วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU <p><strong>วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น</strong><br /><strong>Journal of Local Governance and Innovation</strong><br /><strong>ISSN 3027-8120 (Print)</strong><br /><strong>ISSN 2673-0405 (Online)<br /></strong><br />วารสารมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารการจัดการ สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การศึกษาและบูรณาการศาสตร์เพื่อการพัฒนา<br /><br />วารสารกำหนดเผยแพร่วารสาร ฉบับปกติ (Regular Issues) ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้<br />ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) / (January – April)<br />ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) / (May – August)<br />ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม) / (September – December)<br /><br />ประเภทของบทความ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย และบทความวิชาการ<br /><br />รับตีพิมพ์บทความ ทั้ง บทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ<br />เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ<br /><br />บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสามท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละหนึ่งท่าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อยสองท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ สำหรับทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ<br /><br />ทั้งนี้ วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เฉพาะแบบปกติ และไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์แบบเร่งด่วน (Fast Track) ดังนี้<br />- บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ภาษาไทย 3,000 บาท/ บทความ<br />- บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ภาษาอังกฤษ 4,500 บาท/ บทความ<br /><br /><strong>คำชี้แจง</strong>ขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น<br />1. ขอให้ผู้นิพนธ์ส่งไฟล์เอกสารผ่านระบบ ThaiJo ประกอบด้วย<br />1.1 บทความวิจัย/บทความวิชาการ ในรูปแบบไฟล์ Word จำนวน 1 ไฟล์<br />1.2 แบบฟอร์มส่งบทความ จำนวน 1 ไฟล์<br />กรุณาดูคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (<a href="https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/author_instruction">Click</a>)<br />2. เมื่อไฟล์เอกสารครบถ้วนแล้ว ทางกองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น ตามข้อกำหนดของวารสาร หากผ่านการพิจารณาบทความเบื้องต้น ทางวารสารจะแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารก่อนการตรวจประเมินคุณภาพบทความ <br />3. ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสาร กำหนดให้โอนชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารผ่านทางบัญชีธนาคาร โดยผู้นิพนธ์จะได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่วารสารเท่านั้น</p> <p><strong>ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียม</strong><br />ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (บกศ2)<br />ชื่อธนาคาร ธนาคารกรุงเทพ ประเภท เงินฝากออมทรัพย์<br />เลขที่บัญชี 644-0-30330-0</p> <p><strong>ทั้งนี้</strong> เมื่อชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว กรุณาจัดส่งหลักฐานการชำระเงินที่อีเมล jlgisrru@srru.ac.th โดยระบุ 1) ชื่อ - สกุล ผู้นิพนธ์ 2) ชื่อบทความ 3) สลิปการโอน<br /><br /><strong>หมายเหตุ:</strong> การชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารทุกรายการ เป็นค่าดำเนินการของวารสาร ซึ่งหากบทความของท่านไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ลงในวารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์ ทางวารสารจะไม่คืนเงินค่าตีพิมพ์วารสารดังกล่าว</p> th-TH jlgisrru@srru.ac.th (Asst. Prof. Dr.Wanchai Suktam) jlgisrru@srru.ac.th (อาจารย์ ดร.วิจิตรา โพธิสาร) Tue, 31 Dec 2024 15:35:43 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537กรณีศึกษาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/277441 <p>บทความนี้เป็นบทความวิชาการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่เกี่ยวข้องกับการออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง มีประเด็นที่ได้จากการศึกษา 3 ประการ ดังนี้ 1) นายอำเภอมีอำนาจออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล พ้นจากตำแหน่ง กรณี คือนายกองค์การบริหารส่วนตำบลขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 58/1 ตามมาตรา 64 (4) และกระทำการต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมายมาตรา 64/2 ตามมาตรา 64 (5) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เท่านั้นส่วนอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งนั้น จะมีอำนาจเฉพาะกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจงใจทอดทิ้งหรือละเลยไม่ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่อันจะเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อย ตามมาตรา 92 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการออกคำสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดจึงแตกต่างกัน 2) กรณีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 58/1 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ต้องพิจารณาประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร พ.