วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM
<p style="color: #000000; font-family: &quot; noto sans&quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;"><strong><span lang="TH"><span style="background-color: #ffffff;">Journal of Primary Care and Family Medicine (PCFM)</span></span></strong></p> <p style="color: #000000; font-family: &quot; noto sans&quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;"><strong><span lang="TH"><span style="background-color: #ffffff;">วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว</span></span></strong></p> <p style="color: #000000; font-family: &quot; noto sans&quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;"><span lang="TH">วารสารราย 2 เดือน เพื่อรวบรวมความรู้ทางวิชาการ และงานวิจัยต่าง ๆ รวมถึงเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างเครือข่าย นำไปสู่การพัฒนาทั้งในด้านคุณภาพการบริการและวิชาการ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างคุณค่าและเอกลักษณ์ของบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัวต่อบุคลากรสาธารณสุข</span> </p> <p style="color: #000000; font-family: &quot; noto sans&quot;,arial,helvetica,sans-serif; font-size: 14px; font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: 2; text-align: left; text-decoration: none; text-indent: 0px; text-transform: none; -webkit-text-stroke-width: 0px; white-space: normal; word-spacing: 0px;"><span lang="TH">รวมทั้ง การเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายและองค์กรที่ปฏิบัติงานทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยงานวิชาการทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัว และระบบริการปฐมภูมิ</span></p>
th-TH
<p>เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร PCFM ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ</p> <p>บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PCFM ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร PCFM หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสาร PCFM ก่อนเท่านั้น</p>
chaisiri.a@cmu.ac.th (chaisiri angkurawaranon)
pcfmjournal@cmu.ac.th (สุชาร์ ปัญจสุริยวงศ์)
Wed, 30 Apr 2025 14:10:03 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
รูปแบบภาระดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังออกจากโรงพยาบาลในช่วง ระยะเวลา 6 เดือน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272560
<p>ที่มา: รูปแบบภาระดูแลของผู้ดูแล (caregiver burden trajectory; CBT) ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน การศึกษาที่ผ่านมามีข้อจำกัดเรื่องสมมติฐานว่าผู้ดูแลแสดงออก เพียง 1 CBT แต่ผู้ดูแลอาจมี CBT ที่หลากหลายจากลักษณะผู้ดูแลและผู้ป่วยที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ด้วยสถิติที่สามารถสำรวจจำนวนและรูปแบบ CBT ที่มากกว่า 1 รูปแบบ สามารถนำไปใช้ติดตามกลุ่มผู้ดูแลได้</p> <p>แบบวิจัย: การศึกษาแบบ Prospective observational cohort</p> <p>วัสดุและวิธีการ: เก็บข้อมูลลักษณะผู้ดูแลและผู้ป่วย 100 คู่ วัดระดับคะแนนภาระดูแลด้วย Zarit burden interview (ZBI) 5 ครั้งใน 6 เดือน (repeated measurement data) หา CBT ด้วย Latent class analysis แบบ group based trajectory model วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ multinomial logistic regression แสดงความสัมพันธ์ด้วยค่า ratio of relative risk (RRR) และ 95% confidence interval (95%CI)</p> <p>ผลการศึกษา: ผู้ดูแล 100 คน ชาย 31 คน หญิง 69 คน อายุเฉลี่ย 52.2 ปี (SD = 14.4) พบ CBT 3 รูปแบบ ได้แก่ persistent low (n=16), decreasing (n=56) และ prolonged (n=28) เมื่อใช้ persistent low เป็น reference พบว่าลักษณะที่สัมพันธ์ต่อ CBT แบบ prolonged ได้แก่ ผู้ดูแลอายุ 41-64 ปี (RRR = 0.07, 95%CI: 0.01, 0.82) การไม่มีสนับสนุนด้านอุปกรณ์ (RRR = 0.13, 95%CI: 0.02, 0.88) และผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวล (RRR = 12.79, 95%CI: 1.11, 146.79)</p> <p>สรุป: CBT ของผู้ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองมีมากกว่า 1 รูปแบบ การประเมินและติดตามวัดระดับภาระดูแลหลังผู้ป่วยออกโรงพยาบาล 6 เดือน จึงมีความสำคัญต่อแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมเยี่ยมบ้าน เพื่อออกแบบระบบสนับสนุนผู้ดูแลโดยเฉพาะเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวล ซึ่งมีโอกาสเกิด prolonged CBT</p> <p>คำสำคัญ: เส้นทางการเปลี่ยนแปลงภาระผู้ดูแล โรคหลอดเลือดสมอง แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงตามกลุ่ม</p>
