https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/issue/feed วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น 2024-04-13T19:24:37+07:00 Asst. Prof. Dr.Wanchai Suktam [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น</strong><br /><strong>Journal of Local Governance and Innovation</strong><br /><strong>ISSN 3027-8120 (Print) </strong><br /><strong>ISSN 2673-0405 (Online) </strong></p> <p>วารสารมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารการจัดการ สหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การศึกษาและบูรณาการศาสตร์เพื่อการพัฒนา</p> <p><strong>วารสารกำหนดเผยแพร่วารสาร </strong>ฉบับปกติ (Regular Issues) ปีละ 3 ฉบับ ดังนี้<br />ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) / (January – April) <br />ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) / (May – August) <br />ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม) / (September – December)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ</strong> แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บทความวิจัย และบทความวิชาการ <br />รับตีพิมพ์บทความ ทั้ง บทความภาษาไทย และบทความภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>เงื่อนไขการตีพิมพ์บทความ</strong><br />บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Reviewer) จากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสามท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละหนึ่งท่าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อยสองท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลากหลายสถาบัน และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ <strong>สำหรับทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</strong></p> <p><strong>ทั้งนี้</strong> วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เฉพาะแบบปกติ และไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์แบบเร่งด่วน (Fast Track) ดังนี้<br />- บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ภาษาไทย 3,000 บาท/ บทความ<br />- บทความวิจัย/ บทความวิชาการ ภาษาอังกฤษ 4,500 บาท/ บทความ</p> <p><strong>คำชี้แจงขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น</strong><br /><strong>1. ขอให้ผู้นิพนธ์ส่งไฟล์เอกสารผ่านระบบ ThaiJo ประกอบด้วย</strong><br /> 1.1 บทความวิจัย/บทความวิชาการ ในรูปแบบไฟล์ Word จำนวน 1 ไฟล์<br /> 1.2 แบบฟอร์มส่งบทความ จำนวน 1 ไฟล์<br /> กรุณาดูคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (<a href="https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/author_instruction">Click</a>)<br /><strong>2. เมื่อไฟล์เอกสารครบถ้วนแล้ว ทางกองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น </strong>ตามข้อกำหนดของวารสาร หากผ่านการพิจารณาบทความเบื้องต้น ทางวารสารจะแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารก่อนการตรวจประเมินคุณภาพบทความ <br /><strong>3. ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสาร </strong>กำหนดให้โอนชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารผ่านทางบัญชีธนาคาร โดยผู้นิพนธ์จะได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่วารสารเท่านั้น <strong>ทั้งนี้</strong> เมื่อชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว กรุณาจัดส่งหลักฐานการชำระเงินที่อีเมล [email protected] โดยระบุ 1) ชื่อ - สกุล ผู้นิพนธ์ 2) ชื่อบทความ 3) สลิปการโอน</p> <p><strong>หมายเหตุ:</strong> การชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์วารสารทุกรายการ เป็นค่าดำเนินการของวารสาร ซึ่งหากบทความของท่านไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ลงในวารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์ ทางวารสารจะไม่คืนเงินค่าตีพิมพ์วารสารดังกล่าว</p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/271612 แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดสุรินทร์ 2023-09-26T13:06:03+07:00 ณัฐพร พุทธขิณ [email protected] ชาตรี เกษโพนทอง [email protected] สิริพัฒถ์ ลาภจิตร [email protected] <p> การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลตานี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นของชุมชนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต 3) เสนอแนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ การวิจัยเป็นแบบผสมผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บแบบสัมภาษณ์เจ้าของแหล่งเรียนรู้ จำนวน 6 คน และสนทนากลุ่มกับเจ้าของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ผู้นำชุมชน ตัวแทนครู และตัวแทนชาวบ้าน รวมจำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับตัวแทนประชาชน จำนวน 379 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า 1) แหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลตานี มีเกษตรกรผู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้กับเกษตรทฤษฎีใหม่ มีการจัดการแหล่งเรียนรู้โดยจัดสรรพื้นที่ การจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่า การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การเพาะปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และจัดจำหน่ายผลผลิต กระทั่งเป็นต้นแบบสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนของตำบลตานี อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 5 แห่ง 2) ระดับความคิดเห็นของประชาชนในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.95) แสดงให้เห็นว่าคนในชุมชนเห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.99) 3) แนวทางการจัดการแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปใช้บูรณาการจัดการเรียนรู้พบว่า แนวทางการจัดการ คือ การบริหารทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ โดยพัฒนาศักยภาพประชาชน กลุ่มเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ พัฒนาหลักสูตร โครงการกิจกรรม คู่มือแหล่งเรียนรู้ แผ่นพับ เป็นต้น จากผลการประเมินสื่อ สามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนโดยการสอดแทรกเนื้อหาลงในสาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาและถอดบทเรียนจากความสำเร็จที่เกิดขึ้น</p> 2024-01-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273011 การออกแบบภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนภาพการล่านกชนหิน 2023-11-12T14:16:45+07:00 โอภาส แก้วต่าย [email protected] ธนกฤต สุรทรวุฒิศิลป์ [email protected] <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนภาพการล่า</p> <p>นกชนหิน เพื่อออกแบบและสร้างภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนการภาพล่านกชนหิน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ชมสื่อภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนภาพการล่านกชนหิน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่กลุ่มเครือข่ายสัมคมออนไลน์เฟสบุ๊ค