วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc <p>วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา เป็นแหล่งรวบรวมวารสารทางวิชาการ ของวิทยาลัยนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิชาการและงานวิจัยแก่บุคคลทั่วไป และส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ</p> วิทยาลัยนครราชสีมา th-TH วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1906-1056 <p><strong>จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน &nbsp;ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์</p> Enhancing Vocabulary Acquisition in Vocational Dramatic Arts Education At Kalasin College: Task-Based Learning and Implications for English Communication Skills https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273367 <p> The COVID-19 pandemic has precipitated profound changes in global education, prompting rapid adaptation and innovation to sustain learning continuity. In Thailand, vocational education, emphasizing practical skills and language proficiency, faced pivotal adjustments. This study explores the efficacy of Task-Based Learning (TBL) in enhancing English communication skills, specifically vocabulary acquisition, within the Dramatic Arts program at Kalasin College of Dramatic Arts. Vocabulary acquisition is pivotal for effective communication and academic success, essential for students poised to represent Thai arts and culture internationally. Through integrating TBL, which engages students in real-world tasks, this research demonstrates significant improvements in vocabulary acquisition, overall language proficiency, and communication skills among vocational students. The findings underscore TBL’s transformative impact on traditional teaching paradigms, empowering students for global professional environments. This study advocates for ongoing refinement of TBL methodologies, supported by continuous educator professional development and technological integration for effective remote and hybrid learning models. By equipping students with robust communication skills, educators play a crucial role in preparing them for successful global careers while promoting Thai cultural heritage on the international stage.</p> Thayida Pholying Eric A. Ambele Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 413 428 การสื่อสารเพื่อการจัดการความรู้ด้านการเกษตรก้าวหน้า https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/280017 <p> การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้</p> <p> การสื่อสารเพื่อการจัดการความรู้ด้านการเกษตรก้าวหน้ามีความสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยสรุปแนวทาง ได้แก่ 1) การเรียนรู้และพัฒนา ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการฝึกอบรมและสัมมนา เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ และวิธีการเพาะปลูกที่ทันสมัย 2) การสร้างเครือข่าย การสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกร นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญ ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ 3) การถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4) การสื่อสารข้อมูล ใช้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ในการวิเคราะห์และให้คำแนะนำแก่เกษตรกร เพื่อช่วยในการตัดสินใจ 5) การสร้างความตระหนักรู้สื่อสารเกี่ยวกับความสำคัญของการเกษตรยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปรับตัวได้ 6) การมีส่วนร่วมของชุมชน เชื่อมโยงการสื่อสารกับชุมชน เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนางานเกษตรกรรมนวัตกรรมใหม่ ๆ</p> วุฒิรักษ์ เดชะพงษ์พันธุ์ วิทยาธร ท่อแก้ว หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 429 439 การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาอย่างยั่งยืนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/280782 <p> บทความนี้นำเสนอความท้าทายในการพัฒนาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนยังต้องมีความท้าทายหลายประการ ได้แก่ การสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน การพัฒนาทักษะของบุคลากร การบูรณาการเทคโนโลยี การจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การประเมินผลและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การรักษาความเป็นส่วนตัวและจริยธรรม และการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว บทความนี้วิเคราะห์ความท้าทายดังกล่าวพร้อมเสนอแนวทางในการจัดการ โดยเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การวางแผนระยะยาว และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน</p> ธราธิป วงษ์แก้ว Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 440 452 Factors of Participation of College Students' Voluntary Affecting Social Adaptability: A Case Study of Jining University Affecting https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271888 <p> The objectives of this study were 1) To study the main motivations and reasons for university students' participation in volunteer activities. 2) To study the relationship between university students' participation in volunteer activities and social adaptability. 3) To study Strategies for Enhancing Social Adaptability through Volunteer Activities. This research is quantitative research using online questionnaires to collect data. 220 university students at Jining University students were the sample.</p> <p> The results concluded that university students’ participation in volunteer service activities has a positive correlation with their social adaptability and participation in volunteer service activities, it plays a positive role in promoting personal growth, enhancing competitiveness, and obtaining satisfaction.