กลวิธีทางภาษาที่นำเสนอภาพแทนผู้หญิงในนวนิยายรางวัลชมนาด พ.ศ. 2563-2566

ผู้แต่ง

  • หลาน เฉี่ยว Graduate student, Communicative Thai as a Second Language Program, Faculty of Liberal Arts Huachiew Chalermprakiet University
  • จันทร์สุดา ไชยประเสริฐ an advisor, Faculty of Liberal Arts, Huachiew Chalermprakiet University

คำสำคัญ:

กลวิธีทางภาษา, ภาพแทนผู้หญิง, รางวัลชมนาด

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่นำเสนอภาพแทนผู้หญิงในนวนิยายรางวัลชมนาด พ.ศ. 2563 – 2566 จำนวน 16 เรื่อง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์ตัวบทนวนิยายและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์

           ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีทางภาษาที่นำเสนอภาพแทนผู้หญิง 3 กลวิธีสำคัญ ได้แก่ 1) การใช้คำและกลุ่มคำที่ปรากฏร่วมกัน 2) การใช้อุปมา และ3) การใช้อุปลักษณ์ สามารถสื่อถึงภาพแทนผู้หญิง 5 ภาพแทน คือ ภาพแทนผู้หญิงสวย ภาพแทนผู้หญิงต้องเข้มแข็ง ภาพแทนผู้หญิงไขว่คว้าหาความรู้ ภาพแทนผู้หญิงเก่ง และภาพแทนผู้หญิงมีความกตัญญู ซึ่งล้วนเป็นภาพแทนด้านบวก กลวิธีทางภาษาที่นักเขียนสตรีรางวัลชมนาดนำเสนอช่วยเสริมสร้างภาพแทนผู้หญิงไทยผ่านนวนิยาย ผู้หญิงเริ่มตระหนักว่าเมื่อสภาพสังคมหรือสถานการณ์รอบตัวเปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงก็สามารถเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ซึ่งผู้หญิงสมัยใหม่จะมีความเก่ง เข้มแข็ง และสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง และผู้หญิงสามารถประกอบอาชีพตามปรารถนาของตนได้ อดทนเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของตนและครอบครัวได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าภาษามีส่วนช่วยสร้างการรับรู้ร่วมกันของคนในสังคมไทยต่อผู้หญิง ทำให้เห็นบทบาทหรืออำนาจของภาษาของผู้ผลิตตัวบทสร้างความหมายและส่งภาพแทนผู้หญิงไปยังสังคม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)