ตนอนุรักษ์นกเงือกจำนวน 91 คน เลือกจากการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน มีเครื่องมือวิจัยคือ 1) ภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนภาพการล่านกชนหิน 2) แบบประเมินคุณภาพผลงานต่อภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนภาพการล่านกชนหินสำหรับผู้เชียวชาญ 3 ท่าน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนภาพการล่านกชนหินสำหรับกลุ่มตัวอย่าง ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยสนใจเฉพาะ ลักษณะทางกายภาพของนกชนหิน การเคลื่อนไหวของนก พฤติกรรมที่แสดงออก และศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับนกชนหิน วิเคราะห์การออกแบบภาพยนตร์สั้น 3 มิติ วิเคราะห์คะแนนการประเมิณคุณภาพ และวิเคราะห์ผลความพึงพอใจต่อภาพยนตร์สั้น 3 มิติ ด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p> ผลการวิจัย พบว่าภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนภาพการล่านกชนหิน มีคุณภาพอยู่ที่คะแนนเฉลี่ย 4.5 อยู่ในระดับดีมาก มีความพึงพอใจต่อภาพยนตร์สั้น 3 มิติ สะท้อนภาพการล่านกชนหิน อยู่ที่คะแนนเฉลี่ย 4.4 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด</p> 2024-02-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273445 การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตสำหรับคีย์บอร์ดของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2023-12-01T11:38:07+07:00 วรชิน มั่งคั่ง [email protected] ศราวุธ วิวรรณ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตสำหรับคีย์บอร์ดของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตสำหรับคีย์บอร์ด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 เอกคีย์บอร์ดจำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.ชุดฝึกทักษะจำนวน 3 ชุด 2. แบบทดสอบการอ่านโน้ตคีย์บอร์ด และ 3. แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่าชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตมีประสิทธิภาพเท่ากับ 73.33/88.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่70/70 ในด้านความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านโน้ตสำหรับคีย์บอร์ดอยู่ในระดับดีมาก ( X̅ =4.55) คิดเป็นร้อยละ 91.00</p> 2024-02-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273602 แนวทางและกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2023-12-06T14:17:51+07:00 ไพศาล นาคกราย [email protected] <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพเศรษฐกิจด้วยพลวัตของการเปลี่ยนแปลงบริบทพื้นที่จากอดีตปี 2509 ถึงปัจจุบัน (2) เศรษฐกิจชุมชนภายหลังส่งเสริมหมู่บ้านแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และ (4) แนวทางกลยุทธ์พัฒนาสภาพเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของตำบลบางสวรรค์ ใช้รูปแบบการวิจัยผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยว 400 คน และสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ SWOT Analysis และหาแนวทางกลยุทธ์ด้วย TOWS Matrix</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า (1) พลวัตของการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม และการเมืองการปกครอง จากอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้บริบทพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพอากาศที่แปรปรวน มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสภาพสิ่งแวดล้อม เมื่อมีเทคโนโลยีและระบบการสื่อสารทันสมัย วิถีชีวิตของผู้คนต้องพึ่งพาจากภายนอก ราคาผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ เกิดโรคระบาดโควิค 19 มีผลกระทบต่อรายได้และการประกอบอาชีพอื่น ๆ และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ (2) เศรษฐกิจชุมชนภายหลังส่งเสริมหมู่บ้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง รายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านสินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านหนี้สินในระบบ ด้านรายได้ ด้านหนี้สินนอกระบบ และด้านรายจ่าย (3) ปัญหาเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางรายได้และสิ่งแวดล้อม ซึ่งข้อเสนอแนะ คือ เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ส่งเสริมอาชีพและกระจายรายได้ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม โดยสรุปการพัฒนาเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชนควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (4) แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวชุมชนควรเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยว การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน</p> 2024-04-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273804 ปัจจัยที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนนารีนุกูล 2023-12-20T11:19:55+07:00 กัว ซู่ เฟิ่น [email protected] รัตนะ ปัญญาภา [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีน โดยวิเคราะห์ว่าแรงบันดาลใจใดมีผลต่อการเลือกเรียนภาษาจีนมากที่สุดและแนวทางการสร้างแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาจีนอย่างไร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เป็นการนำวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนารีนุกูล. แต่ละชั้นเรียนได้เรียนภาษาจีนมี จำนวน 1 ห้อง ได้แก่ นักเรียนที่เลือกเรียนภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 4 จำนวน 34 คน.มัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 22 คน มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน รวมจำนวนทั้งหมด 86 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนที่เรียนภาษาจีนเท่านั้น และเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์จำนวนทั้งหมด 38 คน จากนักเรียนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาจีน ในภาคเรียนที่ 1/2566 ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ68.6 ระดับการศึกษาผู้เรียนมากที่สุดเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 4 ส่วนใหญ่ไม่มีเชื้อสายจีน ร้อยละ83.7 มีเชื้อสายจีนของครอบครัว ร้อยละ 39.5 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเรียนภาษาจีน ได้แก่ (1) ด้านสถานศึกษา มากที่สุดคือครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการสอนภาษาจีน ค่าเฉลี่ย 4.26 (2) ด้านสังคม มากที่สุดคือภาษาจีนกำลังเป็นกระแสนิยมของสังคมปัจจุบัน ค่าเฉลี่ย 3.85 (3) ด้านครอบครัว มากที่สุดคือความคาดหวังจากครอบครัว ค่าเฉลี่ย 2.77 (4) แรงบันดาลใจภายใน มากที่สุดคือความภูมิใจในตนเองที่ได้พัฒนาและเรียนรู้ภาษา ใหม่ๆ ค่าเฉลี่ย 4.21</p> <p> แนวทางในการส่งเสริมแรงบันดาลใจทำให้รู้แนวทางในการส่งเสริมแรงบันดาลใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในการเลือกเรียนภาษาจีน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษาของนักเรียน และสามารถนำผลไปปรับปรุง วางแผนในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย</p> 2024-04-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273879 ส่วนประสมทางการตลาดและภาพลักษณ์สินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้ออาคารชุดที่พักอาศัยของลูกค้าในเขตจังหวัดสมุทรสาคร 2024-01-02T09:17:02+07:00 คธาวุฒิ สุขทอง [email protected] กฤตชน วงศ์รัตน์ [email protected] ประสิทธิ์พร เก่งทอง [email protected] <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ส่วนประสมทางการตลาด ภาพลักษณ์สินค้าและกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อ 2) ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อ และ 3) ภาพลักษณ์สินค้าที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้ออาคารชุดที่พักอาศัยของลูกค้าในจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าที่ซื้ออาคารชุดที่พักอาศัยในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 385 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.963 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) ส่วนประสมทางการตลาด ภาพลักษณ์สินค้าและกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลทางบวกต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 50.0 และ 3) ภาพลักษณ์สินค้ามีอิทธิพลทางบวกต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 36.7 ดังนั้นผู้ประกอบการโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยควรนำปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการสร้างภาพลักษณ์สินค้าไปเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ</p> 2024-04-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/277017 ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในศาลปกครองไทย 2024-04-13T19:24:37+07:00 เชาวณี ผิวจันทร์ [email protected] <p>การระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative dispute Resolution) ถือเป็นการยุติข้อพิพาทเชิงสมานฉันท์ที่ปัจจุบันนำมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทั้งคดีแพ่ง คดีอาญาและคดีปกครอง ซึ่งรูปแบบที่ศาลนำมาใช้คือการไกล่เกลี่ยโดยมีคนกลางมาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ข้อดีของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีหลายประการได้แก่ ทำให้คดียุติโดยเร็วโดยคู่กรณี ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายทำให้สัมพันธภาพระหว่างคู่กรณีเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย (win-win) ศาลปกครองนำวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกมาใช้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 ซึ่งกระบวนการไกล่เกลี่ยที่ศาลปกครองใช้ในการระงับข้อพิพาททางเลือกยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดหลายประการ เนื่องจากคดีปกครองเป็นคดีที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากคดีแพ่งและคดีอาญาในศาลยุติธรรม</p> <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครอง (2) ศึกษารูปแบบวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในต่างประเทศ (3) ศึกษารูปแบบวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในประเทศไทย (4) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองในประเทศไทย วิธีการศึกษาวิจัยเกิดจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารวิชาการและการสัมภาษณ์เชิงลึก<br>(In-depth Interview) คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลวิจัยแบบเจาะจง มีจำนวน 39 ราย ได้แก่ ตุลาการศาลปกครอง 24 ราย ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม จำนวน 1 ราย พนักงานอัยการ จำนวน 2 ราย พนักงานคดีปกครอง จำนวน 7 ราย อาจารย์มหาวิทยาลัยหรือนักวิชาการ จำนวน 4 ราย และนักกฎหมายหรือผู้ที่เคยเข้ารับการไกล่เกลี่ยในคดีปกครอง จำนวน 1 ราย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้ทำให้ทราบว่า การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง เป็นกระบวนการที่ช่วยให้การบริหารจัดการคดีของศาลปกครองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสและส่งเสริมให้คู่กรณี<br>มีทางเลือกในการระงับข้อพิพาททางปกครอง โดยอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 และระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด<br>ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง พ.ศ. 2562 แต่กฎหมายทั้งสองฉบับข้างต้นยังมีเงื่อนไขและข้อจำกัดบางประการที่ทำให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่อาจบรรลุผลสำเร็จลงได้ในทุกคดี จากการศึกษาพบว่ามีประเด็นปัญหาและข้อจำกัด ได้แก่ (1) ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และประเภทคดี<br>ที่ไกล่เกลี่ยในศาลปกครอง (2) ปัญหาด้านกระบวนการและขั้นตอนวิธีการไกล่เกลี่ยในศาลปกครอง และ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;(3) ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดีที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวการทางพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีปกครองโดยการเสนอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง<br>เพื่อช่วยให้การระงับข้อพิพาททางปกครองโดยวิธีการไกล่เกลี่ยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง อีกทั้งทำให้ศาลปกครองบรรลุเป้าหมายในการบริหารจัดการคดีปกครองต่อไป</p> 2024-04-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273770 การปรับปรุงพนักงานแผนกเอกสารขาเข้า กรณีศึกษา บริษัทธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เขตสาธร 2023-12-25T12:01:39+07:00 ณัชภัค พุฒิวร [email protected] กันต์สินี นุชเพนียด [email protected] <p> การศึกษาวิจัยเพื่อศึกษากระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าขาเข้า เมื่อพบปัญหาในการดำเนินงาน จึงใช้ทฤษฎี เข้าไปแก้ปัญหา โดยใช้แผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram) ในการค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้น จากนั้นนำทฤษฎี SWOT (SWOT Analysis)เข้าไปวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน ของขั้นตอนการดำเนินการของแผนกเอกสารขาเข้า วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายในเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผลของงานในแต่ละขั้นตอนมาทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องหรือแนวคิดไคเซ็น โดยใช้หลักการ ECRS มาเป็นแนวความคิดในการค้นหาแนวทางการปรับปรุงการกระบวนการทำงาน โดยจากการศึกษาพบว่า</p> <ol> <li>การลดกระบวนการทำงานด้านเอกสารขาเข้า จากที่ต้องส่งเอกสารช้าหรือซ้ำที่นำมาที่คีย์เอกสารลงในระบบผิดพลาดต้องมีการตรวจสอบเอกสารก่อนทำการคีย์ลงระบบ และมีการตรวจเช็คก่อนว่าชุดเอกสารที่จัดทำถูกชุดหรือไม่ มีความถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เมื่อทำแล้วจึงพบว่าลดความซับซ้อนในการหาเอกสาร กระบวนการทำงานรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ไม่เกิดปัญหาในเรื่องของการแก้ไขเอกสาร เรื่องการใช้เวลามากเกินไป กล่าวคือมุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ </li> <li>มีการหยิบเอกสารอ้างอิงได้ถูกชุด /ไม่เกิดปัญหาเอกสารสลับชุด และมีการจัดชุดเอกสารใบสั่งปล่อยสินค้า ได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน มีความพร้อมในการปล่อยงานให้ลูกค้า มีการจัดระบบในการเรียงชุดเอกสารงาน เพื่อให้ง่ายต่อการสั่งปล่อย มีการแจ้งกำหนดช่วงเวลารับเอกสารอย่างชัดเจน เพื่อลดปัญหาการมารับเอกสารในเวลาพร้อม ๆ กัน</li> <li>มีการแจ้งลูกค้าว่าต้องทำการชำระค่ามัดจำตู้ด้วยเงินสดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการรวมเช็คมัดจำตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือ ค่าเคลียร์สินค้าในประเทศ(Local charge) ในเอกสารชุดเดียวกันช่วยลูกค้าและเป็นการลดความผิดพลาดจากการทำงานได้มากว่า ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น ไม่เกิดความผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร และ การทำงานมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น</li> </ol> 2024-04-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/272849 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 2023-11-12T14:31:44+07:00 ธีรภัทร์ วงค์คำนา [email protected] อัจฉรียา ศักดิ์นรงค์ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน แรงจูงใจ และองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ คนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพนนณนา คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการหาค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ 29-38 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ 30,001-45,000 บาท อาชีพพนักงานเอกชน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยแตกต่างกัน ผลการวิจัยปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน พบว่า ด้านเวลา และด้านการมีส่วนร่วม มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 25.2 ผลการวิจัยปัจจัยด้านแรงจูงใจ พบว่า ด้านแรงจูงใจภายใน และด้านแรงจูงใจภายนอก มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 11.7 ผลการวิจัยปัจจัยด้านองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A’s พบว่า ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านกิจกรรม ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านที่พัก มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานแบบเที่ยวไปด้วยทำงานไปด้วยของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 32.2</p> 2024-04-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273765 กระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร 2023-12-16T14:00:03+07:00 บัณฑิต วงค์มั่น [email protected] รัตนะ ปัญญาภา [email protected] <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการกลายเป็นสินค้าของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร และ2) เสนอแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์จากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดสนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน ประกอบด้วย พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน ส่วนราชการระดับท้องถิ่นอำเภอและจังหวัด ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2566 แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ศึกษาครั้งนี้ได้แก่แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น, การบูชาด้วยข้าว, สินค้าวัฒนธรรมและอำนาจละมุน และทฤษฎีกระบวนการกลายเป็นสินค้า</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก เกิดขึ้นจากเงื่อนไขประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และความทันสมัย จนกระทั่งถูกอธิบายช่วงชิงความหมายและทำให้เป็นสินค้าซึ่งแบ่งได้ 3 ยุคดังนี้ยุคที่ 1 สร้างบ้านแปงเมือง (ก่อนปี พ.ศ.2500) ยุคประเพณีชาวบ้านเกิดจากความเชื่อความศรัทธาเรื่องดอกมณฑารพ ซึ่งได้เริ่มมีฐานะเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าต่อจิตใจและเกี่ยวข้องกับฮีต 12 วิถีเกษตรกรรม มีพระสงฆ์และชาวบ้านเป็นแกนหลักใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวในการทำขนาดมาลัยไม่เกิน 1 เมตร ต่อมาในยุคที่ 2 ประเพณีท้องถิ่น (พ.ศ.2540 – 2555) เริ่มมีหน่วยงานของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เทศบาลตำบลฟ้าหยาด, อำเภอมหาชนะชัย,การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เพิ่มกิจกรรมภายในงาน เช่นขยายระยะเวลาการจัดงานเป็น 3 – 5 วัน ,คอนเสิร์ต,การประกวดมาลัยข้าวตอกชิงถ้วยพระราชทาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดการว่าจ้างรับเหมาทำมาลัยข้าวตอกขึ้น และต่อมาในยุคที่ 3 ยุคกลายเป็นสินค้า (พ.ศ. 2556 – 2566) ยุคประเพณีท่องเที่ยว ที่เกิดจากนโยบาย 5 F มาลัยข้าวตอกได้มีขนาดใหญ่อลังการ มีการรำบวงสรวง พิธีเปิดงาน รูปแบบของการจัดงานจะอยู่ภายใต้ระเบียบของรัฐ และนโยบายการส่งเสริมให้วัฒนธรรมเป็นสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็น soft power ส่วนแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก สามารถกำหนดในเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์คือควรนำมาลัยข้าวตอกไว้ในคำขวัญจังหวัดยโสธร เพื่อต่อยอดนโยบาย “เกษตรอินทรีย์วิถีอีสาน” ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบกลุ่มจังหวัด และท่องเที่ยวชุมชน ในเชิงปฏิบัติควรประเมินผลการจัดงานเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ วิธีการจัดงาน บุคลากร งบประมาณ และการมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยว และ soft power ต่อไป</p> 2024-04-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273353 การศึกษาศักยภาพของสถานประกอบการด้านการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพเพื่อเป็นเครือข่ายกับวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก 2023-12-01T11:42:41+07:00 มัณฑนา คำอ้าย [email protected] ปราณี คำแก้ว [email protected] ชฎาพร แซ่ม้า [email protected] ปิณิดา ถนอมศักดิ์ [email protected] รุสนี มามะ [email protected] <p> บทความวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาศักยภาพของสถานประกอบการด้านการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของสถานประกอบการด้านการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพ และ 2) หาแนวทางการสร้างเครือข่ายระหว่างสถานประกอบการด้านวัตถุดิบสมุนไพรกับวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่ 6 จังหวัด ในภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ ประธานหรือตัวแทนสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านวัตถุดิบสมุนไพร จำนวน 8 คน และหัวหน้าหรือตัวแทนสมาชิกกลุ่มเกษตรกรด้านวัตถุดิบสมุนไพร จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพของสถานประกอบการด้านการผลิตวัตถุดิบสมุนไพร มีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความพร้อมของสถานที่และวัตถุดิบสมุนไพร (2) ด้านความพร้อมของบุคลากรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรด้านวัตถุดิบสมุนไพร และ (3) ด้านองค์ความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนหรือพัฒนาร่วมกันระหว่างกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรด้านวัตถุดิบสมุนไพรกับวิทยาลัยการแพทย์ฯ และ 2) แนวทางการสร้างเครือข่ายวัตถุดิบสมุนไพรกับสถานประกอบการด้านวัตถุดิบสมุนไพร มีจำนวน 4 แนวทาง ได้แก่ (1) เป็นแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งเรียนรู้ของนักศึกษาและบุคลากร (2) เป็นแหล่งป้อนบุคลากรเข้าอบรมหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (3) เป็นแหล่งป้อนผู้เรียนเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพของวิทยาลัยการแพทย์ฯ และ (4) เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา</p> 2024-04-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273561 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2023-12-25T12:09:06+07:00 รำไพพรรณ สุริยฉาย [email protected] รัตนะ ปัญญาภา [email protected] ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติ และการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนกับหลังเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติ และการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติ และการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติ และการจัดการภัยพิบัติ สาระภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสว่างหนองเสือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 21 คน ได้มาโดยสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าการทดสอบค่า T แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่า</p> <ol> <li>1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน เรื่อง ภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.62/83.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้</li> <li>2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานผลความสามารถการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน มีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D = 0.13 )</li> </ol> 2024-04-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/272522 การผลิตผักอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเกษตรกรในเขตนครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2023-12-06T13:46:55+07:00 วงค์สวรรค์ วงศ์ไกสอน [email protected] กอบลาภ อารีศรีสม [email protected] พิณนภา หมวกยอด [email protected] วีณา นิลวงศ์ [email protected] เรืองชัย จูวัฒนสำราญ [email protected] ภาวิณี อารีศรีสม [email protected] <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม 2) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกร 3) การยอมรับการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกร และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกร กาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ในพื้นที่นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 175 ราย ด้วยการจับสลากหมายเลขรายชื่อเกษตรกร การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย 15 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.9 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 36.6 มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 37.7 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอื่นนอกจากการปลูกผักอินทรีย์ ร้อยละ 66.9 เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกผักอินทรีย์ มาแล้ว 6-10 ปี ร้อยละ 40.6 ก่อนทำการปลูกผักอินทรีย์เกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกผักมาก่อน ร้อยละ 56.6 เกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์ ร้อยละ 99.4 ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของพื้นที่ในการเพาะปลูกผักอินทรีย์ ร้อยละ 89.7 มีรายได้เฉลี่ยตั้งแต่ 72,867,485 - 97,156,000 กีบ/ปี ร้อยละ 29.1 โดยเป็นรายได้จากการปลูกผักอินทรีย์ มากกว่า 19,431,685 กีบขึ้นไป/ปี ร้อยละ 76.0 ใช้ทุนของตนเองในการปลูกผักอินทรีย์ ร้อยละ 84.0 และมีภาระหนี้สินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 24,289,000 กีบ/ปี ร้อยละ 65.1 เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตผักอินทรีย์ในระดับดี ส่งผลให้เกษตรกรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพในระบบการผลิต เน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ ในการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และเน้นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในพื้นที่ มากกว่าการนำเข้ามาจากภายนอกพื้นที่ เกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ส่วนใหญ่มีการยอมรับในการปฏิบัติด้านการผลิตผักอินทรีย์ ร้อยละ 100 ส่วนปัญหา และอุปสรรค ของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตผักอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถแบ่งได้ 6 ประเด็น ได้แก่ ระบบการควบคุมในด้านเทคนิคการผลิต ระบบควบคุมด้านคุณภาพและมาตรฐาน การตลาด ระบบบัญชีและการเงิน สินเชื่อ และการคุ้มครองและบริหารองค์กร</p> 2024-04-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/273143 คุณสมบัติของนักบัญชีภาษีอากรที่พึงประสงค์ของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2023-11-12T15:05:33+07:00 วนิดา ณ ลำพูน [email protected] มิรัญตรี คำมา [email protected] พีระยุทธ ศิลาพรหม [email protected] สุวิทยชาญ แก้วสุวรรณ [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณสมบัตินักบัญชีภาษีอากรที่พึงประสงค์ของสำนักงานบัญชี ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัตินักบัญชีภาษีอากรที่พึงประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ให้สอดคล้องกับความต้องการผู้ประกอบการบัญชี ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี กลุ่มประชากร คือ เจ้าของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี จำนวน 41 แห่ง ตามรายชื่อสำนักงานบัญชีจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณสมบัตินักบัญชีภาษีอากรที่พึ่งประสงค์ ของสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีพบว่าผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีมีความต้องการนักบัญชีภาษีอากรที่มีคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ โดยรวมและทุกด้านในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ด้านภาษีอากร ด้านคุณลักษณะของนักบัญชีในการปฏิบัติงาน ด้านวิชาชีพบัญชี และในระดับมากด้านคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัตินักบัญชีภาษีอากรที่พึงประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ให้สอดคล้องกับความต้องการผู้ประกอบการบัญชี ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานีพบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญในด้านภาษีอากรในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาหลักสูตรในรายวิชาภาษีอากรภาคปฏิบัติ</p> 2024-04-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/271023 การจำแนกกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี : ทฤษฎีสู่ระเบียบวิธีวิจัย 2023-08-17T14:11:53+07:00 สัญญา เคณาภูมิ [email protected] ธันยชนก ปะวะละ [email protected] <p> กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีมีความสำคัญเพราะให้โครงสร้างสำหรับโครงการวิจัย ช่วยเน้นคำถามวิจัย และเพิ่มโอกาสในการผลิตผลการวิจัยที่มีความหมายที่แก้ไขปัญหางานวิจัย กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีนำการทำงานร่วมกันกับโครงการวิจัยโดยการเชื่อมโยงคำถามการวิจัยและให้เหตุผลสำหรับการพัฒนาของคำถามการวิจัยหรือสมมติฐาน นอกจากนี้ยังช่วยนักวิจัยประเมินว่าโครงการหรือการศึกษาอาจก้าวหน้าไปสู่ความยั่งยืนและจัดแนวการแทรกแซง กลยุทธ์ และงานวิจัยที่มีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงระบบเมือง ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องแล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหาจากนั้นนำเสนอเชิงพรรณนาความตามวัตถประสงค์การศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี ได้แก่ (1) กรอบแนวคิดแบบทฤษฎีผนวก (2) กรอบแนวคิดแบบแยกตัวแปร (3) กรอบแนวคิดแบบแนวคิดหลัก (4) กรอบแนวคิดแบบแบ่งประเภท (5) กรอบแนวคิดแบบเชิงอุตสาหกรรม (6) กรอบแนวคิดแบบเชิงคุณลักษณะ (7) กรอบแนวคิดแบบสถานการณ์ (8) กรอบแนวคิดแบบนำเสนอ (9) กรอบแนวคิดแบบโมเดล (10) กรอบแนวคิดแบบสายการวิจัย และ (11) กรอบแนวคิดแบบพฤติกรรม</p> 2024-04-14T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/272521 ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการน้ำระดับไร่นาเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืนในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2023-12-06T13:48:17+07:00 ศรัทธาเทพ ธรรมจักร [email protected] กอบลาภ อารีศรีสม [email protected] วีณา นิลวงศ์ [email protected] รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ [email protected] นรินทร์ ท้าวแก่นจันทร์ [email protected] ภาวิณี อารีศรีสม [email protected] <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมของเกษตรกร และ ระดับความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการจัดการน้ำระดับไร่นา 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการจัดการน้ำระดับไร่นา และ 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการจัดการน้ำระดับไร่นาเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานบ้านเวินต้นแหน เมืองไซบุรี แขวงสะหวันนะเขต จำนวน 282 ราย ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการน้ำระดับไร่นา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่อาศัยอยู่หมู่บ้านต้นแหน ร้อยละ 44.3 เป็นเกษตรกรผู้ใช้น้ำกลุ่มขาวพอน ร้อยละ 14.5 ส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 71.3 มีอายุเฉลี่ย 49.94 ปี มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 42.6 สถานภาพสมรส ร้อยละ 82.3 รายได้เฉลี่ย 543,000 กีบ/ต่อเดือน มี พื้นที่ทำการเกษตรมากกว่า 5,001 ตารางเมตร ร้อยละ 57.4 ส่วนใหญ่เกษตรกรไม่มีพื้นที่ถือครองที่ดิน เนื่องจากที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์สืบทอดมรดก ร้อยละ 71.6 เป็นสมาชิกสมาคมผู้ใช้น้ำมาเป็นระยะเวลานาน 31-40 ปี ร้อยละ 45.7 และมีพื้นที่รับน้ำส่วนใหญ่อยู่กลางคลองน้ำชลประทาน ร้อยละ 53.2 ในด้านระดับความรู้ความเข้าใจในการจัดการน้ำระดับไร่นาของเกษตรกร พบว่ามีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.77 เนื่องจากเกษตรกรผู้ใช้น้ำยังขาดรูปแบบวิชาการในด้านการจัดการน้ำระดับไร่นา ไม่ได้รับการฝึกอบรมทางวิชาการอย่างทั่วถึง ไม่ค่อยมีการศึกษาดูงานนอกพื้นที่จึงทำให้ระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำระดับไร่นาไม่ดีเท่าที่ควร เกษตรกรผู้ใช้น้ำมีแนวทางการปฏิบัติการจัดการน้ำระดับไร่นาตามความเคยชิน ซึ่งอาจดำเนินการปฏิบัติมาแบบรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ส่งผลต่อระดับความรู้ในปัจจุบัน เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการน้ำระดับไร่นา พบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ รายได้ ความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในการจัดการน้ำระดับไร่นาของการปลูกข้าว และ รูปแบบการจัดการน้ำระดับไร่นาของเกษตรกร ในด้านปัญหาและอุปสรรคพบว่าเกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ และการจัดการน้ำระดับไร่นามากที่สุด โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่าเจ้าหน้าที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการน้ำระดับไร่นา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบ และการประเมินผล ควรมีการสร้างกฎระเบียบระหว่างเจ้าหน้าที่และกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตาม เนื่องจากเป็นกฎระเบียบที่ร่วมกันคิด ในด้านการจัดการน้ำ เกษตรกรภายในกลุ่มควรมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรม โดยมีผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำเข้ามามีส่วนร่วมหลักในการประชุม ควรมีความชัดเจนในการชี้แจ้งประเด็นต่าง ๆ รวมถึงรับฟังปัญหาของเกษตรกรผู้ใช้น้ำ</p> 2024-04-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/272532 การประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศสำหรับงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช 2024-01-03T11:11:43+07:00 ศุภพงษ์ ลิมปนะรังสฤษฎ์ [email protected] กอบลาภ อารีศรีสม [email protected] รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ [email protected] พิณนภา หมวดยอด [email protected] วิกานดา ใหม่เฟย [email protected] ภาวิณี อารีศรีสม [email protected] <p> งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม 2) ผลการดำเนินงานการบริหารจัดการของทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช 3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศต่อการบริหารจัดการของงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช และ 4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้งานในระบบ SAP training course และปัจจุบันยังคงใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สำหรับการบำรุงรักษา จำนวน 23 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า</p> <p> 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 87 มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ร้อยละ 78.3 ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 73.9 ตำแหน่งการรับผิดชอบงานเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานคร ร้อยละ 56.5 และ มีตำแหน่งการรับผิดชอบงานเจ้าหน้าที่บำรุงรักษาทางพิเศษฉลองรัฐ ร้อยละ 30.4 