การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารภาษาถิ่นในเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้กับพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารภาษาถิ่นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • เอรีน จาไผ่ Master of Communications Arts (Strategic Communication) Bangkok University
  • องอาจ สิงห์ลำพอง Research Advisor Master of Communications Arts (Strategic Communication) Bangkok University

คำสำคัญ:

ภาษาถิ่น, เพลงลูกทุ่ง, การสื่อสาร

บทคัดย่อ

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการผลิตเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้ที่ใช้ภาษาถิ่นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้กับพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารภาษาถิ่นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ G*Power ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 138 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์โดยใช้วิธีสุ่มตามสะดวก (Convenient Sampling) ผลการทดสอบพบว่า ลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันไม่ส่งผลผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารภาษาถิ่นในเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้ คุณภาพการผลิตเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้ที่ใช้ภาษาถิ่นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารภาษาถิ่นในเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้ และช่องทางการเผยแพร่เพลงไทยลูกทุ่งอินดี้ที่ใช้ภาษาถิ่นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับการสื่อสารภาษาถิ่นในเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และผลวิเคราะห์ระดับการเปิดรับการสื่อสารภาษาถิ่นในเพลงไทยลูกทุ่งอินดี้ มีการเปิดรับการสื่อสารอยู่ในระดับมาก

Author Biography

เอรีน จาไผ่, Master of Communications Arts (Strategic Communication) Bangkok University

kasembundit University

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)