ศ. 2562 ด้วย ส่วนกรณีพฤติการณ์ตามมาตรา 58/1 ดังกล่าว อาจเกิดขึ้นก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งหรือในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้3) การออกคำสั่งของนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดโดยให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่งนั้นเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น หากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวสามารถใช้สิทธิโดยการฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้เพราะพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 กำหนดให้อำนาจนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นที่สุดโดยไม่มีบทบัญญัติเรื่องการให้อุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง</p> เกริกเกียรติ ทิพย์ชัย, วีรพงศ์ อ่อนน้ำคำ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/277441 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมเจรียงนอรแกวโบราณของบ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/277804 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมเจรียงนอรแกวโบราณของบ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อสำรวจแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมโดยใช้มรดกภูมิปัญญาเจรียงนอรแกวโบราณ ๓ ภาษา (ภาษาเขมรสุรินทร์ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในบ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ข้อมูลรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 54 คนซึ่งเป็นปราชญ์ในท้องถิ่นและผู้นำชุมชน โดยการเลือกผ่านการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและมีการปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญ 5 คนในด้านการศึกษาวัฒนธรรมและศิลปะการแสดงเจรียงนอรแกวโบราณเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความแม่นยำ การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพถูกรวบรวมผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าชุมชนบ้านดงมันมีความรู้ความเข้าใจมรดกทางวัฒนธรรมเจรียงนอรแกวในระดับปานกลาง ( <strong> = </strong>3.41) การมีส่วนร่วมของชุมชนมีความกระตือรือร้นในการอนุรักษ์อย่างเข้มแข็ง โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( <strong> = </strong>3.92 ) การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมเป็นภาษาเขมรสุรินทร์ ไทย และอังกฤษ ในมรดกภูมิปัญญาเจรียงนอรแกวโบราณกับหลักสูตรการศึกษาในโรงเรียนสามารถช่วยผสมผสานมรดกภูมิปัญญาเจรียงนอรแกวโบราณของชุมชนบ้านดงมันโดยเป็นเครื่องมือดิจิทัลช่วยให้มีส่วนร่วมกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเจรียงนอรแกวของชุมชนบ้านดงมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การค้นพบนี้เน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของการพัฒนานวัตกรรมในการส่งเสริมการช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมเจรียงนอรแกวโบราณและการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแข็งขันในการรักษาและเพิ่มคุณค่าอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเจรียงนอรแกวโบราณของชุมชนดงมันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น </p> พิสุทธิ์พงศ์ เอ็นดู, มานิตย์ โศกค้อ, ศิริลักษณ์ ประสานสุข, สุภาวดี ชอบเสร็จ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/277804 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแอปพลิเคชันค้นหาสินค้าโอทอปจังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/275992 <p>ความท้าทายของงานวิจัยเพื่อเพิ่มโอกาสและลดช่องว่างการเข้าถึงสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าโอทอปในจังหวัดสุรินทร์ พัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลสินค้าเป็นไปอย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นมิตรกับผู้ใช้ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญสามประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการค้นหาสินค้าโอทอป 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันแนะนำเส้นทางและค้นหาสินค้าโอทอป และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการใช้แอปพลิเคชันเพื่อการค้นหาสินค้าโอทอป สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการโอทอปและผู้สนใจทั่วไป ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้แบบสอบถามในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ประเมินประสิทธิภาพและประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อการค้นหาสินค้าโอทอปจังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติเชิงพรรณนาเพื่อสรุปสาระสำคัญผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและความต้องการใช้งานแอปพลิเคชันภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=3.42) มี 4 ด้านคือ ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก (x ̅=3.52) รองลงมาอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน คือ ความล้าสมัย (x ̅=3.43) ความปลอดภัย (x ̅=3.42) และข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน (x ̅=3.30) เป็นลำดับสุดท้าย ขณะที่ความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้แอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.02) นำเสนอใน 3 ลำดับแรกคือ มาตรการรักษาความปลอดภัย (x ̅=4.12) ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องและชัดเจน (x ̅=4.06) และการออกแบบแอปพลิเคชันที่เหมาะสม (x ̅=4.04) แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นสร้างความพึงพอใจและประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านความปลอดภัย ความถูกต้องของข้อมูลและการออกแบบที่เอื้อต่อการใช้งาน</p> จันทร์ดารา สุขสาม, วินิต ยืนยิ่ง, ปิยะ แก้วบัวดี, วราลักษณ์ มาประสม, รัตนา สุมขุนทด, นวัฒกร โพธิสาร, สหเทพ ค่ำสุริยา, อุมาพร ไชยสูง Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/275992 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการขยะชุมชนด้วยเทคโนโลยี การจัดการขยะมูลฝอยตามแนวพระราชดำริสู่ชุมชน :กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276964 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและการปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง ในรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย (2) เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีการจัดการขยะตามแนวพระราชดำริ ในการศึกษานี้ ประชากรแท้ที่เป็นเจ้าบ้านหรือตัวแทนเจ้าบ้านตามเลขที่บ้าน ทั้ง 9 หมู่บ้าน โดยหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างการวิจัยจากสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวนตัวอย่าง 335 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ โดยค่าความถี่และค่าเฉลี่ยร้อยละ </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านรูปแบบการจัดการขยะใน อบต.โนนแดง มีการประชาสัมพันธ์ด้านการจัดการขยะเป็นประจำ มีการจัดเก็บขยะอย่างสม่ำเสมอ ด้วยรถขนขยะเฉพาะกิจของ อบต. และพบว่าจำนวนถังขยะมีไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยของชุมชน ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย เห็นด้วยที่ อบต.เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ได้แสดงความคิดเห็นในการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน และส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เชิงรุกในการสร้างเครือข่ายการคัดแยกขยะในชุมชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ประชาชนมีส่วนมากความเข้าใจในการคัดแยกขยะชุมชน มีการแยกเศษอาหาร ทิ้งถังเศษอาหาร มีการแยกขยะเพื่อนำไปขาย และแยกขยะอันตรายออกจากขยะอื่น และด้าน</p> ดุษฎีพร หิรัญ, สุรวุฒิ สุดหา Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276964 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาระบบและกลไกการสรรหาพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279851 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปในปัจจุบันของระบบและกลไกการสรรหาพยาบาบาลวิชาชีพ 2) ระบบและกลไกการสรรหาพยาบาลวิชาชีพ 3) แนวทางการพัฒนาระบบและกลไกในการสรรหาพยาบาลวิชาชีพ โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi – Structured Interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน เป็นผู้บริหารของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในระบบและกลไกการสรรหาพยาบาลวิชาชีพ มีจุดแข็ง คือ ด้านบุคลากร จุดอ่อน คือ ด้านกระบวนการสรรหา โอกาส คือ ด้านเทคโนโลยี และ อุปสรรค ได้แก่ ด้านตลาดแรงงาน 2) ระบบและกลไกการสรรหาพยาบาลวิชาชีพ พบว่า โรงพยาบาลมีการวางแผนอัตรากำลังคน การวิเคราะห์งาน การกำหนดแหล่งในการสรรหา การกำหนดวิธีในการสรรหา และประเมินผลระบบในการสรรหา 3) แนวทางการพัฒนาระบบและกลไกในการสรรหาพยาบาลวิชาชีพ พบว่า ต้องมีการมุ่งเน้นใช้ช่องทางที่หลากหลาย จัดทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือการสรรหาให้ทันกับเทคโนโลยี ต้องมีการประชาสัมพันธ์องค์กรให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และปรับปรุงขั้นตอนการสรรหาและคัดเลือกพยาบาลวิชาชีพให้มีความกระชับและรัดกุมมากขึ้น</p> ยโสธรา แสนเขื่อน, สยาม อัจฉริยะประภา, บุษกร วัฒนบุตร Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279851 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/281357 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาด้านการตลาดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการตลาดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 227 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทำการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) สภาพปัจจุบันที่มีต่อหลักสูตรภาษาจีนมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร และด้านผลิตภัณฑ์ ในส่วนสภาพปัญหาที่มีต่อหลักสูตรภาษาจีน คือ ด้านกระบวนการ และในด้านความต้องการที่มีต่อหลักสูตรภาษาจีน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย สำหรับแนวทางการพัฒนาด้านการตลาดหลักสูตรภาษาจีน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา </p> <p> 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันที่มีต่อหลักสูตรภาษาจีนของนักศึกษาหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าส่วนใหญ่ ผู้สอนมีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาเป็นอย่างดีอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาผู้สอนมีคุณธรรม จริยธรรม มีบุคลิกภาพที่ดีเหมาะสม</p> <p> 3) นวัตกรรมการตลาดหลักสูตรภาษาจีนของมหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี โดยนำส่วนประสมทางการตลาด 7Ps มาวิเคราะห์สิ่งที่มีความต้องการมากที่สุดในการพัฒนานวัตกรรมการตลาดจะมี 4 ด้านคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านกระบวนการ </p> ภรณิษฐ์ อุบลนุช, ตระกูล จิตวัฒนากร, วิโรชน์ หมื่นเทพ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/281357 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 สถานการณ์การจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำภายใต้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนพื้นที่สูงตามแนวพระราชดำริ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/281852 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำภายใต้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมชาวปกาเกอะญอตามแนวทางการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้การสังเกตุ สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มและประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 คน คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชาวบ้าน นักวิชาการ และนักพัฒนา นำเสนอข้อมูลโดยการสังเคราะห์ ตีความและวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการศึกษา 1) สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและทรัพยากรชุมชน พบว่า การตั้งถิ่นฐานของชุมชนยาวนานกว่า 200 ปี โดยวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับป่าจากการทำไร่หมุนเวียนเพื่อยังชีพสู่เกษตรเชิงพาณิชย์ภายหลังจากภาครัฐเข้ามาดำเนินการให้เลิกปลูกฝิ่น ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจและรัฐดำเนินนโยบายสัมปทานป่าไม้แก่นายทุน พ่อค้า รวมทั้งรัฐสร้างวาทกรรมการพัฒนาบนอำนาจ ความรู้ ความขัดแย้ง ความรุนแรงและความเป็นอื่นในอคติทางชาติพันธุ์ เช่น ชาวเขาทำไร่เลื่อนลอย จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระองค์ทรงสร้างฟาร์มฯ ในโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและรักษ์ป่าควบคู่กัน 2) ด้านการจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำตามแนวทางการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พบว่า แนวคิดการพัฒนาตามพระราชดำริภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิม เช่น การผูกรกกับต้นไม้ (เดปอถู่) เลี้ยงผี (หลื่อต่าปว่า) เลี้ยงผีไฟแนวกันไฟ (หลื่อเหม่โต) เป็นพิธีกรรมสะท้อนชีวิตบนพื้นที่สังคมและจิตวิญญาณ</p> บัญชา พุฒิวนากุล, ณรวัฒน์ ทวีเจริญพร, สุวิทย์ วิมุติโพธิ์, ธีรชัย สหเมธาวี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/281852 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279235 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาคุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตรองค์การ บริหารส่วนตำบลหมูม่น 2)เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ3)เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลหมู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือหัวหน้าครัวเรือนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น จำนวน 245 คน