</p> Yan Xiaoxiao Ampol Navavongsathian Pasu Jayavelu Naranan Suriyamanee Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 1 12 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/272030 <p> การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะเขตเทศบาล (2) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะเทศบาล (3) เสนอแนะแนวทางเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะเทศบาลตำบลวังพร้าว ประชากรที่ใช้ จำนวน 5,381 คน กลุ่มตัวอย่าง 372 คน สุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูป เครจซี่และมอร์แกนระดับเชื่อมั่น 95% แบบสอบถาม รวบรวมข้อมูล สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ค่าความถี่ ร้อยละ การทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลทดสอบ ค่าไคสแควร์วัดทิศทางความสัมพันธ์ ตัวแปรค่่าแกมม่า ที่ระดับสัมพันธ์ทางสถิติที่ .05</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า</p> <ol> <li>ระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะเทศบาล พบว่า (1) ด้านความตรงต่อเวลาการให้บริการเก็บขยะ <em>(2) ความ</em><em>พร้อมอุปกรณ์ในการจัดเก็บขยะจำนวนเพียงพอ </em>(3) จำนวนถังขยะเพียงพอ (4) การให้ความ<strong>ร</strong>ู้ในการจัดการขยะ (5) การประชาสัมพันธ์การจัดการขยะที่ถูกต้อง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยระดับน้อย</li> <li>ปัจจัยด้านความตรงต่อเวลาการให้บริการเก็บขยะ ด้านความพร้อมอุปกรณ์ในการจัดเก็บขยะจำนวนเพียงพอ ด้านจำนวนถังขยะเพียงพอ ด้านการให้ความรู้ในการจัดการขยะ ด้านการประชาสัมพันธ์การจัดการขยะที่ถูกต้องเห็นส่งผลประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05</li> <li>ข้อเสนอแนะควรศึกษาตัวแปรอิสระให้มากขึ้น เช่น สภาพรถเก็บขยะ วิธีกำจัดขยะ 2) ศึกษา ความพึงพอใจจัดการเก็บขยะในหน่วยงานอื่นในจังหวัดลำปาง ระดับความพึงพอใจของประชาชน 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจเพื่อนำเอาผลมาพัฒนาวิธีการจัดเก็บขยะหน่วยงานภาครัฐ ต่อไป</li> </ol> ชัยนันท์ธรณ์ ขาวงาม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 13 30 การศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้การสอนรูปแบบออนไลน์ ในรายวิชา การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271961 <p> การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) การศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้การสอนรูปแบบออนไลน์ ในรายวิชา การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น (2) เพื่อศึกษาปัญหาและเเนวทางในการศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้การสอนรูปแบบออนไลน์ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 135 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1.นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ก แท็ปเล็ต และสมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ ตามลำดับ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต พบว่า นักศึกษาใช้ WIFI สมาร์ตโฟน ตามลำดับ โปรแกรมออนไลน์ที่นักศึกษาเคยเรียน ได้แก่ Google Classroom, Meet, Zoom Facebook, Line, Messenger ตามลำดับ โปรแกรมออนไลน์ที่นักศึกษาสะดวกเรียนมากที่สุด ได้แก่ Meet ,Zoom ,Google Classroom ,Line , Facebook , Messenger ตามลำดับ รูปแบบการเรียนออนไลน์ที่นักศึกษาชอบมากที่สุด ได้แก่ การเรียนแบบผสมผสาน (เช่น เรียนแบบสอนสดสลับกับมอบหมายงาน) การเรียนออนไลน์แบบคลิปสอน การเรียนออนไลน์แบบสอนสด การเรียนแบบมอบหมายงานและนำเสนองาน (ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง รายบุคคล/รายกลุ่ม) ตามลำดับ โปรแกรมที่นักศึกษาสะดวกใช้มากที่สุด ในการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนระหว่างเรียนออนไลน์ ได้แก่ Line ,Messenger , Google Classroom , Facebook ตามลำดับ</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์รายวิชา BC 411 การเขียนโปรแกรมบนอินเตอร์เน็ตมีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก () = 3.86, S.D. = 0.67) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านทักษะการเรียนรู้นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก () = 3.91, S.D. = 0.72) ด้านสื่อการจัดการเรียนการสอนนักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก () = 3.89 , S.D. = 0.78) และด้านการจัดการชั้นเรียนและบรรยากาศการเรียนรู้ นักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก () = 3.79, S.D. = 0.74) ตามลำดับ</span></p> ปริญญา มาบุญยสกุล บัวพรรณ คำเฉลา วีรพงษ์ สุทาวัน Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 31 40 กลยุทธ์การฟื้นฟูการให้บริการและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าธุรกิจโรงแรมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/272708 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การฟื้นฟูการให้บริการและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า ธุรกิจโรงแรมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือลูกค้าที่เคยใช้บริการ ของธุรกิจโรงแรมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าที่เคยใช้บริการ ของธุรกิจโรงแรมในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธี อาศัยหลักความน่าจะเป็น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เทียบสัดส่วนกลุ่มตัวอย่างจากขนาดของประชากรในแต่ละจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การฟื้นฟูการให้บริการและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ด้านการกล่าวคำขอโทษอย่างจริงใจ ด้านความรวดเร็วในการฟื้นฟูการให้บริการ ด้านการชดเชยการให้บริการ ด้านการเสนอแนะบริการที่เป็นประโยชน์ ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ด้านการเข้าใจความคาดหวังของลูกค้า ด้านการรับฟังความคิดเห็น ด้านการติดตามลูกค้า และด้านการสื่อการกับลูกค้า ส่งผลทางบวกต่อความภักดีของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้กลยุทธ์การฟื้นฟูการให้บริการและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ร่วมกันพยากรณ์ความภักดีเท่ากับร้อยละ 71.1(AdjR<sup>2 </sup>= 0.711) จากผลการวิจัย ธุรกิจโรงแรมในจังหวัดอื่นสามารถนำกลยุทธ์การฟื้นฟูการให้บริการและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทำให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อโรงแรมมากยิ่งขึ้น</p> พรรณพัชร แทนพลกรัง เสาวลักษณ์ จิตต์น้อม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 41 59 การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวที่ส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในหวัดขอนแก่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/276421 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรสีเขียวของพนักงานในจังหวัดขอนแก่น และ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถามวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน <br />ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. พนักงานที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขอนแก่นส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย พบว่า พนักงานมีคามรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวผ่านการสื่อสารภายในองค์กรในระดับมาก รองลงมาคือ มีความรู้ความเข้าใจผ่านการจัดการผลการปฏิบัติงาน และมีความรู้ความเข้าใจผ่านการจ่ายค่าตอบแทนและการให้รางวัล ตามลำดับ<br /> 2. พนักงานที่ปฏิบัติงานในจังหวัดขอนแก่นส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาด้านเรียงลำดับคะแนนจากมากไปน้อย พบว่า พนักงานมีความคิดเห็นว่าผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นจากด้านการนำกลับมาใช้ใหม่อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการลดการใช้ และด้านด้านการใช้ซ้ำ ตามลำดับ<br /> 3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์สีเขียวด้านการสรรหาและคัดเลือก ด้านค่าตอบแทนและการให้รางวัล แรงงานสัมพันธ์ และการสื่อสารภายในองค์กร มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในขอนแก่น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01</p> ปัณชิกา ลับเหลี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 60 74 รูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273222 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา (2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุขโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครราชสีมา การวิจัยนี้ เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและเป็นการสัมภาษณ์ มีหน่วยงานที่ใช้ในการวิเคราะห์ระดับองค์การ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 297 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามลักษณะสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ กับกลุ่มตัวอย่าง โดยมีสถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>องค์ประกอบหลักของรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา มีจำนวน 4 องค์ประกอบด้วยกันคือ 1) ด้านคน มีความสำคัญมากที่สุดของรูปแบบ 2) ด้านการบริหารจัดการ มีความสำคัญรองลงมาของรูปแบบ และด้าน 3) ด้านสิ่งแวดล้อม 4) ด้านความสมดุลในชีวิต มีความสำคัญตามลำดับ</li> <li>สำหรับการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข มีจำนวน 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน 2) การลงมือทำ 3) การตรวจสอบ 4) การปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม และองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุของค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การแห่งความสุข โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3) องค์ประกอบหลักของรูปแบบ 4) แนวทางการประเมินรูปแบบ 5) เงื่อนไขความสำเร็จในการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนผลการยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์กรแห่งความสุข พบว่า มีความเห็นพ้องต้องกันว่า มีความเหมาะสม และเป็นไปได้</li> </ol> ฐิติชัน ลุนสูงยาง สุภาพ ผู้รุ่งเรือง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 75 87 The Study of Achievement and Satisfaction on Basketball Using 5E Instructional Model of the First-Year Students of Electrical Major in GUANGXI Polytechnic Vocational and Technical College https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271849 <p> The purposes of this research were to (1) compare the learning achievement in Basketball between before and after learning using 5E instructional model (2) compare the learning achievement in Basketball after learning using 5E instructional model with the 75% criterion (3) study the students’ satisfaction on basketball using 5E instructional model. The sample was 25 first year students, majoring in electrical engineering at Guangxi Polytechnic. who were conducted by simple random sampling. Research instruments included of 1) the management plans of "5E" Instructional Model in the basketball class 2) the Basketball learning achievement test which had the Item Difficulty value between 0.40-0.67, Discrimination value between 0.20-0.67, and Lovett reliability value 0.83; the satisfaction questionnaire with IOC between 0.60-1.00, and reliability 0.74. Pre-test - post-test design is research design. The statistics used for data analysis are mean, percentage, standard deviation, and T-test.</p> <p>The results are as follows:</p> <ol> <li>The students’ learning achievement on Basketball after using 5E instructional</li> </ol> <p>model on Basketball is higher than that before the test, which is statistically significant at 0.01 level and higher than 75% full mark standard.</p> <ol start="2"> <li>The students’ basketball skills after using 5E instructional model in basketball class is higher than that before, which is statistically significant at 0.01 level and higher than the 75% full mark standard.</li> <li>The students’ satisfaction to the 5E instructional model is at the highest level. The average score of the questionnaire was 4.84, indicating the highest degree of satisfaction.</li> </ol> Wenchao Bi Ausadanit Kotchai Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 88 98 The Study of Achievement and Satisfaction on Basic Accounting using 5E Instruction Model for the First Year Students Majoring in Big Data and Accounting in GUANGXI Vocational Institute of Technology https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271847 <p> The purposes of this research were to 1) compare the learning achievement on Basic Accounting between before and after learning using 5E instructional model and between after learning and 75% of the criterion 2) study the students’ satisfaction on Basic Accounting using 5E instructional model. The sample were 30 first year students majoring in Big Data and Accounting in Guangxi Vocational Institute of Technology who were conducted by simple random sampling. The instruments used were 1) learning management plans 2) achievement test which was consisted of multiple choices, true or false and short answer questions had a difficulty value (0.40–0.68), discriminant value (0.35–0.52) and Lovett reliability value (0.84) and 3) the 5 rating scales satisfaction test, which had the Item Objective Congruence value (0.60 ≤ IOC≤ 1.00). The research design was one group pre test post test design. The statistics used for data analysis are mean, percentage, standard deviation, and T-test.</p> <p>The results were as follows:</p> <ol> <li>The learning achievement after learning Basic Accounting using 5E instructional model was higher than before and higher than 75% of the criterion with statistically significant at .05 level, based on assumptions.</li> <li>The students were satisfied on learning Basic Accounting using 5E instructional model at the highest level (= 4.79, S.D.