เกี่ยวกับวารสาร

วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (Journal of Education Loei Rajabhat University: EDUCLoei)

นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : เป็นวารสารกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการทางด้านการศึกษา ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ การบูรณาการทางการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา การจัดการเรียนรู้ จิตวิทยาการศึกษา การวัดผลการศึกษา การวิจัยและสถิติการศึกษา การบริหารการศึกษา และการบริการวิชาด้านการศึกษา ผลงานที่รับตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือที่เขียนด้วยภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ

วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ตีพิมพ์รูปแบบออนไลน์ โดยกำหนดจัดทำปีละ 2 ฉบับ คือ

  • ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม-มิถุนายน
  • ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม

วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นวารสารที่จัดอยู่ในฐานข้อมูลดังนี้

  • เป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารไทย (TCI) กลุ่มที่ 2 ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

กระบวนการพิจารณาบทความ :  

Peer Review Process

วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มีการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นหรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 คน ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน โดยทั้งผู้นิพนธ์ (Author) และผู้ประเมิน (Reviewer) จะไม่ทราบข้อมูลรายชื่อของกันและกัน (Double-blind review) โดยที่ผู้ประเมินจะพิจารณาประเด็นที่สำคัญของแต่ละบทความดังต่อไปนี้

  1. ผลการวิจัยที่แสดงในบทความจะต้องเป็นผลงานที่แท้จริงของผู้นิพนธ์เอง และต้องหลีกเลี่ยงการคัดลอกผลงาน(Plagiarism)
  2. วิธีการและการวิเคราะห์ทางการทดลอง และวิจัยต้องมีมาตรฐานทางเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ และจะต้องอธิบายในรายละเอียดอย่างเป็นระบบและสมเหตุสมผล นอกเหนือจากนี้แล้ว การเขียนผลการทดลองจะต้องอภิปรายอย่างดีและเพียงพอ สอดคล้องกับผลสรุปที่ได้มีการวิเคราะห์เชิงสถิติอย่างเหมาะสม
  3. การอภิปรายผลและการสรุปในบทความ ต้องมีข้อมูลที่ปรากฏรวมถึงเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเขียน บทความที่ส่งมาพิจารณาตีพิมพ์ควรจะถูกเขียนด้วยภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่ายทางวิชาการให้เหมาะสมสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  4. บทความต้นฉบับ ต้องเขียนด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้มีความคงที่ของภาษาที่เลือกทั้งบทความ เช่น เลือกใช้ภาษาไทยในการเขียนทั้งบทความ และมีการแปลคำศัพท์เทคนิคเป็นภาษาไทยอย่างเหมาะสม โดยมีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  5. มีความต่อเนื่องในการใช้ภาษางานวิจัยต้องดำเนินการตามได้มาตรฐานโดยทั่วไปของหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง หากมีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์ควรบ่งชี้ว่า ได้ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการที่เป็นไปตามมาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  6. บรรณาธิการสามารถยุติการประเมินบทความของผู้ประเมิน หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามวัตถุประสงค์หรือเงื่อนไข หรือเมื่อผู้ประเมินได้ตกลงที่จะประเมินบทความแล้ว ต่อมาพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน สามารถแจ้งบรรณาธิการโดยทันที เพื่อที่จะปฏิเสธการประเมินบทความนั้นต่อไป

สำหรับรายงานความเห็นผู้ประเมินบทความควรพิจารณาในประเด็นต่างๆ ได้แก่

  • ผลงานวิจัยมีความริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ซ้ำซ้อนกับงานที่ตีพิมพ์มาแล้ว และมีมาตรฐานทางวิชาการ
  • ทำการวิเคราะห์ว่าบทความมีการค้นพบใหม่ด้านใดหรือไม่ บทความมีการอ้างอิงเอกสารหรือบทความ ที่ตีพิมพ์แล้วที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการสนับสนุนเนื้อความและผลการวิเคราะห์หรือไม่
  • ผู้อ่านกลุ่มใดที่จะได้ประโยชน์จากการอ่านบทความและตรงตามกลุ่มเป้าหมายผู้อ่านของวารสารหรือไม่
  • บทความถูกเขียนมาด้วยภาษาทางวิชาการที่มีการเรียงลำดับเนื้อเรื่องตามหลักตรรกะ และภาษาที่อ่านง่าย เข้าใจ และมีส่วนใดของการเขียนที่ควรปรับปรุงหรือไม่
  • การบรรยายผลการทดลองเพียงพอที่ใช้สนับสนุนการวิเคราะห์และสรุปผลการทดลองหรือไม่ หากไม่เพียงพอควรทำการปรับปรุงอย่างไร
  • บทความที่ประเมินสามารถนำไปสู่การต่อยอดงานวิจัยได้หรือไม่
  • การบรรยายส่วนของวิธีการทดลองในบทความเพียงพอที่จะสามารถทำการทดสอบซ้ำ หรือพิสูจน์ความถูกต้องของการทดลองหรือไม่