ในการเก็บข้อมูลจะใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA) &nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">คุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตรองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ( = 3.76) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ( = 3.86) รองลงมาคือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ( = 3.78) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ( = 3.66)</li> <li class="show">ผลการเปรียบเทียบคุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตรองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวมหัวหน้าครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนหัวหน้าครัวเรือนที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตรขององค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ไม่แตกต่างกัน</li> <li class="show">ข้อเสนอแนวทางพัฒนาคุณภาพในการให้บริการด้านการเกษตรองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ได้แก่ สร้างแรงจูงใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกระดับให้รู้สึกกระตือรือร้นในการบริการ</li> </ol> จิรวดี ศิลากุล, โกศล สอดส่อง, ดนัย ลามคำ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279235 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะความสามารถและส่งเสริมโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเองให้ดำรงอยู่อย่างมีความหมายในพื้นที่ชายแดน จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/271609 <p>การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะความสามารถและส่งเสริมโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเองให้ดำรงอยู่อย่างมีความหมายในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์1.เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุตามความเหมาะสม 2 เพื่อเป็นแนวทางการสร้างโอกาสพึ่งพาตนเองให้ดำรงอยู่อย่างมีความหมาย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแนวชาติพันธุ์วรรณนาและผสมผสานเชิงปริมาณ จากการเก็บข้อมูลพื้นที่ชายแดนอำเภอกาบเชิงเป็นหลัก ร่วมกับอำเภอบัวเชด อำเภอพนมดงรักและอำเภอสังขะ ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างเจาะจงผู้สูงอายุ และหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร่วมด้วย นำมาสังเคราะห์หาแนวทางตามวัตถุประสงค์โดยการสนทนากลุ่ม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีสามารถทำงานในกิจวัตรประจำวันได้ ค่าเฉลี่ยที่ 4.33 ในระดับมากพอใจในสุขภาวะของตนปานกลางแม้ว่ามีโรคประจำตัวบ้างไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการทำงาน ด้านจิตใจ พบว่า ค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.69 - 4.33 ในระดับมากนั่นคือ ผู้สูงอายุมีความสุข สงบมีสมาธิดี มีความพึงพอใจกับตนเอง ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่ามีความพึงพอใจกับชีวิตความเป็นอยู่ในระดับที่มากโดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.67 - 4.43 ด้านเศรษฐกิจ พบว่ายังมีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อสร้างอาชีพ สร้างงานที่เหมาะสมให้กับตัวเองมาก แม้ว่าความต้องการมีรายได้นั้นอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งพอดีกับค่าใช้จ่าย แต่การเก็บออมนั้นอยู่ในระดับน้อยที่ 2.7 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งสอดคล้องกับข้อคิดเห็นในการสนทนากลุ่มพบว่า ผู้สูงอายุมีจิตใจอ่อนโยน มีใจบุญกุศล เข้าวัดฟังธรรม มีความรักมีเมตตาปรารถนาอยากช่วยเหลือสังคม การจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุย่อม ให้โอกาสเขาได้ทำงานพร้อมช่วยสนับสนุนการออมในบั้นปลายชีวิตก็จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย และเป็นข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรส่งเสริมตลาดผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุ สร้างเครือข่าย เพื่อการดำรงอยู่อย่างมีความหมายในสังคมและชุมชน</p> สุรีย์ฉาย สุคันธรัต, ศรัญญา นาเหนือ, วันชัย สุขตาม, จิรายุ ทรัพย์สิน, สิริพัฒถ์ ลาภจิตร Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/271609 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279023 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการพัฒนาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตตำบลยางขาว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการสังเคราะห์ ตีความหาข้อสรุปในประเด็นสาระสำคัญและนำมาเรียบเรียงผลการศึกษาเชิงพรรณนา</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>สภาพปัญหาการพัฒนาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า ประปายังเป็นประปาของหมู่บ้าน ยังไม่ใช่ประปาภูมิภาค โดยเป็นน้ำดิบจากบ่อบาดาลที่มีปัญหาเป็นสนิมเหล็ก มีตะกอน มีสีขุ่นเหลือง ต้องใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับ ไฟฟ้าแสงสว่างยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไฟส่องสว่างทางชำรุดหลายจุด เสียบ่อย การซ่อมแซมล่าช้า การคมนาคม ขนส่ง ไม่มีขนส่งสาธารณะในพื้นที่ ถนนชำรุด เสียหายหลายจุด เป็นหลุม เป็นบ่อ มีน้ำขัง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย</li> </ol> <p> แนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน ด้านประปา ควรมีน้ำประปาส่วนภูมิภาคเข้าตำบลในทุกพื้นที่ มีการจัดตั้ง ระบบประปาเพื่อจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ ควรมีการกรองน้ำให้สะอาด ทำความสะอาดถังเก็บน้ำให้บ่อยๆ ก่อนที่จะนำมาให้ประชาชนใช้ หรือทำธนาคารน้ำใต้ดินให้ชาวบ้านเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชน สำหรับไฟฟ้าแสงสว่าง ควรให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแสงสว่างในพื้นที่แก้ไขไฟฟ้าที่ขัดข้อง ควรซ่อมแซมโดยด่วน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มไฟฟ้าแสงสว่างให้มีความสว่างทุกพื้นที่ในตำบล โดยเฉพาะที่เป็นจุดเสี่ยง และป้องกันการเกิดปัญหาอาชญากรรม ติดไฟตามไหล่ทางเพิ่มขึ้น ตัดต้นไม้ กิ่งไหม้ที่บดบังแสงสว่าง การคมนาคม/ขนส่ง ควรมีถนนสาธารณะที่สะดวก มีรถประจำทางในเขตชุมชน หมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางด้วยความสะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ควรปรับปรุงถนนจากลูกรัง ลาดยาง ให้เป็นคอนกรีตทุกเส้นในหมู่บ้าน เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ลดการเกิดอุบัติเหตุ</p> ทัชชา ปั้นเหน่ง, จักรวาล สุขไมตรี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279023 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิด ร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/281673 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนรัษฎานุประดิษฐ์อนุสรณ์ จังหวัดตรัง โดยกลุ่มตัวอย่างนี้ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling unit) จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 33 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย 2) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) สถิติการทดสอบที (t – test)</p> <p> ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการคิด พูด เขียน อยู่ในระดับมากที่สุด</p> วิลาสินี สุขทอง, พัศรเบศวณ์ เวชวิริยะสกุล Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/281673 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/278907 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ 2. เพื่อศึกษาภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และ 3.เพื่อศึกษาภาวะผู้ตามกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานอยู่ในปี 2566 ที่ระดับความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 95% ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 286 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าค่า t-test, One - way ANOVA หรือ F-test ผลการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีผลต่อรูปแบบภาวะผู้ตามของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ทั้งนี้เนื่องจากในการปฏิบัติงาน ทุกปัจจัยส่วนบุคคลต้องอยู่ภายใต้ระเบียบการปฏิบัติงาน แนวทางหรือนโยบายหลักของมหาวิทยาลัยซึ่งทำให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด 2. ภาวะผู้ตามพบว่าในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.24, S.D. = 0.358) ด้านที่มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด ได้แก่ ภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ( = 4.40, S.D. = 0.484) ภาวะผู้ตามแบบปรับตัว ( = 4.26, S.D. = 0.550) ภาวะผู้ตามแบบเอาตัวรอด ( = 4.14, S.D. = 0.448) 3. ภาวะผู้ตามมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ ในภาพรวมมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (r = 0.711) ด้านที่มีระดับความสัมพันธ์มากที่สุด คือภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผลมีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.321) และความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ คือ ภาวะผู้ตามแบบเอาตัวรอด (r=.113) ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมพบว่า ควรกำหนดนโยบายในการส่งเสริมความก้าวหน้าให้กับบุคลากร และทิศทางการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ในการทำงาน และควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการแลกเปลี่ยนรู้ซึ่งกันและกัน</li> </ol> กุลนิดาวรรณ ดำคำ, วิจิตรา ศรีสอน Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/278907 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การยกระดับพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/281386 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ และศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้าของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 180 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นไทล์ โดยใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่และมอร์แกน (1970) จะได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 123 คน และผู้วิจัยดำเนินการคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล/กลุ่มเป้าหมาย โดยคัดเลือกจากผู้ที่เป็นคณะกรรมการของกลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่ม ที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลจนเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัย ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 คน และสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและประเด็นสนทนากลุ่มย่อย สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย โดยนำเสนอเป็นความเรียง</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.44) ; (SD = 1.04) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สภาพการดำเนินงานด้านการวางแผนธุรกิจ อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.38) ; (SD = 0.82) รองลงมาคือ ด้านการสื่อสาร (x ̅ = 4.14) ; (SD = 0.94) และด้านองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม (x ̅ = 1.81) ; (SD = 1.37) ประเด็นปัญหา ความต้องการ และศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้า พบว่า 1) ยังขาดความเข้าใจต่อการวางแผนธุรกิจ 2) มีข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ 3) ขาดการเรียนรู้การสืบค้นข้อมูลใหม่ๆ ประเด็นแนวทางการพัฒนานั้นภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทสนับสนุนส่งเสริม ให้ความรู้ และเป็นพี่เลี้ยง</p> คุณัญญาฐ์ คงนาวัง Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/281386 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ศักยภาพทุนทรัพยากร วัฒนธรรมชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/272286 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทุนทรัพยากร วัฒนธรรมของชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัด สุรินทร์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทุนทรัพยากร วัฒนธรรมชุมชนสู่การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพทุนทรัพยากรประกอบด้วย ปราชญ์ชาวบ้าน ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้ การเงินชุมชน และศักยภาพทุนวัฒนธรรม ประกอบด้วย ศาสนสถาน ประเพณี ภูมิปัญญา และดนตรีพื้นบ้าน แนวทางการพัฒนาศักยภาพทุนทรัพยากร วัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชน โดยการนำทุนทรัพยากร วัฒนธรรมที่มีความหลากหลายมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ พัฒนาองค์ความรู้และทักษะผู้ประกอบการ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีทั้งภายในชุมชนกับภายนอกชุมชน โดยใช้ศักยภาพของทุนทรัพยากร วัฒนธรรมเป็นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง</p> ประภาพร บุญปลอด, นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์, เกศศิริ นวลใยสวรรค์, ระเบียบ วุฒิปิยพงศ์, สุรีย์ฉาย สุคันธรัต Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/272286 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการการสื่อสารงานประเพณีชักพระของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/278874 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการการสื่อสารงานประเพณีชักพระของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เกี่ยวกับ 1) นโยบายและแผนการจัดการการสื่อสาร 2) การดำเนินการจัดการการสื่อสาร 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นบุคลากรจากองค์กรต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีความรู้ประสบการณ์ ในการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ประเพณีชักพระ 16 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการรณรงค์ทางสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์งานประเพณีชักพระของอำเภอปากพะยูน วัฒนธรรมจังหวัดเป็นผู้กำหนด มอบหมายให้ทางวัฒนธรรมอำเภอรับผิดชอบดูแล โดยทางเทศบาลตำบลปากพะยูนเป็นผู้ดำเนินการเป็นหลัก เน้นมอบนโยบายผ่านผู้นำชุมชนทุกชมชนในอำเภอปากพะยูน แต่ไม่มีการจัดทำแผนการรณรงค์ทางการสื่อสาร เพราะถือเป็นงานประเพณีประจำปี 2) การดำเนินการจัดการการสื่อสาร มีการเลือกใช้สื่อที่มีการเข้าถึงได้ง่าย ใช้วิธีการสื่อสารแบบโน้มน้าวใจโดยการพูดเชิญชวน ลงพื้นที่ไปพูดคุย มีการทำกิจกรรมการรณรงค์ทางสื่อสาร โดยส่วนใหญ่จะใช้การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น มีสื่อมวลชนที่เข้ามามีส่วนช่วยเหลือ คือนักข่าวท้องถิ่นและวิทยุท้องถิ่น มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักในการรณรงค์ทางสื่อสาร โดยมีการติดตามประเมินผลด้วยวิธีการประชุมสรุปผลมากที่สุด 3) ปัญหาที่พบคือ การไม่ยอมรับสื่อช่องทางใหม่ ๆ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐค่อนข้างน้อย เวลาในการดำเนินกิจกรรมค่อนข้างน้อย ไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่อง การจัดการการสื่อสาร มีอุปสรรค คือ การขาดความรู้เรื่องสื่อสารและไม่มีแผนดำเนินการ โดยข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ คือ จัดให้มีการประเมินผลการจัดงานทุกปี สร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ และการสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม</p> สมพงค์ ก่งเซ่ง, ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/278874 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการความรู้ขององค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/280506 <p>งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการจัดการความรู้ และระดับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อศึกษาระดับการส่งผลของการจัดการความรู้ขององค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 381 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามทมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการความรู้ขององค์กรในภาพรวม มากที่สุด ได้แก่ ด้านการบ่งชี้ความรู้ รองลงไป ได้แก่ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการเรียนรู้ ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และด้านการเข้าถึงความรู้ ตามลำดับ และ ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวม มากที่สุดได้แก่ เวลาของการปฏิบัติงาน รองลงไป ได้แก่ ต้นทุนของการดำเนินงาน วิธีการและกระบวนการดำเนินงาน คุณภาพของการปฏิบัติงาน และปริมาณงาน ตามลำดับ และ 2) การจัดการความรู้ขององค์กร จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบ่งชี้ความรู้ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ และด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดศรีสะเกษอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจพหุคูณเท่ากับ 0.764 หรือร้อยละ</p> พัฒน์นารี ทองนรินทร์, อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์, ศุภางค์ นันตา Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/280506 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาลาวเพื่อการสื่อสาร สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279910 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาลาวเพื่อการสื่อสาร สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 6 ห้อง รวมทั้งสิ้น 390 คน (2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาลาวเพื่อการสื่อสาร สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้หลักสูตรปรับปรุง 2566 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นกลุ่มตัวอย่าง นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาลาวเพื่อการสื่อสาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 6 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 390 คน โดยอาศัยวิธีการเลือกแบบเจาะจงโดยวิธีการวิจัยแบบ One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) บทเรียนรายวิชาภาษาลาวเพื่อการสื่อสาร จํานวน 6 หน่วยการเรียนรู้ ในระยะเวลา12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนและการอ่าน (RUBIC SCORE) โดยการให้คะแนนคุณภาพงานในรูปแบบของในรูปของตัวเลข โดยกำหนดค่าคะแนน 4 คือคะแนนสูงสุด</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาลาวเพื่อการสื่อสาร สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 6 ห้อง รวมทั้งสิ้น 390 คน พบว่า ได้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มีประสิทธิภาพเท่ากับ80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาลาวเพื่อการสื่อสาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 6 ห้องเรียน โดยใช้บทเรียนจํานวน 6 หน่วยการเรียนรู้ ในระยะเวลา12 ชั่วโมง พัฒนาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> เฉลิมศักดิ์ บุตรพวง Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279910 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279927 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 3) แนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 374 คน โดยใช้สูตรคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง สูตรของยามาเน่ ในการเก็บข้อมูลจะใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA) </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.36, S.D.= 0.57) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมประเมินผล ( =4.57, S.D.