@article{จาหลง_2017, place={Pattani, Thailand}, title={การออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย ที่พูดภาษามลายูถิ่นปาตานีเป็นภาษาแม่}, volume={13}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/97655}, abstractNote={งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเสียงพยัญชนะภาษามลายูถิ่นปาตานีที่มีต่อการออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่น  รวมถึงศึกษาปัญหาการออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทยที่พูดภาษามลายูถิ่นปาตานีเป็นภาษาแม่<br />    กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยที่พูดภาษามลายูถิ่นปาตานีเป็นภาษาแม่จำนวน 25 คน จาก 3 สถาบันในจังหวัดปัตตานี ได้แก่ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โรงเรียนเดชะปัตนยานุกูลและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษา พร้อมทั้งใช้แบบทดสอบการออกเสียงพยัญชนะ ที่มีปรากฏในคำศัพท์ 93 คำ ซึ่งผู้วิจัยเลือกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นที่มักเป็นปัญหาสำหรับผู้เรียนชาวไทย แบ่งเป็น เสียงพยัญชนะเดี่ยว 9 เสียง ได้แก่ [ʃ] [tʃ] [ts] [ç] [ɸ][g] [z] [ʒ] []   เสียงพยัญชนะควบ 11 เสียง ได้แก่ [kj] [gj] [ʃ] [] [tʃ] [ɲ] [ç] [bj] [pj] [mj] [j] <br />    ผลการวิเคราะห์เสียงพยัญชนะเดี่ยว พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สามารถออกเสียง [ʃ] [g] [z]. ได้สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากอิทธิพลเชิงบวกของภาษาแม่ที่ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างสามารถออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปรากฏเสียง [ʃ] [g] [z] ในระบบเสียงภาษาแม่ แต่ก็ยังพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่ไม่สามารถออกเสียงดังกล่าวได้ สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากอิทธิพลเสียงภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่สองของกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ไม่สามารถออกเสียงได้หรือออกเสียงผิดเพี้ยนไป<br />    ส่วนเสียงพยัญชนะเดี่ยวที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่สามารถ ออกเสียงได้ คือ [tʃ] [ts] [ç] [ɸ]  [] [ʒ] สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากเสียงดังกล่าวไม่มีปรากฏในระบบเสียงภาษาแม่ ทำให้กลุ่มตัวอย่างออกเสียงใกล้เคียงซึ่งปรากฏในภาษาแม่แทน เช่น [s] แทน [ts], [h] แทน [ç], [f] แทน [ɸ] เป็นต้น<br />    ผลการวิเคราะห์เสียงพยัญชนะควบ พบว่า แม้ในระบบเสียงภาษามลายูถิ่นปาตานีจะไม่ปรากฏเสียงพยัญชนะควบเหมือนภาษาญี่ปุ่น แต่เสียงควบบางเสียงกลุ่มตัวอย่างสามารถออกเสียงได้ดี ได้แก่ [kj] [gj] [ʃ][bj] [pj] [mj] สันนิษฐานว่า การออกเสียงดังกล่าวน่าจะได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับพร้อมทั้งเสียงตัวอักษรตัวแรกของพยางค์มีปรากฏในภาษามลายูถิ่นปาตานี ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างสามารถออกเสียงควบเหล่านี้ได้ ในขณะเดียวกัน พบว่ามีเสียงพยัญชนะควบที่ปรากฏในระบบเสียงภาษามลายูถิ่นปาตานี แต่กลุ่มตัวอย่างออกเสียงได้น้อย ได้แก่ เสียง [ɲ] ซึ่งคาดว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับอิทธิพลภาษาแม่ แต่อาจเกิดจากตัวผู้สอนซึ่งไม่ได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการออกเสียงพยัญชนะควบอย่างละเอียดให้ผู้เรียนทราบ<br />    ส่วนเสียงพยัญชนะควบภาษาญี่ปุ่นที่กลุ่มตัวอย่างไม่สามารถออกเสียงได้หรือออกเสียงได้น้อย ผู้วิจัยสันนิษฐานว่า อาจเกิดจากเสียงของตัวอักษรแรกในพยางค์ไม่ปรากฏในระบบเสียงภาษามลายูถิ่นปาตานี ส่งผลให้ผู้เรียนออกเสียงได้ยากและออกเสียงใกล้เคียง ซึ่งปรากฏในภาษาแม่แทน ได้แก่ [ʒ] [tʃ] [ç] [j] และจากผลดังกล่าว พบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับผลการทดสอบการออกเสียงพยัญชนะเดี่ยว กล่าวคือ ถ้าเสียงพยัญชนะเดี่ยวที่กลุ่มตัวอย่างออกเสียงไม่ได้ปรากฏเป็นเสียงแรกในพยางค์ของเสียงพยัญชนะควบก็จะส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างออกเสียงพยัญชนะควบนั้นไม่ได้ด้วย  <br />    นอกจากนี้ ยังพบว่า เสียงภาษาที่สอง (ในงานวิจัยชิ้นนี้ คือ ภาษาไทย) และวิธีการสอนของผู้สอนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อการออกเสียงพยัญชนะภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนได้ด้วยเช่นกัน<br /><br />}, number={1}, journal={Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University}, author={จาหลง นิเย๊าะ}, year={2017}, month={Aug.}, pages={103–134} }