@article{แสงคาร์_ยานสุวรรณ_สุวศรี_บาลนคม_เหลือวิชา_สุริยุทธ_2022, title={The Creative Music Research: The Freedom Pee Pop-cheua for Experimental Music}, volume={3}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsa/article/view/259278}, abstractNote={<p>คีตวรรณกรรมวิจัย อิสรภาพผีปอบเชื้อ คณะผู้วิจัยสร้างกรอบความคิดสุนทรียญาณเรื่องราววรรณกรรมและลงพื้นที่วิจัยนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อใช้ในการประกอบสร้างสรรค์คีตวรรณกรรมวิจัยร่วมสมัยนี้ชี้ชัดให้เห็นถึงสุนทรียศาสตร์ความเชื่อเรื่องราวของท้องถิ่นในวัฒนธรรมภาคอีสาน คือ ความงามเชิงความทุกข์ทรมาน ความงามความเศร้าของผีปอบเชื้อ ที่เสียงครวญครางที่อยากจะปลดปล่อยวิญญาณตนเองให้อิสระให้ได้ไปเกิดจากห้วงแห่งทุกข์นี้ คีตวรรณกรรมวิจัยนี้ได้อ้างถึงการเปรียบเทียบสุนทรียศาสตร์เชิงความคิดสองรูปแบบคืออิสรภาพของเสียงและอิสรภาพของความต้องการหลุดพ้นจากการเป็นผีปอบ คณะผู้วิจัยได้นำแนวคิดการสร้างสรรค์ดนตรีทดลอง (Experimental Music) มาสร้างสรรค์เป็นคีตวรรณกรรมวิจัยร่วมสมัยนี้ ใช้หลักการการประพันธ์ตามแนวคิดของ จอห์น เคจ ดังนี้ 1. From 2. Chance determination process 3. People process 4. Contextual process 5. Repetition และ 6. Electronic process</p> <p>           คีตวรรณกรรมวิจัยอิสรภาพผีปอบเชื้อ มีความยาวทั้งหมด 13. 29 นาที ประกอบด้วย 4 ท่อน แต่ละท่อนทำหน้าที่ในการสร้างบรรยากาศแสดงเรื่องราวของผีปอบจากแรกเริ่มจนจบบทประพันธ์ ท่อนที่ 1 แสดงให้เห็นถึงสุนทรียศาสตร์ความเป็นอีสาน ท่อนที่ 2 การเรียนวิชาอาคมของปอบ เรียนวิชาหลายวิชาจนไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ท่อนที่ 3 การสู้วิชาอาคมระหว่างพระ ชาวบ้าน กับปอบ ท่อนที่ 4 การเผาผีปอบเพื่อปลดปล่อยดวงวิญญาณปอบให้สู่อิสรภาพและร่วมกระทั้งเสียงดนตรีเองก็ต้องปลดปล่อยจากตัวมันเองเฉกเช่นกัน</p>}, number={1}, journal={Journal of Humanities, Social Sciences, and Arts}, author={แสงคาร์ ภัทรกร and ยานสุวรรณ วายุ and สุวศรี อรรถพล and บาลนคม สุรศักดิ์ and เหลือวิชา ทวีพงษ์ and สุริยุทธ ศุภชัย}, year={2022}, month={Mar.}, pages={38–57} }