ทัศนคติและความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการที่มีต่อการบริการ ของสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุมน ฤทธิกัน Independent Academician and Lecturer at Public and Private Universities and President of Chao Phaya Security Service (1996) Ca., LtD

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, ความพึงพอใจ, การบริการ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการต่อการบริการของสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและสถานภาพสมรสกับความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการของสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการบริการ ด้านสถานที่ ด้านกระบวนการทำงาน และด้านบุคลากรกับความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 394 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test
F-test (one-way ANOVA) และ Pearson’s Moment Product Correlation

           ผลจากการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุต่ำกว่า 25 ปี มีอาชีพอื่นๆ การศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รายได้ 15,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน สถานภาพโสด
  2. ทัศนคติ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
  3. ความพึงพอใจต่อการบริการ พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

           ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีเพศที่ต่างกันมีความพึงพอใจต่อการใช้บริการที่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกัน ส่วนในด้านทัศนคติต่อการบริการ พบว่า ด้านกระบวนการทำงานและด้านบุคลากรมีผลในเชิงบวกกับระดับความพึงพอใจ ยกเว้นด้านสถานที่มีผลในเชิงลบ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)