กรณิศ ป้อมบุญมี, ธานินทร์ ฉัตราภิบาล, นนท์ โสวัณณะ
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272560
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในของผู้ป่วยหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายภายใน 1 ปีแรก
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272552
<p>ที่มา: โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบได้บ่อย หลังจำหน่ายมีผู้ป่วยบางรายกลับเข้ารักษาแบบผู้ป่วยใน ก่อให้เกิดความเครียดแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล สูญเสียทรัพยากร บุคลากรทางการแพทย์ และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ การวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลับเข้ารักษาแบบผู้ป่วยใน นำมาพัฒนาการดูแลและแนวทางป้องกัน</p> <p>วิธีการวิจัย: การศึกษาแบบ retrospective cohort study ทบทวนข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่จำหน่ายจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564 จำนวน 290 คน นำเสนอข้อมูลพื้นฐานด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ากลาง และพิสัยควอไทล์ วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์โดย multi-variable logistic regression analysis</p> <p>ผลการศึกษา: จากกลุ่มตัวอย่าง 290 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 62.62±13.16 ปี พบอุบัติการณ์ของการกลับเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในหลังจำหน่ายภายใน 1 ปี จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 24.83 (95%CI: 19.43-31.27) ปัจจัยที่สัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ์ Barthel activities of daily living (ADL) แรกรับ 0-4 คะแนน (p = 0.007) ภาวะพึ่งพารุนแรง ADL แรกรับ 5-11 คะแนน (p = 0.035) และการมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างรักษาจากปอดอักเสบติดเชื้อ (p = 0.047) นอกจากนี้มีแนวโน้มสัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล (aOR 4.85, p = 0.103) </p> <p>สรุป: กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ์-ภาวะพึ่งพารุนแรงแรกรับ และการมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างรักษาจากปอดอักเสบติดเชื้อ มีความสัมพันธ์กับการกลับเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในหลังจำหน่ายภายใน 1 ปี ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร (comprehensive stroke care) โดยเฉพาะในช่วงหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล 180 วันแรก (intermediate care)</p> <p>คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมอง กลับเข้ารักษาแบบผู้ป่วยใน ภาวะพึ่งพาโดยสมบูรณ์ ภาวะพึ่งพารุนแรง ปอดอักเสบติดเชื้อ</p>
อุ้มขวัญ บัวอินทร์, ภวิกา ทั้งสุข
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272552
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ผลของการประชุมครอบครัวอย่างมีแบบแผนต่อความทุกข์ทางใจในผู้ดูแลที่เป็นญาติของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272554
<p>ที่มา: การประชุมครอบครัวอย่างมีแบบแผนช่วยลดความทุกข์ทางใจในผู้ดูแลที่เป็นญาติของผู้ป่วยประคับประคองที่พยากรณ์โรคนานเกิน 1 สัปดาห์ แต่การศึกษาในผู้ดูแลของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายภายใน 1 สัปดาห์ยังมีจำกัด การศึกษานี้จึงศึกษาผลดังกล่าวในผู้ดูแลที่เป็นญาติของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการและที่ 1 สัปดาห์</p> <p>แบบวิจัย: การศึกษาโดยการสังเกตแบบไปข้างหน้าโดยใช้กลุ่มศึกษากลุ่มเดียว</p> <p>วัสดุและวิธีการ: กลุ่มศึกษาเป็นผู้ดูแลที่เป็นญาติของผู้ป่วยมะเร็งที่มีรับการรักษาในโรงพยาบาลและมีระดับ PPS ≤ 30 ทั้งหมด 37 คน วัดผลความทุกข์ทางใจโดยใช้แบบสอบถาม Thai General Health Questionnaires-12 หลังเข้าร่วมการประชุมครอบครัวอย่างมีแบบแผนทันที