=0.37)</li> </ol> Duhong Yi Ausadanit Kotchai Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 99 108 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและทักษะทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/276741 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารธุกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี 2) ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี 3) ประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี และ 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและทักษะทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หัวหน้างานบัญชีของธุรกิจ SMEs จำนวน 397 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริหารของธุรกิจ SMEs มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักบัญชีธุรกิจ MSEs ภาพรวมมีทักษะทางวิชาชีพในระดับมาก 3) นักบัญชีธุรกิจ SMEs ภาพรวมการทำงานมีประสิทธิภาพในระดับมาก 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการกระตุ้นเร้าให้เกิดแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยากรณ์ได้ถึงร้อยละ 93.20 (R<sup>2</sup>=0.932) และทักษะทางวิชาชีพในด้านทักษะทางคุณลักษณะเฉพาะบุคคล ด้านทักษะทางวิชาการเชิงปฏิบัติและหน้าที่งาน ด้านทักษะทางการบริหารองค์กรและการจัดการธุรกิจ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะทางปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พยากรณ์ได้ถึงร้อยละ 69.80 (R<sup>2</sup>=0.698) ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย</p> ฐิติรัตน์ มีมาก ศุภกิจ รูปสุวรรณกุล ธารากร วุฒิสถิรกูล รติกร บุญสวาท Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 109 125 Exploring Kaiping Diaolou Using the Methodology of Place Memory https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271485 <p> This paper aims to investigate (1) The towers in the Kaiping region of China are interconnected with individual and collective memories of place; (2) The history of the towers, their architectural features, and the memories and emotions of the local inhabitants, and the paper will reveal how the towers, as a physical space, are closely linked to cultural memories; and (3) Tthe right approach to the protection of the towers, and to provide better suggestions for the preservation of the heritage of Kaiping and the development of tourism. Samples were selected using systematic sampling techniques. The design of the data collection tools combined descriptive statistics and content analysis.</p> <p>The results of the study are as follows:</p> <ol> <li>The average score for the evaluation of public spaces in scenic spots was 5.56, indicating a generally favorable evaluation of the quality and design of these spaces.</li> <li>The average score of 5.46 points on the proposal to visit the Kaiping Diaolou, indicating that tourists recommend to others the willingness of the Kaiping Diaolou at a medium level.</li> <li>The degree of interest in Kaiping Diaolou scored 5.34 points, indicating a medium level of interest in architectural heritage. Keywords: Place memory Diaolou protection research Diaolou's Chinese and Western cultural characteristics World Heritage heritage heritage and development.</li> </ol> Liu XiaoCen Sakon Phu-ngamdee Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 126 137 Ethic principles manifested in human community with a shared future initiative in semiotic perspective https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273094 <p> The concept of a human community with a shared future has gained increasing traction in recent years as a new model for global governance and cooperation. This paper examines the ethical principles underpinning this initiative through the lens of semiotic theory. Drawing upon seminal concepts in Confucian philosophy, it identifies benevolence, righteousness, propriety, wisdom, and trustworthiness as core moral values expressed through the shared future vision. A qualitative textual analysis reveals how linguistic, ritualistic, and artistic manifestations across micro, meso, and macro levels symbolically reinforce these humanistic ethics. At the individual level, self-cultivation principles advocate integrity and self-restraint. Nationally, priorities of collective welfare over self-interest are encoded via discourses and practices. Globally, the emphasis on mutual prosperity through collaboration and empathy imbues the inter-community relationship. The study concludes that the symbolic construction of a shared future functions as an aspirational moral blueprint. By delineating common codes of conduct and mechanisms for their social enactment, citizens worldwide are encouraged to internalize and implement cooperative virtues. This semiotic scaffolding through ethical imagery and activities can potentiate large-scale attitudinal and behavioral transformation towards building an equitable, inclusive and caring global community.</p> Shasha Qi Thawascha Dechsubha Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 138 154 Study on Animal Images in Ancient Chinese Paintings https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273095 <p> The paper aims to summarize and classify animal images in ancient Chinese paintings, and to study the reasons and characteristics of three different ways of expressing animal images by ancient Chinese painters according to the images’ analysis in different paintings. Finally, it finds out:</p> <ol> <li>In ancient painting, there are more than mature methods of observation and painting for the ability to depict objective images of animals.</li> <li>As products of the collective wisdom of numerous artists, the animal images in ancient Chinese myths and legends are the result of illusory imagination with symbolism and uncertainty.</li> <li>The recognition and understanding of rare animals with superpowers in ancient China have a tint of idealization and humanization, with the rare animals' images in the paintings having a certain gap with objective facts. This gap is precisely the artistic behavior with excellent characteristics caused by cultural ideals and artistic imagination</li> </ol> Fang Xiangle Parichart Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 155 168 Transcultural Dialogue: The Role of Global Exhibitions in the Internationalization of Traditional Chinese Painting https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271625 <p>This paper investigates the role of global exhibitions in the internationalization of traditional Chinese painting, viewing the phenomenon as a form of transcultural dialogue. The research focuses on the intersection of art history, cultural studies, and museum studies, arguing that global exhibitions serve as critical platforms for the spread and appreciation of traditional Chinese painting. Drawing upon case studies of key exhibitions and biennales from the past few decades, this study examines how these events have shaped the global perception and understanding of this art form. These case studies highlight how traditional Chinese painting has been presented and interpreted, and how Western audiences have engaged with it. The paper further explores the challenges and opportunities involved in showcasing traditional Chinese painting on the global stage, including issues of cultural translation and representation. The findings suggest that while global exhibitions have significantly contributed to the international exposure of traditional Chinese painting, there is room for strategies that deepen intercultural understanding and enhance audience engagement. The study underscores the potential of global exhibitions to act as bridges between cultures, fostering an international dialogue that respects and appreciates the diversity and richness of global artistic traditions.