ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อ (Omni-Channel) หลังวิกฤตโควิด-19: กรณีศึกษาธุรกิจดิสเคาน์สโตร์ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ธุรกิจดิสเคาน์สโตร์ในประเทศไทย, ความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อ, หลังวิกฤตโควิด-19บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อ 2) ศึกษาระดับความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อและ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อ (Omni-Channel) หลังวิกฤตโควิด-19: กรณีศึกษาธุรกิจดิสเคาน์สโตร์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณในครั้งนี้มีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.66) 2) ระดับความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.54) และ 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อ ได้แก่ การรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้า (Image) การยอมรับเทคโนโลยีของผู้บริโภค (Techno) และทัศนคติต่อการซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อ (Attitude) ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางไร้รอยต่อ หลังวิกฤตโควิด-19: กรณีศึกษาธุรกิจดิสเคาน์สโตร์ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณในการทำนายเท่ากับ 0.807 มีประสิทธิภาพการทำนาย ร้อยละ 65.2 และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย 0.250 ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอย ได้ดังนี้
= 0.121 + 0.162 (Image) + 0.250 (Techno) + 0.542 (Attitude)