Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
en-US
Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
2286-7589
-
ทิศทางการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐไทยและการบริการสาธารณะสมัยใหม่
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/279482
<p> บทความวิชาการ เรื่อง ทิศทางการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐไทยและการบริการสาธารณะสมัยใหม่มุ่งนำเสนอประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลกที่ส่งผลต่อการทำงานของภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนาระบบราชการที่สำคัญและกรณีศึกษาในต่างประเทศ ลักษณะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการบริหารภาครัฐของไทยในบริบทกระแสโลกาภิวัตน์และทิศทางการบริหาร องค์กรภาครัฐไทยและการบริการสาธารณะสมัยใหม่ การบริหารขององค์กรภาครัฐสมัยใหม่จะต้องเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (citizen-centricity) มีความชัดเจนในวิสัยทัศน์และพันธกิจ ประชาชนจะไม่ใช่แค่ลูกค้าผู้รับบริการจากภาครัฐแต่เป็นหุ้นส่วน (partner) เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ (collaborator) และผู้ร่วมผลิต (co-producer) นอกจากนี้ หน่วยงานจะต้องมีความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพภายในและประสิทธิภาพการให้บริการภายนอก มีกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิผล มียุทธศาสตร์ใหม่สำหรับการสร้างการเติบโตและการพัฒนาไขว้กันระหว่างสาขาต่าง ๆ กันมากขึ้น เนื่องจากวาระการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบองค์รวม คุณสมบัติหลักขององค์กรภาครัฐสมัยใหม่จึงต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติสำคัญ คือ มีนวัตกรรมการทำงาน (innovative) มีความสามารถในการทำงานเชิงสร้างสรรค์ มีแนวคิดและรูปแบบการทำงานบริการ และทำให้มีผลกระทบที่ดีในวงกว้าง มีความคล่องตัว ตอบสนองการเปลี่ยนแปลง (agile) สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้ตามสถานการณ์ทั้งในเชิงการปฏิบัติการการตอบสนองเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงได้อย่างเหมาะสมและทันการณ์ มีการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิผล สามารถทำงานร่วมกันข้ามหน่วยงานข้ามประเทศ (connected) สามารถทำงานแบบเครือข่ายความร่วมมือร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้ ทั้งระหว่างสาขา ระหว่างประเทศ ระหว่างหน่วยงาน มีความโปร่งใส (transparent) มีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติการและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากในยุคต่อไปนี้จะเป็นยุคแห่งความไว้วางใจและความถูกต้อง การที่องค์กรภาครัฐมีความโปร่งใสจะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการปฏิบัติการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น องค์กรภาครัฐในอนาคตทั่วโลกจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเพื่อรองรับกับความท้าทายในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายและซับซ้อน โดยเฉพาะการมีความยืดหยุ่น คล่องตัว ตั้งง่าย ยุบง่าย ใช้เทคโนโลยีเก่ง ทำงานเป็นเครือข่าย มีนวัตกรรม มีความน่าเชื่อถือและโปร่งใส เพื่อสามารถตอบสนองประชาชนในฐานะหุ้นส่วนของการพัฒนาประเทศร่วมกัน</p>
Chanatnan Thinderm
กฤษฎา ประยูรไทย
โชติ บดีรัฐ
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
3
15
-
นโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการเผาไร่อ้อย : กรณีศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/277924
<p>ประเด็นมลพิษทางอากาศอันเกิดจากฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อย ของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นเรื่องที่กระทบต่อสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากเป็นอันดับหนึ่งของเขตพื้นที่ภาคกลาง โดยมีพื้นที่ปลูกอ้อย จำนวน 734,280 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6 ของพื้นที่จังหวัด ด้วยพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวนมากเมื่อเกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวอ้อยโดยวิธีการเผาใบในช่วงเวลาเดียวกันจึงก่อให้เกิดสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมากลอยอยู่ในอากาศจนสามารถมองเห็นฝุ่นละอองขนาดเล็กนั้นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งนี้แม้วิธีการเก็บเกี่ยวอ้อยจะสามารถเก็บเกี่ยวได้สองวิธีคือการเก็บเกี่ยวอ้อยสดและการเก็บเกี่ยวโดยมีการเผาใบก่อน แต่เนื่องจากการตัดอ้อยสดจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการเผาใบอ้อยก่อนตัด เกษตรกรบางรายจึงหลีกเลี่ยงการตัดอ้อยสดและยังคงใช้วิธีการเผาอ้อยก่อนตัดเพื่อลดต้นทุนการผลิต</p> <p>จากการศึกษาถึงแนวนโยบายและมาตรการทางการกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พบว่า