https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/issue/feedมนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่2025-04-30T20:03:30+07:00Junyawan Suwannaratjunyawan.suwannarat@cmu.ac.thOpen Journal Systems<p><span style="text-decoration: underline;"><strong>ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์</strong></span></p> <p>มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของมนุษยศาสตร์สาร จะคลอบคลุมเนื้อหาทางด้าน<em>ศาสนา/เทววิทยา ภาษาและภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ การแปล การท่องเที่ยว บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ปรัชญา/จริยศาสตร์ จิตวิทยา วรรณกรรม บ้านและชุมชน การท่องเที่ยว (ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือปัญหาในมนุษยศาสตร์) การศึกษาข้ามศาสตร์หรือสหวิทยาการ (ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหรือปัญหาในมนุษยศาสตร์) อาณาบริเวณ/ชุมชนศึกษา และล้านนาศึกษา</em> เป็นต้น </p> <p><span style="text-decoration: underline;"><strong>ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์</strong></span></p> <p>มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดรับพิจารณาบทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ (Academic articles) บทความปริทัศน์ (Review articles) และ บทวิจารณ์หนังสือ (Book review) ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้อง<strong>ไม่เคย</strong>ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร เอกสารการประชุม หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน (ยกเว้นรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์) และ<span style="text-decoration: underline;"><strong>ไม่</strong></span>อยู่ในระหว่างการพิจารณารอตีพิมพ์ในวารสารอื่น</p> <p><span style="text-decoration: underline;"><strong>กำหนดการเผยแพร่ตีพิมพ์</strong></span></p> <p>มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตีพิมพ์เผยแพร่ 3 ฉบับต่อปี ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1: มกราคม – เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2: พฤษภาคม – สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3: กันยายน - ธันวาคม</p> <p>โดยนำเสนอบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันมีการจัดทำอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ <strong>ISSN:2985-279X (Online)</strong> โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 </p> <p><span style="text-decoration: underline;"><strong>นโยบายการประเมินบทความ</strong></span></p> <p>มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ สกอ. และ สกว. กำหนด โดยกองบรรณาธิการ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง มาจากสถาบันภายนอกเป็นส่วนใหญ่และมาจากสถาบันภายในส่วนหนึ่ง และมีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองบทความ <strong>อย่างน้อย 3 คน</strong> โดย<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลของกันและกัน (Double-blind peer review)</strong></p> <p><span style="text-decoration: underline;"><strong>ค่าธรรมเนียมและดำเนินการของวารสาร</strong></span></p> <p>มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ <strong>"ยกเลิก" </strong>การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่งบทความพิจารณาตีพิมพ์ ไปเมื่อปี พ.ศ. 2564 และ<strong>ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ</strong> ตลอดกระบวนการดำเนินงานของวารสารจากผู้เขียน โดยผู้เขียนสามารถแจ้งความประสงค์ขอส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์พร้อมแบบฟอร์มผ่านระบบ ThaiJO [มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่] </p>https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/276134การใช้ ChatGPT เป็นเครื่องมือพัฒนาทักษะการเขียนในรายวิชาภาษาฝรั่งเศสในสำนักงาน2024-03-14T07:01:42+07:00ศโรชิน อาจหาญsarochin.ahn@gmail.com<p>การใช้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนภาษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงการศึกษา ChatGPT เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมและเริ่มมีการนำมาทดลองใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ</p> <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้งาน ChatGPT, ประสิทธิภาพ รวมถึงความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ ChatGPT ในฐานะเครื่องมือในการให้คำแนะนำและช่วยตรวจงานเขียนภาษาฝรั่งเศส <br />ทั้งในด้านไวยากรณ์ คำศัพท์ และโครงสร้างประโยค</p> <p>กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ชั้นปีที่ 3 จำนวน 26 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชาภาษาฝรั่งเศสในสำนักงาน และมีการคัดเลือกนักศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายมาจัดทำการสนทนากลุ่ม โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 9 คน วิธีการศึกษาประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลองใช้งาน ChatGPT การสนทนากลุ่ม และชิ้นงานของนักศึกษาก่อนและหลังใช้งาน ChatGPT </p> <p>ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีระดับความพึงพอใจสูงต่อการใช้ ChatGPT ในการให้คำแนะนำและตรวจสอบความถูกต้องด้านไวยากรณ์ คำศัพท์ และโครงสร้างภาษาฝรั่งเศส โดยระบุว่า ChatGPT ช่วยให้ตระหนักถึงจุดบกพร่องในทักษะภาษาฝรั่งเศสของตนเอง นอกจากนี้ ยังมีความสะดวกและความรวดเร็วในการตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งยังสามารถช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างประโยคและเนื้อหา อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่านักศึกษายังไม่เชื่อมั่นในการใช้ ChatGPT อย่างเต็มที่และต้องการการตรวจสอบจากมนุษย์เพื่อความเชื่อมั่นในการแก้ภาษา อีกทั้งยังต้องการมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ สะท้อนให้เห็นว่า ChatGPT ไม่อาจแทนที่บทบาทของมนุษย์ในฐานะผู้สอนภาษาต่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/275156การศึกษาการตีความอวัจนภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย “กรณีศึกษานักศึกษาสาขาภาษาเกาหลี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่”2024-07-09T15:41:52+07:00ภาวนา เพ็ชรพรายpawana_pet@cmru.ac.th<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์อวัยวะต่าง ๆ ที่ใช้ในการแสดงออกทางอวัจนภาษาของชาวเกาหลี และวิเคราะห์การตีความลักษณะการแสดงออกทางอวัจนภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย โดยได้ทำการศึกษารวบรวมอวัจนภาษาเกาหลีที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือวรรณกรรมเกาหลี และละครเกาหลี โดยสามารถรวบรวมได้ ทั้งหมด 160 ท่าทาง แสดงออกผ่าน 18 อวัยวะ ได้แก่ หน้าอก หู ตา ขา ศีรษะ คอ เท้า ท้อง แก้ม มือ นิ้วมือ ไหล่ ใบหน้า ปาก จมูก คาง เอว และลิ้น โดยอวัยวะที่แสดงออกมากที่สุดคือ มือ นิ้วมือ จำนวน 55 ท่าทาง รองลงมาคือ ศีรษะและปาก จำนวน 