@article{สังขดวง_รุ่งช่วง_2017, place={Pattani, Thailand}, title={การรับรู้ระดับการให้บริการของนักท่องเที่ยวมุสลิมต่อการจัดการ การท่องเที่ยวแบบฮาลาล ในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต}, volume={13}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/97664}, abstractNote={ศาสนาอิสลาม มีเนื้อหาหลักคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นฐานการใช้ชีวิต จึงมีผลโดยตรงต่อการเดินทางท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจของคนมุสลิม ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมุสลิมมีเงื่อนไข  ความต้องการที่แตกต่างจากนักท่องเที่ยวทั่วไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมุสลิม 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้ระดับการให้บริการการท่องเที่ยวแบบฮาลาลของสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม และภัตตาคาร       3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ระดับการให้บริการการท่องเที่ยวแบบฮาลาล กับการกลับมาใช้บริการซ้ำและการบอกต่อแบบปากต่อปาก เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวมุสลิมทั้งชาวไทยและต่างชาติ จำนวน 400 ตัวอย่าง ในจังหวัดกระบี่และภูเก็ต ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.5 เลือกใช้สถานประกอบการทั้งประเภทที่ให้บริการฮาลาลเต็มรูปแบบและประเภทที่ให้บริการฮาลาลเฉพาะพื้นที่  บางส่วน ขณะที่ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อการรับรู้ระดับการให้บริการและการรับรู้ระดับการให้บริการมีผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำและการบอกต่อแบบปากต่อปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งจากผลวิจัยนำไปสู่ข้อเสนอแนะ 1) ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ควรให้ความสำคัญกับกลุ่มนักท่องเที่ยวมุสลิม 2) ควรหาแนวทางและกระบวนการในการรับรองมาตรฐานการบริการการท่องเที่ยวฮาลาล และการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับมุสลิม}, number={1}, journal={Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University}, author={สังขดวง ธนินทร์ and รุ่งช่วง จิระนาถ}, year={2017}, month={Aug.}, pages={135–168} }