การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้
คำสำคัญ:
การพัฒนามหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย 2) ปัจจัยทางการบริหารขององค์การที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย 3) ปัญหา อุปสรรคต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย 4) แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ อดีตบุคลากร จำนวน 41 คน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า
- ลักษณะการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามหลักวินัย 5 ประการ ของเชนเก มหาวิทยาลัยมีลักษณะบางประการที่สะท้อนการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ การเป็นบุคคลรอบรู้ การมีแบบแผนความคิด การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
- วัฒนธรรมการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยเป็นปัจจัยที่ผลักดันสนับสนุนสมาชิกองค์การให้เกิดการเรียนรู้ แต่ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการเรียนรู้เช่นเดียวกัน ปัจจัยภาวะผู้นำ ได้แก่ อธิการบดี และผู้บริหาร เป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้
- ปัญหา อุปสรรค คือ การคิดอย่างเป็นระบบ สมาชิกในองค์การยังมองแบบแยกส่วนขาดการ
บูรณาการเชื่อมโยงการทำงาน วัฒนธรรมการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยบางเรื่องที่ได้รับอิทธิพลจากวิธีการปฏิบัติในอดีต กฎเกณฑ์ ค่านิยมต่างๆ วัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้สมาชิกในองค์การไม่สามารถเกิดการคิดอย่างเป็นระบบ - แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ควรมีการบริหารจัดการส่งเสริมทักษะสมาชิกในองค์การให้เกิดการคิดเชิงระบบอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ การสร้างกรอบแนวคิดใหม่ให้สมาชิกในองค์การยอมรับ ปรับเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