ในส่วนแนวนโยบายมีการบัญญัติครอบคลุมในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ หน่วยงานส่วนกลาง และหน่วยงานระดับจังหวัด ส่วนมาตรการทางกฎหมายที่มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ก่อให้เกิดฝุ่นควันพบว่า มีกฎหมายหลายฉบับที่ยังคงใช้บังคับแต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า การกำหนดลักษณะของการกระทำความผิด และลักษณะของความเสียหายที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองไม่เป็นไปตามบริบทของการกระทำของเกษตรกรที่กฎหมายควรมุ่งเน้นคุ้มครองความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของคนในพื้นที่ ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายฉบับใดที่มีการบัญญัติถึงการกระทำความผิดและกำหนดบทลงโทษในลักษณะนี้ไว้อย่างชัดเจน สิ่งที่ดำเนินการมีเพียงการปรับใช้กฎหมายที่มีอยู่เดิมเท่านั้น จากการศึกษาข้อมูลครั้งนี้จึงได้มีข้อเสนอแนะ 3 ประการคือ 1. ควรปรับแก้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หมวด 4 การควบคุมมลพิษ ส่วนที่ 4 มลพิษทางอากาศและเสียง มาตรา 64 –68 ให้ครอบคลุมมลพิษทางอากาศด้านอื่นโดยเฉพาะประเด็นการเผาในที่โล่ง และกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสม 2. กำหนดนโยบายสร้างความร่วมมือกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ เกษตรกรชาวไร่อ้อยและภาคอุตสาหกรรม 3. ศึกษาการบังคับใช้ประกาศจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง การกำหนดพื้นที่และมาตรการควบคุมผลกระทบจากฝุ่นละลองขนาดเล็กว่าเพราะสาเหตุใดแม้จะมีการใช้มาตรการดังกล่าวตั้งแต่ปี 2562 แต่ค่ามาตรฐานฝุ่นละออง ในจังหวัดกาญจนบุรีจึงยังคงเกินกว่าค่ามาตรฐานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงต่อไป</p>
Poungrat Cheaurob Chansatapat
กุลเนตร ทองมี
สุดารัตน์ โคตรวงศ์
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
16
27
-
แนวคิดการมุ่งเน้นการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบทางสังคมส่งผลต่อชื่อเสียงขององค์กรธุรกิจ: กรณีศึกษา บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/276120
<p>การมุ่งเน้นการตลาด มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. การมุ่งเน้นด้านลูกค้า 2. การมุ่งเน้นด้านการแข่งขัน และ 3. การประสานงานภายใน ตามแนวคิดการมุ่งเน้นการตลาดมีวัตถุประสงค์เพื่อองค์กรสามารถดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนความรับผิดชอบต่อสังคมประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ (1) ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านเศรษฐกิจ (2) ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านกฎหมาย (3) ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรมและ (4) ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการกุศล เมื่อผู้บริหารและนักการตลาดให้ความสำคัญกับลูกค้าเพื่อจะมุ่งเน้นตอบสนองลูกค้าด้วยการรับผิดชอบต่อสังคม โดยการมุ่งเน้นการตลาดมีความสัมพันธ์และส่งผลเชิงบวกต่อความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมยังอยู่ในความสนใจขององค์กรทั่วโลกและประเทศไทยเพราะการดำเนินธุรกิจขององค์กรส่วนใหญ่<em>ได้</em>ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน สาธารณชนทั่วไป รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อชื่อเสียงขององค์กรธุรกิจเป็นสิ่งที่มีมูลค่าสูงมากที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้อย่างยั่งยืน ตามบทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้แนวคิดการมุ่งเน้นการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างผลเชิงบวกด้านชื่อเสียงขององค์กรธุรกิจบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในด้านเป็นองค์กรธุรกิจแรกที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในดัชนีความยั่งยืนของ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) และมีชื่อเสียงในฐานะองค์กรธุรกิจจากการจัดอันดับต่อเนื่องยาวนานที่สุด 19 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547</p>
Paveena Nilphong
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
28
37
-
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/279027
