แนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • เยาวลักษณ์ หนองคำ Educational Administration Master of Education, Uttaradit Rajabhat University.
  • พิมผกา ธรรมสิทธิ์ Lecturer, Graduate School Faculty of Education Uttaradit Rajabhat University, Thailand
  • วทัญญู ขลิบเงิน Educational Administration Master of Education, Uttaradit Rajabhat University.

คำสำคัญ:

แนวทางการนิเทศภายใน, สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นการนิเทศภายใน 2.เพื่อศึกษาแนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดน่าน เป็นวิจัยผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง 162 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 6 คน ศึกษานิเทศก์ 1 คน ข้าราชการครู 24 คน บรรณารักษ์ 3 คน ครูอาสาสมัคร กศน. 71 คน และครู กศน.ตำบล 57 คน ผู้ทรงคุณวุฒิการสัมภาษณ์ 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นการนิเทศภายใน เรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน ด้านการประเมินผลและรายงานผลการนิเทศภายใน ด้านสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการนิเทศภายใน และด้านการปฏิบัติตามแผนการนิเทศภายใน 2) แนวทางการนิเทศภายใน คือ ด้านสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการนิเทศภายใน แต่งตั้งคณะทำงานวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ เพื่อสะท้อนจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคของการนิเทศภายใน ด้านการวางแผนการนิเทศภายใน ผู้บริหารและครูร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์มาระบุสาเหตุ ความต้องการแล้วสรุปเป็นจุดมุ่งหมายและเป้าหมาย ด้านการปฏิบัติตามแผนการนิเทศภายใน ผู้บริหารพัฒนาครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในด้วยวิธีการต่างๆ แล้วนิเทศกัลยาณมิตร ด้านการประเมินผลและรายงานผลการนิเทศภายใน แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามนิเทศภายในตามโครงการและกิจกรรมโดยกำหนดเป้าหมายการนิเทศในแต่ละครั้งพร้อมแจ้งทั้งวัน เวลาและสถานที่ที่จะนิเทศ

       

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)