR + 0.072Apr. The study reveals Emotional Management as the dependent variable. It identifies Music Quality (MQ), Subjective Perception (SP), Social Relationships (SR), and Appreciation (Apr) as independent variables. These independent variables collectively predict ...</span></p> Huan Du, Sarana Photchanachan, Wisut Wangworawut Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271898 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ การใช้คำถามปลายเปิด ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง จังหวัดระยอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268849 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์กับเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 56 คน แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด เรื่อง ภาคตัดกรวย 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ภาคตัดกรวย 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย และ 4) แบบสอบถามเจตคติต่อคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์กับเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด มีความสัมพันธ์ทางบวก ขนาดความสัมพันธ์สูงมาก (r = 0.734,&nbsp; p &lt; .05) &nbsp;และมีจริงโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความแปรปรวนร่วมกันร้อยละ 53.88 2) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศุภารัตน์ นิลพันธ์, สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก, วินิจ เทือกทอง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268849 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการศึกษาคุณลักษณะครูต้นแบบนวดไทย มรดกโลก ยูเนสโก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268717 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูนวดไทยต้นแบบมรดกโลก ยูเนสโก (2) สร้างรูปแบบแนวทางการพัฒนาให้เป็นครูต้นแบบด้านการนวดไทย มรดกโลก ยูเนสโก ที่มีความเหมาะสม มีวิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัย (Methodology) โดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) และกระบวนการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย จำนวน 10 ท่าน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. คุณลักษณะของครู จะต้องมีจรรยาบรรณของความเป็นครูนวดไทย ต้องมีวินัย ในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ มีความเมตตาเอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจ แก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ส่งเสริมให้การเรียนรู้ทักษะและนิสัยที่ดีงามแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ ไม่หวงกันความรู้ เข้าใจวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง มีการรักษาคนไข้อยู่สม่ำเสมอ มีประสบการณ์การสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี เป็นบุคคลที่ชุมชนและสังคมให้การยอมรับ และมีทักษะการถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. </span><span style="font-size: 0.875rem;">รูปแบบมาตรฐานสำหรับการฝึกอบรมครูนวดไทยให้ตรงมาตรฐานในระดับนานาชาติ ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา การวัดและการประเมินผล จะได้เกิดสถาบันที่ให้ความรู้ด้านการนวดไทยเกิดขึ้น เพราะครูเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนครูจึงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมกันพัฒนาคุณลักษณะครูในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรและสืบทอดให้คนรุ่นใหม่</span></p> มัทนา สุขโชติ, ศุภะลักษณ์ ฟักคา, เสาวภา ไพทยวัฒน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268717 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม แบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268962 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี (3) เพื่อศึกษาอิทธิพล การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภค ในจังหวัดนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งไม่สามารถระบุจำนวนกลุ่มประชากรที่แน่นอนได้ จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดโควตา (Quota Sampling) ขั้นตอนที่ 2 การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความสะดวก (Convenience Sampling) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1. การยอมรับเทคโนโลยีตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. <span style="font-size: 0.875rem;">การตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. อิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีส่งผลต่อการตระหนักถึงปัญหาหรือความต้องการซื้อ, การเสาะแสวงหาข้อมูลซื้อ, การประเมินทางเลือกซื้อ, การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมกรรมภายหลังการซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคใน จังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</span></p> วิษณุ ถิระพัฒน์ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268962 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานส่งเสริมการอ่านร่วมกับเทคนิคการสอน แบบ SQ3R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268940 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 70 (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชา ภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จำนวน 23 คน ได้มาจากการจับสลาก เลือกห้องเรียนมา 1 ห้องเรียนสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ นิทานส่งเสริมการอ่านร่วมกับเทคนิคการสอนแบบ SQ3R จำนวน 18 แผน 2) แบบทดสอบวัด ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน โดยใช้เทคนิค SQ3R ร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยใช้ เทคนิค SQ3Rร่วมกับนิทานส่งเสริมการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</span></p> วิรัลพัชร์ แป้นเชื้อ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/268940 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 A Study on the Interaction among the Competence, Engagement and Job Performance of Professional Teachers in Technical Schools : A Case Study in Shandong Province China https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271895 <p> The purpose of this study is to (1) impact of professional teacher engagement on the performance of technical schools. (2) impact of vocational teacher's ability on the performance of technical schools and (3) exploring the impact professional teacher engagement and ability on the performance of technical schools. The through quantitative research, we will combine the two independent hot topics of engagement and competence in the field of human resources research, with a focus on studying their impact on job performance. The data was collected through a questionnaire survey from a technical school in Shandong Province, China. The sample of 521 participants provided basic data for this study.