และหลัง 1 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับก่อนกระบวนการ วิเคราะห์ด้วย multilevel Gaussian regression แสดงผลความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนน (adjusted -coefficients) และ 95%Confidence Interval (95%CI)</p> <p>ผลการศึกษา: การศึกษาพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความทุกข์ทางใจลดลงหลังเสร็จสิ้นกระบวนการทันที 4.03 คะแนน (95%CI: -6.06, -1.99) และที่ 1 สัปดาห์ 4.84 คะแนน (95%CI: -7.04, -2.66) เมื่อปรับอิทธิพลปัจจัยกวน เช่น ของเพศและอายุของผู้ดูแล เป็นต้นพบค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง 4.03 คะแนน (95%CI: -6.07, -1.98) หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ และลดลง 5.00 คะแนนที่ 1 สัปดาห์ (95%CI: -7.27, -2.82)</p> <p>สรุป: การประชุมครอบครัวอย่างมีแบบแผนช่วยลดความทุกข์ทางใจในผู้ดูแลที่เป็นญาติของผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายได้ หากติดตามผลต่อเนื่องนานกว่า 1 สัปดาห์ อาจพบการเปลี่ยนแปลงที่ต่างออกไป ซึ่งมีความสำคัญต่อการวางแผนดูแลต่อเนื่องอย่างเหมาะสม</p> <p>คำสำคัญ: การประชุมครอบครัว มะเร็งระยะท้าย ความทุกข์ทางใจ</p>
พิชชาภา จันทิวาสน์, นนท์ โสวัณณะ, ธานินทร์ ฉัตราภิบาล
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272554
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ผลของระดับการร่วมมือกันของครอบครัวต่อการเสียชีวิตตามแผนในผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลังได้รับการประชุมครอบครัว
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272572
<p><strong>ที่มาและวัตถุประสงค์:</strong>หนึ่งในเป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยประคับประคองคาดหวังให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตตามแผน การร่วมมือกันของครอบครัว(Family engagement:FE)เกิดจากการประชุมครอบครัวอาจสัมพันธ์กับการเสียชีวิตตามแผนของผู้ป่วยเพราะได้สร้างความเข้าใจของครอบครัวกับทีมผู้ดูแล ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการเสียชีวิตตามแผนในแต่ละระดับของ FE</p> <p><strong>แบบวิจัย:</strong>ศึกษาปัจจัยพยากรณ์โดยการสังเกตแบบไปข้างหน้า</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong>:ญาติและผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่ได้รับการประชุมครอบครัว จำนวน 48 คู่ วัดผลFE 3 ระดับ(low-moderate-high) ผลลัพธ์คือการเสียชีวิตตามแผน ผลลัพธ์รองคือเสียชีวิตที่บ้าน เก็บข้อมูลตัวแปรกวน เช่นอายุ เพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multivariable logistic regression แสดง Adjusted Odds Ratios โดยมีกลุ่มเปรียบเทียบคือ low FE</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong>จากการศึกษาพบว่าในกลุ่ม moderate FE และในกลุ่ม high FE มีสัดส่วนแต้มต่อการเสียชีวิตตามแผนเทียบกับกลุ่ม low FE เป็น Adjusted OR=0.09(95%CI:0.00,1.3) และ Adjusted OR=0.03(95%CI:0.00,1.01) เสียชีวิตที่บ้านพบกลุ่ม moderate FE มีอัตราส่วนของแต้มต่อการเสียชีวิตที่บ้านเทียบกับกลุ่ม low FE เป็น 1.12(95%CI:0.18,7.18) เมื่อปรับอิทธิพลของตัวแปร</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong>แม้ไม่พบความสัมพันธ์ของระดับการร่วมมือกันของครอบครัวต่อการเสียชีวิตตามแผน แต่ยังพบความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตที่บ้าน การวัดระดับการร่วมมือกันของครอบครัวจำเป็นที่ต้องทำควบคู่ไปกับกระบวนการประชุมครอบครัว และการวัดการร่วมมือกันของครอบครัวยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป</p> <p> </p>
สมสกุล กิตติรัตนวศิน, นนท์ โสวัณณะ, ธานินทร์ ฉัตราภิบาล
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272572
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ผลของการสอนตรวจเท้าเบาหวานโดยวีดิทัศน์เปรียบเทียบกับการสอนโดยบุคคลในผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/271956