14 ท่าทาง และผลการตีความอวัจนภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทยได้ตีความอวัจนภาษาเกาหลีบางท่าทางได้อย่างถูกต้องและสามารถสื่อสารกับชาวเกาหลีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแสดงความรักโดยใช้มือประกอบกันเป็นรูปหัวใจ และมีการตีความที่ผิดพลาด เช่น การใช้นิ้วชี้หมุนบริเวณขมับ นักศึกษาไทยตีความว่า ปวดหัว ไม่ได้ตีความว่า สติไม่ดี เนื่องมาจากการไม่รู้ความหมายและความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรม ดังนั้น การศึกษาอวัจนภาษาเกาหลีจึงมีส่วนช่วยในเรื่องของการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผลได้</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/277902การศึกษาเรื่องตามเสด็จไทรโยคในฐานะ “เยอแนลนวัตกรรม”2024-05-15T14:48:08+07:00วรรณวิวัฒน์ รัตนลัมภ์ruttanalum.w@gmail.com<p>บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง<strong>ตามเสด็จไทรโยค</strong> พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในฐานะ “เยอแนลนวัตกรรม” หรือบันทึกการเดินทางร้อยกรองที่มีความแปลกใหม่ โดยใช้การอ่านละเอียด (close reading) และนำเสนอผลการวิจัยโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (descriptive analysis) จากการศึกษาพบว่า ความเป็น “เยอแนลนวัตกรรม” ของพระราชนิพนธ์เรื่อง<strong>ตามเสด็จไทรโยค</strong>นั้น เห็นได้จากการใช้ผู้เล่าเรื่อง (narrator) ผู้หญิง ถือเป็นการปรับแปลงขนบวรรณคดีนิราศแต่เดิมที่ผู้แต่งและผู้เล่าเรื่องเป็นผู้ชาย นอกจากนี้ผู้แต่งยังล้อเลียนเสียดสีขนบวรรณคดีนิราศทำให้เกิดลักษณะ “นอกขนบ” และนำเสนอเนื้อหาที่เป็นบันทึกการเดินทางจริง โดยระบุ “วันที่” เป็นรายวันตามลำดับอย่างชัดเจน ลักษณะบันทึกการเดินทางร้อยกรองที่แตกต่างไปจากเดิมเช่นนี้ สะท้อนความพยายามของผู้แต่งที่ต้องการนำเสนอสิ่งใหม่เพื่อท้าทายรสนิยมของผู้อ่านร่วมสมัยโดยเฉพาะสตรีชาววัง ให้คลายความสนใจจากนิราศแบบเดิมที่เน้นการพรรณนาอารมณ์ รวมถึงนิทานประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่มีโครงเรื่องซ้ำ ๆ มาสนใจบันทึกที่ให้สาระความรู้แทน</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/275483โครงสร้างปริจเฉทและกลวิธีการพูดทำนายดวงของหมอดูไพ่ทาโรต์ในภาษาไทย2024-02-16T13:53:06+07:00ศรณ์ชนก ศรแก้วscreech_pae@hotmail.com<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างปริจเฉทและกลวิธีการพูดทำนายดวงของหมอดูไพ่ทาโรต์ในภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากการพูดทำนายดวงของหมอดูไพ่ทาโรต์ในภาษาไทยบนเว็บไซต์ YouTube จำนวน 36 คลิป ที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2563 - 2565 ความยาวประมาณคลิปละ 20 – 30 นาที ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างปริจเฉทการพูดทำนายดวงของหมอดูไพ่ทาโรต์ในภาษาไทยมีองค์ประกอบ <br />7 ส่วน ได้แก่ 1) การทักทายผู้ฟัง 2) การบอกเรื่องที่จะพูด 3) การทำนายดวงปัจจุบัน 4) การกล่าวถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 5) การให้คำแนะนำ 6) การให้กำลังใจ และ 7) การกล่าวลา/ทิ้งท้าย และกลวิธีการพูดทำนายดวงพบ 8 กลวิธี ได้แก่ 1) การเลือกใช้ศัพท์เฉพาะทางโหราศาสตร์ 2) การใช้คำพูดที่แสดงการยืนยัน 3) การใช้คำพูดที่ไม่แสดงการยืนยัน 4) การใช้คำแสดงทัศนภาวะ 5) การใช้เสียงจากไพ่ 6) การใช้ประโยคคำถาม 7) การใช้ประโยคแสดงเหตุผล และ 8) การใช้ประโยคแสดงเงื่อนไข ทุกกลวิธีใช้เพื่อเป้าหมายในการสื่อสารที่หลากหลายแตกต่างกัน