</p> <p> The results were as follows:</p> <ol> <li>Within a certain range, excessive engagement may have a negative impact on performance.</li> <li>The positive impact of competence on performance.</li> <li>The interaction between engagement and ability has a positive impact on job performance.</li> </ol> Wei Zhao; Sarana Photchanachan, Wisut Wangworawut Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271895 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 The Study on the Impact of the Development and Trends of DCEP https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271899 <p>-</p> Yiwen Liu; Sarana Photchanachan, Wisut Wangworawut Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271899 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 The Signified of Chinese Buddhist Warrior Statues https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271035 <p> The purposes of this research were to study and understand the popularity of Buddhist warrior statues in the folk and the background of spontaneous engraving and shaping of folk believers and the reasons for their formation find out the meaning of the artistic signs of the Buddhist warrior statues, explain the process of the meaning of signs of summarize the signified of the Chinese Buddhist warrior statue system, qualitative research methodology was applied. The procedures of the study were presented as the following topics: Research design. This study will use the statues of Buddhist Warriors in these cave temples as the research scope 200 Buddhist warrior statues in 20 cave temples and ancient temples along the silk road in China.</p> <p> The results were as follows; Chinese Buddhist warrior statues have become symbols of Chinese history, culture, art, folk customs and other important characteristics, carrying extremely rich cultural and historical information and aesthetic value. when it is used as a medium of expression, the object it replaces or refers to is the signified of protecting the Buddha Dharma, subduing demons and eliminating demons, eradicating epidemics and protecting the people and the country. This is based on Buddhist classics, folk beliefs and Chinese culture to assign meaning and value of signs created. The signifier and signified of the Chinese Buddhist warrior statue symbol will change due to the propagation in different "scenes". Buddhist warrior statues were eventually carved step by step by hand, which reflects the ancient craftsmen's own understanding. Start with a stone and end up with a complete statue.</p> Yijia Wei; Thawascha Dechsubha Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271035 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269115 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 46 โรงเรียน และผู้บริหารจำนวน 92 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงเนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การดำเนินการการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ</span></p> <p> 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 4 ด้าน 12 แนวทาง ดังนี้ด้านที่ 1 การวางแผนการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 แนวทาง เช่น ต้องวิเคราะห์ความต้องการในปีที่ผ่านมา ทำเป็นแผนปฏิบัติงานใหม่ให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษาด้านที่ 2 การประเมินผลการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 แนวทาง เช่น ควรทำการทบทวนหลังการดำเนินงาน นำมาร่วมกันวิเคราะห์หาจุดบกพร่องเพื่อแก้ไขด้านที่ 3 การปรับปรุงการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 แนวทาง เช่น ควรวิเคราะห์ปัญหาศึกษาแนวทางพัฒนา จากนั้นคัดเลือกบุคลากรภายในที่มีความสามารถมาปรับปรุง พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านที่ 4 การดำเนินการการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 แนวทาง เช่น ควรทำแผนขอจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนา มีการดำเนินการตามแผนแบ่งเป็นระยะ </p> ธนพลอยสิริ สิริบรรสพ, วิบูลย์ พุ่มพูลสวัสดิ์ , รติกร บุญสวาท Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269115 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269116 <p> บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3)เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานวิธีเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยปริมาณ ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีรวม 68 คน จาก 34 โรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า</p> <ol> <li>จากการสังเคราะห์แนวคิดของภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบวิสัยทัศน์ องค์ประกอบนวัตกรรมและเทคโนโลยี องค์ประกอบสร้างแรงบันดาลใจ และองค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์</li> <li>วิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัล องค์ประกอบที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 72 องค์ประกอบ และมีความเหมาะสมตามเกณฑ์ มีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20%3.ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีความสอดคล้องทุกตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.09 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้ เท่ากับ 0.97 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์เท่ากับ 0.03</li> </ol> ธนพลอยสิริ สิริบรรสพ, วิบูลย์ พุ่มพูลสวัสดิ์ , ต้องชนะ มั่นบรรจง Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/269116 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 Rural Landscape Evaluation Research Under Environmental Aesthetics Vision https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271034 <p> The purposes of this research were to (1) study the rural landscape lies in combing the concept of environmental aesthetics and the evaluation methods (2) to analyzes the theoretical development of rural landscape evaluation comprehensively, so as to build a plan for the construction of a native and rural landscape evaluation system in China, and then conduct reasonable protection and planning of rural landscapes reasonably and design, promote the construction of beautiful villages with contemporary happiness, livability, and sustainable development of Chinese contemporary Chinese. This study uses an expert evaluation method, psychological physics method, and hierarchical analysis method to promote the construction and development of rural landscapes, and support it with certain evaluation technologies. They were selected by questionnaires from Villagers, experts, students. The instrument for collecting data was through table analysis and computer analysis. The analysis data by descriptive statistics and content analysis.</p> <p> The research results were found as follows;</p> <ol> <li>The formation of rural landscape space originated from the interaction between human production activities, life activities and natural environment. It is an important part of the perception of rural landscapes. Humans can have a sense of perception and experience in the form of rural landscape space<strong>.</strong></li> <li>The evaluation results show that the rural landscape with farming is distributed in F10, E9, G9, J6, K6 and other plots. These areas include farmland, fruit forests and other elements</li> </ol> Sha Tao, Palphol Rodloytuk Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271034 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 The Future of Rurality : Sustainable Rural Development: Attaching Young People to the Local Culture of China's Rural Communities https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271038 <p class="1" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 36.0pt;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">The purposes of this research were, to determine the influence of local culture (take local music culture as an example) on young people. The sample was a series of online surveys conducted among young people aged 13-24 in the Wugang region of southern China to assess their knowledge of the local culture of rural life (take local music culture as an example). The research process involves organizing data, conducting literature reviews, administering questionnaire surveys, conducting interviews, performing technical analysis, engaging in comparative analysis, employing logical reasoning, and summarizing findings inductively. Spss 17.0 was used for data analysis in this study. Descriptive statistics and content analysis.</span></p> <p class="1" style="text-align: justify; text-justify: inter-cluster; text-indent: 36.0pt;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">The results show that: When young people learn about local culture and stimulate their deep hometown culture, they will feel satisfied and safe in the community and gain a strong sense of folk culture identity. When more than 60 percent of young people use the local dialect, they are more likely to increase the sense of goodwill and honor towards their hometown and promote the local culture. These results highlight the need to make young people attached to the local culture of China's rural communities, combining tradition and The Times to create a local culture more in line with The Times.</span></p> Feijie Hu, Palphol rodloytuk Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271038 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 “การประสมคำ” : ความหมายของคำและข้อสังเกตบางประการจากมุมมองการศึกษาคำประสมในภาษาไทยด้วยวิธีการสร้างคำแบบไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270018 <p> บทความวิชาการนี้กล่าวถึง 2 ประเด็น ดังนี้ 1) ความหมายของคำตามแนวหลักภาษาไทยกับความหมายของคำตามแนวภาษาศาสตร์ และ 2) มุมมองที่หลากหลายและข้อสังเกตบางประการของการศึกษาคำประสมในภาษาไทยด้วยวิธีการสร้างคำแบบไทย ผลการศึกษาพบว่าความหมายของ “คำ”ตามแนวหลักภาษาไทยและความหมายของ “คำ” ตามแนวภาษาศาสตร์ ต่างก็พิจารณา “คำ” ว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุดที่มีความหมายปรากฏตามลำพังได้ แต่ใช้ศัพท์เฉพาะในการอธิบายต่างกัน นอกจากนี้ในภาษาไทยมีวิธีการเพิ่มคำใช้ด้วยการสร้างคำ จึงทำให้เกิดการสร้างคำจากคำเดิมในภาษาไทยมาใช้ในระบบภาษากันอย่างแพร่หลาย แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีเทศกับวิธีไทย ดังที่ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตได้ทั้งหมด 7 ประการ คือ 1) ได้จากการยกตัวอย่างคำว่า “ดำ ๆ แดง ๆ เร็ว ๆ ช้า ๆ” และ “ถ้อยคำ ดูแล ว่ากล่าว” เมื่อเทียบกันกับคำจำกัดความการสร้างคำด้วยวิธีไทยในปัจจุบัน ลักษณะของตัวอย่างที่กล่าวมานี้จะเป็นคำซ้ำและคำซ้อนไม่ใช่คำประสม 2) คำประสมที่มักใช้ประกอบข้างหน้า เช่น “ชาว- นัก- ผู้-” จะแยกใช้เฉพาะเป็นคำโดด ๆ ไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ประสมกับคำอื่นเสมอ 3) ตามวิธีการสร้างคำในปัจจุบันกลับพบว่าไม่นำวิธีการสมาสสนธิกัน (วิธีเทศ) มาใช้เป็นวิธีการประสมคำด้วยวิธีไทย 4) คำประสมตามลักษณะการอธิบายวิธีการสร้างคำจะอาศัยการทำหน้าที่ของคำเป็นหลัก 5) เมื่อเทียบกับวิธีการสร้างคำด้วยวิธีเทศ คำว่า “มหาสมุทร” จะเป็นคำสมาสที่เกิดจากคำว่า “มหา-” สมาสกับคำว่า “-สมุทร” กลายเป็นคำสมาสว่า “มหาสมุทร” ซึ่งคำสมาสนี้ถือเป็นคำประสม 6) การแปลง เมื่อเทียบกับหลักการในภาษาไทยแล้วหน่วยคำที่นำมาเติมหน้าหรือหลังจะเป็นหน่วยคำที่มีรูปภาษาพ้องกับหน่วยคำอิสระที่มีความหมายได้ แต่หากนำมาประสมคำโดยเรียงคำหลักและคำขยายจะไม่สามารถบอกหน้าที่ของคำได้ และ7) คำประสมที่สร้างด้วยวิธีไทยจะเกิดจากการนำหน่วยคำอิสระสองหน่วยคำขึ้นไปมาประสมกันให้เกิดเป็นโครงสร้างของคำที่ใหญ่ขึ้น และหน้าที่ของคำจะหลอมรวมกันเป็นคำชนิดเดียวกัน</p> สุวัฒชัย คชเพต, รัตนชัย ปรีชาพงศ์กิจ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270018 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 แนวทางการปฏิบัติในการเขียนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273149 <p> บทความวิชาการเรื่องนี้ เป็นบทความเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการเขียนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน (service to the community) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติในการเขียนงานบริการแก่ชุมชน ซึ่งการบริการวิชาการแก่ชุมชน ถือเป็น 1ใน 5 พันธกิจหลักของคณาจารย์ในสถาบันการศึกษา ได้แก่ งานสอน ผลิตบัณฑิต ทำวิจัย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และบริการวิขาการแก่ชุมชน เป็นต้น ดังนั้นการบริการวิชาแก่ชุมชน จึงมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ที่คณาจารย์ในสถาบันการศึกษาสามารถนำมาบูรณาการร่วมกันได้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนชุมชน เพื่อพร้อมให้คำปรึกษา แก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชุมชน และพัฒนาผู้ประกอบการมือใหม่สู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพโดยการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน ที่คณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการอยู่นั้น มีทั้งการให้บริการแบบให้เปล่า และ การให้บริการแบบมีรายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงการและหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ แต่จะอย่างไรก็ตามงานบริการวิชาการที่จัดทำขึ้น สามารถนำมาขอเป็นผลงานขอตำแหน่งทางวิชาการได้ ด้วยเหตุข้างต้น คณาจารย์ในสถาบันการศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องทราบแนวทางการปฏิบัติในการเขียนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ซึ่งพบว่า องค์ประกอบของการเขียนงานบริการวิชาการชุมชน มี 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กำหนดพื้นที่หน่วยงานหรือชุมชนที่จะบริการวิชาการ 2) สำรวจปัญหาและ ความต้องการของชุมชนที่ศึกษา 3) ประชุมชี้แจงผลการสำรวจความต้องการของชุมชนที่ศึกษา 4) ส่งข้อเสนอโครงการบริการวิชาการตามแบบฟอร์ม และส่งเข้าระบบของสถาบันการศึกษา 5) สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการระหว่างชุมชนตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6) สร้างแผนบริการวิชาการ 7) ดำเนินการตามแผนการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาชุมชนโดยผ่านการปรึกษา การอบรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ และการสร้างอาชีพ 8) ติดตามความก้าวหน้าของโครงการบริการวิชาการและรวบรวมข้อมูล 9) มีการประเมินผลจากการบริการวิชาการและผลกระทบที่ได้รับจากการบริการวิชาการ 10) จัดทำรายงานสรุปผลประเมิน และ 11) นำผลการประเมินมาปรับปรุงและเผยแพร่ต่อไป</p> สุตาภัทร จันทร์ประเสริฐ, ภิญญดา รื่นสุข, ศิริรัตน์ สัยวุฒิ Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273149 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700 ศาลเยาวชนและครอบครัวกับข้อจำกัดในการดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270470 <p> ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอีกหนึ่งบทบาทหน้าที่ คือ มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ ซึ่งเป็นคดีที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆในทางศาลเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยกฎหมายคุ้มครองเด็ก กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัว ซึ่งปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติในลักษณะที่กว้างโดยกล่าวถึงเด็กในลักษณะทั่วไปและการกระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือการกระทำทารุณกรรมก็เป็นการกระทำในลักษณะเหตุทั่วไปด้วยเช่นกัน แต่ปัจจุบันพบว่าเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือถูกปฏิบัติโดยมิชอบหรือทารุณกรรมด้วยเหตุที่เด็กนั้นเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งจากสถานศึกษาและสถานที่อื่นๆมีเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่พบว่ามีการร้องขอเพื่อดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพกรณีที่เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือถูกปฏิบัติไม่ชอบหรือถูกทารุณกรรม</p> <p>จากการศึกษา พบว่า บทบัญญัติของกฎหมายทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ไม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนในกรณที่เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศถูกกระทำความรุนแรงจากครอบครัวหรือถูกปฏิบัติโดยมิชอบหรือถูกทารุณกรรมด้วยเหตุที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือมีวิถีทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากบุคคลอื่นซึ่งถือว่าเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ไม่มีคดีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศมาสู่ศาลเยาวชนและครอบครัว</p> ณิมลพรรณ์ พิมพ์จุฑา Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/270470 Sat, 30 Dec 2023 00:00:00 +0700