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ การวิจัยเชิงปริมาณ แบบสำรวจ การเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 420 คน จากผู้โดยสารซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนในสนามบินดอนเมือง กรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมานและ โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) พบว่า ส่วนมากเป็นเพศชาย อายุ 21-30 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชนและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท มีความคิดเห็นในภาพรวมระดับมากต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.94) การตัดสินใจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.04) การบริการ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 3.98) และผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด มีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทาง (Path Coefficient) เท่ากับ 0.44* (DE= 0.44*) ระดับนัยสำคัญ P<0.05 จากข้อเสนอแนะว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด หรือ 7P’s ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์ด้วยการพัฒนารูปลักษณ์ให้มีมาตรฐาน หรือทันสมัยเพื่อการดึงดูดความสนใจและการให้บริการเพื่อคุณภาพที่ดี 2) ราคา ควรรักษาระดับราคาให้คงที่และควรมีโปรโมชั่นตามฤดูกาล 3) ช่องทางการจัดจำหน่ายควรเพิ่มช่องทางให้มีความหลากหลายมากขึ้นให้ทันสมัยไปตามเทคโนโลยีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ 4) การส่งเสริมการตลาด เรื่องอัตราค่าโดยสารตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้าของชำร่วยหรือรายการอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ให้ผู้โดยสารรับรู้ได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้โดยสารซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจและความต้องการในการใช้บริการ หรือการกลับมาใช้บริการซ้ำ ๆ ซึ่งจะเกิดเป็นความภักดีต่อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต่อไป 5) พนักงานบริการ ควรมีการจัดการฝึกอบรมด้านทักษะและเทคนิคอยู่เสมอเพื่อพัฒนาศักยภาพการให้บริการที่ดีมีคุณภาพสร้างความประทับใจให้กับผู้โดยสาร 6) กระบวนการ ควรมีขั้นตอนที่อำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและสะดวกสบาย 7) ควรมีมาตรฐานในการจัดวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในห้องโดยสารเพื่อให้ผู้โดยสารมีความพึงพอใจในการตัดสินใจกลับมาใช้บริการในครั้งต่อ ๆ ไปซึ่งปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 องค์ประกอบ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้โดยสารที่ใช้การบินต้นทุนต่ำในภาพรวมทั้งหมด</p>
Supa Jirawattananont
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
38
50
-
พฤติกรรมของผู้บริโภค Generation Y ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้นักแสดงซีรีส์วายเป็นพรีเซนเตอร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/279886
<p>การวิจัยเรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภค Generation Y ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้นักแสดงซีรีส์วายเป็นพรีเซนเตอร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีพรีเซ็นเตอร์และเพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาด แรงจูงใจ และทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีพรีเซ็นเตอร์โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 280 คน ที่มีอาศัยในกรุงเทพมหานคร และมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ใช้นักแสดงซีรีส์วายเป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเพื่อทราบถึงสัดส่วนประชากร ระดับและความถี่ในด้านต่าง ๆ และวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis<strong>) </strong>เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้นักแสดงซีรีส์วายเป็นพรีเซนเตอร์ของกลุ่มตัวอย่าง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ด้านการสื่อสารการตลาดพบว่าการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารแบรนด์ แรงจูงใจและทัศนคติที่มีต่อศิลปินที่ชื่นชอบส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ใช้นักแสดงซีรีส์วายเป็นพรีเซนเตอร์ (Decision Making) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวได้ว่าสื่อสังคมออนไลน์ปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาด และศิลปินที่เป็นพรีเซ็นเตอร์ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศจากการนำเอานักแสดงซีรีส์วายมาเป็นพรีเซนเตอร์ทำให้เกิดทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจซื้อ</p>
นฤดม ต่อเทียนชัย
Sopida Woranin
Warisara Klomtooksing
Ruedeechanok Rungruangmaitree
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
51
60
-
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชารายงานทางการเงิน และการวิเคราะห์งบการเงินของนักศึกษาสาขาการบัญชี ด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/270552