ผลการวิจัยนี้จะแสดงให้เห็นโครงสร้างปริจเฉทและกลวิธีทางภาษาที่สะท้อนลักษณะเฉพาะของการทำนายดวงของหมอดูไพ่ทาโรต์ในภาษาไทย</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/279965ประวัติศาสตร์จากเบื้องล่างของนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์อังกฤษ2024-07-18T16:28:49+07:00ธิกานต์ ศรีนาราsrinara2519@gmail.com<p>กลุ่มนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์อังกฤษมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการบุกเบิกและพัฒนาแนวการศึกษาที่เรียกว่า “ประวัติศาสตร์จากเบื้องล่าง” ขึ้นมาทศวรรษ 1950 และต่อมางานเขียนของพวกเขาก็ได้กลายเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้แก่การศึกษาประวัติศาสตร์จากเบื้องล่างในพื้นที่และยุคสมัยอื่น ๆ ทั่วโลก บทความชิ้นนี้พยายามที่จะศึกษาแนวคิดและวิธีการเขียนประวัติศาสตร์จากเบื้องล่างของกลุ่มนักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์อังกฤษเหล่านี้ผ่านการศึกษางานเขียนของนักประวัติศาสตร์ 5 คนซึ่งมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกันมาเป็นเวลานานนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงทศวรรษ 1980 ได้แก่ จอร์จ รู้ด, ร็อดนีย์ ฮิลตัน, คริสโตเฟอร์ ฮิลล์, เอริค ฮอบส์บอว์ม และอี.พี. ธอมป์สัน จากการศึกษาพบว่า แตกต่างจากการศึกษาประวัติศาสตร์อังกฤษที่มีมาก่อนหน้าพวกเขาที่มักจะให้ความสำคัญอยู่แต่กับการกระทำต่าง ๆ ของมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ชนชั้นนำ หรือไม่ก็ชนชั้นปกครองเป็นหลัก นักประวัติศาสตร์ทั้ง 5 คนนี้มีจุดสนใจร่วมกันในแง่ที่พวกเขาพยายามที่จะหลุดพ้นออกไปแนวทางการศึกษาแบบดังกล่าว แล้วหันไปให้ความสนใจเกี่ยวกับประสบการณ์ ความคิด และการต่อสู้ของคนธรรมดาสามัญในประวัติศาสตร์แทน แม้ว่าพวกเขาจะมีจุดสนใจร่วมกันดังกล่าว แต่พวกเขาแต่ละคนก็มีจุดสนใจในการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป นั่นคือ รู้ดศึกษาการต่อสู้ของสามัญชนทั้งในยุคก่อนและยุคแรกเริ่มของการปฏิวัติอุตสาหกรรมอังกฤษและการปฏิวัติฝรั่งเศส, ฮิลตันศึกษาประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ของชาวนาและการต่อสู้ระหว่างขุนนางเจ้าที่ดินกับชาวนาในประวัติศาสตร์อังกฤษยุคกลาง, ฮิลล์ศึกษาความคิดของขบวนการราดิคัลสามัญชนกลุ่มต่าง ๆ ในการปฏิวัติอังกฤษเมื่อศตวรรษที่ 17, ฮอบส์บอว์มศึกษาการต่อสู้ของชนชั้นแรงงานในยุคแรกเริ่มและการเผชิญหน้ากับการขยายตัวของทุนนิยมของขบวนการทางสังคมสมัยใหม่ใน “รูปแบบโบราณ” ของผู้คนทั้งในเมืองและชนบทในยุคก่อนทุนนิยม ขณะที่ธอมป์สันศึกษา "การก่อตัว" และการปรากฏขึ้นของจิตสำนึกของชนชั้นแรงงานอังกฤษในช่วงระหว่างปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ การศึกษายังค้นพบด้วยว่า แม้งานเขียนของพวกเขาจะมีอิทธิพลทางความคิดและก่อให้เกิดการศึกษาประวัติศาสตร์จากเบื้องล่างในพื้นที่และช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ทั่วโลกก็ตาม แต่พวกมันก็ยังมีจุดอ่อนข้อบกพร่องและถูกวิพากษ์วิจารณ์ในหลายแง่หลายมุมโดยนักประวัติศาสตร์รุ่นหลัง</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/275598เมื่อเรามี “บารมี” ต่างกัน: การศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ ตามแนวอรรถศาสตร์ปริชานและวัจนปฏิบัติศาสตร์2024-02-22T09:49:04+07:00ศิระวัสฐ์ กาวิละนันท์siravast.ka@gmail.com<p>บารมีตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2556) ซึ่งเป็นนิยามทางพุทธศาสนามีความหมายต่างออกไปจากความหมายของบารมีที่ผู้คนใช้ในชีวิตประจำวัน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถ้อยคำ<br />อุปลักษณ์ที่สะท้อนมโนทัศน์บารมีในภาษาไทย