นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่ง

ผู้แต่ง

  • สมพิศ สายบุญชื่น Students of the Doctor of Philosophy Program in Public Administration Phibunsongkhram Rajabhat University
  • ชัชรินทร์ ชิตบุญ Students of the Doctor of Philosophy Program in Public Administration Phibunsongkhram Rajabhat University
  • ชำนาญ ชูเที่ยง Students of the Doctor of Philosophy Program in Public Administration Phibunsongkhram Rajabhat University
  • กัมปนาท วงค์วัฒนพงษ์ Lecturer of the Doctor of Philosophy Program in Public Administration Phibunsongkhram Rajabhat University

คำสำคัญ:

นโยบาย, กระตุ้นเศรษฐกิจ, คนละครึ่ง

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการเรื่อง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่ง มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาความสำเร็จของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ “โครงการคนละครึ่ง” 2. เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนานโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ “โครงการคนละครึ่ง” บทความวิชาการนี้ศึกษาค้นคว้าจาก หนังสือ บทความ งานวิจัย ข่าวสาร ที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบว่า ความสำเร็จของนโยบายคนละครึ่งเกิดจาก ด้านการสื่อสารของรัฐบาล ด้านผลประโยชน์ ด้านทรัพยากร ด้านการปฏิบัติ ด้านความยุติธรรม ด้านการเข้าถึงการให้บริการ ด้านความสะดวก ด้านความโปร่งใส และด้านการใช้เทคโนโลยี แนวทางการพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านจำนวนสิทธิของผู้เข้าร่วมโครงการ และการลงทะเบียน ให้สิทธิแก่ประชาชนทุกคนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนได้เข้าร่วมโครงการโดยไม่ต้องลงทะเบียน ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีกับประชาชนที่ลงทะเบียน และพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ใช้งานง่ายขึ้น 2.ด้านความเสมอภาค ให้บริการประชาชนในการลงทะเบียนผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบแทนการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น(Application)  ใช้บัตรประชาชนในการยืนยันสิทธิของผู้ซื้อสินค้าและบริการ 3.ด้านการป้องกันการทุจริต รัฐบาลต้องกำหนดให้มีมาตรการลงโทษสำหรับร้านค้า ประชาชน ที่มีการทุจริต โครงการคนละครึ่งเป็นโครงการที่กระตุ้นการใช้จ่ายทางเศรษฐกิจได้ผลเป็นรูปธรรม รัฐบาลควรมีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ด้วย

           ดังนั้น บทความวิชาการเรื่อง นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ กรณีศึกษาโครงการคนละครึ่งนี้ สร้างการรับรู้และกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความสนใจ ประชาชนทราบประโยชน์และความจำเป็นการมีทักษะด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) ได้เร็วขึ้น และมีประโยชน์ต่อ
ผู้กำหนดนโยบาย เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และปรับปรุงข้อผิดพลาดสำหรับโครงการอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-07

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)