<p>ที่มา: โรคเบาหวานเป็นโรคในกลุ่มเมตาบอลิกซินโดรมที่พบบ่อย ผู้ป่วยเบาหวานราว 2 ใน 3 มีแผลที่เท้าและมีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ปัจจุบันมีแนวทางการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าโดยแนะนำให้มีการสอนเรื่องการดูแลและการตรวจเท้า ด้วยตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่โดยการสอนแบบวีดิทัศน์กับแบบบุคคล เปรียบเทียบการปฏิบัติการตรวจเท้าเบาหวานโดยการสอนแบบวีดิทัศน์กับแบบบุคคล และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้และการปฏิบัติการตรวจเท้าของผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่</p> <p>วัสดุและวิธีการ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง โดยศึกษา ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา ทำการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียวไม่มีการติดตามผลไปข้างหน้าหรือย้อนกลับไปในอดีต จัดทำที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มสอนโดยวีดิทัศน์ได้รับการสอนตรวจเท้าโดยการดูวีดิทัศน์ และกลุ่มสอนโดยบุคคลได้รับการสอนตรวจเท้าโดยบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งสองกลุ่มตอบคำถามการประเมินความรู้ก่อนและหลังการสอนโดยใช้แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจเท้าเบาหวาน เก็บคะแนนการปฏิบัติการตรวจเท้าเบาหวานหลังการอบรมโดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติการตรวจเท้าเบาหวาน วิเคราะห์ผลด้วยวิธีการทางสถิติ Chi-Square Independent t-test และ Paired t-test</p> <p>ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังการสอนในกลุ่มการสอนโดยวีดิทัศน์และโดยบุคคลเท่ากับ 17 (SD 1.8) และ 17.4 (SD 2.3) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.596) คะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติหลังการสอนในกลุ่มการสอนโดยวีดิทัศน์และโดยบุคคลเท่ากับ 9.5 (SD 2.5) และ 9.2 (SD 3.8) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.806)</p> <p>สรุป: ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ การสอนตรวจเท้าเบาหวานโดยวีดิทัศน์มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากการสอนโดยบุคคล ทั้งในด้านความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติวีดิทัศน์ในการสอนเรื่องการตรวจเท้าเบาหวานสามารถนำมาใช้แทนการสอนโดยบุคคลได้</p> <p>คำสำคัญ: ตรวจเท้าเบาหวาน การสอนโดยวีดิทัศน์ การสอนโดยบุคคล</p>
ญาดา ว่องวีรวัฒนกุล, จีรภา กาญจนาพงศ์กุล, ชื่นฤทัย ยี่เขียน
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/271956
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
คะแนนเสี่ยงทางคลินิกเพื่อทำนายภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบบผู้ป่วยนอกในบริบทหน่วยบริการปฐมภูมิ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/276267
<p><strong>ที่มา:</strong> ในการวินิจฉัยภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานต้องถูกเจาะเลือดและต้องรอคอยผลตรวจเลือดเป็นระยะเวลานาน การทราบปัจจัยเสี่ยงทางคลินิกที่ช่วยทำนายภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานจะช่วยให้แพทย์คัดกรองกลุ่มเสี่ยงมาตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคะแนนเสี่ยงทางคลินิกที่ช่วยทำนายภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2</p> <p><strong>แบบวิจัย: </strong>การวิจัยเชิงวินิจฉัยเพื่อทำนายการเป็นโรค (diagnostic prediction research)</p> <p>วัสดุและวิธีการ : เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 250 mg% ที่ต้องตรวจเลือดเพิ่มเติมเพื่อยืนยันภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน ในช่วงปี พ.ศ. 2562-2565 โดยกลุ่มที่มีภาวะภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานจำนวน 24 ราย และกลุ่มที่ไม่มีภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน 48 ราย วิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการถดถอยโลจิสติกหลายตัวแปรแล้วสร้างคะแนนความเสี่ยงทางคลินิก</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ปัจจัยเสี่ยงทางคลินิกที่สามารถทำนายภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ 1) น้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 400 mg% มีค่าเท่ากับ 1 คะแนน 2) การไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา มีค่าเท่ากับ 1.5 คะแนน 3) การติดเชื้อ มีค่าเท่ากับ 1.5 คะแนน 4) การมีอาการผิดปกติเนื่องจากภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน มีค่าเท่ากับ 2 คะแนน โดยคะแนนเสี่ยงทางคลินิก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เสี่ยงต่ำ < 4.5 คะแนน และเสี่ยงสูง ≥ 4.5 คะแนน มีความสามารถในการจำแนกโรคโดยใช้พื้นที่ใต้เส้นโค้งลักษณะการทำงานของตัวรับร้อยละ 88.06 โอกาสของการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงต่ำมีค่าทำนายผลบวกร้อยละ 41.50 และค่าทำนายผลลบร้อยละ 0 โอกาสของการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงสูงมีค่าทำนายผลบวกร้อยละ 58.50 และค่าทำนายผลลบร้อยละ 100.00</p> <p><strong>สรุป:</strong> คะแนนเสี่ยงทางคลินิกสามารถทำนายภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานเบื้องต้นได้ดี โดยกลุ่มเสี่ยงต่ำ (< 4.5 คะแนน) มีโอกาสเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานน้อยมาก แพทย์อาจไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>คะแนนเสี่ยง ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน เบาหวานชนิดที่ 2 การบริการปฐมภูมิ</p>
ศศิธร ศรีโพธิ์ทอง
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/276267
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมในนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272543
<p><strong>ที่มา:</strong> พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2564 ทำให้เข้าถึงการใช้พืชกระท่อมได้ง่ายขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมในนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2565</p> <p><strong>แบบวิจัย : </strong>เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) ในนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 380 คน</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ convenience sampling เก็บข้อมูลด้วยแบบ สอบถามชนิดตอบเองผ่าน Google form วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ สัดส่วน ร้อยละ ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 และ crude odds ratio</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>อัตราการตอบกลับร้อยละ 100.0 (380/380) เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 52.4) ส่วนใหญ่มีอายุ 21 ปี (IQR = 2) ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมในการรักษาโรคไม่ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 95.0) ทัศนคติเห็นด้วยมากที่สุด คือ ควรมีการวิจัยให้มากกว่านี้ก่อนนำมาใช้ในการรักษา (ร้อยละ 89.2) และทัศนคติไม่เห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ การนำพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด (ร้อยละ 51.3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมในการรักษาโรคผ่านเกณฑ์สัมพันธ์กับการมีประวัติใช้พืชกระท่อม [OR = 11.875 (95%CI: 2.174, 64.865), p = 0.004] และทัศนคติเห็นด้วยกับการนำพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด [OR= 3.11 (95%CI: 1.098, 8.818), p = 0.025]</p> <p><strong>สรุป:</strong> กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมในการรักษาโรคไม่ผ่านเกณฑ์ และมีทัศนคติที่เห็นด้วยมากที่สุดว่าพืชกระท่อมควรมีการวิจัยก่อนนำมาใช้ในการรักษา และไม่เห็นด้วยมากที่สุดเรื่องการนำพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้วางแผนจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชน และสร้างทัศนคติที่เหมาะสมต่อการใช้พืชกระท่อม</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>พืชกระท่อม ความรู้ ทัศนคติ</p>
กฤตภัทธ์ ฐานสันโดษ, พรรษ โนนจุ้ย
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272543
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโควิด-19 หลังเข้ารับการกักตัวที่บ้าน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272523
<p><strong>ที่มา:</strong> จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโควิด-19 มีความชุกของภาวะซึมเศร้ามากกว่าประชากรทั่วไป แต่ในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนถึงความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยโควิด-19 กับการเกิดภาวะซึมเศร้า การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโควิด-19 หลังเข้ารับการรักษาด้วยการกักตัวที่บ้านครบ 6 เดือน</p> <p><strong>รูปแบบวิจัย:</strong> การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (descriptive analytic study) โดยทำเป็น retrospective-prospective cohort study</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> ผู้ป่วยโควิด-19 อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่รับการรักษาด้วยการกักตัวที่บ้าน ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 และขณะนั้นตรวจคัดกรองพบภาวะซึมเศร้า (ใช้แบบสอบถาม 9Q ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป) จำนวน 318 คน หลังกักตัวที่บ้านครบ 6 เดือน ได้สัมภาษณ์ผู้ป่วยผ่านทางโทรศัพท์เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าซ้ำอีกครั้ง วิธีประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแคว์ วิเคราะห์ปัจจัยด้วยสถิติถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ความชุกของภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ป่วยโควิด-19 หลังเข้ารับการรักษาด้วยการกักตัวที่บ้านครบ 6 เดือน มีจำนวน 16 คน (ร้อยละ 5.03) โดยแบ่งเป็น ภาวะซึมเศร้าระดับน้อย 14 คน (ร้อยละ 87.50) และภาวะซึมเศร้าระดับปานกลาง 2 คน (ร้อยละ 12.50) และไม่พบปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญ</p> <p><strong>สรุป:</strong> ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าขณะกักตัวที่บ้านยังคงมีภาวะซึมเศร้าหลังกักตัวครบ 6 เดือน จำนวนร้อยละ 5.03 แสดงให้เห็นว่าภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นเป็นเพียงชั่วคราว และไม่ต้องรับการรักษาต่อเนื่อง แต่ช่วงที่ทำการศึกษามีปัญหามิจฉาชีพทางโทรศัพท์ทำให้กลุ่มตัวอย่างปฏิเสธการเก็บข้อมูลจำนวนร้อยละ 28.30 ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างจึงน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้คำนวณไว้เบื้องต้น การแปลผลจึงต้องทำอย่างระมัดระวัง</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>โควิด-19 ภาวะซึมเศร้า กักตัวที่บ้าน</p>
รัชติพัฒน์ ปิติวรารมย์, สิริมา เจริญพักตร์, พรเพ็ญ อัครวัชรางกูร โก, ชื่นฤทัย ยี่เขียน
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/272523
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ที่มีผลต่อการตัดสินใจไป หรือไม่ไปบริจาคโลหิต ของประชาชนทั่วไป อายุ 18-60 ปี ในช่วงการระบาดโควิด-19
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/273181
<p><strong>ที่มา:</strong> การศึกษานี้เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ที่มีความสัมพันธ์กับการไปบริจาคโลหิตของประชาชน อายุ 18-60 ปี และปัจจัยที่มีผลต่อการไปหรือไม่ไปบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ของประชาชน ในช่วงการระบาด โรคโควิด-19</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย: </strong>Cross-sectional descriptive studies</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีถึงอายุ 60 ปี ที่มาบริจาคโลหิต ณ ศูนย์ บริการโลหิตแห่งชาติในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 เก็บแบบสอบถาม หาความสัมพันธ์ของข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ระดับความรู้ ระดับการรับรู้กับพฤติกรรมการไป หรือไม่ไปบริจาคโลหิตในช่วงการระบาดโรคโควิด-19 ช่วงเป็นโรคติดต่ออันตราย โดยวิธี Chi-square test และ Independent T-test หาปัจจัยที่มีผลต่อการไปบริจาคโลหิต โดยการวิเคราะห์ใช้ multivariable binary logistic regression analysis</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 442 คน แบ่งเป็นกลุ่มบริจาคช่วงโควิดอันตราย และกลุ่มที่ไม่ได้มาบริจาคช่วงดังกล่าว การศึกษาพบว่าหลังควบคุมปัจจัยพื้นฐานแล้ว ระดับความรู้มีผลต่อการไปบริจาคโลหิต 1.16 เท่า (95%CI: 0.98-1.38, p = 0.088) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระดับการรับรู้ทัศนคติมีผลต่อการไปบริจาคโลหิต 2.28 เท่า (95%CI 1.04-5.02, p = 0.041) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำผ่านทางสื่อออนไลน์มากที่สุด เหตุผลที่มาบริจาคคือต้องการบริจาคให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องการใช้ แก่ญาติ หรือคนรู้จัก ส่วนเหตุผลที่ไม่มาบริจาคมากที่สุดคือไม่มีเวลาว่าง/ติดธุระ เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม</p> <p><strong>สรุป:</strong> ระดับการรับรู้ และทัศนคติมีผลต่อการมาบริจาคโลหิตในช่วงการระบาดของโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางกลับกันระดับความรู้ส่งผลต่อการมาบริจาคโลหิตในช่วงการระบาดของโควิด-19 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ที่มาบริจาคโลหิต การระบาดโควิด-19 ช่วงที่เป็นโรคติดต่ออันตราย การระบาดโควิด-19 ช่วงที่เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง</p>