โดยใช้แนวคิดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ตามแนวอรรถศาสตร์<br />ปริชานและศึกษาหน้าที่ของอุปลักษณ์ตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ เก็บข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติของภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า ถ้อยคำอุปลักษณ์สะท้อนมโนทัศน์เกี่ยวกับบารมี 7 มโนอุปลักษณ์ ได้แก่ [บารมี คือ ผู้มีอำนาจ] [บารมี คือ ต้นไม้ใหญ่] [บารมี คือ วัตถุสิ่งของ] [บารมี คือ ของมีค่า] [บารมี คือ สิ่งก่อสร้าง] [บารมี คือ การแข่งขัน] และ [บารมี คือ รังสี] บารมีที่ถูกเปรียบกับผู้มีอำนาจ คือ วงความหมายที่พบถ้อยคำอุปลักษณ์มากที่สุด ส่วน [บารมี คือ การแข่งขัน] และ [บารมี คือ รังสี] คือวงความหมายที่พบถ้อยคำอุปลักษณ์น้อยที่สุด มโนทัศน์เหล่านี้ได้ทำหน้าที่เรียบเรียงความ และถ่ายทอดความคิดเพื่ออธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เห็นคุณสมบัติของบารมีเป็นรูปธรรมมากขึ้น อีกทั้ง ยังทำหน้าที่ด้านบุคคลสัมพันธ์โดยได้กำหนดมุมมองของบารมีขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าเมื่อใช้คำว่าบารมีสื่อสารกับบุคคลทั่วไป บารมีสามารถแสดงความหมายผ่านถ้อยคำอุปลักษณ์ที่มีความหมายเชิงบวกและเชิงลบได้ ต่างจากเมื่อใช้คำว่าบารมีกล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้อยคำอุปลักษณ์จะแสดงความหมายเชิงบวกเท่านั้น เนื่องจากอาจเป็นเพราะเพื่อทรงไว้ซึ่งความสง่างามและภาพลักษณ์ที่ต้องเป็นที่พึ่งหรือสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชน</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/274087รูปถ้อยคำและหน้าที่ของการแสดงว่ารับฟังอยู่ของผู้ร่วมสนทนา ในรายการสัมภาษณ์ข่าวภาษาไทย2023-12-23T11:41:04+07:00หนึ่งฤทัย ปานแก้วnuenpa@kku.ac.thศุภกิต บัวขาวsupakitb@kku.ac.th<p>การแสดงว่ารับฟังอยู่เป็นการสนับสนุนและแสดงความสนใจต่อผลัดการพูดของผู้ที่กำลังพูดอยู่ผู้ร่วมสนทนาในรายการสัมภาษณ์ข่าวภาษาไทยอยู่ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งกัน การแสดงความสนใจต่อผลัด การพูดของผู้ร่วมสนทนาจึงมีความสำคัญเนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์กันของผู้ร่วมสนทนาในรายการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปถ้อยคำและหน้าที่ของถ้อยคำที่แสดงว่ารับฟังอยู่ของผู้ร่วมสนทนาในรายการสัมภาษณ์ข่าวภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากรายการสัมภาษณ์ข่าวภาษาไทยจำนวน 25 ตอน มีผู้ร่วมสนทนาในแต่ละตอนประกอบด้วย พิธีกร 1 คน ผู้ร่วมรายการ 2 คน และผู้เชี่ยวชาญ รวมเวลา 1,022.28 นาที การถ่ายถอดเสียงเป็นตัวอักษร ประยุกต์ใช้สัญลักษณ์ตามแบบของ Jefferson (1979) ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดการวิเคราะห์การสนทนา และกรอบแนวคิดเรื่องการแสดงว่ารับฟังอยู่ผลการศึกษาพบว่า รูปถ้อยคำที่แสดงว่ารับฟังอยู่ของผู้ร่วมสนทนาในรายการสัมภาษณ์ข่าวภาษาไทยมี <br />6 ประเภท ได้แก่ 1) ถ้อยคำสั้น ๆ 2) ถ้อยคำตอบรับ 3) คำรับรอง 4) คำสั่ง 5) คำถามสั้น ๆ และ 6) คำอุทาน โดยปรากฏหน้าที่ของถ้อยคำที่แสดงว่ารับฟังอยู่ของผู้ร่วมสนทนา ดังนี้ 1) เอื้อให้กล่าวต่อ 2) เข้าใจ 3) เห็นด้วย 4) นึกออก 5) ยืนยัน 6) แสดงอารมณ์ความรู้สึก 7) สนับสนุน 8) ไม่แน่ใจ 9) ส่งสัญญาณให้จบผลัดการพูด และ 10) ไม่สนใจ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพิธีกรใช้ถ้อยคำว่ารับฟังอยู่เพื่อเอื้อให้ผู้ที่กำลังพูดอยู่พูดต่อไป ผู้ร่วมรายการและผู้เชี่ยวชาญใช้ถ้อยคำว่ารับฟังอยู่เพื่อแสดงว่าเห็นด้วยและยืนยันต่อผลัดการพูดของพิธีกร