ความต้องการศึกษาต่อปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2567) คณะรัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชลิดา กันหาลิลา Dr., Lecturer of Faculty Public Administration, Nakonrathasima College
  • วิภาส ทองสุทธิ์ Associate Professor Dr., Lecturer of Faculty Public Administration, Nakonrathasima College.
  • ดิเรก แสสนธิ์ Dr., Lecturer of Faculty Public Administration, Nakonrathasima College.

คำสำคัญ:

ความต้องการศึกษาต่อ, ปริญญาเอก, หลักสูตร รป.ด.

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคาดหวังที่ต้องการเห็นผู้สำเร็จการศึกษาเป็นดุษฎีบัณฑิต (รป.ด.) จากวิทยาลัยนครราชสีมา 2) ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่คาดว่าจะศึกษาปริญญาเอกที่อยู่ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนคราชสีมา 238 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 149 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น ผู้ประกอบการ อาจารย์ นักศึกษาระดับปริญญาโทและศิษย์เก่าจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัย พบว่า

  1. ความคาดหวังที่ต้องการเห็นผู้สำเร็จการศึกษาเป็นดุษฎีบัณฑิต (รป.ด.) จากวิทยาลัยนครราชสีมา ส่วนใหญ่มีความต้องการให้ดุษฎีบัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม หลักธรรมาภิบาล เป็นนักบริหารที่มีมีวิสัยทัศน์ เข้าใจหลักการบริหารจัดการยุคใหม่ และบุคลิกภาพดี มีภาวะผู้นำรู้เท่าทันยุคการเปลี่ยนแปลง
  2. ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตร รป.ด. เพื่อเพิ่มพูนความรูและพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นผู้ที่มีความสามารถที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะสามารถนำวุฒิการศึกษาที่ได้รับไปใช้ในการเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือนที่สูงขึ้น
  3. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร รป.ด. ได้แก่ ผู้สอนในหลักสูตรต้องเป็นคณาจารย์ที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียง จัดการเรียนการสอนวันเสาร์-อาทิตย์ และมีรูปแบบค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่เหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)