=0.56) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ( = 4.47, S.D.= 0.61) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( = 4.12, S.D.= 0.73)</li> <li>ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วม ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา ต่างกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล น้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานีไม่แตกต่างกัน และประชาชนที่มีอายุ อาชีพ ต่างกัน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> <li>แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย การจัดทำแผน และโครงการให้ตรงกับความต้องการของประชาชนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำประชาคมพร้อมกันทุกหมู่บ้าน และในการดำเนินโครงการต่างๆ ควรชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบ ทั้งด้านงบประมาณ และความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการฯ </li> </ol> สมควร จันทร์เทศ, โกศล สอดส่อง, ดนัย ลามคำ, ชิตพล วิไลงาม Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/279927 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276112 <p>การวิจัย เรื่องรูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์</p> <p>จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคของการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์2)เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์3)เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ โดยมีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์ และสามารถทำให้วิสาหกิจชุมชนดำรงอยู่ต่อไปได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<strong> </strong></p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป สำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา มีสถานภาพเป็นสมาชิกของกลุ่ม มีระยะเวลาการดำเนินการกลุ่ม ระหว่าง 1-5 ปี สมาชิกแต่ละกลุ่มมีจำนวน 31 คนขึ้นไป รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มส่วนใหญ่ ต่ำกว่า 20,000 บาท และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มต่ำกว่า 10,000 บาท การบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ ด้านการผลิต วัตถุดิบส่วนใหญ่ผลิตเองและรับซื้อจากสมาชิกในกลุ่มและคนในชุมชน มีค่าแรงงานที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปจ่ายให้กับสมาชิกในกลุ่มและภายนอกกลุ่ม มีค่าใช้จ่ายในการผลิตส่วนใหญ่เป็นค่าสาธารณูปโภค และการบริหารจัดการกลุ่มยังเป็นแบบหลวมๆยังไม่เป็นระบบ มีเพียงบางกลุ่มที่จัดทำบัญชี แต่ยังทำไม่ต่อเนื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์นั้น กลุ่มควรเน้นเรื่องโครงสร้างการบริหารงานที่เป็นระบบ มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อทราบผลประกอบการที่แท้จริง มีเครือข่ายการผลิต การแปรรูป และการตลาด พัฒนาทักษะบุคลากรทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการขาย มีการนำเทคโนโลยีที่จำเป็นมาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ อันนำไปสู่การลดรายจ่ายและสร้างรายได้เพิ่ม</p> ภัทราพร สระศรี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276112 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดมุกดาหาร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276889 <p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมุกดาหาร และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดมุกดาหาร โดยงานวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 21 คน และครู 125 คน รวม 146 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ เท่ากับ 0.94 และ 0.96 ตามลำดับ ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิง กลยุทธ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 2) ยกร่างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิง กลยุทธ์ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือคือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.51 ; S.D. = 0.43) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77 ; S.D. = 0.17) และมีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็นอยู่ระหว่าง 0.32 – 0.39 โดยเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การพัฒนาบุคลากร และการกำหนดวิสัยทัศน์</p> <p> 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา มีจำนวน 17 แนวทาง ได้แก่ 1) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 5 แนวทาง 2) การพัฒนาบุคลากร 4 แนวทาง 3) การกำหนดวิสัยทัศน์ 4 แนวทาง และ 4) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4 แนวทาง มีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ภัทธิญาภา พินิจมนตรี, ชยากานต์ เรืองสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276889 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/278626 <p>การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่มีต่อภาวะผู้นำยุคดิจิทัลผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ 2) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 252 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามรวบรวมความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สถิติสัมประสิทธิ์คราเมอร์ส วี ค่า Tolerance ค่า VIF และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ร่วมกับการวิเคราะห์เอกสาร บทความ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> <p> ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็น ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด <br />( = 4.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านปริมาณงาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.45) รองลงมาคือ ด้านคุณภาพงาน ( = 4.44) ด้านค่าใช้จ่าย ( = 4.44) และด้านเวลา ( = 4.41) ตามลำดับ และอิทธิพลของภาวะภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ โดยบุคลากรที่มีระดับการศึกษาและทักษะที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านทัศนคติทางวิชาการและทัศนคติส่วนบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วยความรับผิดชอบ การชอบการเรียนรู้ การพัฒนาตนเอง การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบเหล่านี้มีผลที่แตกต่างกันออกไปในด้านการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการคิดเป็นร้อยละ 21.2 โดยมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ ± .364 ชี้ให้เห็นว่าภาวะผู้นำยุคดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานในสถานศึกษาในยุคดิจิทัล</p> บุญเรือง เกตศรี, วิจิตรา ศรีสอน Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/278626 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา โมเดล ในเขตอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/277912 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา ในเขตอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี และ (2) แนวทางการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา ในเขตอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล ประจำปี พ.