ส่วนผู้ร่วมรายการใช้ถ้อยคำว่ารับฟังอยู่เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่อผลัดการพูดของผู้ร่วมรายการด้วยกันเอง นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ร่วมรายการในรายการสัมภาษณ์ข่าวภาษาไทยใช้ถ้อยคำเพื่อแสดงว่ารับฟังอยู่โดยไม่ได้สนใจถ้อยคำของผู้ร่วมสนทนาที่กำลังพูดอยู่ และพร้อมที่จะแย่งผลัดการพูดมาเป็นของตน</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/275461Analyzing the COVID-19 as Rhetorical Agency in Selected South African Social News2024-02-15T18:12:24+07:00วีรยา ดลสมสกุลกิจweerayadns@au.edu<p>This paper examines the representations of the COVID-19 in selected social news, posted in South African online platforms in March and April 2021. Employing close-reading strategy with the theoretical lens of health humanities and new materialisms, it investigates how human knowledge(s) give voice to the COVID-19 in South Africa where both the COVID-19 and poverty have been considered as crucial issues in online media platforms and how the COVID-19 as an actor of narration shapes rhetorical modes, becoming a rhetorical agent in the social news to encourage the desire for systematic global changes from South Africa. Moreover, this paper explores how the selected social news as a platform and a literary genre are transformed during the pandemic in South Africa. By doing so, it can contribute to the field of health humanities, aiming to illustrate that reading literary genres with the recognition of inanimate agencies can help us understand what can be proceeded in order to transform our actions as preparations and responses to any global emergencies to come.</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/278353Bilder im Text als Kriterium bei der Auswahl der außerunterrichtlichen Lektüre: Bildanalyse und Anregungen zur Förderung der Multiliteralität2024-05-31T15:21:50+07:00วีรวุฒิ สินธุพัฒนพันธุ์weerawut.si@ku.th<p>Über Multiliteralität sollten Lernende im 21. Jahrhundert verfügen, um produktiv und rezeptiv mit der Vielschichtigkeit der heutigen Kommunikation umgehen zu können. Mulimodale und multimediale Texte im Unterricht zu lesen bzw. zu verstehen, gilt als Förderung der Multiliteralität. Die außerunterrichtliche Lektüre kann einen Beitrag dazu leisten, dass die Lernenden selbstständig mit solchen Texten die Multiliteralität üben. Dabei spielen die Auswahl und Materialbesorgung der Lehrkraft eine wichtige Rolle. Diese Arbeit setzt sich dementsprechend mit der Analyse der Bilder in drei Lernromanen auseinander. <br />Im Mittelpunkt stehen die Fragen, welche Rolle die Bilder in diesem Lernroman spielen, und warum die Lehrkraft bei der Auswahl der außerunterrichtlichen Lektüre für die Förderung der Multiliteralität die Rollen der Bilder als das wichtige Kriterium betrachten sollte. Um die Gestaltung der gesamten Texte in diesen Lernromanen zu identifizieren, lassen sich die nebenstehenden Bilder auf Basis der Ansätze von Hallet (2008) und Wittstruck (2018) analysieren und kategorisieren. In diesen Lernromanen lassen sich sechs Funktionen finden: illustrativ, kognitiv, semantisch, bildästhetisch, repräsentational und dekorativ. Am häufigsten befinden sich die Bilder mit der illustrativen Funktion, die parallel nebst der schriftlichen Erzählung die Geschichte visuell erzählen. Das Zusammenspiel zwischen schriftlichen und bildlichen Texten sollte als Kriterium bei der Auswahl der außerunterrichtlichen Lektüre betrachtet werden, weil der Text mit Bildern die Lesenden beim Lesen motivieren, ihr Leseverständnis unterstützen und gleichzeitig ihre Multiliteralität fördern kann.