 

Publishing Ethics and plagiarism policy

กระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารนี้ เป็นกระบวนการทำงานที่มีความเกี่ยวโยงอย่างเป็นระบบของ ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน บรรณาธิการ และฝ่ายประสานงานและจัดการ ดังนั้น เพื่อรักษามาตรฐานทางจริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ และการทำงานอย่างมีมารยาทในวงการวิชาการ ฝ่ายประสานงานและจัดการจะทำงานกับบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินอย่างใกล้ชิด วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้กำหนดความรับผิดชอบทางจริยธรรมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละภาคส่วน ดังต่อไปนี้

Editors Responsibilities:

  1. บรรณาธิการและ/หรือกองบรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์ และคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินขั้นสุดท้ายทุกบทความที่ได้มีการประเมินสำหรับการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร
  2. บรรณาธิการพึงรักษาไว้ซึ่งความโปร่งใสของการวิจัยด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม และจะยินดีรับพิจารณาต้องมีความพยายามอยู่เสมอที่จะเพิกถอนการตีพิมพ์ หรือแก้ไขคำผิด หากได้รับการแจ้งและร้องขอจากผู้นิพนธ์
  3. บรรณาธิการควรดำเนินการต่อตัดสินใจพิจารณาต้นฉบับบทความ เพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีคุณภาพ โดยปราศจากการตัดสินใจที่มีอคติใดๆ
  4. บรรณาธิการควรประเมินบทความต้นฉบับบนพื้นฐานคุณค่าเชิงวิชาการ และปราศจากผลประโยชน์ทางการค้าหรือผลประโยชน์ส่วนตน
  5. บรรณาธิการไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาก่อนการตีพิมพ์
  6. บรรณาธิการควรตรวจสอบโดยทันทีและอย่างละเอียด หากมีข้อสงสัยการประพฤติผิดในการวิจัยด้วยตามอำนาจหน้าที่อย่างเหมาะสม

Reviewers Responsibilities:

  1. ผู้ประเมิน ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ ต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความอย่างละเอียดเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ และแจ้งผลการประเมินภายในระยะเวลาที่กำหนดจากบรรณาธิการ
  2. ผู้ประเมินทำการประเมินบทความต้นฉบับที่ได้รับทั้งในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณค่าทางวิชาการ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาและโครงสร้าง ภาษาที่ใช้ ความชัดเจนของสมมติฐาน/วัตถุประสงค์ ความชัดเจนของการนำเสนอและการจัดระเบียบบทความ ความถูกต้องทางวิชาการ การอภิปรายผล และการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพของบทความ
  3. ผู้ประเมินไม่ควรเปิดเผยข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ส่งมารับการพิจารณาก่อนการตีพิมพ์
  4. ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นอย่างอิสระได้ โดยผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบและปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
  5. ผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการ เมื่อพบหลักฐานการกระทำผิดใดๆ ของจริยธรรมการวิจัยในบทความที่ทำการประเมิน

Authors Responsibilities:

  1. บทความทุกส่วนที่ปรากฏในต้นฉบับบทความจะต้องเป็นงานใหม่ที่ได้มาจากข้อเท็จจริงจากการศึกษา ไม่บิดเบือนข้อมูล ไม่มีข้อมูลที่เป็นเท็จ และปราศจากการคัดลอกผลงาน
  2. บทความงานไม่ควรถูกตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อนหรือถูกส่งไปรับการพิจารณาในวารสารอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
  3. ผู้นิพนธ์ต้องเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน
  4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนกิตติกรรมประกาศให้ชัดเจน รวมถึงระบุแหล่งทุนวิจัยที่สนับสนุน
  5. ข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กรจะต้องได้รับการอนุญาตจากองค์กรที่เกี่ยวข้องก่อน
  6. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคน ต้องเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยหรือมีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
  7. ห้ามส่งบทความที่มีการเขียนงานให้ผู้อื่นมารับการพิจารณาตีพิมพ์ การคัดลอกเนื้อหาของผลงานผู้อื่น และการคัดลอกข้อมูลจากผลงานตนเอง เป็นข้อห้ามในวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ทุกบทความที่ส่งเข้ามารับการพิจารณา จะต้องผ่านการคัดกรองโดยใช้ซอฟแวร์ตรวจจับการคัดลอก

ประเภทของบทความ :   บทความทางวิชาการ บทความวิจัย และบทวิจารณ์หนังสือ

ภาษาที่รับตีพิมพ์ :   ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

กำหนดออก :   วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี ดังนี้ ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม

ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่ : วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ

เจ้าของวารสาร :  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย