หลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • ทินกร พูลพุฒ Faculty of Humanities and Social Sciences, Chaopraya University
  • ขรรค์ชัย อ่อนมี Faculty of Humanities and Social Sciences, Chaopraya University
  • วีณา อ่องแสงคุณ Faculty of Humanities and Social Sciences, Chaopraya University
  • สุทธนู ศรีไสย์ Faculty of Humanities and Social Sciences, Chaopraya University
  • จุรีรัตน์ มาลาศรี Master of Education Program in Educational Administration. Faculty of Humanities and Social Sciences, Chaopraya University

คำสำคัญ:

หลักกัลยาณมิตรธรรม 7, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุทัยธานี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุทัยธานี ตามความคิดเห็นของครู โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอุทัยธานี จากจำนวน 254 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ ค่า F-test                                                                                            ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นต่อหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\dpi{80}&space;\overline{X}=3.86) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาภาพรวมไม่พบความแตกต่าง เมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในทำงาน พบว่าทั้งภาพรวมและด้าน ปิโย (น่ารัก) ด้านครุ (น่าเคารพ) ด้านภาวนีโย (เป็นผู้มีความรู้ น่ายกย่อง) ด้านวนจนักขโม (ไม่โกรธง่าย อดทน) และด้านคัมภีรัญจ กถัง กัตตา (ทำเรื่องยาก ให้เป็นเรื่องง่าย) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านวัตตา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

   

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)