</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/288901บทบรรณาธิการ2025-04-30T18:36:44+07:002025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/288902คำแนะนำในการจัดทำต้นฉบับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์2025-04-30T18:46:23+07:002025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/278268ความเมตตากรุณาต่อตนเองกับการฟื้นคืนความสุขตามหลักสติและปัญญา2024-05-29T07:31:06+07:00ภัทรพงษ์ ธำมรงค์ปรีชาชัยbo4pat11tham21@hotmail.com<p>ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน มันไม่ได้ผิดไปจากเหตุปัจจัยเลย แต่เมื่อเราไม่เข้าใจและไม่ยอมรับความจริง เราก็เป็นทุกข์ทันที การเข้าใจและยอมรับความจริงเป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลไม่หวั่นไหวเมื่อต้องประสบกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิต และการที่บุคคลจะดำรงชีวิตอย่างมีความสุขหรือปราศจากความทุกข์จำเป็นต้องมีสติและมีปัญญาที่เพียงพอ โดยสติทำหน้าที่ระลึกรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและระลึกถึงปัญญา ส่วนปัญญาทำหน้าที่ช่วยให้บุคคลดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม คุณลักษณะที่จะสนับสนุนให้บุคคลฟื้นคืนความสุข คือ ความเมตตากรุณาต่อตนเอง เพราะความเมตตากรุณาต่อตนเองเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมความถูกต้องในการรับรู้และสนับสนุนให้บุคคลเข้าใจและยอมรับความจริงมากขึ้นผ่าน 2 องค์ประกอบ คือ (1) การมีเมตตาต่อตนเอง (ตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง) และ (2) ความเป็นมนุษย์ปุถุชน (ตระหนักรู้เกี่ยวกับโลกและชีวิต) โดยกระบวนการฟื้นคืนความสุขตามหลักสติและปัญญา มีดังนี้ 1) ตระหนักรู้ความคิดที่ก่อให้เกิดความทุกข์ 2) ระบุประเภทของความคิดเชิงลบ 3) เสริมสร้างความคิดที่เหมาะสม และ 4) เมื่อความคิดที่เหมาะสมมีน้ำหนักมากกว่าความทุกข์ที่กำลังประสบแล้ว อารมณ์ทางลบจะค่อย ๆ บรรเทาและแปรเปลี่ยนเป็นอารมณ์ทางบวก</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/278916แนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา2024-06-18T16:05:09+07:00บุหลัน กุลวิจิตรmisslan2000@yahoo.com<p>การรู้ดิจิทัลในระดับอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเทคโนโลยีและการใช้งานอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทำให้การพัฒนาความรู้และทักษะด้านดิจิทัลกลายเป็นเรื่องจำเป็นในการเตรียมพร้อมสำหรับนักศึกษา โดยบทความนี้มุ่งอธิบายความหมายและความสำคัญของการรู้ดิจิทัลระดับอุดมศึกษา องค์ประกอบการรู้ดิจิทัลระดับอุดมศึกษารวมถึงทักษะด้านการค้นคว้าข้อมูล การสร้างสื่อดิจิทัล การแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ และการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การตระหนักรู้เกี่ยวกับจริยธรรมและกฎหมายด้านดิจิทัลรวมทั้งปัญหาการรู้ดิจิทัลระดับอุดมศึกษาที่เกิดจากผู้ใช้และระบบสารสนเทศ นอกจากนี้ควรมีแนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลในหลากหลายด้าน