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน จากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการสอนโดยใช้แนวคิดปัญหาเป็นฐานในรายวิชารายงานทางการเงิน และการวิเคราะห์งบการเงิน 3) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการสอนในบทเรียนรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงินให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาการบัญชีชั้นปีที่ 2 ที่ลงเรียนในรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี ภาคการศึกษาที่ 2/2565 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบประเมินคุณภาพของเอกสารประกอบการสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาด้วยเอกสารประกอบการสอนรายวิชารายงานทางการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน โดยการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในระดับความพึงพอใจเฉลี่ยรวมมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.60<em>, </em>S.D.<em> = </em>0.67) เมื่อพิจารณารายข้อแล้ว พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ นักศึกษายังมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนแบบ PBL ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><em>= </em>4.60<em>, </em>S.D.<em> = </em>0.67) โดยเฉพาะในด้านความชัดเจนของสื่อ เนื้อหาที่เข้าใจง่าย และการใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายซึ่งได้ค่าเฉลี่ยในระดับสูงที่สุด การจัดการเรียนการสอน ยังส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงออกความคิดเห็น การคิดวิเคราะห์ และการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน พบว่า มีคุณภาพในระดับดีมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><em>= </em>4.48<em>, </em>S.D.<em> = </em>0.32) โดยบทที่ 8 เรื่องการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการหากำไร ได้รับคะแนนสูงสุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /><em>= </em>4.67<em>, </em>S.D.<em> = </em>0.28) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการใช้เอกสารประกอบการสอนร่วมกับวิธีการเรียนรู้แบบ PBL เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมการเรียนรู้ตามยุทธศาสตร์แผนการศึกษาแห่งชาติและการสอนในศตวรรษที่ 21</p>
นางอรทัยภ์ ทำมา
อรอนงค์ จิระกุล
อารยา เจริญพร
สมาน สืบนุช
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
61
70
-
ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดฐานสมรรถนะโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/280036
<p> การวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดฐานสมรรถนะโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อพัฒนานักศึกษาทุนในโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 105 คน ประกอบด้วยผู้ใช้หลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยโครงการผลิตครูรัก (ษ์) ถิ่น สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 14 คน นักศึกษาทุนโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น รุ่น 1 และรุ่น 2 จำนวน 58 คน และผู้ใช้บัณฑิตประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง และตัวแทนจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดโรงเรียนปลายทางบรรจุในโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่น จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบจดบันทึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา <br /> ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาความต้องการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการมากที่สุดเรียงตามลำดับ ได้แก่ สมรรถนะด้านการสื่อสาร สมรรถนะด้านการทำงานร่วมกับชุมชน สมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น สมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สมรรถนะด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน สมรรถนะด้านการเงิน ธุรการและงานพัสดุสำนักงานของโรงเรียน และหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยควรเป็นหลักสูตรมุ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) โดยเน้นสมรรถนะของนักศึกษาในโครงการครูรัก (ษ์) ถิ่นเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนโดยจัดกิจกรรมสอดแทรกในรายวิชากลุ่มวิชาเอกเลือกนวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูรัก (ษ์) ถิ่น 4 รายวิชา ประกอบด้วย รายวิชาการจัดการเรียนรู้ท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย รายวิชาการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน สังคมในการจัดการศึกษาปฐมวัย รายวิชาพหุวัฒนธรรมศึกษาและรายวิชาภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น</p> <p> </p>
saiyut phupuy
วรนุช นิลเขต
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
71
81
-
ผลของการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์และการวาดรูปลายกระหนกในนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/276057
