@article{ม่วงงาม_2021, title={ การศึกษาปัญหาการออกเสียงพยางค์เสียงเบาในภาษาจีนกลางของนักศึกษา หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์}, volume={16}, url={https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/250244}, abstractNote={<p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการออกเสียงพยางค์เสียงเบาในภาษาจีนกลางของนักศึกษาหลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบการออกเสียงพยางค์เสียงเบา โดยอ้างอิงจากทฤษฎีหลักการออกเสียงพยางค์เสียงเบา《汉语普通话语图解课本》และการสอบวัดระดับมาตรฐานภาษาจีนกลาง《普通话水平测试》หรือ (Putonɡhua Shuipinɡ Ceshi; PSC) โดยคำศัพท์ที่เลือกใช้ในการทดสอบครั้งนี้อ้างอิงจากหนังสือรวมคำศัพท์ที่จำเป็นต้องออกเสียงพยางค์เสียงเบา (必读轻声)《普通话水平测试用普通话词语表》และคำศัพท์ที่มักพบบ่อยในการสอบวัดระดับภาษาจีน ( HSK ) ระดับ 1 - 6 มาใช้ในการทดสอบ โดยแบบทดสอบนี้เป็นการทดสอบการอ่านออกเสียงคำสองพยางค์ (双音节) เรียงจากพยางค์เสียงที่หนึ่ง สอง สามและสี่ตามด้วยพยางค์เสียงเบา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับความสามารถทางภาษา การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้ใช้ทฤษฎี Interlanguage Theory (中介理论)  ของ L.Selinkerและหลัก Error analysis (误差分析) ของ S.P.Corder มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา และนำผลการทดสอบการอ่านออกเสียงพยางค์เสียงเบาของกลุ่มตัวอย่างมาหาค่าร้อยละ</p> <p>            จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าการออกเสียงพยางค์เสียงเบา (轻声) ของนักศึกษามีปัญหาการออกเสียงพยางค์เสียงเบาที่คล้ายคลึงกัน คือ มีปัญหาการออกเสียงพยางค์เสียงที่สอง + พยางค์เสียงเบามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาอันดับสองคือ เสียงพยางค์เสียงที่สาม + พยางค์เสียงเบา อันดับสามคือ พยางค์เสียงที่สี่ + พยางค์เสียงเบาและออกเสียงผิดน้อยที่สุดคือ เสียงพยางค์เสียงที่หนึ่ง + พยางค์เสียงเบา จากการศึกษาและการสังเกตด้านการออกสียงพบว่านักศึกษามีการออกเสียงพยางค์เสียงเบาได้ยาวและช้ากว่าปกติ และไม่สามารถแยกแยะการออกเสียงเบาได้ ซึ่งทำให้การออกเสียงพยางค์เสียงเบาในภาษาจีนมีความผิดพลาดอย่างเห็นได้ชัด</p>}, number={1}, journal={วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น}, author={ม่วงงาม ณพล}, year={2021}, month={มิ.ย.}, pages={69–82} }