การศึกษาประสิทธิภาพจากการใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตในการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลชุมชน

Main Article Content

ชิโนรส วงค์ธิดา

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยเรื่อง          การศึกษาประสิทธิภาพจากการใช้ National early warning score (NEWS) ในการคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลชุมชน


ชื่อผู้วิจัย                         นายแพทย์ชิโนรส วงค์ธิดา


สถานที่ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลเสริมงาม


ความเป็นมา: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะที่เป็นปัญหาสำคัญของไทย จากการทบทวนการศึกษาที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการค้นหาและการประเมินผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมากมายโดยพบว่าเครื่องมือ NEWS มีความแม่นยำมากที่สุด ทั้งนี้โรงพยาบาลเสริมงามยังไม่เคยมีการนำเครื่องมือคัดกรองภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนี้มาใช้อย่างชัดเจน จึงเป็นที่มาของการศึกษาฉบับนี้


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดผ่านการใช้แนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต (NEWS) และศึกษาปัจจัยสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์การเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดกับการใช้แนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต (NEWS)


วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาในกลุ่มตัวอย่าง 115 รายที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง ในระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 เก็บข้อมูลจากบันทึกทางเวชระเบียน และคำนวณคะแนน NEWS score ผ่านโปรแกรม NEWS&SEPSIS screening วิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติติทดสอบ Chi square for independent test ในการวิเคราะห์ปัจจัยสัมพันธ์


ผลการศึกษา:มีผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 115 คน พบว่าความชุกของผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีคะแนน NEWS score มากกว่าหรือเท่ากับ 5 ขึ้นไปหรืออยู่ในเกณฑ์ “think sepsis”ทั้งหมด 93 คน(ร้อยละ 80.9) (95% CI 7.39-8.68,p <.01) และจากการศึกษานี้พบความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างระดับของการเฝ้าระวังภาวะวิกฤตตามแนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต(NEWS)กับอุบัติการณ์การเสียชีวิต(OR 2.895, 95%CI 1.070-7.827, p .032) แต่พบความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างระดับของการเฝ้าระวังภาวะวิกฤตตามแนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต(NEWS)กับภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด(septic shock) (OR 1.336, 95%CI .625-2.856, p .454)


สรุปผล: เครื่องมือแนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต (NEWS) สามารถใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้โดยไม่ต้องรอผลเลือดจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และสามารถใช้ทำนายอุบัติการณ์การเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. National Early Warning Score ( NEWS ) 2 Standardising the assessment of acute-illness severity in the NHS Updated report of a working party. 2017;(December).
2. Napolitano LM. Definitions and Guideline Changes. 2018;19(2):117–25.
3. Romanova M. Pathophysiology of sepsis. J Vis Commun Med. 2019;42(4):195–7.
4. สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. หลักการของแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock ( ฉบับร่าง ) พ.ศ. 2558. 2558;1–67.
5. Singer M, Deutschman CS, Seymour C, Shankar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al. The third international consensus definitions for sepsis and septic shock (sepsis-3). JAMA - J Am Med Assoc. 2016;315(8):801–10.
6. Levy MM, Evans LE, Rhodes A. The Surviving Sepsis Campaign Bundle : 2018 update. Intensive Care Med [Internet]. 2018;44(6):925–8. Available from: https://doi.org/10.1007/s00134-018-5085-0
7. National Early Warning Score National Early Warning Score ( NEWS ) 2. 2017.
8. Ritklar L. The results of using the evaluation from for early warning signs on Unplanned ICU admission and mortality rate in Internal Medicine ward at Thammasat University Hospital. 2015;
9. Uppanisakorn S, Bsn APN, Bhurayanontachai R, Boonyarat J, Bsn RN, Kaewpradit J, et al. National Early Warning Score ( NEWS ) at ICU discharge can predict early clinical deterioration after ICU transfer. J Crit Care [Internet]. 2017;43(September):225–9. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.jcrc.2017.09.008
10. Abbott TEF, Cron N, Vaid N, Ip D, Torrance HDT, Emmanuel J. Pre-hospital National Early Warning Score (NEWS) is associated with in-hospital mortality and critical care unit admission: A cohort study. Ann Med Surg [Internet]. 2018;27(December 2017):17–21. Available from: https://doi.org/10.1016/j.amsu.2018.01.006
11. Lee YS, Choi JW, Park YH, Chung C, Park D Il, Lee JE, et al. Evaluation of the efficacy of the National Early Warning Score in predicting in-hospital mortality via the risk stratification. J Crit Care [Internet]. 2018;47:222–6. Available from: https://doi.org/10.1016/j.jcrc.2018.07.011
12. Brink A, Alsma J, Verdonschot RJCG, Rood PPM, Zietse R, Lingsma HF, et al. Predicting mortality in patients with suspected sepsis at the Emergency Department; A retrospective cohort study comparing qSOFA, SIRS and National Early Warning Score. PLoS One. 2019;14(1):1–14.
13. Usman OA, Usman AA, Ward MA. comparison of SIRS, qSOFA, and NEWS for the early