มีระยะเวลาในการทำงานโดยเฉลี่ย 5-10 ปี ร้อยละ 56.6 รายได้เฉลี่ย 25,001 – 35,000 บาท ร้อยละ 39.1 ความถี่ในการใช้ระบบสารสนเทศในการทำงานมีการใช้งานทุกวัน ร้อยละ 87 เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 60.9</p> <p> 2) ความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการในปัจจุบันของกองบำรุงรักษาทางของงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช พบว่าผลรวมทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.49 (S.D. = 0.591) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นด้วยมากที่สุดอยู่ในด้านงานป้ายแนะนำจราจร ค่าเฉลี่ย 4.55 รองลงมา ได้แก่ ด้านการซ่อมบำรุงและค่าใช้จ่ายของผิวจราจร ค่าเฉลี่ย 4.50 และด้านงานกำแพงกั้นเสียง ค่าเฉลี่ย 4.43</p> <p> 3) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศต่อการบริหารจัดการของงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช ผลรวมทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.56 (S.D. = 0.520) </p> <p> 4) การศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศต่อการบริหารจัดการของงานบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาหลักเกี่ยวกับด้านการซ่อมบำรุงและค่าใช้จ่ายของผิวจราจร เนื่องจากมีการกำหนดรอบการซ่อมแซมที่ไม่ชัดเจน และจะตรวจสอบเมื่อเกิดการเสื่อมสภาพ จึงทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรง เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาควรพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะสามารถประเมินและทำนายอายุของเส้นทางจราจร ก่อนที่จะเกิดปัญหาที่รุนแรง รวมถึงมีการเพิ่มความถี่ในการดูแล รักษา และปรับปรุงทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษฉลองรัช</p> 2024-04-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/274076 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 2024-03-22T16:14:35+07:00 ฐีระ สุวรรณสังข์ [email protected] ดนัย ลามคำ [email protected] นัสพงษ์ กลิ่นจำปา [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นหัวหน้าครัวเรือนในตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ t-test และ F-test <br />ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( = 4.20) รองลงมา คือด้านการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ( = 4.03) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินการ ( = 3.98) และผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โดยจำแนกตามเพศ อายุ และระดับการศึกษา พบว่า เพศ อายุ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน <br />แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ควรดำเนินการ จัดกิจกรรมการพัฒนาในหมู่บ้านไม่ว่าจะเป็น ถนน ประปา สาธารณูปโภคต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของเทศบาลเสนอกิจกรรมในการจัดทำโครงการ และจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น</p> 2024-04-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/274167 ความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู 2024-01-03T15:52:18+07:00 แสงอุษา ภู่มงคลสุริยา [email protected] ดนัย ลามคำ [email protected] ธีรวัฒน์ หินแก้ว [email protected] <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว จำนวนทั้งสิ้น 378 คน โดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ยามาเน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental random sampling) โดยการแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่างที่มาใช้บริการในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟา (Coefficient of Alpha) ซึ่งต้องได้ค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.75 ขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-Test และ F-test <br />ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ ต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.62) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการตอบสนองต่อผู้มารับบริการ ( = 3.72) รองลงมาคือด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการ ( = 3.71) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ( = 3.37) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ ต่อการให้บริการขององค์การบริหารตำบลหนองบัว ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการขององค์การบริหารตำบลหนองบัว ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อพิจารณารายด้าน ก็พบว่าทุกด้านก็ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางในการปรับปรุงการให้บริการขององค์การบริหารตำบลหนองบัว ได้แก่ ควรจะมีนโยบายแสวงหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน มีการพัฒนาทักษะของผู้ปฏิบัติงานเครือข่ายสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง</p> 2024-04-15T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/274800 บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2024-03-12T14:04:10+07:00 ภคนันท์รัตน์ สมบัติวงค์ [email protected] คึกฤทธิ์ ศิลาลาย [email protected] <p> การนิเทศภายในโรงเรียนเป็นกระบวนการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ช่วยเหลือ ชี้แนะและพัฒนางานให้ประสบผลสำเร็จ ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อีกทั้งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สนับสนุนให้กระบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของประเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 278 คน จากการเปิดตารางของ Cohen เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.961 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé’s Method)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในด้านการนิเทศภายในโรงเรียนตามการรับรู้ของครู จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ข้าราชการครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการนิเทศภายในโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีการรับรู้ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการนิเทศภายในโรงเรียนโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และข้าราชการครูที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกันมีการรับรู้ต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการนิเทศภายในโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> 2024-04-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/274921 ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายปั้นปูน : นวัตกรรมการธำรงอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่าผ้าทอและงานปูนปั้นเชิงพาณิชย์ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน 2024-03-15T15:11:24+07:00 ประทีป พืชทองหลาง [email protected] ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง [email protected] ศักดิ์สายันต์ ใยสามเสน [email