การบริหารงานที่ส่งผลต่อการบริหารการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่
คำสำคัญ:
การบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา, การพัฒนาวิชาชีพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) ระดับการบริหารการพัฒนาวิชาชีพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) การบริหารงานที่ส่งผลต่อการบริหารการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษkมัธยมศึกษาแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม คือ การบริหารงาน และการบริหารการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 มีค่า S.D เท่ากับ 0.27) 2) ระดับการบริหารการพัฒนาวิชาชีพการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 มีค่า S.D เท่ากับ 0.26) และ 3) การบริหารงาน คือ การบริหารจัดการ (X4) บุคลากร (X1) และงบประมาณ (X2) ที่ส่งผลต่อการบริหารการพัฒนาวิชาชีพครูสู่ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ โดยภาพรวม () อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณในการทำนายเท่ากับ 0.840 มีประสิทธิภาพการทำนาย ร้อยละ 70.5 และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย 0.141 ซึ่งเขียนเป็น สมการวิเคราะห์การถดถอย ได้ดังนี้
= 1.436 + 0.330 (X4) + 0.158 (X1) + 0.135 (X2)