ศ. 2564 ของกรมการพัฒนาชุมชน จากผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 23 ครัวเรือน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง การสำรวจและสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สรุปผล และอภิปรายผลตามทฤษฎีและปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้คำตอบการวิจัยตรงตามวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการศึกษา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเกิดขึ้นจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกปัจจัยภายในประกอบด้วย 1) ความชื่นชอบทำการเกษตรของผู้เข้าร่วม 2) ความต้องการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน 3) ความพยายามในการทดลองสิ่งใหม่ 4) ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ 5) ความเชื่อมั่นที่มีต่อเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย 1) สื่อประชาสัมพันธ์จากแหล่งต่างๆ 2) คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน 3) คนรู้จักเป็นผู้แนะนำให้เข้าร่วมโครงการ 4) เป็นโครงการของรัฐบาลที่มีความน่าเชื่อถือ ด้านพัฒนาการเข้าร่วมโครงการ 1) ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนจะต้องเข้ามาทำหนังสือยินยอมการใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินของตน 2) การฝึกอบรมทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล 3) ขุดปรับพื้นที่ต้นแบบตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล 4) การพัฒนาพื้นที่ตามต้นแบบตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล โดยใช้หลักสำคัญในการพัฒนา 4 ประการ ดังนี้ 1) การดำเนินกิจกรรมตามแนวทางที่โครงการกำหนด 2) การพัฒนาจะประสบผลสำเร็จเกิดขึ้นจากตัวของผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติด้วยตนเอง 3) การรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ 4) การศึกษาจากผู้เข้าร่วมโครงการที่ประสบความสำเร็จและนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตน แนวทางการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล ถูกออกแบบโดย ตัวผู้เข้าร่วมโครงการ ตามความมุ่งหวังที่จะพัฒนาพื้นที่ต้นแบบของตนเอง โดยอาศัยหลักคิดตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล เป็นตัวกำกับทิศทางในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งมีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามแนวทาง โคก หนอง นา โมเดล ไปสู่เป้าหมายตามที่โครงการกำหนด</p> เบญจมาภรณ์ สัมฤทธิ์, รัตนะ ปัญญาภา Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/277912 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276970 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง<br />เครจซี่และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 14 คน และครู 317 คน รวม 331 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 สภาพปัจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคต ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวทาง กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 ประเมินแนวทาง กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ( = 3.32) สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา มีค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น 0.42 – 0.48 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา พบ 15 แนวทาง ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง 5 แนวทาง การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล 4 แนวทาง การบริหารเชิงกลยุทธ์ 3 แนวทาง และการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร 3 แนวทาง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้นำในอนาคตของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.85) และ( =4.82) ตามลำดับ</p> คณพศ ยศพล, ชยากานต์ เรืองสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276970 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 โค้ดดิ้งสำหรับเด็กปฐมวัย : ผลการจัดการเรียนรู้ผ่านเกมการศึกษาที่มีต่อ การคิดเชิงคำนวณ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276122 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้การคิดเชิงคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย และ 2) ศึกษาผลการประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณของเด็กปฐมวัย โดยการศึกษาและวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและแนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นและการทำกิจกรรมจัดประสบการณ์เกมการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนวัดโพธิ์ศรี อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ฯ จำนวน 5 แผนและแบบประเมินการคิดเชิงคำนวณสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผนฯ ได้แก่ จับคู่ภาพยานพาหนะกับบัตรคำ จับคู่บัตรคำศัพท์ทางบก น้ำ อากาศ กับยานพาหนะ จับคู่ภาพยานพาหนะกับเส้นทางการเดินทาง เติมแบบรูปยานพาหนะที่หายไปและภาพตัดต่อการเดินทาง มีคุณภาพดี สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ และ 2) ทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน พบว่า หลังการทดลองแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีคะแนนอยู่ที่ 4 5 และ 6 คะแนน ตามลำดับ มีคะแนนร้อยละ 86.67 - 96.67 ซึ่งนักเรียนทั้งหมด 15 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70 ในทักษะปฏิบัติ</p> ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์, อนงค์นารถ ยิ้มช้าง, วัฒนาพร วัฒนชัยธรรม, ณัฐธันยา อินตาโสภี Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/276122 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700