เปรียบเทียบการเมืองการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกากับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • พระมหาธีรวีร์ ธีรวฑฺฒนเมธี (พันธ์ศรี) Doctor of Political Science students, Faculty of Social Sciences. Mahamakut Buddhist University Srilanchang Campus
  • ละอองดาว ชาทองยศ Doctor of Political Science students, Faculty of Social Sciences. Mahamakut Buddhist University Srilanchang Campus
  • วีรนุช พรมจักร์ Lecturer of the Doctor of Political Science program, Faculty of Social Sciences. Mahamakut Buddhist University Srilanchang Campus

คำสำคัญ:

เปรียบเทียบ, การเมืองการปกครองประเทศสหรัฐอเมริกา, การเมืองการปกครองประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน

บทคัดย่อ

     บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของการเมืองการปกครองของประเทศอเมริกา 2) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของการเมืองการปกครองของประเทศจีน 3) เพื่อเปรียบเทียบการเมืองการปกครองของประเทศอเมริกากับประเทศจีน จากการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบทำให้ทราบว่า ประเทศอเมริกามีระบอบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federal Republic) แบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (check and balance) คือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ มุ่งมั่นดำเนินงานในหลักการ “อเมริกาต้องมาก่อน” (America First) ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหารและความมั่นคง โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ เสาหลัก คือ การปกป้องแผ่นดิน ผลประโยชน์ รักษาสันติภาพและขยายอิทธิพลไปยังส่วนต่างๆ ของโลก

           ประเทศจีน ยึดมั่นในหลักการ“หนึ่งประเทศสองระบบ” (One Country Two System) และ “หลักการจีนเดียว” (One China Principle) ครอบคลุมทั้งทางด้านการเมือง ทหาร เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม แนวทางการพัฒนา คือ พรรคคอมมิวนิสต์ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เน้นวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โปร่งใส กระจายประโยชน์ ยืนหยัดสังคมนิยม ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ยึดมั่นในกฎหมาย กองทัพอยู่ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์จีน ยืดหยัดแนวคิดหนึ่งประเทศ สองระบบ ร่วมสร้างสังคมโลกที่สันติและมีจุดหมายร่วมกัน และบังคับใช้วินัยพรรคอย่างเคร่งครัด

           ประเทศอเมริกามีเป้าหมายทางการเมืองที่สำคัญ คือ ต้องการกลับไปเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ต่างๆ ของโลก เป็นผู้นำในองค์กรระหว่างประเทศ ส่วนประเทศจีนไม่ได้พยายามผลักดันแนวคิดทางการเมืองไปสู่เวทีโลก ผลักดันแนวทางการค้า เช่น เส้นทางสายไหม (one belt one road) การเสนอต้นแบบการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ สะพาน ท่าเรือ รถไฟความเร็วสูง และมีการรุกอย่างรวดเร็วในขณะนี้ คือ การขายวัคซีนต้านโควิด-19

         

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)