ประสิทธิผลการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • นราพร กลัดจิตร Master of Public Administration program students Faculty of Social Sciences and Local Development Phibunsongkhram Rajabhat University
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ Master of Public Administration program students Faculty of Social Sciences and Local Development Phibunsongkhram Rajabhat University
  • โชติ บดีรัฐ Lecturer, Master of Public Administration Program Faculty of Social Sciences and Local Development Phibunsongkhram Rajabhat University

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ 2.เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ 3.เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี โดยประชากร คือ นักศึกษา ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอศรีสำโรง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักศึกษา จำนวน 252 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารและคณะครู ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอศรีสำโรง จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอข้อมูลใน
เชิงพรรณนาความ                                                                          ผลการศึกษา พบว่า 1.ระดับประสิทธิผลการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการประเมินเทียบระดับการศึกษา ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และด้านการฝึกอาชีพชุมชน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.23  2.เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีประสิทธิผลการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้แตกต่างกัน 3.แนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ พบว่า ควรมีการเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานและระบบการเรียนออนไลน์ เช่น การนัดพบกลุ่มผ่านระบบออนไลน์ การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นต้น ควรมีกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันมากยิ่งขึ้นระหว่างครูและนักศึกษา ควรมีการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย

          

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)