กิตติภพ อุดมชัยฤทธิ์, สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/273181
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ระดับกิจกรรมทางกายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในเขตเมือง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/273581
<p><strong>ที่มา:</strong> ปัจจุบันประชากรสูงวัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมลงมีโอกาสเจ็บป่วยมากขึ้น กิจกรรมทางกายถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมป้องกัน รักษา ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีอายุที่ยืนยาว แต่ยังทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอรวมถึงการเข้าใจและส่งเสริมระดับกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพในระยะยาว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับกิจกรรมทางกายและศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในเขตเมือง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล</p> <p><strong>แบบวิจัย: </strong>การศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนา</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> อาสาสมัครอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 153 คน ที่เข้ามารับบริการในคลินิกเวชศาสตร์ครอบครัวและหน่วยปฐมภูมิเขตเมืองโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2566 ทำแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลปัจจัยด้านสุขภาพ ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน แบบสอบถามปัจจัยด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และแบบประเมินกิจกรรมทางกาย ฉบับภาษาไทย (GPAQ version 2) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความถดถอยพหุโลจิสติก (multiple logistic regression analysis) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ร้อยละ 40.5 โดยเป็นการเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งมากที่สุด (ร้อยละ 62.1) และมีการใช้เวลาในพฤติกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ย 247.06±138.75 นาที/วัน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) คือ ดัชนีมวลกาย (น้ำหนักเกิน) โรคความดันโลหิตสูง การออกกำลังกาย การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนและสภาพอากาศในบริเวณที่อยู่อาศัย</p> <p><strong>สรุป:</strong> ผู้สูงอายุในเขตเมืองโรงพยาบาลวชิรพยาบาลมีระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอน้อย บุคลากรทางสาธารณสุขควรส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุให้มีระดับที่เหมาะสม โดยเน้นส่งเสริมการออกกำลังกายและสนับสนุนกิจกรรมชุมชน ดูแลรักษาโรคประจำตัว ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นไป</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>ระดับกิจกรรมทางกาย เขตเมือง</p>
นวลนพรัตน์ โชติศิริคุณวัฒน์, ญาณิศา ศุภศิริสันต์
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/273581
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
บทบาทของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการดูแลต่อเนื่องแบบบูรณาการนอกโรงพยาบาล
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/288822
<p>ในยุคปัจจุบัน ระบบสุขภาพกำลังเปลี่ยนแปลงจากการเน้นการดูแลในสถานพยาบาลเพียงอย่างเดียว ไปสู่การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (holistic care) ที่ต่อเนื่องในทุกมิติของชีวิตผู้ป่วย แนวคิดการดูแลต่อเนื่องแบบบูรณาการนอกโรงพยาบาล (Integrative Continuing Care Beyond Hospital) จึงกลายเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพและยั่งยืน โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นแกนกลางในการประสานงานและเชื่อมโยงการดูแลระหว่างโรงพยาบาล ชุมชน และครอบครัวอย่างไร้รอยต่อ</p>
สตางค์ ศุภผล
Copyright (c) 2025 วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/PCFM/article/view/288822
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700