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือและโปรแกรมการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ 2) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์และการวาดรูปลายกระหนกในนักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักศึกษาของวิทยาลัยช่างศิลปะสุพรรณบุรี ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน โดยทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ฝึกการวาดภาพลายกระหนกเพียงอย่างเดียว 30 นาที กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ฝึกการวาดภาพลายกระหนกควบคู่กับโปรแกรมการสมาธิแบบเคลื่อนที่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลแสดงผลด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำโดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า <br /><span style="font-size: 0.875rem;"> เครื่องมือและโปรแกรมการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ มีค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ (Face Validity) เท่ากับ 1.00 และเมื่อนำไปทดลองใช้ (try out) พบว่า นักศึกษาวิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริง ในการทดลองในระยะที่ 2 สามารถฝึกตามโปรแกรมได้</span></p> <ol> <li>ผลของความฉลาดทางอารมณ์และคะแนนความสามารถในการวาดภาพลายกระหนก ของกลุ่มตัวอย่าง มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังการฝึกตามโปรแกรม 8 สัปดาห์</li> <li>3. ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ค่าเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์และความสามารถในการวาดภาพลายกระหนก มีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยสังเกตได้จากคะแนนที่ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการตรวจสอบและให้คะแนน อีกทั้งผลการทดสอบความแตกต่างก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งผลการวิจัยสามารถบ่งบอกได้ชัดเจนว่าการฝึกกับเครื่องมือและโปรแกรมการฝึกสมาธิแบบเคลื่อนที่ นั้นสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ และความสามารถในการวาดภาพลายกระหนกได้เป็นอย่างดี</li> </ol>
Kittisak Makpan
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
82
92
-
การพัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารโรงเรียนเพื่อสนับสนุนการทำงานในยุคดิจิทัล
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/278365
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันธนาคารโรงเรียนเพื่อสนับสนุนการทำงานในยุคดิจิทัล 2) ประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันธนาคารโรงเรียนเพื่อสนับสนุนการทำงานในยุคดิจิทัล และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชันธนาคารโรงเรียนเพื่อสนับสนุนการทำงานในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยพัฒนา และออกแบบระบบโดยใช้ทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development Life Cycle : SDLC) ประเมินคุณภาพและความพึงพอใจด้วยทฤษฎีความสำเร็จของระบบสารสนเทศ DeLone and McLean เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรม Glide Apps ใช้ภาษา java script ในการเขียนโปรแกรม และ Canva ในการออกแบบหน้าจอแสดงผล ผู้วิจัยใช้แบบประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน และแบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งาน จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันธนาคารโรงเรียนสามารถลงชื่อและสมัครเข้าใช้งานได้ มีระบบจัดการฝาก-ถอนเงิน สามารถตรวจสอบรายการหลังจากการทำรายการฝาก-ถอนเงิน แสดงยอดเงินคงเหลือรายบุคคลและผู้ดูแลระบบสามารถทำการเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลในแอปพลิเคชันธนาคารโรงเรียนได้ ซึ่งตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน 2) ผลการประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชัน มีค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.80, S.D. = 0.27) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.83, S.D. = 0.15)</p>
นิรุตต์ จรเจริญ
ศุภโชค อ่อนแห
มาลินี คำเครือ
ณรงค์ พันธ์ุคง
วิยะดา พลชัย
พิศาล คงเอียด
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
93
106
-
การออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิค ECO PAINTING เพื่อเป็นของฝากของที่ระลึก บ้านบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/278943
