TY - JOUR AU - วิวัฒนเศรษฐ์, เปรมวิทย์ PY - 2019/06/24 Y2 - 2024/03/29 TI - Editorial JF - Trends of Humanities and Social Sciences Research JA - Trends Humanit Soc Sci Res VL - 5 IS - 2 SE - Editorial DO - UR - https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/197103 SP - 1-8 AB - <p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ฉบับนี้ เป็นฉบับที่ 2 ปีที่ 5&nbsp; ซึ่งทางกองบรรณาธิการได้นำบทความที่มีสารประโยชน์ทางวิชาการมานำเสนอ โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อเสนอแง่คิดในหลายมุมมอง ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มนักวิชาการที่สนใจในเรื่องต่าง ๆ&nbsp; สำหรับวารสารฉบับนี้ได้นำเสนอนานาสาระความรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเกี่ยวกับวงการการศึกษา อันจะทำให้ผู้อ่านได้ทราบและรับรู้ถึงวิทยาการในวงการการศึกษาในประเด็นต่าง ๆ สำหรับบทความที่เกี่ยวกับวงการการศึกษา ซึ่งกองบรรณาธิการได้เลือกสรรมานำเสนอมีจำนวน 3 เรื่องคือ<strong>&nbsp; </strong>“สภาพปัญหาการดำเนินงานของครูผู้ดูแลเด็กตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี” “ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี” และ “คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการทำงานของครูผู้สอน&nbsp; สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20”</p><p>นอกจากนั้น ยังมีบทความที่เสนอความรู้ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ อันได้แก่ บทความเรื่อง “การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของแรงงานและบทบาทขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ” ที่จะสะท้อนสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของแรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมาแต่อดีตและยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน&nbsp; บทความเรื่อง “นวัตกรรมรูปแบบรายการโทรทัศน์และการมีส่วนร่วมของคนหูหนวก” เป็นการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อ ในฐานะที่เป็นตัวกลางระหว่างคนในสังคม ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงความเท่าเทียมกันของคนในสังคม บทความเรื่อง “สภาพปัญหาการดำเนินโครงการสำรวจความต้องการของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่” ที่นำเสนอสิ่งที่เป็นจุดเด่นและจุดอ่อนที่ควรปรับปรุงในการจัดทำโครงการ&nbsp; อันเป็นประโยชน์ที่ผู้จัดโครงการทุกโครงการควรตระหนัก&nbsp; บทความเรื่อง “โครงการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา” เป็นผลงานวิจัยที่ศึกษาแบบครบวงจรในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์ นับตั้งแต่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ จนถึงสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ และบทความเรื่องสุดท้ายคือ เรื่อง “การพัฒนาสารานุกรมกว๊านพะเยาฉบับอิเล็กทรอนิกส์” เป็นการศึกษาคุณภาพของนวัตกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อนำจุดบกพร่องที่พบไปปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป</p><p>หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาจะเป็นวารสาร วิชาการอีกเล่มหนึ่งที่จะอำนวยประโยชน์ทางวิชาการแก่ท่านผู้อ่าน ซึ่งทางกองบรรณาธิการจะยังคงมุ่งมั่นที่จะคัดสรรบทความคุณภาพมานำเสนอแก่ท่านอีกในฉบับต่อ ๆ ไป</p> ER -