การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคพลิกผันของโรงเรียนใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปัทมาวรรณ สุวรรณประเสริฐ Master of Education (Educational Administration Innovation), Department of Educational Administration Innovation. Faculty of Rattanakosin College of Innovation Management, Rajamangala University of Technology Rattanakosin
  • ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง Lecturer in Master of Education (Educational Administration Innovation), Department of Educational Administration Innovation. Faculty of Rattanakosin College of Innovation Management, Rajamangala University of Technology Rattanakosin

คำสำคัญ:

การพัฒนาภาวะผู้นำ, ผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคพลิกผัน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคพลิกผัน ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคพลิกผัน และศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคพลิกผัน กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 302 คน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้ PNI Modified : Modified Priority Needs Index

           ผลการวิจัย พบว่า สภาพความเป็นจริงและสภาพที่คาดหวังภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคพลิก โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคพลิกผันเรียงตามลำดับความสำคัญด้วยดัชนี PNI modified พบว่า ความคล่องตัวในการเรียนรู้ (PNI modified =0.021) ความสามารถในการกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกัน (PNI modified =0.019 ) สมรรถนะในการทำงานเป็นทีม (PNI modified =0.018) ความทันสมัยติดตามและรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง (PNI modified =0.018) การมองโลกและมีทัศนคติที่ดี (PNI modified= 0.16) และความยืดหยุ่นและรู้จักปรับตัว (PNI modified =0.013) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโลกยุคพลิกผัน ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การอบรมและสัมมนาหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยี การฝึกวิเคราะห์วางแผนและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC การสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน และการพัฒนาทักษะการสื่อสาร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)