<p>โครงการวิจัยการออกแบบ และพัฒนาลวดลายผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิค ECO PAINTING เพื่อเป็นของที่ระลึกบ้านบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ได้นำเอาภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ และเสน่ห์ของพื้นที่ ที่มีทั้งแหล่งท่องเที่ยว วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต ให้เป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในงานโครงการวิจัยการออกแบบ และพัฒนาลวดลายผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิค ECO PAINTING เพื่อเป็นของที่ระลึกบ้านบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาและผลที่ได้ดังนี้ 1) ศึกษารูปแบบ ลวดลายการออกแบบและพัฒนาลวดลายผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติ ด้วยเทคนิค ECO PAINTING เพื่อเป็นของฝากของที่ระลึกบ้านบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาการตลาดและอัตลักษณ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกบ้านบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 3) จัดทำต้นแบบและประเมินความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติบ้านบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้จัดการประชุม สำรวจ และการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดองค์ความรู้ในงานวิจัยได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนสามารถไปพัฒนาต่อยอด และเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนเองจากการสำรวจความคิดเห็นด้านการออกแบบและการผลิต ได้ทำการวิเคราะห์และสรุปต้นแบบ โดยกลุ่มประชากรตัวอย่างรูปแบบกลุ่มอาชีพ ได้แก่ รับราชการ จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50 รองลงมา คือ พนักงานบริษัท จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 43.3 อื่น ๆ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.7 และผลจากการวิเคราะห์ต้นแบบลวดลายผ้าพันคอ กลุ่มทอผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติบ้านบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี รูปแบบการ Free From ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.71 อยู่ในเกณฑ์มากที่สุด</p>
Patompong Savetsiri
เจษฎา สายสุข
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
107
115
-
แนวทางการพัฒนากระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ในสถานการณ์วิถีชีวิตปกติใหม่ของบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/279302
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา โอกาส และอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนโยบายในการดำเนินงานภายในกองถ่ายงานวีดิทัศน์ 2) ศึกษาผลกระทบของนโยบายของรัฐในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลต่อกระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์และธุรกิจกองถ่ายภาพยนตร์ 3) กระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ และ 4) เสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ในสถานการณ์วิถีชีวิตปกติใหม่ของบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีตำแหน่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจัดการภายในกองถ่ายวีดิทัศน์ในกลุ่มงานสื่อในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 25 คน ด้วยแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า นโยบายที่ภาครัฐประกาศเพื่อควบคุมการดำเนินงานของกองถ่ายที่ผ่านมานั้นไม่สอดคล้องกับมาตรการและรูปแบบการทำงานของกองถ่าย ซึ่งนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมานั้นไม่ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้แก่กองถ่ายอย่างชัดเจน นโยบายควบคุมของภาครัฐมีปัญหาเรื่องการสื่อสารและประสานงานระหว่างคนในกองถ่ายและลูกค้า ส่งงาน แก้ไขงาน การประสานงานที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการนัดสถานที่เพื่อประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน กลายเป็นต้องทำการนัดประชุมผ่านช่องทางออนไลน์ซึ่งแต่ละบุคคลที่เข้าร่วมการสนทนาจะอยู่คนละสถานที่และพูดคุยผ่านสื่อออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของแต่ละบุคคลเท่านั้น ส่งผลให้การอธิบายรายละเอียดงานที่ต้องประชุมต้องใช้เวลาในการรอสัญญาณหรืออธิบายรายละเอียดงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น กระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ในสถานการณ์วิถีชีวิตปกติใหม่มีความซับซ้อนมีขั้นตอนการทำงานมากขึ้น ต้องมีการวางแผนการทำงานให้เข้มงวดสอดคล้องกับเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด แนวทางการพัฒนากระบวนการถ่ายทำวีดิทัศน์ ภาครัฐควรปรับปรุงเรื่องกระบวนการและขั้นตอนการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐในการขออนุญาตดำเนินการถ่ายทำของกองถ่ายให้เร็วมากขึ้น รวมถึงควรให้ความสำคัญกับคนทำงานสายภาพยนตร์ให้เป็นอาชีพที่ชัดเจนและมีมาตรการดูแลเยียวยาจะช่วยลดความเดือดร้อนให้คนทำงานในสายอาชีพนี้ และควรกำหนดมาตรการให้ชัดเจนและประกาศมาตรการให้รวดเร็วทันเหตุการณ์</p>
Amornthep Skuna