</p> Yiwen Zhang Manoon Tho-ard Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 169 178 Research on the application of multimedia space experience in the narrative of urban planning museum https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273688 <p>The Urban Planning Museum is a special place that stores too many memories. Interpreting it is not as simple as interpreting a book or an architectural space. The value of a museum is often to convey its history and cultural relics information and knowledge to the audience more quickly and completely, and to achieve its social communication purpose. As ordinary visitors, the traditional form of urban planning museums is too simple, and the way of dissemination and experience of historical relics and information is difficult for the audience to resonate with. Therefore, I tried to think from the perspective of the audience, and through the intervention of multimedia space experience design, explored how to obtain new methods from the traditionally restricted narrative concept of urban planning museums, so as to make the museum "alive" and allow the audience to participate. The content of this paper involves design art, iconography, communication, leisure studies, museum studies, psychology and other disciplines, and the choice of research methods is also diverse. Among them, the literature analysis method was chosen as a tool to organize professional development-related materials; the multidisciplinary interdisciplinary research method referred to a large number of knowledge contents in other fields; and the field survey method was used to collect various aspects of data. Finally, the case analysis method and thinking method analysis are used to organize the data and draw conclusions.</p> Yongbin Wang Manoon Tho-ard Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 179 190 Exploration of Salvador Dali's Surrealist paintings in the context of art semiotics https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271622 <p> The purposes of this research were works of Salvador Dali, an expressive artist in the Surrealist school of painting, are used as a basis and combined with an exploration of the application and development of expressive characteristics in creation. This paper presents art semiotics and the expressive characteristics of Salvador Dali's surrealist paintings.</p> <p>The results from the research were summarized as follows</p> <ol> <li>introducing semiotics and artistic semiotics and the characteristics and artistic values of the Surrealist school of painting, and exploring the expressive depth of semiotics.</li> <li>The development and changes of semiotics and art semiotics and the surrealist school of painting are sorted out, and the development trend of semiotics and art semiotics and the surrealist school of painting is understood.</li> <li>analyze the forms of semiotics and explore the need to make the treatment of subject matter more contemporary, and the need for expressionism to have a core spirit that emphasizes subjective intent and gives painting more spiritual ideas</li> </ol> Zhuojin Wu Thawascha Dechsubha Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 191 206 สมรรถนะวิชาชีพบัญชีที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273003 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรีและ 3) เพื่อศึกษาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรีด้านบทบาทการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล ด้านการเงินและ ด้านความก้าวหน้าในการเลื่อนตำแหน่ง เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 405 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าด้านทักษะทางวิชาชีพระดับมากที่สุด 2) ระดับความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านที่นักบัญชีให้ความสำคัญกับระดับความสำเร็จในอาชีพมากที่สุด คือด้านบทบาทการทำงาน 3) สมรรถนะวิชาชีพบัญชีต่อความสำเร็จในวิชาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี ตัวแปรพยากรณ์มีค่า Tolerance ที่มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.265 และ VIF มีค่าน้อยที่สุด 2.601 ถือว่าตัวแปรอิสระไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างรุนแรง การวิเคราะห์พบว่าตัวแปรของสมรรถนะวิชาชีพบัญชีประกอบไปด้วย ด้านความรู้ความสามารถ ด้านทักษะทางวิชาชีพ ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และด้านทัศนคติในวิชาชีพ มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในอาชีพของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงยอมรับสมมติฐานตามสมการ</p> <p>Y = 0.123 + 0.115 (X1) + 0.243 (X2) ++ 0.179 (X3) + 0.409 (X4)+ + 0.260 (X5)</p> พรรณเพ็ญ สิทธิพัฒนา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 207 223 The Singing Inheritance of Northern Shaanxi Folk Songs https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/272880 <p> This research adopts the mixed research method of qualitative and quantitative analysis, through questionnaire survey, expert interview, audio-visual archives survey statistics and related literature analysis, aimed to study (1) sort out the main singing inheritance mode of northern Shaanxi folk songs; (2) to explore the main factors affecting the singing inheritance of northern Shaanxi folk songs; and (3) the ways to enhance the influence of northern Shaanxi folk songs. </p> <p> Through comprehensive research, this paper analyzes and summarizes the three main singing inheritance modes of northern Shaanxi folk songs at present, and combs out the singing inheritance pedigree of nearly five