การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ

ผู้แต่ง

  • นราพร กลัดจิตร Master of Public Administration program students Faculty of Social Sciences and Local Development Phibunsongkhram Rajabhat University
  • ปัทมพร โพธิปัทมะ Master of Public Administration program students Faculty of Social Sciences and Local Development Phibunsongkhram Rajabhat University
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ Lecturer, Master of Public Administration Program Faculty of Social Sciences and Local Development Phibunsongkhram Rajabhat University

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการน้ำ

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอตัวแบบการบริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม จากศึกษาค้นคว้าพบว่า การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในรูปแบบ PDCA เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญสำหรับการวางแผนแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยมีกระบวนการ ดังนี้ Plan (วางแผน) ในบริบทการวางแผนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ การสำรวจทรัพยากรน้ำร่วมกัน การสร้างความเข้าใจการมีส่วนร่วม วางแผนและวิเคราะห์ความเสี่ยงในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน DO (การนำไปปฏิบัติ) ในบริบทการปฏิบัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ การจัดทำข้อตกลงการมีส่วนร่วม การจัดตั้งกลุ่ม/คณะกรรมการผู้ใช้น้ำ มีส่วนร่วมในการส่งน้ำและบำรุงรักษา Check (ตรวจสอบ) ซึ่งในบริบทการตรวจสอบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ การประเมินความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำจากปัญหาที่พบเมื่อผ่านกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน Act (การปรับปรุง) ซึ่งในบริบทการปรับปรุงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ ได้แก่ การทบทวนกระบวนการมีส่วนร่วม และปรับปรุงกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-05

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)