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
116
126
-
SNG: รูปแบบอวตารความปรกติเชื่อมต่อธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่ออยู่ร่วมกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ของชุมชนในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/277288
<p>โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลของ 4 โครงการวิจัยย่อยสร้าง SNG: รูปแบบอวตารความปรกติเชื่อมต่อธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่ออยู่ร่วมกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ของชุมชนในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และ 2) สร้างรูปแบบอวตารความประพฤติถัดไปเชื่อมต่อธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่ออยู่ร่วมกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ของชุมชนในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ด้วยการประสานสัมพันธ์หลากหลายวิธีการวิจัย เช่น การวิจัยผสานวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เทคนิคเดลฟายแนวทฤษฎีตามพื้นที่ ผลการวิจัยที่ได้ข้างต้นนำไปใช้สร้าง SNG (Sunandha Governance Model) ธรรมาภิบาลสุนันทารูปแบบอวตารความปรกติถัดไปเชื่อมต่อธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อรูปแบบอยู่ร่วมกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ของชุมชนในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ภูมิปัญญาการพัฒนาบนพื้นฐานการเทียบเคียงทักษะระดับโลกของเคียวเซรา (Coursera) 2) DIY (การทำด้วยตนเอง) ปรับใช้กับภูมิคุ้มกันตนเองของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา รัฐบาลนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่น รวมถึงแถลงการณ์สุขภาพของสภาร่วมภาคพื้นยุโรปตามคณะกรรมการสภาร่วมยุโรป การวิจัยครั้งต่อไปเป็นการอ้างอิงถึงการร่วมสร้างสรรค์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2568) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (พ.ศ. 2560-2569) และการนำแผนที่ทักษะของเคียวเซราระดับโลกมาประเมินรูปแบบ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์</p>
Shayut Pavapanunkul
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
127
139
-
การสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/KRUjournal/article/view/279926
<p> การวิจัยเรื่องการสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืนในการแข่งขันกีฬาระดับชาติและศึกษาการรับรู้กีฬากับความยั่งยืนของผู้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39 การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) แบบเชิงพรรณนา (descriptive research) จัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เทคนิคการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยการหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (index of item-objective congruence: IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.762<br /> ผลการศึกษาสรุปได้ว่ารูปแบบของการสร้างการรับรู้กีฬากับความยังยืนในการแข่งขันกีฬาระดับชาติ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินสถานการณ์และเป้าหมายการสร้างการรับรู้กีฬากับความยั่งยืน (Situation analysis and needs assessment : Awareness of Sports Sustainability) ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้กีฬากับความยั่งยืน (Create and Development Activities Awareness of Sports Sustainability) ขั้นตอนที่ 3 สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้กีฬากับความยั่งยืน (Create motivation for Learning : Awareness of Sports Sustainability) ขั้นตอนที่ 4 จัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้กีฬากับความยั่งยืน (Sports Sustainability Activity) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการเรียนรู้ ปรับปรุง และการพัฒนา (Evaluation Improvement and Development)<br /> ผลการศึกษาการรับรู้ด้านกีฬากับความยั่งยืนของผู้เข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 39 มีการรับรู้ด้านกีฬากับความยั่งยืนก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับต่ำ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 37.77 หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างการรับรู้กีฬากับความยังยืนในการแข่งขันกีฬาระดับชาติ มีการรับรู้ในระดับที่สูงขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 79.38 อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายพื้นที่และประชากรให้มากยิ่งขึ้น</p> <p> </p>
Arnon Wanla
ชนานันท์ สมาหิโต
Copyright (c) 2024 Journal of Kanchanaburi Rajabhat University
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
13 2
140
149