generations of northern Shaanxi folk songs. At the same time, it is found that under the continuous guidance of the policy, influential representative singing artists, classic works, innovative singing style, singing form and communication mode are the key elements to enhance the influence of northern Shaanxi folk songs. Through the statistical analysis of the questionnaire survey data, this paper finds the main factors that affect the inheritance of folk songs in northern Shaanxi and analyzes and describes the impact of these factors on the expansion of the inheritance path and the promotion of influence</p> Jieyu Ren Thawascha Dechsubha Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 224 241 ประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/279431 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะ และ 2) เปรียบเทียบการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้วอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้วอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>ระดับประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้วอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ ด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ และด้านการตอบสนองต่อผู้มารับบริการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ</li> <li>ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำแนกตาม อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลในด้านการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดหลุมแก้วอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน</li> </ol> รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์ วิบูลย์ พุ่มพูลสวัสดิ์ ธีร์ธวัช นุกูลกิจ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 242 253 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเจเนอเรชั่น Y บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ สาขากำแพงเพชร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/271906 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเจเนอเรชั่น Y บริษัทอายิโนะมะต๊ะ สาขากำแพงเพชร (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเจเนอเรชั่น Y บริษัทอายิโนะโมะต๊ะ สาขากำแพงเพชร จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานเจเนอเรชั่น Y ของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ สาขากำแพงเพชรในตำแหน่งพนักงานระดับปฏิบัติการ ที่ปฏิบัติงานในสาขากำแพงเพชร จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเจเนอเรชั่น Y บริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ สาขากำแพงเพชร ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t test การทดสอบ One way ANOVA และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยใช้วิธี LSD</p> <p> ผลจากศึกษาพบว่า</p> <ol> <li> พนักงานเจเนอเรชั่น Y บริษัทอายิโนะโมะต๊ะ สาขากำแพงเพชร มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพัน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพชีวิต ด้านการให้รางวัล ด้านงานที่ทำ และอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรแวดล้อมในการทำงานด้านนโยบายและหลักปฏิบัติขององค์กร และด้านโอกาสที่ได้รับ</li> <li>ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานเจเนอเรชั่น Y บริษัทอาอิโนะโมะต๊ะ สาขากำแพงเพชร จำแนกตามเพศ พบว่า พนักงานเจเนอเรชั่น Y บริษัทอายิโนะมะโต๊ะ สาขากำแพงเพชร ที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน โดยภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านโอกาสที่ได้รับ ด้านคุณภาพชีวิต และด้านการให้รางวัล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับด้านงานที่ทำ และด้านนโยบายและหลักปฏิบัติขององค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตามอายุ พบว่า โดยภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านงานที่ทำ ด้านโอกาสที่ได้รับ ด้านคุณภาพชีวิต และด้านนโยบายและหลักปฏิบัติขององค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับรายด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรแวดล้อมในการทำงานและด้านการให้รางวัล ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่าโดยภาพรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรแวดล้อมในการทำงาน และด้านการให้รางวัลไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับด้านงานที่ทำ ด้านโอกาสที่ได้รับ ด้านคุณภาพชีวิต และด้านนโยบายและหลักปฏิบัติขององค์กร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> </ol> พชรภัทร นันทบวชพล บัวพรรณ คำเฉลา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 254 266 ภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273163 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำที่แท้จริง (2) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษา และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษาของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเทศบาล 2 วัดอ้อมใหญ่ (นครราษฎร์วิทยาคาร) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ แจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำที่แท้จริงโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านความตระหนักรู้ในตนเอง รองลงมา คือ ด้านความยุติธรรม ด้านมุมมองเชิงจริยธรรม ด้านความโปร่งใส และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการมองโลกในเชิงบวก</li> <li>การบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านการบริหารงานทั่วไป</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษา ในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ต่อการบริหารสถานศึกษา ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ พบว่า ด้านความตระหนักรู้ในตนเอง ด้านความยุติธรรม ด้านมุมมองเชิงจริยธรรม ด้านความโปร่งใส และ ด้านการมองโลกในเชิงบวก ตามลำดับ ความสำคัญใหม่ให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.910 และสามารถอธิบายความผันแปรของภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 82.80 (R<sup>2</sup>=0.828) และผลการทดสอบสมมติฐานภาวะผู้นำที่แท้จริงต่อการบริหารสถานศึกษา พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> สุชาติ อัญชลีสถาพร โสภี วิวัฒน์ชาญกิจ อภิรัฐ เจาะจง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 267 282 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพของผู้เรียน โรงเรียนบ้านคลองหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273460 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ 4) เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพไปใช้ การวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ และประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ โดยการประเมินก่อนและหลังการนำรูปแบบไปใช้ และเปรียบเทียบผลการประเมินการนำรูปแบบไปใช้ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และสถิติ t (t-test)</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า</p> <ol> <li>ผลสังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ พบว่า ประกอบด้วย 1) การสร้างหลักสูตร 2) การพัฒนาลักษณะนิสัยผู้เรียน 3) การจัดการชั้นเรียน 4) การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 5) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ 6) การประเมินการเรียนรู้</li> <li>ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก การวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ได้แก่ การพัฒนาลักษณะนิสัยนักเรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการชั้นเรียนตามลำดับ</li> <li>ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) การสร้างหลักสูตร มี 6 องค์ประกอบย่อย 2) การพัฒนาลักษณะนิสัยผู้เรียน มี 6 องค์ประกอบย่อย 3) การจัดการชั้นเรียน มี 6 องค์ประกอบย่อย 4) การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน มี 6 องค์ประกอบย่อย 5) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ มี 6 องค์ประกอบย่อย 6) การประเมินการเรียนรู้ มี 6 องค์ประกอบย่อย ผลการการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพ มีความถูกต้อง การใช้ประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด</li> <li>การเปรียบเทียบผลการประเมินก่อน และหลังนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ครูมืออาชีพไปใช้โดยรวมทุกด้าน และรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</li> </ol> สกุณา บุญรอดรัมย์ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 283 297 ภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273157 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าอันดับที่ 1 คือด้านการทำให้บุคลากรเป็นผู้นำ รองลงมาคือ ด้านการแสดงเป็นแบบฉบับให้บุคลากรเป็นผู้นำตนเอง ด้านการกระตุ้นให้ผู้ตามตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดวัฒนธรรมของผู้นำตนเอง ด้านการสร้างรูปแบบความคิดทางบวก ด้านการอำนวยความสะดวกให้เกิดภาวะผู้นำตนเอง และอันดับสุดท้ายคือด้านการสนับสนุนให้เกิดผู้นำตนเองโดยการสร้างทีมงาน</li> <li>ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับมาก อันดับที่ 1 คือ ด้านการส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ รองลงมา คือ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ และอันดับสุดท้าย คือด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.910 และสามารถอธิบายความผันแปรของภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 82.80 (R<sup>2</sup>=0.828) และผลการทดสอบสมมติฐานภาวะผู้นำเหนือผู้นำผู้บริหารต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐมพบว่า ทุกสมมติฐานมีความสอดคล้อง และพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> ปรียาภรณ์ พลไตร ในตะวัน กำหอม อภิรัฐ เจาะจง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 298 314 แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273154 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญา แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 2) บูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ประชากร ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้รู้ ได้แก่ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้อาวุโสหรือ ผู้มีความรู้ในท้องถิ่น 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติ ได้แก่ ครู นักเรียน ชาวบ้าน ผู้นำ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 3) กลุ่มบุคคลทั่วไป ประชาชนทั่วไปที่เคยเข้ามาท่องเที่ยวที่ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 40 คน การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพทางวัฒนธรรม โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวมรวบข้อมูล คือ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต จัดประชุมกลุ่มย่อย และการประชุมเชิงปฏิบัติการ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>“พลูตาหลวง” มีที่มาจากตำนานเรื่องเล่าขานถึง “ตาหลวง” ชายชราผู้ครอบครองที่ดินในเขตนี้และเป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป นอกจากนี้อาณาเขตพื้นที่นี้ยังเต็มไปด้วยภูเขาล้อมรอบ ภายหลังเมื่อมีการจัดตั้งเป็นตำบลชื่อ “พลูตาหลวง” ซึ่งคำว่า “พลู” เป็นการกร่อนคำมาจากคำว่าภูเขา และผนวกรวมกับชื่อของ “ตาหลวง” จึงเรียกชื่อว่า “พลูตาหลวง”มีองค์ความรู้ภูมิปัญญา แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประกอบด้วย ภูมิปัญญาด้านการเกษตร “หนามยอกเอาหนามบ่ง” ภูมิปัญญาด้านสมุนไพร “ธาตุต่างๆเหล่านี้ถือว่าเป็นรากแรกเกิดของโรค” และ ภูมิปัญญาด้านป่าชุมชน “ศาลหลวงเตี่ยพลูตาหลวง”</li> <li>บูรณาการการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ได้แก่ ส่วนที่ 1 การสร้างแผน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร ขั้นการสํารวจพื้นที่และทรัพยากร ขั้นการจัดอันดับศักยภาพทรัพยากร ขั้นการกําหนดแผน ขั้นการจัดทําเอกสารประกอบแผน ส่วนที่ 2 การพัฒนาแผน การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นวางแผนก่อนจัดกิจกรรม ขั้นปฏิบัติกิจกรรม ขั้นสังเกตการณ์ระหว่างปฏิบัติกิจกรรม และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังนักเรียนความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาเกี่ยวกับ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และเกิดความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นและเกิดการเรียนรู้</li> </ol> ทศพล สีกองคำ ถนัด ยันต์ทอง ในตะวัน กำหอม Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 315 330 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273159 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับพฤติกรรมผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการจูงใจของครูในการปฏิบัติงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม จำนวน 136 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>พฤติกรรมผู้บริหาร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านเข้าใจสถานการณ์ รองลงมา คือด้านเน้นการวงแผน ด้านชี้แนะบุคลากรพร้อมกำหนดบทบาทอย่างอีสระด้านขอคำปรึกษาจากผู้รู้ ด้านให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา ด้านตักเตือนและสอดส่องบุคลากรที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ด้านให้คำแนะนำกับบุคลากรที่ขาดประสบการณ์ และอันดับสุดท้ายคือด้านสนับสนุนบุคลากรที่รับผิดชอบงานที่มีความสำคัญ</li> <li>การจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านกายภาพในที่ทำงาน รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนทางสังคม ด้านระบบการบังคับบัญชา และอันดับสุดท้ายคือด้านสวัสดิการและชีวิต</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) มีค่าเท่ากับ 0.913 และสามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 88.80 (R<sup>2</sup>=0.888) และผลการทดสอบสมมติฐาน พฤติกรรมผู้บริหารกับการจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม พบว่า ทุกสมมติฐานมีความสอดคล้อง และพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> พงศธร เป็นสูงเนิน จีระพันธ์ นามชวัด อภิรัฐ เจาะจง Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 331 347 ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/273161 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 152 คน สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ได้ค่าความเชื่อมั่น .911 เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน</p> <p> ผลการวิจัย</p> <ol> <li>หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบอันดับที่ 1 คือ 3 ห่วง รองลงมา คือ 2 เงื่อนไข ตามลำดับ</li> <li>คุณภาพชีวิตครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือด้านการให้สิ่งตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม รองลงมาคือ ด้านความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านจังหวะชีวิต ด้านการบูรณาการด้านสังคม และอันดับสุดท้ายคือ ด้านประชาธิปไตยในการทำงาน ตามลำดับ</li> <li>ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูด้วยวิธี พหุคูณ มีค่าเท่ากับ 0.900 และสามารถอธิบายความผันแปรของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้ร้อยละ 90.00 (R<sup>2</sup>=0.911) และผลการทดสอบสมมติฐาน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตครูพบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> </ol> สุคลธรส มิ่งจันทร์ ในตะวัน กำหอม สุชีรา สายะรัตนชัย Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 348 363 ความเป็นไปได้ในการเปิดรับนักศึกษาของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/279432 <p> บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและจัดทำข้อสรุปผลการวิพากษ์หลักสูตร โดยสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร ในการจัดทำร่างหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภายใต้ขั้นการพัฒนาหลักสูตร และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป ผู้ประกอบการ อาจารย์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร และนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่มีต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากร คือ บุคคลทั่วไป ผู้ประกอบการ อาจารย์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร และนักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้คือ เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1.ข้อสรุปผลการวิพากษ์หลักสูตร หมวดวิชาหลัก 18 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ (ไม่นับหน่วยกติ) ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) 36 หน่วยกิต</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ความคิดเห็นต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่า ส่วนใหญ่รับข่าวสารจากช่องทาง FaceBook ร้อยละ 40 และ ข่าวสารจากมหาวิทยาลัย เช่น อาจารย์ กิจกรรมที่มหาวิทยลัยจัด ร้อยละ 40 และจากช่องทางอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 20 รู้จักหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คิดเป็นร้อยละ 100สนใจเข้าศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมา สนใจเข้าศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40</span></p> รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์ พินัย วิถีสวัสดิ์ ธีร์ธวัช นุกูลกิจ Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 364 376 อิทธิพลของแนวคิดเกมมิฟิเคชั่นต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/272549 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแนวคิดเกมมิฟิเคชั่น ด้านการได้รับรางวัล ด้านการแข่งขัน ที่ส่งผลต่อความเพลินเพลิดในการซื้อสินค้าออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความเพลินเพลิดในการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าและการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความผูกพันของลูกค้าที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ใช้แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ร่วมกับวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอย</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดเกมมิฟิเคชั่นในด้านการได้รับรางวัลมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเพลินเพลิดในการซื้อสินค้าออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่แต่ด้านการแข่งขันนั้นมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเพลินเพลิดในการซื้อสินค้าออนไลน์อย่างแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ความเพลินเพลิดในการซื้อสินค้าออนไลน์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความผูกพันของลูกค้าและการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความผูกพันของลูกค้ายังมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> จิณห์นิภา จิณห์นิภา ชวนชื่น อัคคะวณิชชา Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 377 389 การพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/279751 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัลก่อนและหลังการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 33 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรการฝึกอบรมเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ 2) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>นักเรียนมีทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ อยู่ในระดับมาก</li> <li>ความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัลก่อนและหลังการพัฒนา ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีแชทบอทอัจฉริยะ อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.53, SD. = 0.63)</li> </ol> อรณิชชา ทศตา พิชชานาถ เงินดีเจริญ ศิริกาญจนา พิลาบุตร กชพร ใจอดทน ศลิษา เจริญสุข สมรัชนี ศรีฟ้า Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 390 400 ประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นของสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/280394 <p> การศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นของสำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดปทุมธานี นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นของสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นของสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยผู้วิจัยได้กำหนดของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ และทำการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้คือ เป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า</p> <p> 1) ประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ด้านพึงพอใจของผู้รับบริการ และด้านการให้บริการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ </p> <p> 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นของสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> พิมพ์นิภา ฤทธิบุตร Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2024-08-30 2024-08-30 18 2 401 412