เช่น การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ การทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ การสร้างเนื้อหาออนไลน์ และปรับรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/278131วิตรรกะภาษาศาสตร์ในการสื่อสารภาวะวิกฤตของโฆษก 2024-05-23T20:09:09+07:00ธนสิน ชุตินธรานนท์thanasin.c@chula.ac.th<p>บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอรูปแบบวิตรรกะภาษาศาสตร์ ได้แก่ คำย้อมสี คำกำกวม และคำความหมายหลายนัย ซึ่งเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่บกพร่องของโฆษกผู้ทำหน้าที่สื่อสารในภาวะวิกฤต วิตรรกะภาษาศาสตร์นอกจากจะทำให้การสื่อสารของโฆษกขาดความน่าเชื่อถือ ยังอาจทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อเนื้อหาสาร ตลอดจนทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบซึ่งส่งผลเชิงลบต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดีหลักสูตรการฝึกฝนโฆษกเพื่อสื่อสารภาวะวิกฤตขององค์กร ควรมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องวิตรรกะภาษาศาสตร์ด้วย เพื่อเพิ่มทักษะให้โฆษกสามารถใช้วัจนภาษาในการสื่อสารภาวะวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพ</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/279874Von der „Literarischen Nacht“ über „Literatur3“ zu „Rap3“: Förderung des interkulturellen DaF-Lernens durch Begegnungen mit Schriftsteller*innen und Rapper*innen2024-07-15T16:25:10+07:00กรกช อัตตวิริยะนุภาพkorakocha@yahoo.com<p>Sprache und Kultur sind miteinander eng verbunden. Die interkulturelle Kompetenz gilt als Schlüsselkompetenz im 21. Jahrhundert. Bei der Vermittlung einer Fremdsprache sollen unvermeidlich die kulturellen Aspekte miteinbezogen werden. Die Autorenlesung gehört zu Förderungsmaßnahmen der Literatur und Kultur und ist im deutschsprachigen Raum eine der beliebten Aktivitäten. In Thailand bietet sich ab und zu für DaF-Lernende die Gelegenheit Begegnungen mit Autor*innen aktueller literarischer Werke in der deutschen Sprache zu erleben. Eine sehr wichtige Veranstaltung, die sich in Thailand seit mehr als einem Jahrzehnt etabliert hat, ist die sogenannte „Literarische Nacht“, die 2013 zum ersten Mal stattfand und im Laufe der Zeit weiter als „Literatur<sup>3</sup>“ und zuletzt „Rap<sup>3</sup>“ veranstaltet wurde. Der Begriff Literatur wurde erweitert, weshalb im Jahr 2024, Rapper*innen als Träger*innen der deutschen Kultur eingeladen wurden. Im Rahmen dieses langjährigen Projekts, das durch Zusammenarbeit des Goethe-Instituts Bangkok und der drei Botschaften der deutschsprachigen Länder (Deutschland, Österreich, Schweiz) durchgeführt wurde, hatten thailändische DaF-Lernende die Möglichkeit, sich der deutschen Sprache und Kultur anzunähern. Im vorliegenden Beitrag soll dieses Projekt mit interkulturellen Ansätzen dargestellt werden. Ziel ist es, das versteckte Potenzial einer solchen Veranstaltung bei der Förderung des interkulturellen DaF-Lernens zu besprechen sowie Anregungen für Lernaktivitäten, die sich durch Begegnungen mit muttersprachlichen Schriftsteller*innen und Rapper*innen ergeben, zu präsentieren.</p>2025-04-30T00:00:00+07:00Copyright (c) 2025 มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่