protected] วิภาดา ญาณสาร [email protected] <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการอนุรักษ์ผ้าทอและงานปูนปั้นแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการออกแบบผ้าทอและงานปูนปั้นระดับชุมชน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างนวัตกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวผ้าทอและงานปูนปั้น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ รวม 250 คน ใช้วิธีสุ่มแบบง่ายผู้ให้ข้อมูลสำคัญการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ครูภูมิปัญญาทอผ้า สล่างานปูนปั้น ผู้ประกอบการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 25 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแนวทางการสนทนากลุ่ม ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>รูปแบบการอนุรักษ์ผ้าทอและงานปูนปั้นแบบมีส่วนร่วมนั้น ได้รับการสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ นำมาฝึกฝนจนเกิดเป็นทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะตน และสร้างสรรค์ต่อยอดให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนที่มีความแตกต่าง โดยใช้วัสดุและกรรมวิธีการผลิตของท้องถิ่น ผลิตได้จริง ใช้สอยดี เหมาะสม สวยงาม น่าสนใจและรูปแบบแปลกใหม่สะดุดตา โดยมีการร่วมมือกันระหว่างชุมชนในการผลิตชิ้นงานและมีการจัดกิจกรรมแสดงสินค้าและวัฒนธรรมประจำปีของชุมชน</li> <li>ศักยภาพชุมชนผ้าทอและงานปูนปั้นตามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก โดยการบริหารจัดการหมู่บ้านที่มีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้มีรายได้ และคนในชุมชนมีความเป็นมิตร และความคิดเห็นของผู้ประกอบการอยู่ในระดับดีมาก โดยเห็นว่าวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนเป็นจุดดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี และชุมชนมีงานฝีมือที่เป็นอัตลักษณ์</li> <li>แนวทางการสร้างนวัตกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์และเรื่องราวผ้าทอและงานปูนปั้นควรทำผ่านแนวคิดการสื่อสารการตลาดแนวใหม่ (4E) ได้แก่ 1) Experience สร้างประสบการณ์ที่ดี 2) Exchange สร้างคุณค่าให้สินค้าและบริการ 3) Everywhere เข้าถึงง่าย หลายช่องทาง และ 4) Evangelism ทำให้ลูกค้าขาจรเป็นขาประจำ ผ่านคลิปวีดีโอสั้น 5 เรื่อง ได้แก่ 1) ทอมือ ทอใจ ผ้าทอเมืองลำพูน 2) ผู้หญิงทอผ้าเมืองลำพูน 3) งานปูนปั้น พุทธศิลป์เมืองหริภุญไชย 4) ผู้ชายปั้นปูน และ 5) ผ้าทอ งานปูนปั้น ชุมชนศิลปะสร้างสรรค์เมืองลำพูน</li> </ol> 2024-04-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/275702 “สูงวัยสร้างเมืองท่างาม” การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 2024-03-31T12:12:28+07:00 ไททัศน์ มาลา [email protected] <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 คน การสังเกตการณ์เกี่ยวกับกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการให้ความหมาย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการตีความ</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลท่างามเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ จึงได้นำแนวคิดสูงวัยสร้างเมืองท่างามเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุใน 5 มิติ คือ ด้านสังคมเกิดกิจกรรมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุอย่างหลากหลาย ด้านเศรษฐกิจเกิดการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ ด้านสุขภาพเกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยจิตอาสาในชุมชน ด้านสภาพแวดล้อมมีการดูแลที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุภายใต้ศูนย์เรียนรู้การจัดปรับอาคารสถานที่ให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุและคนทุกวัยตำบลท่างาม และด้านการมีส่วนร่วมโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และสถาบันทางวิชาการ โดยการดำเนินกิจกรรม 6 ชุดกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบบริการผู้สูงอายุ การจัดตั้งกองทุนหรือจัดให้มีสวัสดิการช่วยเหลือ การพัฒนาและนำใช้ข้อมูล และมีกฎระเบียบเพื่อแนวปฏิบัติเพื่อหนุนเสริมการดำเนินกิจกรรม</p> 2024-04-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/275337 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมผ่านภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของอาจารย์ต่างชาติชาวเอเชียกับนักศึกษาไทยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2024-03-15T13:43:41+07:00 นภธีรา จวอรรถ [email protected] ชฎาพร โพคัยสวรรค์ [email protected] พิเชฐ สัตย์วินิจ [email protected] ศราวุฒิ บุตรดาวงศ์ [email protected] ธิติ นวพันธ์ [email protected] <p> แม้ว่าภาษาอังกฤษจะถูกใช้เป็นภาษากลางเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันของคนจากหลายประเทศก็ตาม ยังคงมีปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการใช้ภาษาและการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนและความขัดแย้ง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมของอาจารย์ต่างชาติชาวเอเชียกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2) ศึกษาอุปสรรคและการแก้ไขปัญหาในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม และ 3) กำหนดแนวทางการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม รูปแบบของการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Method) ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และข้อมูลเชิงปริมาณ (Qualitative Research) สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling: Whole Group Population) กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 4 คนเป็นอาจารย์ชาวเอเชีย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อคำถามมี 3 ด้าน คือ 1) ด้านข้อมูลทั่วไปและความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม 2) ด้านอุปสรรคและการแก้ปัญหาที่เกิดจากอิทธิพลของความแตกต่างทางวัฒนธรรม และ 3) ด้านแนวทางการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม เก็บข้อมูลระหว่างภาคการการศึกษาที่ 1-2 ปีการศึกษา 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ คือ ความถี่และร้อยละ (Frequency and Percentage)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมที่หลากหลายเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร 2) อุปสรรคหลักเกิดจากความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของนักศึกษาและการรับรู้ของอาจารย์ และปัญหาทั้งหมดอาจารย์สามารถแก้ไขปัญหาได้ 3) แนวทางในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มีดังนี้ 2.1) การแสดงออกถึงความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม 2.2) การตอบสนองที่แสดงออกทางภาษาทั้งวัจนและอวัจนภาษาในเชิงบวก 2.3) การแสดงออกถึงความยืดหยุ่นและการปรับตนเอง 2.4) การแสดงออกถึงการให้เกียรติและการเปิดใจ และ 2.5) การแสดงออกถึงความอดทนและความเห็นอกเห็นใจ</p> 2024-04-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น